Skip to main content

วันก่อนได้คุยกับเพื่อนชาวต่างชาติ เค้าแนะนำให้ชาน่าไปหาอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Prayers for Bobby ซึ่งมีการนำหนังสือเล่มนี้มาทำเป็นหนังทีวีด้วย ด้วยความที่อยากรู้ จึงเสาะแสวงหา ค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือและหนังเรื่องนี้ โดยชาน่าคิดว่ามันน่าจะเป็นตัวอย่างของสมาชิกภายในครอบครัวในทุกสังคมได้ดี ไม่ว่าจะเป็นสังคมนั้นจะนับถือศาสนาใด จะมีความเคร่งครัด ระเบียบจัดแค่ไหน

เนื้อเรื่องย่อคือ เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มน้อยวัยสี่สิบ ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ วัยรุ่นวัยอันตราย เกิดมาในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์อย่างเคร่ง คุณแม่ชื่อแมรี่ กริฟฟิฟ เลี้ยงดูลูกชายอย่างเคร่งครัดทางศาสนาและวัฒนธรรม  หลังจากลูกชายบอกพี่ชายว่าเค้าอาจจะเป็นเกย์ ทุกสิ่งทุกอย่างภายในครอบครัวก็เปลี่ยนไป ความรู้สึกของพ่อและแม่ต่างกังวลและสับสนจะหาหนทางออกให้ลูกชายอย่างไรดี แต่เธอก็เชื่อว่าพระเจ้าจะช่วยรักษาเยียวยาให้เค้ากลับไปเป็นลูกผู้ชายอีกครั้ง


เธอพาเค้าไปหานักจิตวิทยา หรือแม้กระทั่งพาลูกชายของตัวเองเข้าโบสถ์เพื่อขอพระเจ้าให้หลุดพ้นจากความเป็นเกย์เพื่อที่จะเปลี่ยนเค้าให้ได้แต่มันก็ไม่ช่วยอะไรเลย


ความอับอายขายหน้าและทรมานที่เห็นแม่ถูกประนามจากสังคม เค้าได้ตัดสินหนีตัวเองเพื่อไปอยู่ที่อื่น โดยเพียงหวังว่าสักวันแม่ของเค้าจะยอมรับในตัวเขาได้ ซึ่งเค้าอพยพไปอยู่รัฐโอเรกอน เค้ายกเลิกความตั้งใจที่จะเปลี่ยนไปเป็นชาย แต่กลับใช้ชีวิตอย่างเกย์ๆ ในรัฐนี้ โดยพบแฟนในคลับแห่งหนึ่ง นามว่าเดวิด ผู้ซึ่งไม่เคยซื่อสัตย์ต่อเค้าเลย ด้วยความผิดหวังและความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตของเค้า รวมทั้งเสียใจที่ไม่สามารถเป็นลูกผู้ชายของแม่ได้ สุดท้าย เค้าจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ด้วยการโดดจากสะพานสูงบนถนนไฮเวย์ แล้วโดนรถบรรทุกสิบแปดล้อทับตายคาที่


นางแมรี่ได้รับความโศกเศร้าเสียใจ และเธอได้เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองและสังคมว่า ทำไมเธอถึงไม่เข้าใจในตัวลูกชายของเธอเลย จนเธอตัดสินใจอาสาสมัครช่วยเหลือองค์กรเกย์ และเข้าร่วมประชุม Parents, Families and Friends of Lesbians and Gays (PFLAG) โดยเธอบอกว่า "God did not heal him because there was nothing wrong with him" "พระเจ้าไม่ได้ช่วยรักษาเค้าเพราะเค้าไม่ได้มีอะไรผิดปกติเลย" เสียใจ และเธอจากประสบการณ์และบทเรียนที่แสนแพงอันต้องแลกด้วยชีวิตของลูกชายอันเป็นที่รักของเธอนั้น เธอจึงช่วยเหลือ และร่วมรณรงค์เกี่ยวกับเกย์ โดยจุดประสงค์หลักของเธอคือ อยากให้ครอบครัวได้ยอมรับลูกที่เกิดมาเป็นเกย์ แม้กระทั่งการเดินทางไปเยือนเมืองซาน ฟรานซิสโก เพื่อร่วมงาน เกย์ ไพรด์ พาเหรด ซึ่งในขณะนั้นเธอได้เห็นเกย์หนุ่มรูปร่างคล้ายลูกชายเธอ เธอจึงเข้าไปสวมกอด


