Skip to main content
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว

เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกฉบับมิถุนายนนี้ ก็ร่วมบรรเลงเพลงสวรรค์สีเขียวกับเขาด้วยคน ในท่วงทำนองแบบกระตุ้นให้เราหวาดวิตก หวั่นผวากับภาวการณ์ร่วมของยุคข้าวยากหมากแพง ในรายงานพิเศษเรื่อง
วิกฤติอาหารโลก ข้าวยากหมากแพง

ตามธรรมดาที่บทความซึ่งมุ่งกระตุ้นให้ภาวะตระหนักรู้ในสภาวะแวดล้อม ย่อมชี้แจงให้เห็นเหตุผลที่ชัดเจนและอุดมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ นับเป็นการคุกคามความรู้สึกแบบอิงข้อมูลตัวเลขที่ใช้งานได้ผล  เพราะใครก็ตามที่รับรู้ข้อมูล ที่ถูกส่งมาในรูปแบบข้อความสั้นเหล่านี้ ย่อมออกอาการ "เหงื่อตก" 

เมื่อคุณได้รับรู้ข้อมูลตัวเลขที่ผ่านการประมวลผลให้ชัดเจน ตรงประเด็น และมันคล้ายได้แฝงข้อความสั้นในจินตการมาตอกย้ำว่า โลกแย่แล้ว วิกฤตแล้วล่ะเพื่อนรัก เป็นคุณจะเหงื่อตกไหมล่ะ หากเจอข้อความเหล่านี้

ราคาข้าวในตลาดโลกที่พุ่งสูงเกือบสองเท่าตลอดสองปีที่ผ่านมา ซ้ำเติมด้วยอุทกภัยและพายุไซโคลนถล่มทลายในปี 2007 ทำให้บังกลาเทศมีประชากรอดอยากหิวโหยเพิ่มเป็น 35 ล้านคน

ข้าวโพดที่ใช้ผลิตเอทานอล พลังงานสีเขียว 1 ถัง ขนาดบรรจุ 95 ลิตร นั้น เป็นปริมาณข้าวโพดที่เลี้ยงคนหนึ่งคนได้ตลอด 1 ปี

นโยบายส่งเสริมการผลิตเอทานอลของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทำให้ราคาข้าวโพดในสหรัฐฯ สูงขึ้น
ร้อยละ 30 จากปี 2005 จนถึง ปี 2008 นับว่าสูงขึ้นถึง 3 เท่า

จีนเลี้ยงหมูเป็นปริมาณครึ่งหนึ่งของหมูทั่วโลก ต้องนำเข้าธัญพืชเพื่อขุนหมู เพื่อเลี้ยงปากท้องประชาชนชาวจีนอีกทอดหนึ่ง

โปรตีนราคาแพง ธัญพืชราวร้อยละ 35 ของโลก ถูกนำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์ กระเพาะของผู้หิวโหยจึงต้องว่างเปล่าต่อไป

ถ้าคุณต้องการพลังงานจากเนื้อหมูในปริมาณเท่า ๆ กับที่ได้จากธัญพืช คุณต้องขุนหมูด้วยธัญพืชมากกว่าที่คุณกินถึง 5 เท่า

การบริโภคเพิ่มขึ้นจาก 815 ล้านตันในปี 1960 มาเป็น 2.160 ล้านตันในปี 2008

จีนปลูกข้าวโพดมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ยังไม่พอจะขุนหมูภายในประเทศของตัวเอง จำต้องนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ และบราซิล โดยบราซิลต้องถากถางป่าอะเมซอนเพื่อปลูกถั่วเหลืองไปขุนหมูของจีน

มนุษย์เพิ่มขึ้นในอัตราเรขาคณิต คือ เป็น 2 เท่า ทุก ๆ 25 ปี หากไม่มีการควบคุม ขณะผลผลิตทางภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นแบบเลขคณิต หรือช้ากว่ากันมาก ภาวการณ์เช่นนี้ จะนำพามนุษย์ไปสู่กับดักทางชีวภาพ

อุปสงค์แซงหน้าอุปทาน  เรามีอาหารไม่พอสำหรับทุกคน

ปี 2005 - ฤดูร้อน ปี 2008 ข้าวสาลี ข้าวโพด ราคาสูงขึ้น 3 เท่าตัว ราคาข้าวเพิ่ม 5 เท่า

แม้ราคาอาหารจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย แต่ยังจัดว่าสูงเป็นประวัติการณ์

