Skip to main content

ใต้ฟ้าเมืองไทยภายใต้ความรัก การดูแลและห่วงใยของกลุ่มหลากหลายทางเพศ เรายังมีอีกสมาคมหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากว่าสิบปี วันนี้ชาน่าอยากแนะนำให้ทุกท่าน ชายจริง หญิงแท้ กะเทย เกย์ เก้ง กวาง เสือใบ อีแอบทั้งหลายได้รู้จักกับอีกสมาคมหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อบริการกลุ่มหลากหลายทางเพศค่ะ นั่นคือ “สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย”


ชาน่าเป็นเกย์ที่เพิ่งแสดงออกต่อเพื่อนฝูงราวสิบกว่าปีพอๆ กับการก่อตั้งสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยนั่นล่ะค่ะ ตอนนั้นก็ไม่รู้จะเริ่มหันเหไปพึ่งใคร เกรงและกลัว หวั่นไหว มากมายความรู้สึก การติดต่อสื่อสารถึงกลุ่มเดียวกันนั้นลำบากมากนักไม่เหมือนสมัยนี้ เพียงแค่คุณคลิ๊กปุ๊บสื่อสารถึงกันปั๊บ จะมองหาพี่เลี้ยง เพื่อนฝูงหรือสมาคมใดให้คำแนะนำปรึกษานั้นยากเหลือเกิน จากวันนั้นถึงวันนี้ ประชาชนเกย์ไทยโชคดีที่มีสมาคมฯ คอยให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ มีเพื่อนร่วมทางเดิน โดยคุณสามารถเข้าไปสัมผัสด้วยตัวเองถึงสถานที่ทำงาน และสาขาทั่วไทย หรือถ้าหากไม่สะดวกที่จะเปิดเผยตัวจริงเสียงจริง ชีวิตยังหลบๆ ซ่อนๆ
(ผีเข้าผีออก สาวก(เกย์)ปอบผีฟ้า) คุณสามารถโทรศัพท์ หรือติดต่อทางโลกอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่เปิดเผยนามจริง และล่าสุดนั้นข่าวแจ้งมาว่าสมาคมฯ เอาใจนักท่องเน็ตด้วยการปรับปรุงเว็บไซต์โฉมใหม่ จากเดิม www.fasiroong.org เป็น www.rsat.info ง่ายและเริ่ดกว่าเดิม (เดี้ยนรับรอง) ซึ่งคุณสามารถสมัครสมาชิกฟรีๆ มีชื่อ (ไม่ต้องใช้ชื่อจริงก็ได้ค่ะ เช่น เกย์เฟค) ใส่รูปภาพ ตั้งกระทู้ ดูข้อมูล ฟังเพลง สาระบันเทิงมากมายที่เพื่อนๆ นำสิ่งที่ดีมาฝาก แซ่บๆ พร้อมกิจกรรม (ไม่เน้นกิจกาม) ให้เล่นให้ลุ้น อัพทูเดทตลอดเวลา


โทรคุยกันก่อนสิคะ รับปรึกษาทุกปัญหาคาใจ ใคร่รู้ สายด่วนเพื่อกลุ่มหลากหลายทางเพศ สายสบายใจ
: 02-6915957, 02-6915958 คิดค่าโทรราคาปกติทั่วไป




สามารถมารู้จัก มากกว่าคำบอกเล่า ได้ที่สมาคมทุกวันนะครับ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกท่าน ยินดีต้อนรับ” จากเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลของสมาคมฯ


ลองอ่านประวัติความเป็นมาของสมาคมฯ กันค่ะโดยเริ่มเมื่อปี
2542 สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย มีที่มาจากความคิดที่จะช่วยเหลือคนไทยที่รักเพศเดียวกันให้มีพื้นที่ทางสังคม และได้รับความสนใจจากภาครัฐ ในเรื่องของบริการทางการแพทย์และอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งมีนาย กมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลคลินิกผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนชื่อ “ชมรมเพื่อนวันพุธ” แห่งแรกของประเทศไทยและเป็นที่ปรึกษา คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย พบว่าในบรรดาคนรักเพศเดียวกันเพศชายมีการติดเชื้อ HIVมากขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาของเกย์ก็ถูกแฉมากขึ้น อาทิ ข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นผลในด้านลบถูกมองอย่างผิดๆ ทำให้สังคมไม่ยอมรับ จนทำให้กลุ่มชาวเราขาดความเชื่อมั่นตนเองในการแสดงออก สุขภาพจิต ไม่จริงใจ ความรักไม่ยั่งยืน หาที่ปรึกษาไม่ได้ เครียด เหงา การใช้ความรุนแรง ฆ่าตัวตาย ขาดแหล่งให้ข้อมูล และศึกษาค้นคว้า และไม่ได้รับการจัดบริการจากภาครัฐที่เหมาะสม กลุ่มเกย์ที่เคยมีกิจกรรมในช่วงนี้ก็ลดกิจกรรมลง เค้าจึงจัดเวทีประชุมกัน มีผู้มาร่วมงานประมาณ 200 คน อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิช ผู้ใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุขและคุณระวี รติกาล เป็นผู้นำเสวนาปัญหาเกย์ สรุปจะมีกลุ่มเกย์กลุ่มใหม่ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการท่องเที่ยว แต่อย่างเดียวจะทำสารอื่นๆด้วย เวลาผ่านไป 1 ปี /2543 ไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร ในชื่อเส้นทางสายรุ้งจนกระทั่ง FHI หาคนไปร่วมประชุม HIV and Sexuality Transgender and HIV/AIDS Workshop ที่มีการจัดในปากีสถาน จึงติดต่อให้นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ ไปประชุมในฐานะตัวแทนประเทศไทย ได้รู้จักกลุ่มรักเพศเดียวกัน เป็นองค์กรที่เข้มแข็งหลายองค์กรในต่างประเทศ จึงเกิดการเปรียบเทียบกับกลุ่มในประเทศไทย หลังจากนั้นจึงได้กลับมาหาทางที่จะฟื้นฟูกลุ่มสนับสนุน ช่วยเหลือชาวเรา ภายใต้ชื่อ”ฟ้าสีรุ้ง”และปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีดำเนินการใหม่ โดยเชิญแกนนำคนในแต่ละชุมชนมาประชุมและหาทางเดินขององค์กร คือ


เรื่องคุณภาพชีวิตของคนรักเพศเดียวกัน ในด้านการยอมรับทางสังคม พฤติกรรม อารมณ์ จิตใจ พิทักษ์สิทธิ์ เป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน และสิทธิอื่น ๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย

ปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเกย์ เช่น เรื่องเพศ เอดส์ ยาเสพติด และอื่น ๆ ต้นมีจุดหมายปลายทาง คือความมีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีตามอัตภาพ (Social Justice and Social Well-being) ปี 2544 MFS ได้สนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในสวนสาธารณะ ขณะเดียวกันมูลนิธิรักษ์ไทยให้รณรงค์ในกลุ่มเยาวชนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และกลุ่มชายขายบริการที่พัทยา จึงเป็นก้าวแรกของกิจกรรม ที่ได้เริ่มทำเดือนมกราคม 2544 เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของฟ้าสีรุ้ง ประเทศไทย


การตั้งชื่อของกลุ่ม เมื่อย้อนเวลาไปเมื่อปี

2542 ชมรมเส้นทางสีรุ้ง
 2543
กลุ่มฟ้าสีรุ้ง
 2544
องค์กรฟ้าสีรุ้ง
 2546
สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สำนักงานกลาง ภูมิภาค ล้านนา บูรภา
 2547
สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ขยาย ภูมิภาค ทักษิณ
 2548
สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ขยาย ภูมิภาค อีสาน และเปิดศูนย์สุขภาพ และจัดตั้งศูนย์ประสานงานความร่วมมือในการทำงาน ค้านความหลากหลายทางเพศ



กว่าจะมาเป็นสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

ในปี พ..2542คุณกมลเศรษฐ์ และผู้มีบทบาททางสังคมคนรักเพศเดียวกันในขณะนั้น เช่นคุณระวี รติกาล, คุณวิโรจน์ ตั้งวาณิช จึงจัดงานเสวนาปัญหาเกย์ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากตัวแทนภาครัฐอย่างกระทรวงสาธารณสุข พูดคุยถึงปัญหาของคนรักเพศเดียวกันในประเทศไทย จนได้ข้อสรุปว่าควรมีการรวมกลุ่มขึ้นอย่างชัดเจนในนาม “ชมรมเส้นทางสีรุ้ง” หลังจากนั้นความเคลื่อนไหวต่างๆ ในนาม “ชมรมเส้นทางสีรุ้ง” ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวังจนกระทั่ง ต้องเปลี่ยนกลยุทธในการหาความร่วมมือจากคนไทยที่รักเพศเดียวกันกลุ่มต่างๆ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในหลายๆ สังคมด้วยการเข้าถึงที่ เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ตลอดจนแนวคิดและวิธีการดำเนินงานใหม่ ภายใต้ชื่อใหม่ “กลุ่มฟ้าสีรุ้ง” ในปีพ.. 2543 เน้นเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยที่รักเพศเดียวกัน หลังจากนั้นเป็นต้นมา “กลุ่มฟ้าสีรุ้ง” ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับองค์กรต่างๆจากต่างประเทศ ในการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในสวนสาธารณะ, กลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้ขายบริการตลอดปีพ.. 2544 และเรียกชื่อกลุ่มใหม่เป็น “องค์กรฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย”

สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนเป็นสมาคม เมื่อปีพ.. 2546 และขยายสำนักงานสาขาไปทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทยในปัจจุบัน มีคุณวิโรจน์ตั้งวาณิช เป็นนายกสมาคมฯคนแรก และคุณกิตตินันท์ ธรมธัช เป็นนายกสมาคมคนปัจจุบัน , คุณกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ เป็นเลขาธิการสมาคมฯ


ที่มาของคำว่า “ฟ้าสีรุ้ง”

แนวคิดที่ได้จาก”สีรุ้ง”เป็นสัญลักษณ์ของเกย์สากล รุ้งเองอาจหมายถึงความหลากหลายของมนุษย์ แต่ฟ้าสีรุ้งจะรวมถึงสังคมที่แก้ไขแล้ว จะงดงามน่าอยู่ฉันใด ก่อนมีรุ้งและแสงทองอันสดใส ฟ้าก็คงมืดมัวเช่นกัน ฟ้าหลังฝนจึงเปร่งประกายฉายสีรุ้งให้ชาวเราได้เรียนรู้ ช่วยเหลือและร่วมกันสู่วันที่สวยงาม


จากชมรมเส้นทางสีรุ้ง สู่ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยปีนี้
2552 ก็ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 แล้วนะครับขอขอบคุณพี่ๆทุกคนที่มีส่วนร่วมในการก่อตั้งและรักษา ฟ้าสีรุ้งให้น้องๆที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีศูนย์กลางทางความคิดและการดำเนินชีวิตที่ดีแล้วพวกเราจะร่วมต่อสู่ฝ่าฟันเป็นสะพานเพื่อไปให้ถึง วันที่ฟ้าสดใสนะครับ” เสียงของหนึ่งในสมาชิกสมาคมฯ


เหมือนดังวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งตั้งแต่วันเริ่มแรกถึงวันนี้คือช่วยเหลือคนไทยที่เป็นกลุ่มรักเพศเดียวกัน หากคุณคือหนึ่งในกลุ่มนั้น
... ใช้สิทธิ์ของคุณ เป็นเพื่อนกัน ภายใต้การดูแลอย่างอบอุ่นจากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยที่อยู่ใต้ร่มแผ่นดินไทย ... เพื่อคุณ ... สิคะ


ปล
.ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย


สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
www.rsat.info
เลขที่ 159 อาคารเดอะบีชเรซิเดนซ์ ชั้น 8 ซอยโชคชัยร่วมมิตร ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 หมายเลขโทรศัพท (66+) 02 690 7733 - 4 โทรสาร (66+)02 690 7735

 

 