เพลงประกอบในตอนสุดท้ายของหนังเรื่องนี้คือ "Here I Am" (ฉันอยู่นี่) โดย Leona Lewis และนอกจากนี้ยังมีอีกเพลงคือ "I Need You to Listen" (ฉันต้องการให้เธอฟังฉันบ้าง) โดย Marty Haugen และ "Bullseye" โดย Megan McCormick

ในส่วนของหนังสือเขียนโดย Leroy Aarons ในปี 1989 ผู้ซึ่งเป็นสื่อมวลชนเกย์ และนักกิจกรรม ในทันใดที่เค้าได้อ่านจากหนังสือพิมพ์ถึงข่าวการฆ่าตัวตายของลูกชาย โดยต่อต้านแม่และสังคมที่ต้องการและอธิษฐานให้เค้าไม่เป็นเกย์ Prayers for Bobby: A Mother's Coming to Terms With the Suicide of Her Gay Son หนังสือเล่มแรก จัดพิมพ์โดย Harper Collins ในปี 1996 ส่วนหนังได้ทำการสร้างและออกฉายโดยชื่อว่า Prayers for Bobby ในวันที่ 24 มกราคม ปี 2009 ในช่อง Lifetime

ผลการตอบรับจากหนังเรื่องนี้นั้น มีคนดูมากกว่า 3.8 ล้านคน รอบก่อนออนแอร์ หนึ่งวันถัดมา คนดูเพิ่มอีก 2.3 ล้านคนซึ่งคนดูสามารถเข้าไปชมได้จากเว็บไซด์ mylifetime.com
หนังเรื่องนี้ อำนวยการสร้างโดย Russell Mulcahy สร้างโดย Stanley M. Brooks (Executive Producer) David Permut (Executive Producer) Daniel Sladek (Executive Producer) Chris Taaffe (Executive Producer) Damian Ganczewski (Producer) บทภาพยนตร์โดย Katie Ford นำแสดงโดย Sigourney Weaver Henry Czerny Ryan Kelley ดนตรีโดย Christopher Ward ความยาวของเรื่อง 95 นาที จัดจำหน่ายโดย Lifetime Television

เป็นอีกหนึ่งเรื่องจาก Base on true story ที่เกิดขึ้นในทุกสังคมไม่ว่าจะอยู่ส่วนใด มุมไหนของโลก แม้แต่เมืองไทยเมื่อหลายปีก่อนเคยติดตามข่าวของน้องคนจังหวัดเดียวกัน (เชียงราย) ผู้ซึ่งฆ่าตัวตาย ด้วยการแขวนคอตัวเอง อันเนื่องมาจากปัญหามรสุมในชีวิต โดยผู้ปกครองเบี่ยงประเด็นไปที่เรื่องของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่จะมีใครสักกี่คน (แม้แต่แม่และพ่อของเค้าเอง) ที่จะรู้ว่า ความชอบและความต้องการทางเพศ ทางสังคมของน้องคนนี้นั้น เค้าเป็นเก้ง หรือเกย์ ที่ผู้ปกครองไม่อาจจจะหยั่งรู้ได้ ทำไมชาน่าถึงรู้ ... แหม...แหม...คนทั้งหมู่บ้านเค้าฟันธงรู้กันให้ทั่ว หลังจากการตายของน้องคนนี้ หนุ่มรูปงาม มียศฐาบรรดาศักดิ์ เจ้าใหญ่นายโต ที่แสดงตัวว่าเป็นคนอันเป็นที่รักของเค้าก็ปรากฎตัวแสดงความเสียใจ บ้างก็บอกว่าน้องเค้าหาทางออกไม่ได้ เป็นเกย์แล้วแม่และสังคมก็ไม่ยอมรับ ครั้นจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ใช่ง่ายในคณะที่ท่านคาดหวัง จึงตัดสินใจปลิดชีพด้วยการลาโลก จนทุกวันนี้ผู้ปกครองของเค้าก็ยังไม่รู้ซึ้งถึงความต้องการของลูกชายตัวเองแท้ ๆ เสียที นี่ล่ะคะปัญหาที่หาทางออกได้ แค่ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน สังคม ชีวิต และครอบครัวก็คงจักเป็นสุขได้ไม่น้อยเลยทีเดียว....แล้วเราจะคงจะไม่เสียเลือดเสียเนื้อ หรือเสียชีวิตอีกต่อไป.....

