Skip to main content

นายยืนยง

 

ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก

ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์

ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 ..2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน

 

หนังสือที่มีเนื้อหาว่าด้วยการค้นพบสิ่งใหม่ทั้งหลายล้วนอ้างถึงข้อมูล ลับบ้างไม่ลับบ้าง คละเคล้ากันไป ในฐานะของผู้อ่าน เราจะรู้ได้อย่างไรว่า บรรดาข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร ขณะที่เรายังคงว่ายเวียนอยู่ในทะเลแห่งข่าวสารข้อเท็จจริง ข้อมูลชนิดใดกันเล่าที่จะใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเราไว้ได้มั่นคง

 

ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง แม้จะเป็นคนละคำ แต่นัยความหมายที่ถูกนำมาใช้มักจะพ้องกันอยู่กลาย ๆ ด้วย และเราทั้งหลายในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องที่ง่ายสะดวกต่อการเข้าถึงกว่าในยุคก่อนนี้หลายเท่าตัว แต่เรากลับไม่ได้ให้ความเชื่อถือข้อมูลเหล่านั้นในเชิงข้อเท็จจริงอย่างจริงจังมากนัก นอกเสียจากข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้ในการอ้างอิงหรือแอบอ้างเพื่อให้ทัศนคติของเราดูเป็นจริงเป็นจัง น่าเชื่อถือมากขึ้น

 

ข้อมูลใหม่ ๆ ที่ถูกป้อนเข้าสู่คลังความจำของเราในยุคนี้ มักไม่ได้มาเพียงลำพัง หากแต่มันจะพ่วงเอาแนวคิด หนีบเอาทัศนคติมาพร้อมกันด้วย ถ้อยคำใหม่ ๆ วิธีคิดแบบใหม่ ๆ ก็ถูกลำเลียงมาตามสายพานข้อมูลเหล่านั้นพร้อม ๆ กัน ราวกับโลกแห่งการรับรู้ของเราเป็นดั่งสนามประลองทางทัศนคติ ในที่สุดความเรียบเฉยของข้อมูลก็พลิกโฉมหน้าเป็นสงครามแห่งมายาคติไปในที่สุด

 

เช่นเดียวกันหนังสือที่ได้รวบรวมเอาบทความเชิงวิชาการของท่านนักคิด นักเขียน ผู้ขึ้นชื่อในทางสำนักคิดทางจิตวิญญาณ บางท่านได้รับสมญาว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในกลุ่มผู้ให้ความเคารพนับถือ เล่มนี้

จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก

 

ในบรรดาผู้อ่านหรือผู้รับสารทั้งหลาย รวมทั้งฉันด้วย คงมีไม่น้อยที่เกิดข้อกังขาเมื่อได้รับรู้ถึงการกล่าวอ้างข้อมูลอันน่าเชื่อถือขึ้นมาสักข้อหนึ่งหรือหลายข้อระหว่างการอ่าน “ความคิด” ของบทความใด ๆ ในฐานะผู้อ่านอย่างเรา ๆ นั้น ไม่ค่อยได้มีโอกาสโต้แย้งเท่าไรนัก ราวกับผู้อ่านอย่างเรา ๆ นั้น ไม่เคยมีลิขสิทธิ์คุ้มครองความสงสัยในความน่าเชื่อถือเหล่านั้น คงไม่มีสถาบันใดหรอกที่จะรณรงค์คุ้มครองลิขสิทธิ์ผู้อ่าน ให้ห่างไกลจากข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น

 

หรือในยุคของเรา ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มีค่าเท่ากับข่าวลือ มีน้ำเสียงแบบกึ่งจริงกึ่งฝัน ทำหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อไปเสียแล้ว

 

มาดูกันว่า จักรวาลผลัดใบเล่มนี้ ใช้ข้อมูลเพื่อนำเราไปสู่อะไร จะเป็นการปฏิวัติทางจิตวิญญาณ หรือเพื่อ

ประสานโลกใหม่ด้วยความเข้าใจ ก้าวสู่โลกใหม่ด้วยความเข้าถึง” อย่างที่ได้โปรยไว้บนปกหนังสือหรือไม่

 

