Skip to main content

ภาพปกหนังสือพี่น้องคารามาซอฟ

ชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)
ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกี
ประเภท             :      นวนิยายรัสเซีย
ผู้แปล               :      สดใส
จัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓

พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)  หนึ่งในสุดยอดวรรณกรรมคลาสสิค นวนิยายของนักเขียนรัสเซียนามอุโฆษ ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกี  แม้จะเป็นผลงานที่เขียนยังไม่จบ เพราะผู้ประพันธ์ตายไปเสียก่อน แต่พี่น้องคารามาซอสก็เป็นวรรณกรรมที่จะไม่ถูกลืมไปจากโลกแน่นอน

ใครที่เคยลิ้มรสวรรณกรรมรัสเซียย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าลักษณะเด่นเฉพาะของงานสกุลนี้ มีความลุ่มลึก และอุดมไปด้วยแรงเสียดสีสังคมอยู่ในที ขณะเดียวกันก็ยังทรงพลังอยู่ถึงปัจจุบัน  หากถามว่าลุ่มลึกอย่างไร สำหรับพี่น้องคารามาซอฟเล่มนี้ (หรืออาจรวมถึงเล่มอื่นในสกุลเดียวกัน) ผมต้องบอกว่าความลุ่มลึกนั้นอยู่ที่ตัวละคร ซึ่งผู้ประพันธ์สร้างขึ้นอย่างละเอียดลออ รวมถึงบรรยากาศของเรื่องที่รวมเอาผู้คนในสังคม สภาพแวดล้อม ที่หล่อหลอมกันเป็นสังคมแบบรัสเซีย

แล้วความคลาสสิคที่กล่าวขานกันเล่า... อยู่ที่ตรงไหนกัน?

ผมอยากจะกล่าวอ้างสักนิดด้วยความรู้สึกที่ว่า ทุกวันนี้จะหาผลงานของนักเขียนรุ่นหลังที่พอจะเทียบเท่านักเขียนในยุคก่อน ๆ ได้นั้น เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง (ยาก..ไม่ต่างจากตอนจะลงคะแนนเสียงในคูกาเลือกตั้งเลยก็ว่าได้)  ดังนั้นแล้วความคลาสสิคจึงน่าจะเกี่ยวโยงกับการดำรงอยู่ของวรรณกรรมเล่มนั้น ๆ การที่หนังสือสักเล่มจะสามารถยืนตระหง่านข้ามยุคสมัยได้ยาวนาน บางทีเราก็เรียกว่า ความเป็นอมตะ ทั้งนี้ผมเห็นว่าเป็นการพยายามที่จะสร้างคำมาจำกัดความ จำแนกแยกแยะ แนวทางของวรรณกรรมแต่ละเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก เพราะวรรณกรรมแต่ละเรื่องย่อมมีเป็นส่วนผสมผสานอันหลากหลาย บางเล่มอาจมีจำแนกได้ว่าคลาสสิค ซึ่งในนั้นก็มีส่วนสะท้อนเป็นแนวโรแมนติกอยู่ด้วย มีความเป็นโศกนาฏกรรมอยู่ด้วย ยังไม่นับรวมถึงการใช้คำว่า “คลาสสิค” “โรแมนติก” “เพื่อชีวิต” กันในความหมายอื่น ๆ ผมจึงเห็นว่า  ควรที่จะเลี่ยงการให้คำจำกัดความ หรือจำแนกวรรณกรรมให้เข้าพวกนั้นพวกนี้น่าจะไม่ชวนให้ปวดใจตัวเอง เป็นการดีกว่า

ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกี ถูกกล่าวขานอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากฝ่ายนักวิจารณ์วรรณกรรม นักสังคมนิยม รวมถึงนักประพันธ์ด้วยกัน โดยเฉพาะกับนวนิยายเรื่องนี้  

พี่น้องคารามาซอฟ เป็นเรื่องราวที่โดดเด่นด้วยบุคลิกภาพของตัวละครในเรื่อง ที่ผู้ประพันธ์ถ่ายทอดผ่านมุมมองที่ละเอียด ลุ่มลึก ราวกับดอสโตเยสกีเองเป็นฝ่ายรับบทพระเจ้าที่เข้าอกเข้าใจมนุษย์ รวมถึงตัวของพระเจ้าเองด้วย ว่าไปแล้วตลอดทั้งเรื่อง เราจะได้รู้สึกรู้สากับรูปแบบของสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าจากหลากหลายกลุ่มคนและปัจเจกชน ราวกับดอสโตเยสกีเองได้สารภาพความรู้สึก- นึก- คิด ความคาดหวังที่เขามีต่อพระเจ้าจนถึงแก่น

