Skip to main content
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว

เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกฉบับมิถุนายนนี้ ก็ร่วมบรรเลงเพลงสวรรค์สีเขียวกับเขาด้วยคน ในท่วงทำนองแบบกระตุ้นให้เราหวาดวิตก หวั่นผวากับภาวการณ์ร่วมของยุคข้าวยากหมากแพง ในรายงานพิเศษเรื่อง
วิกฤติอาหารโลก ข้าวยากหมากแพง

ตามธรรมดาที่บทความซึ่งมุ่งกระตุ้นให้ภาวะตระหนักรู้ในสภาวะแวดล้อม ย่อมชี้แจงให้เห็นเหตุผลที่ชัดเจนและอุดมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ นับเป็นการคุกคามความรู้สึกแบบอิงข้อมูลตัวเลขที่ใช้งานได้ผล  เพราะใครก็ตามที่รับรู้ข้อมูล ที่ถูกส่งมาในรูปแบบข้อความสั้นเหล่านี้ ย่อมออกอาการ "เหงื่อตก" 

เมื่อคุณได้รับรู้ข้อมูลตัวเลขที่ผ่านการประมวลผลให้ชัดเจน ตรงประเด็น และมันคล้ายได้แฝงข้อความสั้นในจินตการมาตอกย้ำว่า โลกแย่แล้ว วิกฤตแล้วล่ะเพื่อนรัก เป็นคุณจะเหงื่อตกไหมล่ะ หากเจอข้อความเหล่านี้

ราคาข้าวในตลาดโลกที่พุ่งสูงเกือบสองเท่าตลอดสองปีที่ผ่านมา ซ้ำเติมด้วยอุทกภัยและพายุไซโคลนถล่มทลายในปี 2007 ทำให้บังกลาเทศมีประชากรอดอยากหิวโหยเพิ่มเป็น 35 ล้านคน

ข้าวโพดที่ใช้ผลิตเอทานอล พลังงานสีเขียว 1 ถัง ขนาดบรรจุ 95 ลิตร นั้น เป็นปริมาณข้าวโพดที่เลี้ยงคนหนึ่งคนได้ตลอด 1 ปี

นโยบายส่งเสริมการผลิตเอทานอลของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทำให้ราคาข้าวโพดในสหรัฐฯ สูงขึ้น
ร้อยละ 30 จากปี 2005 จนถึง ปี 2008 นับว่าสูงขึ้นถึง 3 เท่า

จีนเลี้ยงหมูเป็นปริมาณครึ่งหนึ่งของหมูทั่วโลก ต้องนำเข้าธัญพืชเพื่อขุนหมู เพื่อเลี้ยงปากท้องประชาชนชาวจีนอีกทอดหนึ่ง

โปรตีนราคาแพง ธัญพืชราวร้อยละ 35 ของโลก ถูกนำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์ กระเพาะของผู้หิวโหยจึงต้องว่างเปล่าต่อไป

ถ้าคุณต้องการพลังงานจากเนื้อหมูในปริมาณเท่า ๆ กับที่ได้จากธัญพืช คุณต้องขุนหมูด้วยธัญพืชมากกว่าที่คุณกินถึง 5 เท่า

การบริโภคเพิ่มขึ้นจาก 815 ล้านตันในปี 1960 มาเป็น 2.160 ล้านตันในปี 2008

จีนปลูกข้าวโพดมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ยังไม่พอจะขุนหมูภายในประเทศของตัวเอง จำต้องนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ และบราซิล โดยบราซิลต้องถากถางป่าอะเมซอนเพื่อปลูกถั่วเหลืองไปขุนหมูของจีน

มนุษย์เพิ่มขึ้นในอัตราเรขาคณิต คือ เป็น 2 เท่า ทุก ๆ 25 ปี หากไม่มีการควบคุม ขณะผลผลิตทางภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นแบบเลขคณิต หรือช้ากว่ากันมาก ภาวการณ์เช่นนี้ จะนำพามนุษย์ไปสู่กับดักทางชีวภาพ

