Skip to main content

นายยืนยง

 

ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต

ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์น

ผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชา

พิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551

จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์


(-1-)

ถือเป็นเรื่องแปลกขนาดเล็ก ที่ สวนหนังสือ จะเขียนถึงหนังสือแนวที่เราคุ้นเคยจะเรียกว่า ฮาวทู เพราะที่ผ่านมาล้วนเป็นกระบวนของหนังสือแนววรรณกรรมแทบทั้งสิ้น ถ้าเปลี่ยนชื่อจาก สวนหนังสือ มาเป็น สวนวรรณกรรม คงจะเข้าทีกว่า

 

เพราะเหตุใดไม่ทราบ ฉันจึงรู้สึกต่อต้านหนังสือในแนวฮาวทูเหล่านั้น ทั้งที่เคยเปิดอ่าน ๆ ดูแล้วพบว่ามันก็ ไม่เลว แต่ยังไม่ถึงติดตราตรึงใจเท่านั้นเอง ความรู้สึกไม่เป็นมิตรดังกล่าวนั้น ยังแผ่อำนาจไปถึงหนังสือตามกระแสแนวอื่น ๆ อีกเสียด้วย เปรียบกับบุคคลต้องคำสาปให้อยู่นอกกระแสเรื่อยไปอย่างนั้นเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ฉันบอกเตือนตัวเองว่า หากคำสาปมีจริง สมควรแล้วหรือที่จะพึงพอใจอยู่ภายใต้เวทย์เหล่านั้น

 

แวบแรกที่ได้เห็นเจ้าเดอะซีเคร็ต ประชาสัมพันธ์ตัวเองอย่างมโหฬาร เป็นประวัติการณ์ตามร้านหนังสือ หน้าโฆษณานิตยสารต่าง ๆ คำว่า โอเวอร์โหลด ผุดขึ้นมาในความรู้สึกทันที มันทำให้ฉันไม่คิดแตะต้องมัน กระทั่งเวลาล่วงเลยมานานจนลืมไปว่า ในโลกนี้เคยมีหนังสือชื่อเดอะซีเคร็ตอยู่ด้วยนั่นแหละ ฉันจึงได้พบกับมันอีกครั้งที่ร้านหนังสือเช่า

 

ใบหน้าปกของมันดูขะมุกขะมอม ไม่สมกับเป็นหนังสือขายดีติดอันดับ คงไม่ได้รับการเหลียวแลจากสาวกร้านเช่า ดูน่าเห็นใจผิดกับตอนที่มันเป็นหน้าเป็นหน้าตาให้กับอมรินทร์พริ้นติ้ง ยักษ์ใหญ่แห่งวงการสิ่งพิมพ์บ้านเรา แวบนั้นมันดูคล้ายหนังสือนอกกระแสยังไงยังงั้นเลยทีเดียว

 

ฉันหยิบมันมาอ่านไปได้ไม่กี่หน้าก็วาง รู้สึกฮึกเหิมถึงชัยชนะของตัวเอง ที่เคยปรามาสหนังสือฮาวทูตามกระแสทั้งหลายแหล่ว่า ช่างไร้สาระ ตื้นเขิน และเห็นแก่ตัว แต่ด้วยเป็นคนประเภทไม่ชอบทิ้งอะไรให้ค้างอยู่ จึงพยายามสะสางอ่านต่อจนจบ

 

หลังจากนั้นปีเศษ ฉันได้พบกับมันอีกครั้ง เป็นการพบปะซึ่ง ๆ หน้าเลยทีเดียว ว่าไปแล้ว ก็เนื่องมาจากการที่ฉันได้อ่านหนังสือเดอะท๊อปซีเคร็ต อันเป็นหนังสือลูกคู่ของมันนั่นเอง ลูกคู่เล่มนั้นเป็นผลงานของทันตแพทย์สม สุจีรา ซึ่งวางแผงออกมาแล้ว 2 ภาคด้วยกัน