บล็อกของ ชาน่า

ชาน่า
  หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี…
ชาน่า
หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้
ชาน่า
  เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ
ชาน่า
"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...." มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"   หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”
ชาน่า
  การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ
ชาน่า
  เกิดเป็นคนมีชื่อเสียง (.... อือ... อันที่จริงทุกคนล้วนมีชื่อเป็นของตัวเองทั้งน้านนน) ก็ลำบากทำอะไรก็เป็นเป้าสายตาของประชาชี จะกิน ดื่ม ขยับซ้ายก็เป็นข่าว ขยับขวาก็มองต่างมุม โดนรุมทำข่าวอีก เรียกได้ว่าสูญเสียความเป็นส่วนตัวมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของธุรกิจคนขายข่าว ขายเรื่องราวแล้วยังเป็นเหมือนสินค้าตัวหนึ่งทีเดียวฮ่ะ
ชาน่า
การมองโลกในแง่ดี(เกินไป) การทำดี การให้เพื่อคนที่เรารัก เคยรัก อยากรัก สุดท้ายคนนั้นกลายเป็นคนอื่นคนไกล คนไม่รู้จัก บางครั้งมันก็ยากที่จะสาธยายได้ว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นมันเป็นไปทางทิศไหน หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ สะกดคำว่า ... สายเกินไป “โดน” กับตัวเองแล้วล่ะ
ชาน่า
  เคยคิดอยากเขียนนิยาย ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเหมือนกัน แต่ฝีมือการเขียนยังไม่เข้าขั้น และที่สำคัญเวลายังไม่เอื้ออำนวย เพราะต้องทำงานเป็นนางแบกโกอินเตอร์ ทำงานทุกวันฮ่ะ (นางแบก คือทำงานอาชีพแบกถาด บนเรือสำราญเจ้าค่ะ) สัปดาห์นี้อยากเขียนเรื่องจริงจากประสบการณ์ของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของชาน่า ที่เค้ากล้าเผยความเป็นเกย์ต่อครอบครัว ความจริงมันไม่เป็นเพียงแค่ความกล้า หากแต่เป็นสถานการณ์พาไป และอยากให้รับรู้ ยามเมื่อถึงเวลา เนื้อเรื่องและเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงจากครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนครอบครัวหนึ่ง เรียบเรียงโดยชาน่า ล้านนา ค่ะ
ชาน่า
ปีใหม่ก้าวผ่านมาตามวันเวลาของปฎิทิน ที่ถูกกำหนดไว้ วันเดือนปี (ใหม่) เป็นแค่กาลเวลาที่คนเรากำหนด นับจากวันที่ผมลืมตาดูโลก จนถึงวันนี้ วัน เวลา และปีเป็นสิ่งที่กำหนดอายุของคนเรา ใช่มันผ่านไปแล้ว ...ผ่านไปเข้าสู่วัยกลางคน ของคน ๆ หนึ่งที่ยืนหยัดอยู่บนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปใบนี้ มีหลายสิ่งที่ดีเข้ามา มีหลายคราที่รู้สึกแย่ หลากอารมณ์ที่ตัวเองสัมผัสได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ค้นพบและรับรู้อยู่เสมอคือ... ความเป็นตัวตนที่แท้จริงภายใต้จิตสำนึก  
ชาน่า
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการรณรงค์ การกระทำที่ไม่รุนแรงต่อเพศหญิง แต่น้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นด้วยกับการที่ได้ทราบข่าว การกระทำรุนแรงต่อเพศพิเศษนั่นคือเกย์ หรือกะเทย ที่เกี่ยวข้องกับผองเพื่อนชาวเรา ชาน่าได้อ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งถึงเว็บเกย์โรมีโอ (เว็บไซต์สังคมเกย์ที่ขึ้นชื่อของโลก) โดยคนที่เขียนมาเล่าเป็นเกย์ ที่ออกค่ายอาสากับหมอ เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งมีโอกาสได้ไปหลายประเทศต่าง ๆ ขอแปลจดหมายฉบับนี้เพื่อผู้อ่านค่ะ
ชาน่า
ชาน่าชอบอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้าถ้าหากมีเวลา แต่ถ้าไม่มีเวลามากนักก็เลือกบางเรื่อง ที่สนใจและเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องฮา ฮา แม้บางครั้งบอกกับตัวเองว่า “ไร้สาระน่าดู...” แต่ลึก ๆ แล้วเนื้อหาบางส่วนอาจจะให้ความบันเทิงแบบไม่ต้องคิดอะไรมากอย่างเสียไม่ได้ ลองอ่านเรื่องราวที่ชาน่าเรียบเรียงโดยได้พล๊อตเรื่องจาก เมล์ส่งต่อ แต่แต่งเติมเป็นภาษาง่าย ๆ ของชาน่านะฮะ (ดั่งเพื่อนหลายคนตั้งฉายาให้ว่า ชาน่า ปั้นน้ำเป็นตัวจนแข็ง....) ... ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม น้อง ๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่อนุญาตให้อ่านนะคะ เป็นคอลัมน์เรต ฉ. เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองด้วยค่ะ
ชาน่า
  ชีวิตความรักของเกย์น่ะหรือ... หลายคนผลักดัน ยิ่งดันยิ่งดัก ยิ่งผลักเหมือนยิ่งแบกโลก เคยมีเพื่อนของชาน่าหลายคน บอกว่า ... “ฉันเชื่อเรื่องความรักของเกย์ ...ว่าคือรักนิรันดร์” แต่ “ฉัน” กลับขอค้าน ที่ค้านในที่นี้คือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล คนที่เชื่ออย่างนั้นหนึ่งในนั้นคือ “ฉันเอง” ชาน่า