Skip to main content

นายยืนยง

ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING

ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์

พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551


 

ในกระแสหมุนโลกให้ช้า ๆ ที่ถือเป็น กระแสกลับของยุคบริโภคข้อมูลข่าวสารชนิดด่วนจี๋ เมื่อเห็นชื่อหนังสือเล่มนี้ ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ” อาจมีอันต้องสะบัดหน้าหนีชนิดคอแทบเคล็ด เพราะพวกที่นิยมหมุนโลกให้ช้าลงเหล่านี้ มักปฏิเสธอะไร ๆ ที่ปรากฎเป็นนิยามของความเร็ว แต่ก็มีข้อยกเว้น

 

สำหรับผู้ที่นิยมหมุนโลกให้ช้า ๆ แต่จำเป็นต้อง รีบดำเนินการอ่านด้วยความเร็วสูง ความรีบเร่งนี้จึงถือเป็นภาระกิจยกเว้นสำหรับสาวกนักหมุนโลกให้ช้ากลุ่มนี้ ซึ่งก็รวมถึงฉันด้วยคนหนึ่ง เพราะต้องยอมรับว่ามีหนังสือหนังหา ไล่ไปตั้งแต่หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน พ็อกเก็ตบุ๊ค กองเป็นตั้งสูงท่วมหัวรอให้มีเวลาพอจะอ่าน นี่ยังไม่รวมการอ่านผ่านเว็บไซต์ที่ต้องอาศัยแว่นตากรองแสง ขณะที่ลดแสงสะท้อนไปในตัวเป็นเครื่องมือชนิดเดียว ที่พอจะช่วยประทังชีวิตการอ่านไปได้บ้าง และแล้วโชคก็เข้าข้างฉัน เมื่อได้พบกับหนังสือแห่งความหวังเล่มนี้

เคล็ดลับอ่านเร็วและเพิ่มพลังความจำแบบไฮสปีด

 

ทันทีที่อ่านจบ (อย่างเร็ว) ฉันก็รีบนำมาบอกเล่าใน สวนหนังสือทันที ชนิดไม่มีเม้มอีกต่างหาก แต่ก่อนอื่นมาดูวิธีการเขียนของลุงไอน์สไตน์ ที่เราคุ้นเคยกันดีว่าเป็นหนังสือแนวฮาวทู

 

เป็นธรรมเนียมไปเสียแล้ว สำหรับนักเขียนหนังสือแนวนี้ ที่ต้องมีการอธิบาย ยกประโยชน์ให้แก่สิ่งที่ตนเขียนถึง เช่น ถ้าเขียนถึงการฝึกคิดเลขให้เร็วกว่ามนุษย์ธรรมดานั้น มีความจำเป็นมหาศาลปานใด หนำซ้ำหากคุณสามารถคิดเลขเร็วกว่าคนอื่นในสังคม ประโยชน์โภคผลนับพันประการจะตกแก่คุณอย่างงดงามปานใด

 

เช่นเดียวกัน ลุงไอน์สไตน์ก็ยกยอการอ่านว่าเป็นคุณประโยชน์มากเพียงใดแก่มนุษยชาติคนหนึ่ง ๆ

แกเขียนว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า 80 – 90 % ของความรู้หรือข้อมูลข่าวสารที่คนเราต้องการ มักจะได้มากจากการอ่าน

 

ท่านธีโอดอร์ รูสเวลท์ ยังรับประกันให้อย่างองอาจ สมกับตำแหน่งหน้าที่การงานว่า ก่อนเวลาอาหารเช้า ท่านจะอ่านหนังสือให้จบ 1 เล่มเสียก่อน และยังถือเป็นวัตรปฏิบัติอันสง่างามขณะที่เข้มงวดอย่างน่ายำเกรงอีกต่างหาก

 

นอกจากอธิบายและเอ่ยอ้างให้การอ่านเป็นเรื่องของชนชั้นเป็นมันสมองของสังคมแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีแบบทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการอ่านของเราด้วย มีสูตรให้คำนวณ มีแบบทดสอบการอ่าน ให้เราได้ลับมือ อีกใจหนึ่งก็จดจ่ออยู่กับเคล็ดลับอ่านเร็วที่กำลังจะเปิดเผยตัวเองในบทต่อไป ทั้งนี้ สำหรับคนที่ยึดมั่นในมารยาทการอ่านอย่างเข้มงวด คือจะอ่านตั้งแต่ต้นไปจนกระทั่งจบ ไม่มีการโกง แอบอ่านเอาเฉพาะในส่วนเนื้อหาที่ตนเองสนใจก่อน

 

และเมื่อเราได้ทำการทดสอบตัวเองผ่านบททดสอบการอ่านที่มาพร้อมในหนังสือแล้ว เราจะตระหนักว่าอันตัวเรานั้นเสียเวลาไปกับการอ่านอันเชื่องช้าอย่างมากมาย ชนิดไม่อยากให้อภัยตัวเอง เพราะว่า