ขณะที่เสกสรรค์  ประเสริฐกุล ได้เขียนบทนำเรื่องไว้อย่างน่าสนใจ ในหน้า ( ๘ ) ดังนี้

ดอสโตเยฟสกีแสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่าลำพังเหตุผลและความถูกผิดทางสังคมนั้น  ไม่อาจแก้ไขปัญหาของมนุษย์ได้  แต่ก็อีกนั่นแหละ มาถึงตอนนี้ดูเหมือนว่าเขาเองก็จนมุม  หากฝากโลกไว้ในมือผู้ทรงศีล คนเหล่านี้ก็มีน้อยเกินไปที่จะรับภาระอันหนักอึ้ง โลกต้องการความรักแต่ความรักมีไม่พอ หลวงพ่อซอสสิมาเป็นคนดีที่สุดเท่าที่มนุษย์จะดีได้  แต่ทันทีที่ท่านตายไป ผู้คนก็พากันซุบซิบนินทาว่าศพท่านเหม็นก่อนเวลาอันควร อโลชายอมให้เด็กมีปัญหากัดนิ้วมือจนเลือดสาดเพื่อเขาจะได้สัมผัสความรักจากเพื่อนมนุษย์ แต่ทถึงที่สุดแล้วเขาก็ไม่อาจช่วยให้เด็กน้อยมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เพราะปัญหาที่เด็กเผชิญนั้นใหญ๋หลวงกว่าความรักของเขาเพียงคนเดียว มนุษย์ส่วนใหญ่ชั่วร้ายเกินไป

แม้พี่น้องคารามาซอฟจะเป็นนวนิยายที่อภิปลายถึงปัญหาของมนุษยชาติ อันประกอบด้วยความทุกข์เป็นใหญ่ ทั้งทุกข์ในส่วนของปัจเจกและในภาพรวมของสังคม หากไขกุญแจปัญหาความทุกข์เชิงปัจเจกได้ ภาพรวมของสังคมจะคลายทุกข์ได้จริงหรือ? ขณะที่ความเป็นจริงแล้ว ปัญหาเชิงปัจเจกที่เกิดขึ้นลำพังโดด ๆ นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะปัจเจกจะเกิดขึ้น และดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวแยกขาดจากสังคมนั้นหาได้ไม่...

ดังนั้นแล้ว จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนกันที่ตัวปัจเจกจะแก้ไขปัญหาตัวเองได้โดยไม่คลี่คลายปัญหาของสังคม


ต่อประเด็นนี้ พี่น้องคารามาซอฟ จึงถูกกล่าวขานอย่างยาวนาน... แม้เป็นนวนิยายที่มีความยาวชวนให้ท้อกับเวลาที่มีอยู่ รวมแล้วมีทั้งหมด ๔ ภาค หนาเกือบ ๙๐๐ หน้า

หนำซ้ำอ่านจบแล้วปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้คลี่คลาย ชัดแจ้งอะไร ชี้แจงทางออกให้ แต่กับนวนิยายเล่มนี้ ผมมองมองเห็นคำถามในตัวเองมากขึ้น ดังในตอนท้ายของบทนำ ของเสกสรรค์ ยังเขียนไว้ว่า

ใครก็ตามที่อ่าน The Brothers Karamazov จนจบ จะพบว่าจอร์จ ลูกัชพูดถูก ขณะที่พลิกหนังสือไปตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย เราจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและทุรนทุรายราวกับถูกโบยตี เพราะคำถามทุกข้อที่ดอสโตเยฟสกีตั้งขึ้น เป็นคำถามต่อมนุษย์ทุกคน รวมทั้งตัวผู้อ่านด้วย
คำถามเหล่านี้จะยังคงอยู่ต่อไป...