 

 

 

บล็อกของ ชาน่า

ชาน่า
"The  show must go on" ไม่ว่าช่วงเศรษกิจจะแย่ การเมืองจะทรงหรือทรุด ภาวะบันเทิงจะไม่โชติช่วงชัชวาลย์ งานไม่ค่อยเข้าเท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ แต่ด้วยใจรักและโอกาสที่คุณพอทำได้ วันนี้ป้าเดย์ นางโชว์รุ่นเก๋า กลับมาผงาดบนเวทีของวงการบันเทิงอีกครั้งอย่างอลังการด้วยงานโชว์เริ่ดหรูครั้งสุดยอดยิ่งใหญ่ใน "The Last Day Show: Will I Survive?" การแสดงผสมผสานของรูปแบบและการดำเนินเรื่องแบบ Musical
ชาน่า
ใต้ฟ้าเมืองไทยภายใต้ความรัก การดูแลและห่วงใยของกลุ่มหลากหลายทางเพศ เรายังมีอีกสมาคมหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากว่าสิบปี วันนี้ชาน่าอยากแนะนำให้ทุกท่าน ชายจริง หญิงแท้ กะเทย เกย์ เก้ง กวาง เสือใบ อีแอบทั้งหลายได้รู้จักกับอีกสมาคมหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อบริการกลุ่มหลากหลายทางเพศค่ะ นั่นคือ “สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย”
ชาน่า
เรื่องใดที่ไม่มีในเมืองไทย ชาน่าสรรค์หามาเม้าท์ เพราะถือว่าหากโอกาสพาไป ไม่เสียหาย ทำไมจะไม่ล่ะ... ? หลายคนอยากรู้เรื่องราวความเป็นไป เป็นมา หรือแอบคิดในใจว่า "คิดได้ไง ไปหาดเปลือย ?..." บางคนอาจจะมองในแง่ลบทันใดว่า "นังนี่ต้องเป็นโรคจิตแน่เลย ...." ต่างคนนานาจิตตังนะคะ เอาล่ะค่ะให้เวลาตั้งคำถาม ก่อนที่คุณจะได้ทุกคำตอบที่ต้องการ คนที่เข้ามาอ่านย่อมมีจุดประสงค์คืออยากจะรู้บางสิ่งที่ยังไม่รู้ แต่รับรองว่า หากอ่านเรื่องนี้แล้ว คุณได้มากกว่าที่คุณคิดซะอีกค่ะ ถือว่าเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ต่างแดนที่ไปสัมผัสมาละกันนะคะ
ชาน่า
อีกเดือนกว่าเรือก็จะนำพาอิฉันไปสู่ยุโรปอีกแล้วค่ะ คราวนี้ไปเส้นทางเดิมที่เคยไปเมื่อซัมเมอร์ปีที่แล้ว "เมดิเตอร์เรเนี่ยน" อาทิ ประเทศอิตาลี กรีซ โมนาโค ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส โครเอเซีย ตุรกี เป็นต้น หลังจากนั้นจะกลับมาพักร้อนที่เมืองไทยสองเดือนก่อนจะไปเยือนแถบสแกนดิเนเวีย รัสเซีย โปแลนด์ อังกฤษ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก เยอรมัน ในซัมเมอร์ปีนี้ โดยส่วนตัวของชาน่า เวลาไปแต่ละเมือง สิ่งที่ต้องค้นหาคือการใช้ชีวิตตามประสาเกย์เกย์ จะได้นำมาเล่าเม้าท์ต่อกัน จนเพื่อนมอบตำแหน่งให้สาขา "ราชินีเม้าท์แตกได้โล่ห์" สัปดาห์นี้ขอจับเข่า เม้าท์เล่าเรื่องของประเทศตุรกี เมืองอิสตันบูล…
ชาน่า