จากสถิติที่เคยมีการบันทึกไว้ มี มนุษย์ที่สามารถอ่านได้เร็วขนาดมือยังเปิดหน้าตามแทบไม่ทัน

 

ไม่เท่านั้น คิม พีค อัจฉริยะออทิสติก ชาวอเมริกัน สามารถอ่านได้สองหน้าในวลาเดียวกัน และด้วยตาเพียงข้างเดียว (โอ้โห) ขณะที่อ่านเร็วผิดมนุษย์สามัญปานนั้น พ่ออัจฉริยะคิม พีค ยังสามารถจดจำและเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านได้อย่างขึ้นใจ หรืออย่างท่านอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี แห่งอเมริกา ยังสามารถอ่านได้เร็วถึง 1,000 คำต่อนาที ซึ่งหากดูระดับความเร็วในการอ่านแล้ว ทั่นจอห์น เอฟ เคนเนดีมีความสามารถในการอ่านเร็วเข้าขั้นทะลุเทพเลยทีเดียว

 

ไหน ๆ แล้ว ลองมาดูตารางระดับความเร็วกันดีกว่า

ความเร็วเฉลี่ย (คำ/นาที) ระดับ

301 – 400 ดีเยี่ยม

201 – 300 ดี

101 – 200 พอใช้

ต่ำกว่า 100 ควรปรับปรุง

ขนาดฉันที่เคยประเมินตัวเอง (ก่อนทำแบบทดสอบ) ยังรู้สึกว่าตัวเรานี่ก็อ่านเร็วไม่ใช่เล่น แต่ที่ไหนได้

พอมาทำแบบทดสอบแล้ว คะแนนออกมาตกต่ำจนใจหาย ฉะนั้นฉันจึงมุ่งหน้าไปสู่เคล็ดลับอ่านเร็วทันที

 

เคล็ดลับอ่านเร็วมีอยู่ 5 ขั้นตอนด้วยกัน แต่หากจะยกมาให้อ่านกันสด ๆ ตรงนี้ อาจไม่เป็นการบังควร ฉะนั้นฉันจึงควรแอบเอามาสรุปกันสั้น ๆ พอเป็นกระสาย สำหรับใครที่อ่านเร็วเข้าขั้นอยู่แล้ว ก็ถือเสียว่า งานนี้เป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน จะช่วยอุดหนุนบ้างก็จะเป็นพระคุณยิ่ง โฮะ ๆ

 

ใครเคยสังเกตเห็นใคร หรือตัวเองบ้างไหม ยามอ่านหนังสือจะส่ายหน้าจากซ้ายไปขวา ขวากลับมาซ้ายไปตามสายตาที่จับอยู่บนบรรทัดของหนังสือที่อ่าน เหมือนกำลังส่ายหน้าปฏิเสธอะไรบางอย่างอยู่อย่างงั้นแหละ ขอบอกเลยว่า อาการส่ายหน้าตามสายตาไปตามตัวอักษรอย่างนี้ ถือเป็นความผิดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอีกด้วย

 

เคล็ดลับการอ่านเร็วได้ระบุไว้ว่า การอ่านเร็วนั้นให้มองตรงไปข้างหน้าเท่านั้น

ใครที่เคยอ่านออกเสียงพึมพำหรือคลออยู่ในลำคอ หรือแม้กระทั่งอ่านออกเสียงอยู่ในใจก็ตามที

ถ้าอยากอ่านเร็วควรเลิกพฤติกรรมนี้เสีย เพราะมันทำให้สมองเรามัวเสียเวลาบัญชาการอวัยวะอื่น

นอกจากตา ปกติแล้วการอ่าน มีกระบวนการเริ่มที่ตารับภาพแล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง เป็นความรับรู้ แล้วส่งไปยังสมองในส่วนที่จะทำการบันทึกเป็นความทรงจำ ซึ่งมีทั้งความทรงจำชนิดสั้นและยาว หากเรามาเสียเวลาเปล่งเสียงแม้จะเป็นการเปล่งเสียงในใจก็ตาม ก็จะถือเป็นตัวถ่วงเวลาทั้งสิ้น

 

ที่ถูกต้องแล้ว เราควรอ่านทีละบรรทัด หรือถ้าได้ฝึกฝนจนคล่องแล้ว เราควรใช้สายตาให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องสแกนภาพ คือ อ่านทีละหน้า โดยไม่ต้องไล่สายตา แต่ให้โฟกัสสายตาไปที่หน้าหนังสือ ซึ่งมีประกอบด้วยประโยคแต่ละประโยค กลุ่มคำที่เราคุ้นชินและเคยได้ทำความรู้จัก โดยมันเคยถูกเก็บไว้เป็นความรับรู้ในสมองส่วนบันทึกความทรงจำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่โอ้โหย...ขั้นนั้น ใครจะไปทำได้

