บล็อกของ bookgarden

เพลงสัจจะในทำนองของนากิบ มาห์ฟูซ

นายยืนยง

 

ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี

ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ

ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี

ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์


หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช
2552
เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม

ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว ถือว่าหนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจใหญ่หลวงเลยก็ว่าได้ สำหรับนักเขียนหรือนักปรารถนาจะเขียนเช่นเดียวกัน ฉันลงความเห็นกับตัวเองว่า เพลงกล่อมผี เล่มนี้เป็นอาจารย์ของนักเขียนในหลายวิชา ทั้งวิชาว่าด้วยเทคนิคการประพันธ์ วิชาปรัชญา ศาสนาเปรียบเทียบ อาจรวมถึงวิชาโลกียชนด้วย

ความหวังที่ไร้ข้อยุติในโลกวรรณกรรม

นายยืนยง

สวัสดีปี 2552

ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา

คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม

ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม

ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน

การระเหิดขึ้นของเงาสีขาว



ชื่อหนังสือ : เงาสีขาว


ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง

ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน

 

น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย

 

ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซ

ระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซ

สอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้

แดนอรัญ แสงทอง ปีศาจผู้ชัดถ้อยชัดคำ

นายยืนยง


ชื่อหนังสือ
:
เงาสีขาว

ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง

ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน

ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่

มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง) ต่อให้กระบือตัวนั้นจะท่องสูตรคูณแม่ 137 ได้แม่นยำปานใดก็ตาม

หลุมพรางของเมจิกคัลเรียลลิสม์ (จบ)

ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ

ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์

ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร

หลุมพรางของเมจิกคัลเรียลลิสม์ (2)

นายยืนยง

 

 

 


 

ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ

ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์

ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร

 

ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน

เหมือนจะเป็นการออกตัวตามมารยาทเท่านั้น การเสแสร้งใด ๆ ฉันคิดว่าผู้อ่านเท่านั้นจะตัดสินได้

หลุมพรางของเมจิกคัลเรียลลิสม์ (1)

เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย

กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์เรื่อง เปโดร ปาราโม ที่เคยเขียนถึงในคอลัมน์นี้มาแล้ว

อ่านตั้งสามรอบกว่าจะพอรู้เรื่องเป็นเลาๆ และต้องอ่านอีกหลายรอบกว่าจะจินตนาการให้ซึมซับความเลอเลิศของสุดยอดนวนิยายเรื่องนี้ได้ ขอบคุณพระเจ้าที่มอบเวลาให้ฉันมากเป็นพิเศษ ท่านคงหัวร่อจนคอเคล็ดแล้วตอบว่า “เพราะแกมันทึ่มเองนี่นา คนทื่อมะลื่ออย่างแกสมควรจะมีเวลามากกว่าคนฉลาดเขา” อย่างไร ฉันก็ขอบคุณล่ะ และไม่ลืมเอาเจ้าเปโดรสุดที่รักไปถ่ายเอกสารเก็บไว้ เป็นสำเนาสำรอง ถ้าหนังสือหาย หรือถูกขอยืมโดยไม่อาจเรียกเก็บได้ ยังไงซะ ฉบับถ่ายเอกสารก็ยังอยู่ ฉันชอบใช้วิธีนี้จัดการกับหนังสือสุดหวง ถ้าตังค์เยอะหน่อยก็สำเนาไว้สักสองชุด ถือเป็นความละโมบได้ไหมนี่

แทรกเตอร์เป็นอะไร ๆ

นายยืนยง


ชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน
A SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN

ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA

ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์

ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน


และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที

ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า

ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี ตัวละครล้วนมีเสน่ห์เย้ายวนชวนให้เกาะติดชะตากรรมในภายภาคหน้า และขอร้องว่าไม่ต้องคาดเดาตอนจบเพราะนวนิยายสมัยใหม่มักไม่เร่อร่าเน้นหนักในตอนจบของเรื่อง เหมือนอย่างยุคของกีร์เดอโมปัสซัง

ที่เน้นนักหนาว่าต้องจบแบบหักมุม พลิกทุกความคาดหมาย ทำเอาผู้อ่านหัวใจเดาะเป็นทิวแถว

สารจากนายผี

 

ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ

ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 .. 2536


ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ

เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็ ไม่ต้องขยายความให้เมื่อย อย่างไรก็ตาม ได้นำประวัติย่อจากหนังสือเล่มนี้มาบอกเล่าไว้ด้วย ก็เป็นการเผื่ออีกนั่นแหละ

รักที่เปลี่ยนโลก

นายยืนยง

 

 

ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร

ผู้เขียน : ดอกเกด

ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์

ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย


กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ

นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ราวมันเองต่างหากที่เป็นเจ้าของบ้าน แต่หนังสือนั้นหากไร้คนอ่าน คุณค่าของมันจะอยู่ที่ตรงไหน เป็นเฟอร์นิเจอร์ประกาศรสนิยมเจ้าของบ้านเท่านั้นหรือ

ก่อนกลับเข้าเมือง ฉันหยิบวรรณกรรมแปลเล่มหนึ่งมาด้วย เพราะอยากรู้จักนักเขียนจากประเทศนี้ขึ้นมา

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ bookgarden