สำหรับผม..เมื่อได้อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก ถ้อยคำที่กินใจจากภาค ๒ บทที่ ๕ ตอนตุลาการศาลศาสนา ก็เฝ้าวนเวียนมาเข้ากินลึกอยู่ในใจ เป็นถ้อยคำจากโคลงของอีวาน ระหว่างที่เขาสนทนากับอโลชา น้องชาย
ถ้อยคำที่ว่านั้นอยู่ในหน้า ๒๘๓

วันนี้ ไม่มีสัญญาณรักจากสวรรค์
ที่หัวใจบอกนั้น อย่าสงสัย

ผมอ่านแล้วจุกใจ เหมือนในหัวใจผมนั้นเต็มไปด้วยน้ำตา

เพราะเหตุใดผมจึงรู้สึกมากมายกับประโยคนี้อย่างล้นเหลือ หากจะเล่า..จำเป็นต้องกล่าวถึงอีวาน
ผมจะเล่าถึงเค้าโครงเรื่องพอสังเขปก่อน เผื่อบางคนยังไม่ว่างอ่าน...

พี่น้องตระกูลคารามาซอฟประกอบด้วย มิตยาหรือดมิตรี พี่ชายคนโต เป็นทหารนอกราชการ  รักเกียรติศักดิ์ศรีแบบลูกผู้ชายชาติทหาร รักโลภโกรธหลงนั้นมีเต็มประตูใจ เขาเคยประกาศว่าจะฆ่าพ่อ เพราะปัญหาเรื่องไปตกหลุมรักผู้หญิงคนเดียวกัน เขาปักใจว่าพ่อโกงเงินเขาด้วย สุดท้ายเขาตกเป็นจำเลยในฐานะฆ่าพ่อบังเกิดเกล้าตายและขโมยเงินสามพันรูเบิล

ส่วนคารามาซอฟคนพ่อนั้นเป็นไอ้เฒ่าแก่ราคะ ทำทุกวิถีทางให้ได้เงิน เขามีภรรยาสองคน คนแรกมีลูกด้วยกันชื่อมิตยา ภรรยาคนที่สองมีลูกด้วยกันสองคนคือ อีวานและอโลชา ภรรยาทั้งสองล้วนเจ็บปวดใจอย่างยิ่งหลังจากหลงคารมยอมมาเป็นภรรยาเขา และจบชีวิตลง เขาปล่อยลูกชายทั้งสามให้อยู่ในความดูแลของคนอื่น โดยแทบหลงลืมไปเลยว่าเคยมีลูก แท้จริงแล้วเขาไม่รู้ตัวว่ามีลูกชายอีกคนชื่อสเมอร์ดิยาคอฟ ที่เกิดจากหญิงสติไม่สมประกอบกับความถ่อยของเขาในค่ำคืนที่เมามาย ซึ่งลูกชายอาภัพคนนี้ก็ได้เป็นพ่อครัวประจำบ้านเขา

อีวาน พี่ชายคนรองเป็นชายหนุ่มที่ปฏิเสธพระเจ้า เป็นปัญญาชนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ยึดหลักการและเหตุผล เขารังเกียจพ่ออยู่ลึก ๆ รู้สึกอดสูที่มีพ่อแบบคารามาซอฟ  ส่วนอโลชา น้องชายคนสุดท้าย เป็นนวกะหนุ่ม มีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตา เอื้ออารี เชื่อในพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์ เขาคอยแก้ปัญหา คลายทุกข์ให้ทุกคน

เรื่องดำเนินไปพร้อมกับฉากชีวิตของตัวละคร ที่มีทั้งอดีต ปัจจุบัน ซับซ้อน ชวนหดหู่ ผู้หญิงที่คารามาซอฟผู้พ่อกับมิตยาลูกชายหลงรัก ก็เป็นผู้หญิงที่เคยเป็นเมียเก็บของเฒ่าเศรษฐีจอมละโมบ
ตัวละครอื่นที่เกี่ยวโยงกัน มีตั้งแต่พระ นวกะ ชาวนา ชาวบ้าน เด็ก ๆ หญิงสาวผู้สูงส่ง อัยการ หมอ ฯลฯ ต่างล้วนรู้เห็นในคดีฆาตกรรมเฒ่าคารามาซอฟ ราวทุกคนก็มีส่วนในฆาตกรรมนั้น เพราะลึก ๆ ทุกคนต่างก็ปรารถนาให้เขาตาย และมองเห็นว่าเขาอาจไม่รอดจากเงื้อมือของมัจจุราชอย่างชัดเจนในอนาคตอันใกล้ ไม่ใช่เพราะความชราภาพ แต่เป็นเพราะความถ่อยทรามของเขาเอง