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความดีใจกับนักแสดงฝีมือระดับโลกที่ได้รับรางวัลหมาด ๆ สาขา “นักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม” ฌอน เพนน์ ที่คว้ารางวัล Academy Awards ครั้งที่ 81 ไปครองอย่างสมศักดิ์ศรี แม้ชีวิตจริงของเค้าจะไม่ใช่เกย์ก็ตาม มิลค์ เป็นหนังที่กล่าวถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล 1 ใน 5 ของหนังดังระดับโลกอีกเรื่องหนึ่ง คืนวันอาทิตย์ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาน่าได้มีโอกาสดูการถ่ายทอดสดตรงจาก ทีเอ็นที ณ โรงละครโกดัก แอลเอ โดยหนังเรื่องนี้เข้าชิงหลายรางวัล เช่น หนังดีเด่น ผู้กำกับดีเด่น แม้จะไม่ได้รางวัลแต่อย่างน้อย…
ชาน่า
“วันนี้ดีใจที่ได้ผัว หลังจากเสียตัวมาหลายหน วันนี้มีผัวเป็นตัวตน จะได้ไม่มีคนหมิ่นประนาม หยามดูแคลน” คำกลอนที่ได้ยินจากเพื่อนแล้วจี้เหลือเกิน บทกลอนของหล่อนบทนี้ เหมือนคำประกาศชัยชนะว่า “ฉันมีสามีแล้วย่ะ” ประมาณนั้น มันทำให้จุดประกายเป็นเรื่องราวที่อยากนำเสนอค่ะ แหม...แหม ...แหม คุณคะ ชีวิตของเกย์ กะเทย กว่าจะได้ใครเป็นตัวตน มีคนรักที่เค้ารักเราจริง ๆ นั้นมันสุดแสนจะหายาก บางคนบอกว่า “ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร” ซะอีก ประเภทที่ได้ ๆ ส่วนมาก หลังจากพ้นช่วงน้ำต้มขมก็ยังเรียกว่าหวาน ผ่านไปไม่นาน สุดท้ายจะลงเอยแบบ “ทางใครก็ทางมัน” หรือว่า “เป็นสามีและภรรยาในนามเท่านั้น”…
ชาน่า
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลายคนคงจะได้ดูรายการทีวี รายการ "จับเข่าคุย" ซึ่งดำเนินรายการโดย คุณสรยุทธ์ มีผู้ร่วมรายการคือ คุณเกย์นที และคุณวัลลภ นามวงศ์พรหม ซึ่งเป็นกรรมการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ คุณคงจะได้ชมและใช้พิจารณญาณในการชมรายการโทรทัศน์ที่กล่าวถึงประเด็นข่าวเด่นของบ้านเมือง ในรายการมีผู้ร่วมรายการที่ออกมาแฉถึงพฤติกรรมที่เสื่อมทำลายศาสนา คือคุณนที และผู้ให้เหตุผลและตอบรับ ขัดแย้ง โดยคุณวัลลภ โดยสรุปรวมๆ ของเนื้อเรื่อง พูดประเด็นการใช้ย่ามสีชมพู การห่มดอง จีวร พฤติกรรมที่แสดงออกถึงอาการแต๋วแตก แต๋วแหว๋ว แต๋วไม่เหมาะสม เป็นต้น
ชาน่า
การสื่อสารในโลกปัจจุบันนั้นล้ำสมัย มีหลายสื่อให้ประชาชนได้เลือกบริโภค หากจะย้อนไปในสมัยก่อน การสื่อสารถึงกัน หรือแม้แต่เฉพาะกลุ่มเป็นเรื่องที่ลำบากมากนัก หากจะเข้าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเกย์ หรือ กลุ่มรักร่วมเพศ สื่อทางหนังสือ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้สื่อสารถึงกลุ่มกันได้ในสมัยโบราน แต่ก็มีความลำบากไม่ใช่น้อยสำหรับใครที่ต้องแอบใช้ชีวิตปกปิดตัวเอง การเก็บสื่อต่าง ๆ เหล่านั้นคงจะลำบากในการซุกซ่อน จนทำให้วิตกจริตเกรงว่าจะมีใครมาจับได้ว่าเป็นเกย์ มีหนังสือ สื่อเหล่านี้ครอบครอง ทางเลือกใหม่ในปัจจุบันบางคนเลือกที่จะเสพสื่อเพื่อชาวเราผ่านทางอินเตอร์เน็ต…