 

ทางที่ดี เราควรเริ่มฝึกจากการอ่านแบบทีละวรรค โดยไม่ต้องพยักหน้าขึ้นลงเมื่อต้องวาดสายตาผ่านตัวอักษรทีละวรรค พอคล่องแคล่วแล้ว ก็หัดอ่านไปทีละบรรทัด โดยโฟกัสไปทีบรรทัดบนสุด แล้วไล่ลงมาสู่บรรทัดล่าง แต่มีข้อแม้ว่า อย่าเผลอขยับหน้าตามบรรทัดที่อ่าน คราวนี้พอคล่องแล้ว เราจะหัดสวมวิญญาณเครื่องสแกนภาพกันล่ะ อ่านมันไปทีละหน้า ทีละหน้า ขอให้มือเปิดพลิกหน้ากระดาษให้ทันก็แล้วกัน งานนี้ใครฝึกไปถึงขั้นแล้ว ก็เชิญตัวเองไปลงทะเบียนแข่งขันอ่านเร็วได้เลยทีเดียว

 

หากสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้หรือ ในหนังสือเขาอธิบายว่า โดยปกติแล้ว เซลล์ประสาทตาคนเรามี 2 แบบ คือ แบบกรวย กับ แบบแท่ง แบบกรวยจะกระจุกตัวอยู่กลางจอรับภาพของดวงตา ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดตรงหน้า

ทำให้มองเห็นได้ 5 % แบบแท่งจะกระจายตัวอยู่รอบ ๆ จอรับภาพ ทำให้สามารถมองเห็นด้านข้างและด้านหลังได้ ราว 95 % ปกติเราใช้แบบกรวยอ่าน ซึ่งก็เท่ากับใช้สายตาเพียง 5 % ต้องสูญเสียโอกาสในการมองเห็นไปถึง 95 % น่าเสียดายออก ฉะนั้น หากเราโฟกัสไปที่กลางบรรทัด ให้ครอบคลุมไปจนสุดแนวซ้าย ขวาของหน้ากระดาษ โดยเฉพาะถ้ารูปแบบการพิมพ์ที่แบ่งเป็นคอลัมน์ ๆ จะใช้ได้ดีเยี่ยมกับการอ่านแบบนี้ เหมือนคนจีนกับคนญี่ปุ่นที่อ่านแบบแนวนิ่ง ต่างแต่เขากันอ่านทีละตัวอักษร

 

นอกจากเคล็ดลับเหล่านี้แล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาธิอันแน่วแน่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การอ่านบรรลุวัตถุประสงค์ เพราะนอกจากอ่านเร็วอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังทำให้เข้าใจต่อเนื้อหาของหนังสืออย่างแจ่มชัดด้วย และเขาก็บอกว่า การเรียกสมาธิให้มาอย่างเร็วนั้นมีตัวช่วยชนิดหนึ่ง นั่นคือ ภาพMandala ซึ่งก็คือภาพเรขาคณิตที่ทับซ้อนและดูวกวนนั่นเอง ใครเคยดูภาพ Mandala แล้วต้องเข้าใจว่าทำไมมันจึงสร้างสมาธิได้อย่างฉับพลัน หากใครเป็นพวกสมาธิสั้น สมาธิมีแบบกระปริกระปรอย ควรพกMandala ติดตัวไว้ หากต้องการสมาธิก็ควักภาพมาดูซะ เขาว่าอย่างงั้น

 

ถึงที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม การอ่านนั้นจะช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้อ่านและประเภทหนังสือ

เซอร์ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า เราต้องรู้ด้วยว่าหนังสือเล่มที่เรากำลังจะอ่านนั้นเป็นหนังสือประเภทใด

ถ้าเป็นตำราวิชาการ ก็ต้องอ่านคนละแบบกับการอ่านวรรณกรรม

 

หนังสือก็เหมือนอาหาร บางชนิดมีไว้ชิม ละเลียด บางชนิดมีไว้ขบเคี้ยว บางชนิดไว้มีซด อันนี้เชิญพิจารณากันเองตามอัธยาศัย

 

เหนืออื่นใด หัวใจของการอ่านก็คือ การทำความเข้าใจนักเขียน นั่นเอง เพราะนักเขียนก็เขียนเพื่อสื่อความหมายบางประการ ดังนั้น หากเราจะอ่านโดยไม่ถามถึงหัวใจดวงนี้เลย จะเป็นบิดเบือนเจตนารมของการอ่านไปเสียเปล่า ใช่ไหม

 

ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าเราจะเป็นพวกนิยมช้าหรือชื่นชมความเร็ว การอ่านแบบช้าหรือเร็วก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ที่ไม่ใช่ป้ายโฆษณาติดประกาศอย่างจำกัดความว่าเราเป็นพวกช้านิยมหรือเร็วนิยม เสียหน่อย.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…