 

สรุปว่า ฉันไม่ได้เป็นบุคคลต้องคำสาปให้อยู่แต่ในโลกของหนังสือนอกกระแสอย่างที่คิด และไม่ได้พึงพอใจกับโลกวรรณกรรมมากที่สุด ดังที่ตัวเองเข้าใจ

 

และหากจะกล่าวว่า เดอะซีเคร็ตและเดอะท๊อปซีเคร็ต ทำให้ฉันได้ค้นพบบางสิ่งที่ขาดหาย และสิ่งนั้นคือ ความลับ ละก็ ฉันออกจะเขินอายอย่างมากทีเดียวที่ต้องกล่าวเช่นนั้น รู้สึกเหมือนหน้าแตกที่ต้องกลับคำพูดในที่สุด แต่เหนือจากความอับอายเหล่านั้นฉันได้ค้นพบว่า ฉันสามารถยอมรับตัวเองที่เปลี่ยนความคิดได้ในที่สุด และฉันยังกล้ายอมรับนับถือตัวเองได้อย่างเต็มภาคภูมิอีกด้วย เหมือนกับการได้ฝ่าทะลุกำแพงที่ปิดกั้นความคิดของตัวเองให้พังทลายลงในที่สุด


นั่นคือสิ่งที่ได้รับจากหนังสือฮาวทู ซึ่งตัวเองเคยสบประมาทมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
ขอบคุณเดอะซีเคร็ตและลูกคู่อย่างเดอะท๊อปซีเคร็ตที่ถอนคำสาปให้ฉัน

 

(-2-)

 

คนที่เคยอ่าน เดอะซีเคร็ต ย่อมรู้สึกได้ถึงเนื้อหาที่ให้ความสำคัญกับกระแสความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักปฏิบัติในเดอะซีเคร็ต ที่มีสาระตรงกับหลักพุทธธรรมราวกับผุดขึ้นมาจากรากฐานอันเดียวกัน


ไม่ว่าจะเป็นหลักการกำหนดความคิด ความรู้สึก ฝึกกำหนดรู้ การทำจิตใจให้ผ่องแผ้วเบิกบานอยู่เสมอ หลักของความเพียร หลักของการสำนึกรู้คุณ ซึ่งการวิเคราะห์ให้ละเอียดลึกซึ้งในทางหลักพุทธธรรมนั้น หนังสือเดอะท๊อปซีเคร็ตได้อธิบายไว้โดยละเอียด ชัดเจน แจ่มแจ้งเลยทีเดียว จนกล่าวได้ว่าน่าศึกษามากกว่าหนังสือต้นแบบอย่าง เดอะซีเคร็ต ด้วยซ้ำไป


นอกจากนั้น เดอะท๊อปซีเคร็ตได้ยกอมตะวาจาของ ไอน์สไตน์ "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" มาอธิบาย
โดยอ้างถึง ทฤษฎีสัมพันธภาพ ของไอน์สไตน์ ให้เห็นถึงความสอดคล้องกันกับแก่นสารจากเดอะซีเคร็ตด้วย โดยทันตแพทย์สม สุจีรา ผู้เขียนยังได้เน้นย้ำเป็นพิเศษถึงความสอดคล้องกับหลักพุทธธรรมอย่างน่าสนใจ และเน้นหนักในเรื่องของการฝึกสร้างมโนภาพที่มีอานุภาพเข้มแข็ง การฝึกจิตใจให้ตั้งมั่น มั่นคง ซึ่งสอดรับต่อหลักการของเดอะซีเคร็ต

 

หลักการของเดอะซีเคร็ตดังกล่าว ที่จะทำให้สมปรารถนาทุกประการ มีอยู่ 3 ข้อ

1.ขอ

2.เชื่อ

3.รับ

(ง่าย ๆ แค่นี้ แต่มีเงื่อนไขซับซ้อน จะมีสักกี่คนที่ทำได้สำเร็จ )

