Skip to main content

 ‘ นายยืนยง ’

ภาพปก เดวิด หนีสุดชีวิต

ชื่อหนังสือ
ประเภท
จัดพิมพ์โดย
พิมพ์ครั้งที่ ๑
ผู้เขียน
ผู้แปล 
:
:
:
:
:
:
:
เดวิด หนีสุดชีวิต   ( I am David )
วรรณกรรมแปล   /  นวนิยายเดนมาร์ก
สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์ทีน
กันยายน   พ.ศ.๒๕๔๙
Anne Holm
อัจฉรัตน์

 

ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตของโลกในสภาวะต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจและธรรมชาติ มนุษยชาติต่างผ่านพ้นมาแล้วซึ่งวิกฤตนานัปการ แม้แต่ในนามของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ผงฝุ่นแห่งความทรงจำเลวร้ายทั้งมวล เหมือนได้ล่องลอยไปตกตะกอนอยู่ภายในใจผู้คน ครอบคลุมแทบทุกแนวเส้นละติจูด แม้นเวลาจะผ่านมาเนิ่นนานเพียงไร แต่ตะกอนนั้นกลับยังคงอยู่ โดยเฉพาะในงานวรรณกรรม

เดวิด หนีสุดชีวิต  ( I am David )  ก็เป็นวรรณกรรมอีกเล่มที่สะท้อนภาพสภาวะจิตใจของเดวิด เด็กชายวัย ๑๒ ขวบ ซึ่งได้บรรจุไว้ด้วยความหวาดกลัวจนหนักอึ้ง

นวนิยายสำหรับเด็กจากประเทศเดนมาร์กเล่มนี้ ได้สารภาพทัศนคติที่มีต่อผลพวงจากสงครามของ Anne Holm ผู้เขียน ผ่านเรื่องราวของเดวิด เด็กชายผู้ได้รับโอกาสจากผู้คุมให้ใช้เวลาเพียง ๓๐ วินาที หนีออกไปจากค่ายกักกันของนาซี โดยมีเข็มทิศ มีดพับ ขนมปังกระบอกน้ำ และสบู่ติดตัวไปด้วย

ในความมืดของคืนนั้น เขาต้องวิ่งสุดแรงชีวิต รู้เพียงว่าต้องมุ่งหน้าสู่ทิศใต้เพื่อไปให้ถึงเมืองซาโลนีกา ขึ้นเรือไปอิตาลี เดินขึ้นเหนือต่อไปจนถึงปลายทางคือประเทศเดนมาร์ก ขณะที่อุปสรรคในการหนีครั้งนี้ ได้ก่อตัวขึ้นตั้งแต่วินาทีที่เขาสงสัยในโอกาสที่ได้รับครั้งนี้

เดวิด เด็กชายผู้เติบโตมาในค่ายกักกัน ผู้ไม่รู้จักเข็มทิศ ไม่รู้จักสีสันอื่นนอกจากสีเทาของเสื้อผ้า และสีฟ้าของท้องฟ้า ดำรงชีวิตอยู่อย่างสิ้นหวัง ลมหายใจเจือกลิ่นความตายอย่างคล้ายจะชาชิน เขาต้องไปถึงจุดหมายให้ได้ ขณะเดียวกันโลกภายนอกค่ายกักกันที่ไม่รู้จักเลยนั้นเป็นเพียงอุปสรรคภายนอก แต่อุปสรรคในใจที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว แปลกแยก เขาต้องก้าวข้ามให้พ้น

โดยการดำเนินเรื่องเป็นการเคลื่อนไปเบื้องหน้าของสองสิ่งคือ ระยะทางในการเดินทางและการเรียนรู้โลกภายนอกค่ายกักกันของเดวิด แต่รายละเอียดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ สัญลักษณ์ในวรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้

แม้นแนวทางของเรื่องจะมีลักษณะของธรรมชาตินิยม Natrulism  เป็นแกน โดยเฉพาะการสร้างบุคลิกจำเพาะของตัวละคร คือ เดวิด ที่มีนิสัย ทัศนคติ มุมมองของเด็กที่แปลกแยกจากเด็กอื่น สืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตขึ้นมา ซึ่งที่นั่นสอนให้รู้จักชินกับการอย่างจำกัดจำเขี่ย ความหนาว หรือรู้จักระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน  และเอาชนะแม้กระทั่งความรู้สึกโหยหาอิสรภาพ  ขณะที่การหนีของเดวิดคือการไปให้พ้นจากเงื้อมมือของคนชั่วร้าย ความรุนแรง และความตาย เพื่อจะได้มีชีวิต เขารู้อย่างเดียวว่าต้องวิ่งไปเท่าที่ขาจะมีเรี่ยวแรง หนีให้พ้นจากความรู้สึกรุนแรงที่พร้อมจะกระชากเอาอิสรภาพและลมหายใจของเขาไปพร้อมกับการถูกตามจับของคนที่ให้โอกาสเขาหนีออกมา  

ลักษณะธรรมชาตินิยมนั่นเองที่ประสานให้การตีความเชิงสัญลักษณ์ได้บังเกิดขึ้นในความคิดของผู้อ่าน เนื่องจากผู้เขียนได้พยายามเว้นวรรคอารมณ์ตื่นเต้น ลุ้นระทึกในการหนีของเดวิดด้วยการบรรยายถึงสภาพจิตใจของเขาในต่างเวลาและต่างสถานการณ์

สัญลักษณ์ที่สอดคล้องและเกี่ยวโยงกันนั้น อาจเลือกออกมาพิจารณาได้ ๓ ข้อใหญ่ ๆ เพราะถูกกล่าวถึงอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ต้นกระทั่งจบเรื่อง ได้แก่