จากบทความดังกล่าวนั่นแหละ ที่เล่นเอาต่อมเห็นแก่ตัวของฉันหดเกร็งจนแทบอัมพาต แต่นั่นไม่ได้หมายถึงการประกาศตัวว่าจะเป็นคนดีอะไรเลย เพราะหากเรายังร่วมแรงรวมใจเห็นแก่ตัวต่อไปอีก อนาคตข้างหน้าย่อมเลี่ยงนรกขุมเล็ก ๆ ไม่ได้แน่ ดังนั้น เราควรหันมาร่วมแรงรวมใจเห็นแก่ประโยชน์โภคผลแก่มนุษยชาติ แก่โลกของเรา ภายใต้เงื่อนไข "ถ้าโลกรอด เราย่อมไม่ตาย " หรือ " ถ้าโลกตาย เราต้องตายตกไปตามกัน "

ในเมื่อบทความ ข้าวยากหมากแพง นี้ ได้ทำการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่ได้กระทำทารุณกรรมโลกสีน้ำเงินใบนี้ ในนามของพระเจ้าสีเขียว ที่จะนำพาให้ประชากรมนุษย์โลกมีข้าวกินอิ่มท้องกันทั่วหน้า พระเจ้าองค์นั้นรู้จักกันดีในนามของ การปฏิวัติเขียว (green revolution) ที่ก่อการขึ้นราวปี 1950 ถึงกลางปี 1990 นามแห่งความรุนแรงสีเขียวนี้ นาย วิลเลียม เอส. โกด อดีตผู้บริหารยูเสด เป็นผู้คิดคำว่า

ปฏิวัติเขียวขึ้นในปี 1968 เพื่อล้อเลียน การปฏิวัติแดงของรัสเซีย

ปฏิวัติเขียว กับการปลูกพืชขนานใหญ่หรือเกษตรเชิงเดี่ยว ที่ต้องพึ่งเมล็ดพันธุ์ที่ดัดแปลงให้เก่งกล้าสามารถ ให้ผลผลิตดกดื่นน่าชื่นใจ ทนแล้ง ทนมือทนเท้า

นั่นคือพระเจ้าสีเขียว ฮีโร่ที่ปราบความหิวของประชากรโลกได้อยู่หมัด

แต่น่าเสียดาย พืชเกษตรเหล่านั้นกลับเสพติดปุ๋ยเคมีชนิดเข้ากระแสเลือด ยังผลให้เกษตรกรที่ศรัทธาพระเจ้าองค์นี้ ต้องถวายตัวเป็นหนี้ค่าปุ๋ยเคมีชนิดไม่เกรงหน้าอินทร์พรหมที่ไหน

ไม่เท่านั้นผืนดิน ผืนน้ำ อันเป็นทรัพยากรเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตที่ถูกใช้งานอย่างสาหัสก็ฟ้องร้อง

หาความเป็นธรรม โดยแปรดินอุดม น้ำอุดม เป็นพิษอุดมไปเสีย เกษตรกรในภาคพื้นแห่งการปฏิวัติเขียวกลายเป็นมนุษย์มะเร็ง อ่อนปวกเปียก ทั้งร่างกายและจิตใจ

รัฐปัญจาบ อินเดีย ซึ่งเคยท้องที่สีเขียวอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของชมพูทวีป ต้องกลับเป็นอาณาบริเวณอันตราย อุดมด้วยพิษของดิน น้ำ ลม ไฟ และเชื้อจุลชีพร้ายกาจ ประเทศไทยเราเองก็เคยเคารพนับถือปฏิวัติเขียว และหนีไม่พ้นชะตากรรมนี้

กระทั่งมีคำถามเสียงดังสนั่นว่าคุณูปการของการปฏิวัติเขียวแลกมาด้วยอะไร

ปฏิว้ติเขียว เคยเป็นพระเจ้าเมื่อประชากรโลกหิวโหย

พวกเราศรัทธาพระองค์ ขณะพระองค์ก็ทรงเรียกร้องจากเรามากมายเหลือเกิน เราต้องถวายพระแม่โพสพ

พระแม่คงคา และอีกหลายพระแม่ของเรา

เห็นทีเราต้องโลกมือลา เลิกศรัทธาพระเจ้าสีเขียวองค์นี้แล้วล่ะ ถึงแม้องค์การสหประชาชาติ หรือนักวิชาการด้านพันธุวิศวกรรมยังยืนยันจะสถาปนาพระเจ้าสีเขียวองค์นี้ขึ้นอีกครั้ง ในนามลูกชายคนใหม่ที่มีชื่อแสนเท่ว่า พืชจีเอ็มโอ ชื่อน่ารักแต่ฟังแล้วขนลุก

