Skip to main content

โดย ‘นายยืนยง’

book

ชื่อหนังสือ      :    ภาพเหมือน  ( The Portrait )
ประเภท    :        วรรณกรรมแปล
จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ คมบาง
พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    ตุลาคม ๒๕๔๔
ผู้เขียน        :    นิโคไล  โกโกล
ผู้แปล        :    ดลสิทธิ์  บางคมบาง   
จากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ  CHRISTOPHER  ENGLISH

 

หากเคยจ้องมองเข้าไปในดวงตาที่เปล่งประกายของชีวิตจากภาพเหมือน คุณอาจจะได้สัมผัสกับบุคลิกภาพของคนในภาพนั้น แต่กับ “ภาพเหมือน” รหัสคดีเล่มบางของนิโคไล โกโกล  นอกจากจะขนพองสยองเกล้าไปกับลูกนัยน์ตาอันน่าสะอิดสะเอียดของชายแก่ร่างโทรมเซียว ที่จ้องเขม็งกลับมายังดวงตาของคุณแล้ว  มันอาจปลุกสัญชาติญาณที่ซ่อนลึกอยู่ในซอกหลืบหัวใจคุณได้อย่างง่ายดาย แม้เพียงเสี้ยวสัมผัส  ราวกับมันเป็นซาตานที่โผล่ออกมาจากขุมนรก เพื่อฉุกกระชากตัวตนของคุณออกไปจากชะตากรรมอันสามัญที่เคยเป็นอยู่...

ใครก็ตามที่ครอบครองภาพเหมือนนั้นไว้ ล้วนประสบชะตากรรมอันน่าสังเวช... เริ่มตั้งแต่ศิลปินไส้แห้งที่กำลังจะถูกตะเพิดออกจากห้องเช่าโกโรโกโส เมื่อเขานำภาพเหมือนนี้เข้ามาในห้อง  ชีวิตก็เปลี่ยนดั่งพลิกฝ่ามือ ไม่ใช่แค่สถานภาพภายนอก แต่ในส่วนลึกของจิตใจ เขาก็เป็นคนใหม่  จวบกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่ามันน่าสมเพทเพียงใด

นิโคไล  โกโกล เขียนวรรณกรรมเล่มนี้ขึ้นราวกับเพื่อประกาศให้โลกศิลปะได้ตระหนักว่า  ผลสะท้อนจากงานศิลป์แต่ละชิ้นนั้น เป็นสิ่งที่ศิลปินควรจริงจังและรอบคอบยิ่ง เสมือนหนึ่งว่างานศิลปะนั้น เปี่ยมด้วยพลังบางอย่างของศิลปินที่ถ่ายทอด ถั่งเทออกมาจากจิตวิญญาณ ใส่ลงไปในงานศิลป์นั้น หากแต่พลังอันนั้นมิได้สิ้นสุดลง ณ จุดสมบูรณ์ของผลงานเท่านั้น เพราะพลังลึกลับดังกล่าวยังคงดำรงอยู่ เมื่อมีผู้คนได้สัมผัสกับมัน พลังนั้นก็กลับสำแดงอำนาจอีกครั้ง โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นอำนาจด้านดีหรือชั่วร้ายประการใด

จากโครงสร้างของวรรณกรรมรัสเซียเรื่องนี้  องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งก็คือตัวละคร ซึ่งล้วนโดดเด่นเป็นพิเศษ ในด้านที่โกโกลได้สร้างให้เห็นถึงการพัฒนาของแต่ละตัวละครอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้น พลิกผัน และจบนิ่งลง เช่น ศิลปินหนุ่มชาร์ทคอฟผู้สะดุดตากับภาพเหมือนที่มีดวงตาลึกลับดึงดูดใจอย่างประหลาด ขณะความสับสนในชีวิตศิลปินผู้แร้นแค้น และทัศนคติเรื่องศิลปะสองขั้วที่ยื้อเขาไว้จนเลือกไม่ถูกว่าจะตัดสินใจไปทางใดแน่ กระทั่งภาพเหมือนของชายแก่เหมือนคนซมพิษไข้นั้นได้เปลี่ยนเขาเป็นศิลปินผู้รุ่มรวยรสนิยม มั่งคั่งและมีชื่อเสียงในชั่วพริบตา แต่สุดท้ายชีวิตเขาก็ต้องจบสิ้นเมื่อถูกหลอกหลอนจากคู่ดวงตาน่ากลัวในภาพนั้น  ดังหน้า ๕๒