อุปสงค์แซงหน้าอุปทาน  เรามีอาหารไม่พอสำหรับทุกคน

ปี 2005 - ฤดูร้อน ปี 2008 ข้าวสาลี ข้าวโพด ราคาสูงขึ้น 3 เท่าตัว ราคาข้าวเพิ่ม 5 เท่า

แม้ราคาอาหารจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย แต่ยังจัดว่าสูงเป็นประวัติการณ์

จากบทความดังกล่าวนั่นแหละ ที่เล่นเอาต่อมเห็นแก่ตัวของฉันหดเกร็งจนแทบอัมพาต แต่นั่นไม่ได้หมายถึงการประกาศตัวว่าจะเป็นคนดีอะไรเลย เพราะหากเรายังร่วมแรงรวมใจเห็นแก่ตัวต่อไปอีก อนาคตข้างหน้าย่อมเลี่ยงนรกขุมเล็ก ๆ ไม่ได้แน่ ดังนั้น เราควรหันมาร่วมแรงรวมใจเห็นแก่ประโยชน์โภคผลแก่มนุษยชาติ แก่โลกของเรา ภายใต้เงื่อนไข "ถ้าโลกรอด เราย่อมไม่ตาย " หรือ " ถ้าโลกตาย เราต้องตายตกไปตามกัน "

ในเมื่อบทความ ข้าวยากหมากแพง นี้ ได้ทำการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่ได้กระทำทารุณกรรมโลกสีน้ำเงินใบนี้ ในนามของพระเจ้าสีเขียว ที่จะนำพาให้ประชากรมนุษย์โลกมีข้าวกินอิ่มท้องกันทั่วหน้า พระเจ้าองค์นั้นรู้จักกันดีในนามของ การปฏิวัติเขียว (green revolution) ที่ก่อการขึ้นราวปี 1950 ถึงกลางปี 1990 นามแห่งความรุนแรงสีเขียวนี้ นาย วิลเลียม เอส. โกด อดีตผู้บริหารยูเสด เป็นผู้คิดคำว่า

ปฏิวัติเขียวขึ้นในปี 1968 เพื่อล้อเลียน การปฏิวัติแดงของรัสเซีย

ปฏิวัติเขียว กับการปลูกพืชขนานใหญ่หรือเกษตรเชิงเดี่ยว ที่ต้องพึ่งเมล็ดพันธุ์ที่ดัดแปลงให้เก่งกล้าสามารถ ให้ผลผลิตดกดื่นน่าชื่นใจ ทนแล้ง ทนมือทนเท้า

นั่นคือพระเจ้าสีเขียว ฮีโร่ที่ปราบความหิวของประชากรโลกได้อยู่หมัด

แต่น่าเสียดาย พืชเกษตรเหล่านั้นกลับเสพติดปุ๋ยเคมีชนิดเข้ากระแสเลือด ยังผลให้เกษตรกรที่ศรัทธาพระเจ้าองค์นี้ ต้องถวายตัวเป็นหนี้ค่าปุ๋ยเคมีชนิดไม่เกรงหน้าอินทร์พรหมที่ไหน

ไม่เท่านั้นผืนดิน ผืนน้ำ อันเป็นทรัพยากรเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตที่ถูกใช้งานอย่างสาหัสก็ฟ้องร้อง

หาความเป็นธรรม โดยแปรดินอุดม น้ำอุดม เป็นพิษอุดมไปเสีย เกษตรกรในภาคพื้นแห่งการปฏิวัติเขียวกลายเป็นมนุษย์มะเร็ง อ่อนปวกเปียก ทั้งร่างกายและจิตใจ

รัฐปัญจาบ อินเดีย ซึ่งเคยท้องที่สีเขียวอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของชมพูทวีป ต้องกลับเป็นอาณาบริเวณอันตราย อุดมด้วยพิษของดิน น้ำ ลม ไฟ และเชื้อจุลชีพร้ายกาจ ประเทศไทยเราเองก็เคยเคารพนับถือปฏิวัติเขียว และหนีไม่พ้นชะตากรรมนี้