ขณะเดียวกัน พระเจ้าอีกองค์หนึ่งก็ถือกำเนิดขึ้น แต่ยังคงเป็นองค์สีเขียวเหมือนองค์เก่า ไม่แน่ว่าพระเจ้าสีเขียวใหม่นี้อาจเป็นปางอวตารของพระเจ้าที่ชื่อปฏิวัติเขียวก็เป็นได้

องค์นี้มีหลายชื่อ แต่มีแบบรูปเดียวกันคือ รักษ์สิ่งแวดล้อม รักษ์โลกร้อน ลดเคมี เกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ อาหารชีวภาพ และอีกหลายชื่อที่ใคร ๆ พากันขนานนามให้ ใครศรัทธาก็จะเป็นกลุ่มชนที่ลดการเห็นแก่ความสะดวกสบายส่วนตัว ให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนรวม เรื่องมลพิษสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ

เหล่าผู้ศรัทธาจะลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียม และหันมาใช้น้ำมันชีวภาพอย่างเอทานอล หรือไบโอดีเซล แต่ถ้าจะให้ลึกซึ้งเข้าขั้น จะพยายามลดปริมาณการใช้น้ำมันตามนโยบายโลกสีเขียว

แต่ให้ตายเถอะ เชื่อไหมว่าผู้ศรัทธากลุ่มนี้ หลายคนอาจไม่เคยรู้จักคำว่า "หิว"

ขณะที่หลายประเทศแถบแอฟริกายังอุดมไปด้วยความหิวโหย จนถูกขนานนามอย่างเรียกร้องอยู่ในทีว่า หัวใจที่หิวโหย

ฉันไม่รู้หรอกว่า เราหรือคุณ นับถือพระเจ้าองค์ไหน พระเจ้าสีเขียวเดิม หรือสีเขียวใหม่

ตราบใดที่พลังงานยังมีราคาแพง เชื้อเพลิงชีวภาพจะแย่งพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารและแหล่งน้ำในหลายภูมิภาคทั่วโลก  นักวิชาการฝ่ายหนึ่งเสนอว่า เราจำเป็นต้องปฏิวัติเขียวอีกครั้งและต้องทำให้สำเร็จในเวลาที่น้อยกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง และนักวิชาการอีกฝ่ายเสนอว่า เราจำเป็นต้องกลับไปสู่ดินแดนที่ปลอดจากเคมี เราต้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมทรุดให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ทั้งสองฝ่ายตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทั้งสองก็เสนอทางรอดให้เรา ให้ฉัน และให้คุณแล้ว

ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกฝ่ายไหน และที่สุดแล้ว อาจขึ้นอยู่กับว่า คุณ เรา หรือฉัน เคย "หิว" บ้างหรือเปล่า.

...........................