ภาพเหมือนนี้เองที่เป็นเหตุทำให้เกิดการลอกคราบขึ้นกับตัวเขา โชคอันเขาได้รับมาอย่างน่าอัศจรรย์นั่นแหละที่ชักพาให้เขาหลงทางไปกับการไข่วคว้าอันเปล่าไร้ทั้งปวง และจึงทำลายพรสามารถของเขาจนสิ้น

อีกตัวละครคือ ศิลปินผู้สร้างภาพเหมือนนั้นขึ้นมาเมื่อถูกว่าจ้างจากชายชราประหลาด เจ้าของกิจการปล่อยเงินกู้ที่เต็มไปด้วยรัศมีแห่งความน่าประหวั่นพรั่นพรึง  เมื่อนั้นชีวิตอันเรียบง่ายของเขาก็เปลี่ยนไป ขณะที่ศิลปินหนุ่มชาร์ทคอฟไม่อาจเอาชนะอำนาจเหนือภาพเหมือนนั้นได้ แต่ศิลปินผู้สร้างมันขึ้นมาสามารถรับมือ ต่อต้านทำลายอำนาจชั่วร้ายนั้นออกไปจากตัวเขาได้สำเร็จ

ขณะพัฒนาการของแต่ละตัวละครเป็นเรื่องที่น่าศึกษายิ่ง ภาพเหมือนเต็มไปด้วยทัศนคติในด้านศิลปะอันละเอียดลึกซึ้ง และเต็มไปด้วยอารมณ์แห่งชีวิตในแบบฉบับของจิตวิญญาณชาวรัสเซีย ซึ่งจะเห็นได้จากวรรณกรรมแทบทุกเล่มของประเทศนี้ ดังหน้า ๔๕

ชื่อเสียงไม่อาจให้ความพึงใจยินดีได้กับคนผู้มาสู่มันโดยไม่สุจริต โดยไม่พึงได้รับ มันก่อความตื่นเร้าได้อย่างสืบเนื่องก็แต่กับคนผู้ควรค่ากับมัน   

สิ่งสำคัญยิ่งที่ต้องกล่าวถึงคือสำนวนการถ่ายทอดของดลสิทธิ์ บางคมบาง  ที่พยายามรักษารูปประโยคความอันซับซ้อนไว้ และคงเอกลักษณ์ลีลาตามต้นฉบับเดิม ด้วยภาษาไทยที่ชัดถ้อยชัดคำ กระชับ และเต็มด้วยชีวิตชีวา หากแต่เราจะไม่อาจละสายตาจากอารมณ์ที่เกี่ยวโยงของตัวละครได้เลยแม้สักนาทีเดียว กระทั่งในจุดพลิกผันสำคัญของภาคหนึ่ง ซึ่งได้ทิ้งน้ำหนักลงอย่างเจ็บปวดแม้นในอักษรตัวสุดท้าย  

ผู้แปลยังได้เกริ่นนำไว้ว่า  “ภาพเหมือน” เป็นเสมือนงานที่โกโกลมองเข้าไปในงานของตัวเอง เขาทำมันออกมาได้ดีอย่างถึงขนาดของความเหมือน  ฯลฯ

แม้รายละเอียดที่สำคัญอื่นจะไม่ได้ถูกกล่าวถึง ณ ที่นี้  แต่สำหรับผู้ที่ทำงานศิลปะทั้งหลายน่าจะหาโอกาสหยิบภาพเหมือนเล่มนี้มาอ่าน ไม่แน่ว่าชั่วเวลาเพียงคืนเดียวที่คุณได้อยู่กับมัน ชีวิตของคุณอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปก็เป็นได้.

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…