 

ขณะเดอะซีเคร็ตและเดอะท๊อปซีเคร็ตได้บอกเราว่า ความคิดบวกสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งการดึงดูด กฎนั้นบอกว่า สิ่งที่เหมือนกันจะมีแรงดึงดูดเข้าหากัน ดังนั้น เมื่อเราคิดอะไรสักอย่าง เรากำลังดึงดูดความคิดแบบเดียวกันเข้ามาหาตัวเรา

 

ความคิดมีแรงดึงดูดเหมือนแม่เหล็ก และความคิดมีคลื่นความถี่

ถ้าเราคิดถึงสิ่งที่ดี เราก็จะได้รับสิ่งดี ๆ เหล่านั้น

แต่ถ้าเราคิดถึงสิ่งร้าย ๆ เราก็จะได้รับสิ่งร้าย เป็นไปตามกฎแห่งการดึงดูด

กล่าวง่าย ๆ คือ คิดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

ถ้าหากเราตั้งความหวัง เดอะซีเคร็ตก็มีกฎให้ใช้ 3 ข้อ ดังกล่าวนั่นแหละ คือ ขอ เชื่อ รับ

คำถามก็คือ ใครล่ะจะปฏิบัติได้จริง

 

ทันตแพทย์สม สุจีรา บอกไว้ในเดอะท๊อปซีเคร็ตว่า ข้อที่ทำได้ยากคือ การเชื่อ และการรับ เนื่องจากต้องอาศัยจินตนาการ การสร้างมโนภาพ จนเกิดเป็นภาพเหมือนจริงในความรู้สึกนึกคิดของเรา จึงจะบรรลุเป้าหมายที่เราตั้งความหวังเอาไว้

 

นอกจากนั้นยังได้อธิบายถึงหลักการทำงานร่วมกันระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกในเชิงจิตวิเคราะห์และในเชิงพุทธธรรม และสรุปว่า เราสามารถสร้างจิตใต้สำนึกขึ้นมาใหม่ได้ด้วยตัวเอง การสร้างจิตใต้สำนึกอย่างใหม่นั้นก็เท่ากับว่าเราได้สร้างชีวิตขึ้นใหม่นั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม ฉันถือว่าเหล่านี้ล้วนเป็นความรู้ ไม่ใช่ความลับแต่อย่างใด ที่กล่าวเช่นนี้ ไม่ได้อวดอ้างว่าตัวเองเป็นผู้รู้ แต่เป็นเพราะศาสตร์เหล่านี้ เราสามารถหาอ่านศึกษาได้จากหนังสือเล่มอื่น ๆ ทั้งสายธรรมและสายวิชาการ แล้วอะไรล่ะคือ ความลับ ที่ว่า

 

คุณไม่จำเป็นต้องอ่านเดอะซีเคร็ตก็ได้ แม้กระทั่งเดอะท๊อปซีเคร็ตเองก็ตาม เพราะความลับไม่ได้อยู่ในหนังสือ มันอยู่ที่ตัวคุณเองทั้งหมด

 

สำหรับฉันเมื่อได้ 2 เล่มความลับแล้ว แม้นจะหวังไปกับวัตถุปัจจัยภายนอกเฉกเช่นคนอื่นทั่วไป หวังความสุขสมบูรณ์เช่นปุถุชนทั่วไป แต่เหนืออื่นใด ฉันปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ตื่นขึ้นอีกครั้ง และฉันก็ได้ตื่นขึ้นจริง ๆ ฉันตื่นขึ้นพร้อมกระบวนความคิดอย่างใหม่ วิธีคิดแบบใหม่

 

เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่ง่ายเช่นเดียวกับพลิกฝ่ามือ นั่นแหละคือ ความลับของฉัน แล้วความลับของคุณล๋ะ คืออะไร.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…