ความยาวและยืดเยื้อของเรื่องนี้ผูกพันอยู่กับปูมหลังของตัวละครแต่ละตัว ที่ก่อให้เกิดบุคลิกภาพ ทัศนะคติ ความเปลี่ยนแปลง และความเชื่อของแต่ละคน เรื่องค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ลึกซึ้ง ในทุกรายละเอียดของตัวละคร กระทั่งในคืนที่เฒ่าคารามาซอฟถูกทุบตัวตาย มิตยาก็ถูกตามจับตัวได้ในสภาพที่ส่อเค้าว่าเขาเป็นฆาตกรแน่แท้และถูกพิพากษา ส่วนในตอนที่ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่อง นักวิจารณ์วรรณกรรมเกือบทั้งหมดในโลกตะวันตกมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าคือตอน ตุลาการศาลศาสนา ที่อีวานเล่าถึงโคลงที่เขาเขียนถึงการกลับมาของพระเยซู และถูกตุลาการศาลศาสนาจับตัวไปขังไว้

ดอสโตเยสกีอาศัยปากของอีวานแสดงทัศนะที่มีต่อพระเจ้าและมนุษย์อย่างชัดเจน รุนแรง ดังในหน้า ๒๘๖

ตุลาการศาลศาสนากล่าวว่า
ข้าไม่รู้หรอกว่าเจ้าเป็นใคร พรุ่งนี้เราจะตัดสินโทษ ให้เผาเจ้าที่หลักประหาร ฐานเป็นคนแยกศาสนาต่ำช้าที่สุด ...ฯลฯ ...ไอ้คนทั้งหลายที่จูบตีนเจ้าวันนี้ก็จะรุมกันเอาถ่านหินไปวางไว้ที่หลักประหารเจ้า  

หรือ

เราจะบอกเจ้าตอนนี้เลยก็ได้ว่าคนเหล่านี้เชื่อยิ่งกว่าเวลาไหน ๆ ที่ผ่านมา ว่าเขาเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์แล้ว ใช่ พวกเขานำเสรีภาพของตัวเอง มาสยบวางไว้แทบเท้าเรา เรานี่แหละเป็นคนทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น เจ้าปรารถนาอย่างนี้ไม่ใช่หรือ เสรีภาพอย่างนี้ไม่ใช่รึที่เจ้าต้องการ

หรือ

เจ้าจะไปสู่โลกด้วยมือเปล่า กับสัญญาแห่งเสรีภาพ ที่มนุษย์ผู้เคยชินแต่กับทุกสิ่งที่ง่าย ๆ ไม่มีวินัยมาแต่สันดาน จะไม่อาจเข้าใจได้เลย พวกเขาเอาแต่กลัวและหวาดหวั่น เพราะไม่มีอะไรที่มนุษย์และสังคมมนุษย์จะทนไม่ได้ยิ่งไปกว่าเสรีภาพ! เจ้าเห็นก้อนหินกลางทะเลทรายที่แห้งแล้งอ้างว้างนั่นหรือไม่เล่า ทำให้มันกลายเป็นขนมปังซี แล้วมนุษย์ก็จะวิ่งตามเจ้ายังกะฝูงสัตว์ ... ฯลฯ

จากตอนตุลาการศาลศาสนานี้ ดูเหมือนดอสโตเยสกีเองก็ยังไม่หมดศรัทธาต่อพระเจ้า แต่เขาไม่ยอมสยบยอมต่อพระองค์ แม้จะรักแต่เขาก็ยังชังในพระเจ้า ไม่ว่าพระเจ้าจะสร้างโลก หรือมนุษย์จะสร้างพระเจ้าขึ้นมา เขาก็ยังยืนยันที่จะเรียกร้องให้พระองค์มีเมตตากว่าที่เป็นอยู่ ขณะเดียวกันเขาก็อยากกระตุ้นให้มนุษย์เข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของตนเองให้มากกว่านี้ แต่ในโคลงของอีวาน เราจะมองเห็นว่าดอสโตเยสกี “เกือบจะ” สิ้นศรัทธาในพระเจ้าไปแล้ว

ทำไมผมจึงพูดเช่นนี้ และทำไม “วันนี้ ” จึง “ไม่มีสัญญาณรักจากสวรรค์ ”  และใครกันแน่ที่เป็นฆาตกรตัวจริง ผมต้องอาศัยวิธีการเปรียบเปรยอย่างที่ท่านเขมานันทะเคยอธิบายปริศนาธรรมเรื่องไซอิ๋ว ขอยกไปในตอนที่ ๒ บางทีผมเองอาจมีส่วนในการฆาตกรรมครั้งนี้ก็เป็นได้

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…