Skip to main content

อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง”

อาจารย์ชา สุภัทโท ฝากข้อความสั้น กินใจ ไว้ในหนังสือธรรมะ ซึ่งข้อความว่าด้วยอารมณ์นี้ เป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในหนังสือ “พระโพธิญาณเถร” ท่านอธิบายข้อความดังกล่าวในทำนองว่า

ถ้าเราวิ่งกับอารมณ์เสีย... ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้

จิต – ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ ”

\\/--break--\>
หนึ่งปีกำลังจะผ่านพ้น ฉันขอส่งคำอวยพรปีใหม่มาถึงท่านผู้อ่านประชาไท พร้อมทั้งทีมงานประชาไททุกคนด้วยการน้อมนำเอาหลักธรรมจากพระอาจารย์ชา สุภัทโท ในข้อของ “อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง” ฝากไว้แทนคำอวยพร เพราะเห็นว่า เรื่องของจิตใจนั้น สำคัญและซับซ้อน ขณะเดียวกัน จิตที่เป็นสมาธิ คือขุมพลังที่ก่อเป็นปัญญา ความสงบร่มเย็นอย่างแท้จริง จึงบังเกิด


ขอทุกคนได้ค้นพบขุมพลังทางปัญญาในตัวเอง เกิดเป็นความร่มเย็น เป็นร่มเงาให้แก่ตัวเอง และผู้อื่นตลอดไปเทอญ


ค้นเจอของเก่า...เอามาฝากในช่วงใกล้ใหม่

ฉันไปค้นเจอสำเนาบทกวีนอนสงบอยู่ในแฟ้ม เป็นแฟ้มเก็บบทกวีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษจากนิตยสารต่าง ๆ ที่เมื่อก่อน ถ้าอ่านกวีบทใดแล้วเข้าถึงใจ ฉันก็จะทำสำเนาเก็บไว้ คล้ายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางอารมณ์ เพราะบางทีฉันก็อยากเป็นกวีเหมียนกัลล์ หนึ่งในบทกวีของวันวาร ฉันสะดุดใจเป็นพิเศษกับบทกวีของ ดวงแก้ว กัลยาณ์ กวีสาวที่ฉันไม่เคยเห็นหน้าค่าตา แม้แต่ในรูปภาพทางหน้านิตยสาร เธอเป็นผู้หญิงแบบไหนหนอ ทำไมใช้ถ้อยคำง่าย ๆ ประโยคและวลีง่าย ๆ เรียงร้อยออกมาเป็นกวีบทนี้ได้ ขออนุญาตคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ นำบทกวีของเธอมาให้ผู้อ่านประชาไท ได้อ่านกันตรงนี้


ฤดูฝนปีที่ 40


อีกไม่กี่เดือน

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

ท่ามกลางความหวังอันรางเลือน

หนึ่งชีวิตดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า


เกือบจะ 40 ปี แล้วหรือท้องฟ้า

ที่ฉันแหงนหน้ามองเธอทุกวัน

เกือบจะ 40 ปีแล้วหรือความฝัน

ที่ฉันเพียรพยายามถักทอ


กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่

ท่ามกลางความเดียวดายในคืนอันเงียบงัน


ความยากจน

ยังคงโอบกอดฉันไว้ราวกับเป็นเพื่อนสนิท

และความป่วยไข้...ดั่งเป็นกัลยาณมิตร

ที่หมั่นคอยเตือนให้ระลึกถึงความตาย


อีกไม่กี่เดือน...

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

แม้ชีวิตดูเหมือนว่างเปล่า

แต่ฉันจะทำสิ่งใดได้เล่า –

ในเมื่อหัวใจแสนเศร้า

ปรารถนาจะเป็น “กวี” .

(ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์)


จากกวีบทนี้ จะเห็นได้ว่ามีการเอ่ยถึง “ช่วงเวลา” คือ 40 ปี ที่ผ่านมาถึง 4 ครั้ง

มีกิริยาที่แสดงออกถึง “กิจวัตรประจำวัน” คือ แหงนหน้ามองท้องฟ้า และถักทอความฝัน ซึ่งทั้งช่วงเวลากับกิจวัตรประจำวันนั้นต่างก็สมพันธ์กัน และให้ผลเป็นความหวังอันรางเลือน นอกจากนี้ ความเป็นกวีก็หาได้แตกต่างจากปุถุชนคนธรรมดา มียากจน มีป่วยไข้ และระลึกถึงความตาย


เมื่อกวีไม่ได้แปลกต่างไปจากคนธรรมดาแล้ว สิ่งใดเล่าที่ทำให้ถ้อยคำเรียบง่ายซึ่งกวีเรียงร้อยขึ้น กลับกลายมาเป็นความสะเทือนใจ ดวงแก้ว กัลยาณ์ ให้คำตอบแก่เราผ่านบทกวีของเธอในบทที่ 3 ที่ว่า

กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่”

เป็นการแสดงออกให้ผู้อ่านเห็นถึง ความมุ่งมาดปรารถนาของกวีที่มีต่อถ้อยคำ และมีต่อจิตใจ

เมื่อถ้อยคำจากใจไหลรินออกมา เมื่อนั้นกวีบทใหม่จึงได้ถือกำเนิด


นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นวิธีการเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์ แต่กวีบทนี้ไม่ได้ต้องการส่งสารถึงผู้อ่านในแง่ของการถือกำเนิดของบทกวี หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีทางของกวีนิพนธ์ ที่เกี่ยวร้อยเข้ากับวิถีแห่งตัวตนของกวีเองด้วย ซึ่งในบท ฤดูฝนปีที่ 40 นี้ ได้เน้นย้ำถึงภาวะที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ระหว่าง “ตัวกวี” กับ “กวีนิพนธ์”