ชาน่า
สัพเพเหระ หลากหลายสไตล์ในแต่ละสัปดาห์ที่ชาน่านำเรื่องราวของชาวรักร่วมเพศ หรือกลุ่มหลากหลายทางเพศมานำเสนอ โดยหวังว่าจากเพียงแค่ไม่กี่ประโยคที่คุณได้อ่านหรือสัมผัส จะเป็นประโยชน์ต่อคุณหรือใครสักคนไม่มากก็น้อย สัปดาห์นี้พลาดไม่ได้อีกหนึ่งโครงการดี ๆที่อยากแนะนำสำหรับชายรักชาย ช่วงปลายเดือนนี้ เรามีโครงการดีๆ มาเสนอให้คุณฮ่ะ ชื่อโครงการที่ว่านี้คือเข้าค่าย "ทักษะชีวิตพิชิตเอดส์ ครั้งที่ 29" ซึ่งทางสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยร่วมกับ สถาบันวิจัยสาธารณะสุข(สวรส.) ได้จัดขึ้นในระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 24-25 มกราคม 2552 ณ ค่ายริมขอบฟ้า เมืองโบราณ…
ชาน่า
สวัสดีปีใหม่ค่ะ วันเวลาผ่านไปอย่างไวจากวันเป็นเดือน จากเดือนเลื่อนเป็นปี ก้าวเข้าสู่ปี คศ. 2009 ขออวยพรให้ทุกคนก้าวหน้า อย่าก้าวถอยหลัง ก้าวไปอย่างมีสติ ไม่ประมาท และทุกย่างก้าวถ้าหากเราทำดี ชีวีก็มีสุขเป็นกุศลที่มองไม่เห็นแต่คุณจะสัมผัสได้ วันหยุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีใหม่นี้ หลายคนมีโอกาสกลับไปสู่มาตภูมิ ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวอย่างเป็นสุข ทำงานเหนื่อยมามากแล้ว บางครั้ง บางวันอย่าลืมให้รางวัลกับบางวันของชีวิตด้วยนะฮะ สัปดาห์นี้ชาน่าขอพาคุณ ๆ ไปเที่ยวประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานสี่ห้าพันปี นั่นคือ กรีซ แต่สถานที่ๆ ชาน่าจะพาไปท่องเที่ยวครั้งนี้ หลายคนอาจจะไม่คุ้นหู…
ชาน่า
เรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ หรือความผิดโทษฐานที่เกิดมาเป็นรักร่วมเพศในโลกนี้ยังมีให้เห็นอีกหลายมุมของโลก อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมประเพณี ธรรมเนียมที่แตกต่างกัน ชาน่าเคยได้รับเมล์ส่งต่อจากเพื่อนที่ส่งภาพของสองหนุ่มน้อยวัยเบญจเพส ชาวตะวันออกกลางที่ถูกประหารด้วยการแขวนคอประจาร โทษฐานที่เป็นรักร่วมเพศของประเทศในตะวันออกกลางเมื่อหลายปีมาแล้ว ตอนนั้นดูด้วยความสลดและเกิดความสงสารจนพูดไม่ออก
ชาน่า
ท่ามกลางความหนาแน่นของผู้คน นักเดินทางโดยเครื่องบิน ขาเข้าและขาออกนอกประเทศ ณ สนามบินสุวรรณภูมิในค่ำวันหนึ่ง “หวัดดีครับชิน ยินดีที่ได้รู้จัก ได้ยินแต่ชื่อเสียงเลียงนามมานานแล้วครับ” เสียงของพี่หนึ่งทักทายเมื่อครั้นที่เราพบกันครั้งแรกที่สนามบินสุวรรณภูมิ ในวันที่ผมกำลังจะบินไปทำงานต่อที่ต่างประเทศ