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ ผู้เขียน : องอาจ เดชา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา พ.ศ.2548 ได้อ่านงานเขียนสารคดีที่เป็นบทบันทึกช่วงชีวิตของอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ที่กลั่นร้อยจากความมุ่งมั่นขององอาจ เดชา นักเขียนสารคดีหนุ่มมือเอกแล้ว มีหลายความรู้สึกที่อยากเล่าสู่กันฟัง อีกทั้งทำให้อยากลุกมาเขียนจดหมายถึงคนต้นเรื่องคนนั้นด้วย กล่าวถึงงานเขียนสารคดีสักครู่หนึ่งเถอะ... สารคดีเป็นงานเขียนที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทุกรายละเอียดล้วนเคารพต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนสารคดีเล่ม ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ นี้ เป็นลักษณะกึ่งอัตชีวประวัติ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ม่านดอกไม้ ผู้เขียน : ร. จันทพิมพะ ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ.2541 ไม่นานมานี้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวังเก่าที่เมืองโคราช เจ้าของบ้านเป็นครูสาวเกษียณราชการแล้ว คนวัยนี้แล้วยังจะเรียก “สาว” ได้อีกหรือ.. ได้แน่นอนเพราะเธอยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทั้งน้ำเสียงกังวานและแววตาที่มีความฝันเปี่ยมอยู่ในนั้น วังเก่าหลังนั้นอยู่ใกล้หลักเมือง วางตัวสงบเย็นอยู่ใจกลางแถวของอาคารร้านค้า ลมลอดช่องตึกทำให้อากาศโล่ง เย็นชื่น พวกไม้ดอกประดับแย้มใบเขียวสดรับละอองฝน…
สวนหนังสือ
นายยืนยง      ชื่อหนังสือ     : ชีวิตและงานกวีเอกของไทย ผู้เขียน          : สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร จัดพิมพ์โดย   : สำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา พิมพ์ครั้งแรก  : 27 มีนาคม พ.ศ.2508 ตั้งแต่เครือข่ายพันธมิตรประชาชนฯ เริ่มชุมนุมเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงจากสถานีเอเอสทีวีก็กังวานไปทั่วบริเวณบ้านที่เช่าเขาอยู่ มันเป็นบ้านที่มีบ้านบริเวณกว้างขวาง และมีบ้านหลายหลังปลูกใกล้ ๆ กัน ใครเปิดทีวีช่องอะไรเป็นได้ยินกันทั่ว คนที่ไม่ได้เปิดก็เลยฟังไม่ได้สรรพ…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : มาตุภูมิเดียวกัน ผู้เขียน : วิน วนาดร ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อกันยายน 2550   ปี 2551 นี้รางวัลซีไรต์เป็นรอบของเรื่องสั้น สำรวจดูจากรายชื่อหนังสือที่ส่งเข้าประกวด ดูจากชื่อนักเขียนก็พอจะมองเห็นความหลากหลายชัดเจน ทั้งนักเขียนที่ส่งมากันครบทุกรุ่นวัย แนวทางของเรื่องยิ่งชวนให้เกิดบรรยากาศคึกคัก มีสีสันหากว่ามีการวิจารณ์หนังสือกันที่ส่งเข้าประกวดอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกค่าย ไม่เลือกว่าเป็นพรรคพวกของตัว อย่างที่เขาว่ากันว่า เด็กใครก็ปั้นก็เชียร์กันตามกำลัง นั่นไม่เป็นผลดีต่อผู้อ่านนักหรอก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นกชีวิต ประเภท : กวีนิพนธ์ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อมีนาคม 2550 ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ เคยสังเกตไหมว่าบางครั้งบทกวีก็สนทนากันเอง ระหว่างบทกวีกับบทกวี ราวกับกวีสนทนากับกวีด้วยกัน ซึ่งนั่นหาได้สำคัญไม่ เพราะความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงการแบ่งแยกระหว่างผู้สร้างสรรค์ (กวี) กับผู้เสพอย่างเรา ๆ แต่หมายถึงบรรยากาศแห่งการดื่มด่ำกวีนิพนธ์ เป็นการสื่อสารจากใจสู่ใจ กระนั้นก็ตาม ยังมีบางทัศนคติที่พยายามจะแบ่งแยกกวีนิพนธ์ออกเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นกวีฉันทลักษณ์ เป็นกวีไร้ฉันทลักษณ์…
สวนหนังสือ
นายยืนยงประเภท          :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย      :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2 เมษายน 2530)ผู้ประพันธ์     :    Bhabani Bhattacharyaผู้แปล         :    จิตร ภูมิศักดิ์
สวนหนังสือ
นายยืนยง"ความรู้รสในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว ตัวใครก็ตัวใคร จะมาเกณฑ์ให้มีความรู้สึกเรื่องรสของศิลปะเหมือนกันทีเดียวไม่ได้  ถ้าทุกคนรู้รสของศิลปะแห่งสิ่งใดเหมือนกันไปหมด สิ่งนั้นก็เป็นสามัญไม่ใช่มีค่าแห่งศิลปะที่สูง” ท่านเสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ รสวรรณคดี (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๓) ครั้นแล้วความซาบซึ้งในรสของกวีนิพนธ์อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคุณผู้อ่านเล่าเป็นอย่างไรหนอ ในสถานการณ์ที่กระแสข่าวเน้นนำเสนอทางด้านเศรษฐกิจการเมือง ความเป็นอยู่ของกวีนิพนธ์จึงดูเหมือนจะซบเซาเหงาเงียบไป ทั้งที่เราต่างก็เติบโตมาท่ามกลางเบ้าหลอมแห่งศิลปะของกวีนิพนธ์ด้วยกัน ทั้งจากเพลงกล่อมเด็ก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพปก ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๓๒ เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑)ภาพจาก : http://burabhawayu.multiply.com/reviews/item/16 ชื่อนิตยสาร : ปาจารยสาร ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๘ เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕จัดพิมพ์โดย : บริษัท ส่องศยาม
สวนหนังสือ
นายยืนยงบทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์    :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล         :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ      :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์      :     โครงการจัดพิมพ์คบไฟ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. 2541
สวนหนังสือ
นายยืนยง  บทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์            :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล                 :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ         :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์        …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