กระทั่งมีคำถามเสียงดังสนั่นว่าคุณูปการของการปฏิวัติเขียวแลกมาด้วยอะไร

ปฏิว้ติเขียว เคยเป็นพระเจ้าเมื่อประชากรโลกหิวโหย

พวกเราศรัทธาพระองค์ ขณะพระองค์ก็ทรงเรียกร้องจากเรามากมายเหลือเกิน เราต้องถวายพระแม่โพสพ

พระแม่คงคา และอีกหลายพระแม่ของเรา

เห็นทีเราต้องโลกมือลา เลิกศรัทธาพระเจ้าสีเขียวองค์นี้แล้วล่ะ ถึงแม้องค์การสหประชาชาติ หรือนักวิชาการด้านพันธุวิศวกรรมยังยืนยันจะสถาปนาพระเจ้าสีเขียวองค์นี้ขึ้นอีกครั้ง ในนามลูกชายคนใหม่ที่มีชื่อแสนเท่ว่า พืชจีเอ็มโอ ชื่อน่ารักแต่ฟังแล้วขนลุก

ขณะเดียวกัน พระเจ้าอีกองค์หนึ่งก็ถือกำเนิดขึ้น แต่ยังคงเป็นองค์สีเขียวเหมือนองค์เก่า ไม่แน่ว่าพระเจ้าสีเขียวใหม่นี้อาจเป็นปางอวตารของพระเจ้าที่ชื่อปฏิวัติเขียวก็เป็นได้

องค์นี้มีหลายชื่อ แต่มีแบบรูปเดียวกันคือ รักษ์สิ่งแวดล้อม รักษ์โลกร้อน ลดเคมี เกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ อาหารชีวภาพ และอีกหลายชื่อที่ใคร ๆ พากันขนานนามให้ ใครศรัทธาก็จะเป็นกลุ่มชนที่ลดการเห็นแก่ความสะดวกสบายส่วนตัว ให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนรวม เรื่องมลพิษสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ

เหล่าผู้ศรัทธาจะลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียม และหันมาใช้น้ำมันชีวภาพอย่างเอทานอล หรือไบโอดีเซล แต่ถ้าจะให้ลึกซึ้งเข้าขั้น จะพยายามลดปริมาณการใช้น้ำมันตามนโยบายโลกสีเขียว

แต่ให้ตายเถอะ เชื่อไหมว่าผู้ศรัทธากลุ่มนี้ หลายคนอาจไม่เคยรู้จักคำว่า "หิว"

ขณะที่หลายประเทศแถบแอฟริกายังอุดมไปด้วยความหิวโหย จนถูกขนานนามอย่างเรียกร้องอยู่ในทีว่า หัวใจที่หิวโหย

ฉันไม่รู้หรอกว่า เราหรือคุณ นับถือพระเจ้าองค์ไหน พระเจ้าสีเขียวเดิม หรือสีเขียวใหม่

ตราบใดที่พลังงานยังมีราคาแพง เชื้อเพลิงชีวภาพจะแย่งพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารและแหล่งน้ำในหลายภูมิภาคทั่วโลก  นักวิชาการฝ่ายหนึ่งเสนอว่า เราจำเป็นต้องปฏิวัติเขียวอีกครั้งและต้องทำให้สำเร็จในเวลาที่น้อยกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง และนักวิชาการอีกฝ่ายเสนอว่า เราจำเป็นต้องกลับไปสู่ดินแดนที่ปลอดจากเคมี เราต้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมทรุดให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ทั้งสองฝ่ายตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทั้งสองก็เสนอทางรอดให้เรา ให้ฉัน และให้คุณแล้ว

ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกฝ่ายไหน และที่สุดแล้ว อาจขึ้นอยู่กับว่า คุณ เรา หรือฉัน เคย "หิว" บ้างหรือเปล่า.

...........................

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…