Skip to main content

นายยืนยง

 

ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก

ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์

ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 ..2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน

 

หนังสือที่มีเนื้อหาว่าด้วยการค้นพบสิ่งใหม่ทั้งหลายล้วนอ้างถึงข้อมูล ลับบ้างไม่ลับบ้าง คละเคล้ากันไป ในฐานะของผู้อ่าน เราจะรู้ได้อย่างไรว่า บรรดาข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร ขณะที่เรายังคงว่ายเวียนอยู่ในทะเลแห่งข่าวสารข้อเท็จจริง ข้อมูลชนิดใดกันเล่าที่จะใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเราไว้ได้มั่นคง

 

ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง แม้จะเป็นคนละคำ แต่นัยความหมายที่ถูกนำมาใช้มักจะพ้องกันอยู่กลาย ๆ ด้วย และเราทั้งหลายในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องที่ง่ายสะดวกต่อการเข้าถึงกว่าในยุคก่อนนี้หลายเท่าตัว แต่เรากลับไม่ได้ให้ความเชื่อถือข้อมูลเหล่านั้นในเชิงข้อเท็จจริงอย่างจริงจังมากนัก นอกเสียจากข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้ในการอ้างอิงหรือแอบอ้างเพื่อให้ทัศนคติของเราดูเป็นจริงเป็นจัง น่าเชื่อถือมากขึ้น

 

ข้อมูลใหม่ ๆ ที่ถูกป้อนเข้าสู่คลังความจำของเราในยุคนี้ มักไม่ได้มาเพียงลำพัง หากแต่มันจะพ่วงเอาแนวคิด หนีบเอาทัศนคติมาพร้อมกันด้วย ถ้อยคำใหม่ ๆ วิธีคิดแบบใหม่ ๆ ก็ถูกลำเลียงมาตามสายพานข้อมูลเหล่านั้นพร้อม ๆ กัน ราวกับโลกแห่งการรับรู้ของเราเป็นดั่งสนามประลองทางทัศนคติ ในที่สุดความเรียบเฉยของข้อมูลก็พลิกโฉมหน้าเป็นสงครามแห่งมายาคติไปในที่สุด

 

เช่นเดียวกันหนังสือที่ได้รวบรวมเอาบทความเชิงวิชาการของท่านนักคิด นักเขียน ผู้ขึ้นชื่อในทางสำนักคิดทางจิตวิญญาณ บางท่านได้รับสมญาว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในกลุ่มผู้ให้ความเคารพนับถือ เล่มนี้

จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก

 

ในบรรดาผู้อ่านหรือผู้รับสารทั้งหลาย รวมทั้งฉันด้วย คงมีไม่น้อยที่เกิดข้อกังขาเมื่อได้รับรู้ถึงการกล่าวอ้างข้อมูลอันน่าเชื่อถือขึ้นมาสักข้อหนึ่งหรือหลายข้อระหว่างการอ่าน “ความคิด” ของบทความใด ๆ ในฐานะผู้อ่านอย่างเรา ๆ นั้น ไม่ค่อยได้มีโอกาสโต้แย้งเท่าไรนัก ราวกับผู้อ่านอย่างเรา ๆ นั้น ไม่เคยมีลิขสิทธิ์คุ้มครองความสงสัยในความน่าเชื่อถือเหล่านั้น คงไม่มีสถาบันใดหรอกที่จะรณรงค์คุ้มครองลิขสิทธิ์ผู้อ่าน ให้ห่างไกลจากข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น

 

หรือในยุคของเรา ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มีค่าเท่ากับข่าวลือ มีน้ำเสียงแบบกึ่งจริงกึ่งฝัน ทำหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อไปเสียแล้ว

 

มาดูกันว่า จักรวาลผลัดใบเล่มนี้ ใช้ข้อมูลเพื่อนำเราไปสู่อะไร จะเป็นการปฏิวัติทางจิตวิญญาณ หรือเพื่อ

ประสานโลกใหม่ด้วยความเข้าใจ ก้าวสู่โลกใหม่ด้วยความเข้าถึง” อย่างที่ได้โปรยไว้บนปกหนังสือหรือไม่

 