เล่มนี้ประกอบด้วยบทความจากนักคิดนักเขียนหลายท่าน ดูที่รายการชื่อบทความที่เปี่ยมไปด้วยแรงดึงดูดเหล่านี้ก็ได้

 

กลับมาสู่คุณค่าแท้แห่งชีวิต

หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์

ดุลยภาพแห่งการเรียนรู้

พ้นวิกฤตด้วยจิตวิวัฒน์

จิตวิวัฒน์กับการดับไฟใต้

ฯลฯ

 

ฉันขออนุญาตยกบางส่วนของบทความมาให้อ่านกันตรงนี้

จากบทความชื่อ หนึ่งนาทีก่อนเที่ยงคืน ของ พระไพศาล วิสาโล

 

ความรุนแรงทั้งมวลของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นในช่วง 8,000 ปีที่ผ่านมานี้เอง

มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกไม่น้อยกว่า 2 ล้านปีมาแล้ว แต่มีเพียง 10,000 ปีสุดท้ายเท่านั้นที่พบหลักฐานการทำสงครามหรือการสู้รบกันเป็นกลุ่มและอย่างเป็นระบบ และเมื่อศึกษาให้ละเอียดจะพบว่า การสู้รบอย่างนองเลือดจนล้มตายกันเป็นเบือนั้นกระจุกตัวอยู่ในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา

ข้อมูลเชิงสถิติที่ได้จากบางส่วนของบทความข้างต้น ได้กลายเป็นเส้นแบ่งเพื่อจำแนกความรุนแรงระหว่างมนุษย์ด้วยกันเป็นยุคสมัย ทั้งนี้ได้สัมพันธ์กับความเป็นเหตุเป็นผลระหว่าง พื้นที่กับปริมาณ คือ พื้นที่อันเป็นแหล่งทรัพยากร กับปริมาณมนุษย์ที่ต้องการทรัพยากร ทำให้คิดไปว่า บ่อเกิดของการฆ่ากันเองของมนุษย์ค่อย ๆ พัฒนาการจาก การฆ่าโดยสัญชาตญาณเพื่อป้องกันตัวจากภัยร้ายต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอด รักษาเผ่าพันธุ์ของตน เช่นเดียวกับสัตว์โลกสายพันธุ์อื่น พัฒนามาเป็นการฆ่าเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเผ่าพันธุ์ตนเองในอนาคต เพื่อลูกหลาน หรือจะกล่าวว่า ฆ่าเพื่อปัจจุบัน พัฒนามาเป็น ฆ่าเพื่ออนาคต อันนี้กล่าวอย่างหยาบ ๆ เท่านั้นนะ อย่าจริงจัง

 

หรืออีกบทความหนึ่ง ที่แม้แต่ฉันเองก็เคยนำไปกล่าวอ้างเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้บทความของตัวเองมาแล้วในบทความ “มหากาพย์ข้ามกาลเวลาของคนสมัครใจว่างงาน” ทั้งนี้เป็นเพียงการตั้งสมมุติฐานเท่านั้น หาใช่เป็นการประกาศสัจจะแต่อย่างใด

 

มิชิโอะ กากุ นักวิทยาศาสตร์ควอนตัมฟิสิกส์ได้พิสูจน์ว่าจักรวาลมีมากมาย (multiverse) จักรวาลถัดไปอยู่ห่างเพียง 1 มิลลิเมตรจากผิว (brane) แต่รับรู้ไม่ได้ เพราะมันอยู่เหนือมิติ(โลกสี่มิติ) ของเรา เท่าที่พิสูจน์ได้มี 11 มิติ สภาวะนิพพาน (nirvana) ที่มีความถี่ละเอียดอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับโลกสี่มิติของเรา

 

แล้วผู้อ่านอย่างเราหรืออย่างฉันคนเดียวก็ได้ จะไปมีโอกาสรู้ได้อย่างไรว่า มิชิโอะ กากุ เป็นผู้พิสูจน์ได้ว่าจักรวาลมีหลายมิติ เราจะล่วงรู้ได้อย่างไรว่า ข้อพิสูจน์นั้นจะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์

 