( ๑ ) เข็มทิศ อันหมายถึง  โอกาส
( ๒ ) โยฮันเนส เพื่อนที่เคยอยู่ในค่ายกักกัน อันหมายถึง ความทรงจำอันอบอุ่น หรืออาจจะเป็นจิตสำนึก
( ๓ ) พระเจ้า อันหมายถึง ความหวัง อิสรภาพ  ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างเดวิดกับพระเจ้านั้น บางครั้งก็อาจเรียกว่าเป็นมิตรภาพได้ด้วย

อาจกล่าวได้ว่าผู้เขียนพยายามวางทัศนคติต่อชีวิตไว้ โดยให้ความสำคัญกับ ๓ สิ่งนั้น คือ โอกาส ความทรงจำและความหวัง  โดยโอกาสนั้น ผู้อื่นอาจวางไว้ให้เราแล้วเพียงแต่สำคัญว่าเราจะเลือกใช้มันหรือไม่ ขณะที่บางครั้ง โอกาสก็มีน้อยเกินไป และไม่เคยอยู่กับเราได้ตลอดเวลา แม้จะต้องการมันมากเพียงไรก็ตาม เห็นได้จากเรื่องนี้ ในตอนที่เดวิดเผลอทำเข็มทิศตกทะเล แต่เขาก็สามารถเรียนรู้ที่จะเดินไปยังทิศทางที่ถูกต้องได้โดยไม่ต้องอาศัยเข็มทิศ

โยฮันเนส เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่คงความสำคัญตั้งแต่ต้นจนจบ โดยโยฮันเนสเป็นชายชายฝรั่งเศสที่คอยให้ความรู้ มอบความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ (ผู้ใหญ่)ให้เดวิด หลายครั้งที่ความทรงจำระหว่างทั้งสองได้ช่วยเดวิดให้รอดจากภาวะฉุกเฉิน ทำให้ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม  และสัญลักษณ์นี้ก็เชื่อมโยงไปถึงพระเจ้าด้วย เห็นได้จากหน้า ๔๒  – ๔๔ หลังจากเข็มทิศตกทะเลไปแล้ว  

...ยังไม่มีเข็มทิศอีกด้วย อิสรภาพเป็นสิ่งล้ำค่า และตอนนี้เขาไม่มีอะไรที่จะมาใช้ปกป้องอิสรภาพของเขาได้เลย . ..  (น.๔๒)
... เดวิดจึงตัดสินใจว่าเขาต้องมีพระเจ้าสักองค์ที่จะช่วยเขาได้ แต่เขาจะเลือกพระเจ้าองค์ไหนกันเล่า การเลือกนับถือพระเจ้าให้ถูกองค์นั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ... ฯลฯ

เขาคิดถึงความทรงจำที่ผูกโยงโยฮันเนสไว้ว่า โยฮันเนสไม่ได้สอนเขาเรื่องพระเจ้าแต่เคยเล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ชื่อเดวิด นึกได้ดังนั้น เขาจึงเลือกพระเจ้าองค์นี้

พระองค์ให้ข้าได้ทอดกายลงบนทุ่งหญ้าเขียวขจี พระองค์นำข้ามาสู่สายน้ำนิ่งสงบ

เดวิดรู้สึกได้ปลดปล่อยและเข้มแข็งขึ้นเหมือนกับเช้าวันที่เขารู้ว่าเขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เขายินดีที่ได้คิดถึงเรื่องพระเจ้าเพราะการนับถือพระผู้เป็นเจ้าคงจะดีกว่าการมีเข็มทิศเป็นไหน ๆ ...ถึงแม้คงจะดีกว่านี้แน่หากเขาสามารถเลือกได้ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน

การตีความเชิงสัญลักษณ์เป็นเสน่ห์ดึงดูดประการหนึ่งที่จะทำให้ผู้อ่านได้ครุ่นคิดมากขึ้นจากการดำเนินเรื่องที่ชวนติดตาม เพราะการอ่านวรรณกรรมแนวธรรมชาตินิยมนั้น หากผู้เขียนมุ่งเน้นให้ในเค้าโครงของเรื่องจนมากเกินไป แรงกระทบใจที่มีต่ออารมณ์ ทัศนคติของผู้อ่านก็คงไม่ดำเนินต่อไปโดยที่เรื่องจบลงแล้ว

ขณะเดียวกัน หากผู้เขียนจงใจมุ่งเน้นใส่สัญลักษณ์ไว้จนเลอะเทอะ ไม่ประสานกลมกลืนกับเนื้อหาของเรื่องแล้ว ก็เป็นการทำลายเสน่ห์ของเรื่องได้ แต่สำหรับ  เดวิด หนีสุดชีวิต นอกจากข้อสังเกตที่ได้กล่าวมาแล้ว วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ ไม่เพียงสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ เท่านั้น กับผู้ใหญ่ก็เช่นเดียวกัน

หากใครที่ให้ความสำคัญกับจุดหมายปลายทางของความสำเร็จเพียงประการเดียว โดยไม่ยอมเหลียวมองหรือให้ความสำคัญกับรายละเอียดระหว่างทางแล้ว บางที เดวิดอาจจะอยากบอกว่า การเรียนรู้ที่จะไปให้ถึงจุดหมาย เอาชนะปัญหากับทุกย่างก้าวที่ผ่านเผชิญ กับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างทาง นั้นเองที่จะนำพาให้ถึงจุดหมาย.

หมายเหตุ เดวิด หนีสุดชีวิต ได้รับรางวัล  First Prize for the Best Scandinavian Children ‘s Book 1963 และ ALA Notable Book Award 1965

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…