เล่มนี้ประกอบด้วยบทความจากนักคิดนักเขียนหลายท่าน ดูที่รายการชื่อบทความที่เปี่ยมไปด้วยแรงดึงดูดเหล่านี้ก็ได้

 

กลับมาสู่คุณค่าแท้แห่งชีวิต

หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์

ดุลยภาพแห่งการเรียนรู้

พ้นวิกฤตด้วยจิตวิวัฒน์

จิตวิวัฒน์กับการดับไฟใต้

ฯลฯ

 

ฉันขออนุญาตยกบางส่วนของบทความมาให้อ่านกันตรงนี้

จากบทความชื่อ หนึ่งนาทีก่อนเที่ยงคืน ของ พระไพศาล วิสาโล

 

ความรุนแรงทั้งมวลของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นในช่วง 8,000 ปีที่ผ่านมานี้เอง

มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกไม่น้อยกว่า 2 ล้านปีมาแล้ว แต่มีเพียง 10,000 ปีสุดท้ายเท่านั้นที่พบหลักฐานการทำสงครามหรือการสู้รบกันเป็นกลุ่มและอย่างเป็นระบบ และเมื่อศึกษาให้ละเอียดจะพบว่า การสู้รบอย่างนองเลือดจนล้มตายกันเป็นเบือนั้นกระจุกตัวอยู่ในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา

ข้อมูลเชิงสถิติที่ได้จากบางส่วนของบทความข้างต้น ได้กลายเป็นเส้นแบ่งเพื่อจำแนกความรุนแรงระหว่างมนุษย์ด้วยกันเป็นยุคสมัย ทั้งนี้ได้สัมพันธ์กับความเป็นเหตุเป็นผลระหว่าง พื้นที่กับปริมาณ คือ พื้นที่อันเป็นแหล่งทรัพยากร กับปริมาณมนุษย์ที่ต้องการทรัพยากร ทำให้คิดไปว่า บ่อเกิดของการฆ่ากันเองของมนุษย์ค่อย ๆ พัฒนาการจาก การฆ่าโดยสัญชาตญาณเพื่อป้องกันตัวจากภัยร้ายต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอด รักษาเผ่าพันธุ์ของตน เช่นเดียวกับสัตว์โลกสายพันธุ์อื่น พัฒนามาเป็นการฆ่าเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเผ่าพันธุ์ตนเองในอนาคต เพื่อลูกหลาน หรือจะกล่าวว่า ฆ่าเพื่อปัจจุบัน พัฒนามาเป็น ฆ่าเพื่ออนาคต อันนี้กล่าวอย่างหยาบ ๆ เท่านั้นนะ อย่าจริงจัง

 

หรืออีกบทความหนึ่ง ที่แม้แต่ฉันเองก็เคยนำไปกล่าวอ้างเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้บทความของตัวเองมาแล้วในบทความ “มหากาพย์ข้ามกาลเวลาของคนสมัครใจว่างงาน” ทั้งนี้เป็นเพียงการตั้งสมมุติฐานเท่านั้น หาใช่เป็นการประกาศสัจจะแต่อย่างใด

 

มิชิโอะ กากุ นักวิทยาศาสตร์ควอนตัมฟิสิกส์ได้พิสูจน์ว่าจักรวาลมีมากมาย (multiverse) จักรวาลถัดไปอยู่ห่างเพียง 1 มิลลิเมตรจากผิว (brane) แต่รับรู้ไม่ได้ เพราะมันอยู่เหนือมิติ(โลกสี่มิติ) ของเรา เท่าที่พิสูจน์ได้มี 11 มิติ สภาวะนิพพาน (nirvana) ที่มีความถี่ละเอียดอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับโลกสี่มิติของเรา

 

แล้วผู้อ่านอย่างเราหรืออย่างฉันคนเดียวก็ได้ จะไปมีโอกาสรู้ได้อย่างไรว่า มิชิโอะ กากุ เป็นผู้พิสูจน์ได้ว่าจักรวาลมีหลายมิติ เราจะล่วงรู้ได้อย่างไรว่า ข้อพิสูจน์นั้นจะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์

 