ที่ว่ามานี้ ไม่ใช่ฉันเป็นคนประเภทไม่ศรัทธาในชีวิต ไม่เชื่อมั่นในจิตวิญญาณของมนุษย์ หากแต่มันเป็นเพียงข้อสงสัยบางอย่างที่คอยรบกวนอยู่เรื่อยในเวลาที่อ่านบทความเชิงเทศนาทั้งหลาย ฉันอาจสงสัยในสิ่งที่ไม่ควรสงสัยก็เป็นได้ (แต่มันก็สงสัยอยู่ดี)

 

อย่างไรก็ตาม มีคนเคยบอกฉันด้วยท่าทีอย่างหวังดีว่า การจะอ่านหนังสืออะไรก็ตามแต่ ควรดูที่จุดมุ่งหมายของผู้เขียน หาใช่คอยจับผิดในเรื่องเล็กน้อย เพราะฉะนั้น เราควรมาดูกันจะดีกว่าไหมว่าจักรวาลผลัดใบ เล่มนี้ กลุ่มจิตวิวัฒน์ ได้พยายามสื่อถึงอะไร

 

ไม่ยากเลย ก็อย่างเขาได้โปรยไว้แล้ว “ประสานโลกใหม่ด้วยความเข้าใจ ก้าวสู่โลกใหม่ด้วยความเข้าถึง” นั่นแหละ

 

โดยได้กล่าวถึงวิถีทางอันจะนำพาเราไปสู่ชีวิตอย่างใหม่ พาเราวิวัฒน์ไปจากมนุษย์ที่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องจิตวิญญาณ พอมายุคหนึ่งก็ละทิ้งมัน แล้วหันไปบูชาศาสตร์ใหม่อย่างวิทยาศาสตร์ และมาถึงปัจจุบันก็หวนกลับมาสู่สภาพดั้งเดิมคือให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณ ต่างแต่ไม่ใช่อย่างลุ่มหลงงมงาย หากแต่มีหลักการ มีหลักฐานและพิสูจน์ได้เช่นเดียวกับสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นที่ในหนังสือได้สรุปไว้ว่า

 

น่าสนใจคือ จักรวาลวิทยาใหม่กลับมีความสอดคล้องกับจักรวาลวิทยาดึกดำบรรพ์กับตำนานปรัมปราที่อยู่คู่กันมากับความหมาย (Myth) ที่บรรพบุรุษเราเคยเชื่อมั่นและพยายามแสวงหามานับพันปีก่อนจะมีวิทยาศาสตร์

 

แล้ววิถีทางใดกันเล่าที่จะนำพาเราให้อยู่รอดปลอดภัยอย่างเข้าใจและเข้าถึงได้ ฉันขอฝากให้ไปหามาอ่านกันดีกว่า งานนี้ บางคนถึงกับบอกว่า เรื่องนี้มันผูกพันกับความเชื่อส่วนบุคคล (คล้ายกับโปรยหน้าจอทีวีตอนมีรายการเชิงเหนือจริงเลยทีเดียว) ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความรับรู้เฉพาะตัว แต่เหนืออื่นใด จักรวาลผลัดใบ ก็ได้นำเสนอวิถีทางที่สงบร่มเย็น หาใช่วิถีแห่งการทำลายล้างกันเอง เนื่องจากได้ยึดเอาหลักพุทธธรรม ปัญญากับกรุณา เป็นที่ตั้ง และเป็นไปด้วยท่าทีอย่างเป็นมิตรมากกว่าเป็นปฏิปักษ์กับผู้อ่าน

 

และโปรดอย่าลืมไปล่ะว่า “ทุกความคิดเป็นเพียงสมมุติฐาน ไม่ใช่สัจจะ” (ประโยคนี้ได้มาจากหนังสือ)

และทุกวันนี้ ข้อเท็จจริง ข้อมูล บรรดามีทั้งหลาย ก็เป็นส่วนหนึ่งของความลึกลับไปเสียแล้ว สัจจะที่เราต่างแสวงหากันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ อาจมีหรือไม่มีอยู่ เราเองก็ไม่อาจรู้ได้ แต่มันก็มีเสน่ห์เสียยิ่งกว่าชีวิตจริงที่เราต่างย่ำวนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้เสียอีก หรือไม่ก็เราต่างโหยหาสัจจะเสียยิ่งกว่าจะเดินหน้าแสวงหาสัจจะเสียอีกก็เป็นได้ โอ้..สัจจะ ที่รัก.

 

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…