หรือทั้งตัวผู้สร้างและตัวผลงาน จะเป็นดั่งประติมากรรมแห่งวิถีชีวิต ไม่อาจจำแนกแยกแยะให้ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกเทศได้ ทั้งตัวกวีและกวีนิพนธ์ต่างก็ร่วมสร้างสรรค์เป็นผลงานของชีวิต

หากเป็นเช่นนี้ ทฤษฎีวิจารณ์ที่มุ่งเน้นกล่าวถึงเฉพาะตัวบทวรรณกรรม ก็ไม่อาจสำแดงฤทธิ์เดชอะไรได้


อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ ไว้ ณ ที่นี้ ในฐานะที่ได้ส่งมอบความรู้สึกธรรมดาสามัญซึ่งเต็มไปด้วยพลังของความรู้สึก และของจิตใจอย่างที่กวีคนหนึ่งจะพูดออกมาได้


ทำนายดวงกวี..ขออย่าให้เป็นกวีมีแต่เศร้าเลย สาธู

.. 2553 ปีขาล เสือร้ายคำราม ขึ้นชื่อว่าปีขาล ก็นับเป็นปีที่ดุร้ายเอาการทีเดียว โหราจารย์หลายสำนักกระเซ้าเตือนมาอย่างปรารถนาดี ประดังมาด้วยขบวนสินค้าที่เตรียมขึ้นราคา รวมถึงราคาข้าวหอมมะลิไทยที่ขึ้นชื่อว่าหอมนักหนา ถึงเกวียนละแสนบาทเมื่ออยู่นอกประเทศ ภัตตาคารฮ่องกงวางแผนเปลี่ยนไปอุดหนุนข้าวหอมมะลิจากจีนและเวียดนามที่ราคาถูกกว่า นายกอภิสิทธิ์ชนที่ไม่เคยทำอะไรก็ตีสีหน้าไม่ปริวิตก คงเค้าของความหล่อแบบสุภาพบุรุษแมนอยู่เช่นเดิม


ปีขาลต่อสายไปถึงสถานการณ์กวีซีไรต์ปี 2553 เสือจะขย้ำคอกวีหรือไม่ กลอนเปล่าหรือกลอนฉันทลักษณ์จะพาเหรดเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ ผ่านมุมมองในกรอบแว่นตาของศาสตราจารย์เอกทางวรรณกรรมคนใด การเมืองกับมุ้งกวีจะยุ่งเหยิงแค่ไหน นักข่าวสายวรรณกรรมต้องกินยาแก้เส้นเคล็ดไปกี่ซอง

เรื่องบรรดานี้ ใครจะสน... เพราะแม้แต่กวีมือทำส่งประกวดรางวัลซีไรต์ ประเภทเมดอินมายด์แฟมิลี่ เขายังบอกไม่เคยสนซีไรต์...ทำไปด้วยใจรักล้านเปอร์เซ็นต์


ใครเซ็งบ้างเอ่ย ฉันคนหนึ่งล่ะที่ขอบอกว่าไม่เคยเซ็งกับกวีนิพนธ์ ก็ฉันอยากเป็นกวีกับเขาเหมียนกัลล์

สงสัยตัวเองอยู่ว่าชาติที่แล้วอาจเกิดในยุคอยุธยาตอนกลาง สมัยพระนารายณ์ที่เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์ ดีเอ็นเอของชาติปางก่อนคงยังแฝงอยู่ ต่อให้ใครจะว่ากวีนิพนธ์ตายแล้วก็ตาม


ฉะนั้นแล้ว พี่กวีทั้งหลายอย่าด่วนถอดใจจากกวีนิพนธ์อันเป็นที่รักเลย และได้โปรดอย่าสุ่มทุ่มเถียงกันอยู่ในแวดวงแคบ ๆ เท่านั้นเลย เปิดประตูรับสุ้มเสียงของคำถาม คำบ่น จากโลกภายนอกบ้าง อย่ากักขังตัวเองไว้กับวิถีแห่งความเงียบงันอันเปล่าดายอีกเลย

หนึ่งชีวิตของกวี ดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า” โอ้..กวี.. อะไรจะเดียวดายปานนั้น


มีของขวัญปีใหม่สำหรับผู้อ่านสวนหนังสือที่สนใจด้วยนะเออ

บ่ายวันนี้ พี่บุรุษไปรณีย์ส่งหนังสือมาให้ 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวลาว ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ นามว่า รวงทอง จันดา เป็น 2 เล่มจบ

ชื่อหนังสือ จำปาขาว ลาวหอม เล่มแรก ลาวใต้ เล่มสอง ลาวเหนือ ใครสนใจอยากได้ไปอ่าน ฝากอีเมล์ไว้ในกล่องแสดงความคิดเห็นได้เลย จะส่งไปให้ ใครไม่อยากได้ ขอให้ติดตามอ่านสวนหนังสือตอนหน้า ว่าด้วยสารคดี มีจำปาขาว ลาวหอม สองเล่มดังกล่าว เป็นบทประเดิมปี 2553 ได้โปรดติดตาม


ขอบอกไว้นิดหนึ่งว่า จำปาขาว ลาวหอม ทั้ง 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนเล่มอื่นตรงที่ไม่ทิ้งรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ละเลยแง่มุมที่เป็นข้อเท็จจริง และไม่เห่อลาวอย่างที่เขาเขียนสารคดีท่องเที่ยวขายกันนะ ส่วนใครได้โอกาสไปเที่ยวลาวช่วงปีใหม่ ก็ขอให้ม่วนซื่นกันถ้วนหน้า


ปีหน้าฟ้าใหม่ เจอกันนะ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพทุกท่าน
.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…