ที่ว่ามานี้ ไม่ใช่ฉันเป็นคนประเภทไม่ศรัทธาในชีวิต ไม่เชื่อมั่นในจิตวิญญาณของมนุษย์ หากแต่มันเป็นเพียงข้อสงสัยบางอย่างที่คอยรบกวนอยู่เรื่อยในเวลาที่อ่านบทความเชิงเทศนาทั้งหลาย ฉันอาจสงสัยในสิ่งที่ไม่ควรสงสัยก็เป็นได้ (แต่มันก็สงสัยอยู่ดี)

 

อย่างไรก็ตาม มีคนเคยบอกฉันด้วยท่าทีอย่างหวังดีว่า การจะอ่านหนังสืออะไรก็ตามแต่ ควรดูที่จุดมุ่งหมายของผู้เขียน หาใช่คอยจับผิดในเรื่องเล็กน้อย เพราะฉะนั้น เราควรมาดูกันจะดีกว่าไหมว่าจักรวาลผลัดใบ เล่มนี้ กลุ่มจิตวิวัฒน์ ได้พยายามสื่อถึงอะไร

 

ไม่ยากเลย ก็อย่างเขาได้โปรยไว้แล้ว “ประสานโลกใหม่ด้วยความเข้าใจ ก้าวสู่โลกใหม่ด้วยความเข้าถึง” นั่นแหละ

 

โดยได้กล่าวถึงวิถีทางอันจะนำพาเราไปสู่ชีวิตอย่างใหม่ พาเราวิวัฒน์ไปจากมนุษย์ที่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องจิตวิญญาณ พอมายุคหนึ่งก็ละทิ้งมัน แล้วหันไปบูชาศาสตร์ใหม่อย่างวิทยาศาสตร์ และมาถึงปัจจุบันก็หวนกลับมาสู่สภาพดั้งเดิมคือให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณ ต่างแต่ไม่ใช่อย่างลุ่มหลงงมงาย หากแต่มีหลักการ มีหลักฐานและพิสูจน์ได้เช่นเดียวกับสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นที่ในหนังสือได้สรุปไว้ว่า

 

น่าสนใจคือ จักรวาลวิทยาใหม่กลับมีความสอดคล้องกับจักรวาลวิทยาดึกดำบรรพ์กับตำนานปรัมปราที่อยู่คู่กันมากับความหมาย (Myth) ที่บรรพบุรุษเราเคยเชื่อมั่นและพยายามแสวงหามานับพันปีก่อนจะมีวิทยาศาสตร์

 

แล้ววิถีทางใดกันเล่าที่จะนำพาเราให้อยู่รอดปลอดภัยอย่างเข้าใจและเข้าถึงได้ ฉันขอฝากให้ไปหามาอ่านกันดีกว่า งานนี้ บางคนถึงกับบอกว่า เรื่องนี้มันผูกพันกับความเชื่อส่วนบุคคล (คล้ายกับโปรยหน้าจอทีวีตอนมีรายการเชิงเหนือจริงเลยทีเดียว) ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความรับรู้เฉพาะตัว แต่เหนืออื่นใด จักรวาลผลัดใบ ก็ได้นำเสนอวิถีทางที่สงบร่มเย็น หาใช่วิถีแห่งการทำลายล้างกันเอง เนื่องจากได้ยึดเอาหลักพุทธธรรม ปัญญากับกรุณา เป็นที่ตั้ง และเป็นไปด้วยท่าทีอย่างเป็นมิตรมากกว่าเป็นปฏิปักษ์กับผู้อ่าน

 

และโปรดอย่าลืมไปล่ะว่า “ทุกความคิดเป็นเพียงสมมุติฐาน ไม่ใช่สัจจะ” (ประโยคนี้ได้มาจากหนังสือ)

และทุกวันนี้ ข้อเท็จจริง ข้อมูล บรรดามีทั้งหลาย ก็เป็นส่วนหนึ่งของความลึกลับไปเสียแล้ว สัจจะที่เราต่างแสวงหากันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ อาจมีหรือไม่มีอยู่ เราเองก็ไม่อาจรู้ได้ แต่มันก็มีเสน่ห์เสียยิ่งกว่าชีวิตจริงที่เราต่างย่ำวนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้เสียอีก หรือไม่ก็เราต่างโหยหาสัจจะเสียยิ่งกว่าจะเดินหน้าแสวงหาสัจจะเสียอีกก็เป็นได้ โอ้..สัจจะ ที่รัก.

 

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…