Skip to main content

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความดีใจกับนักแสดงฝีมือระดับโลกที่ได้รับรางวัลหมาด ๆ สาขา “นักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม” ฌอน เพนน์ ที่คว้ารางวัล Academy Awards ครั้งที่ 81 ไปครองอย่างสมศักดิ์ศรี แม้ชีวิตจริงของเค้าจะไม่ใช่เกย์ก็ตาม

มิลค์ เป็นหนังที่กล่าวถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล 1 ใน 5 ของหนังดังระดับโลกอีกเรื่องหนึ่ง คืนวันอาทิตย์ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาน่าได้มีโอกาสดูการถ่ายทอดสดตรงจาก ทีเอ็นที ณ โรงละครโกดัก แอลเอ โดยหนังเรื่องนี้เข้าชิงหลายรางวัล เช่น หนังดีเด่น ผู้กำกับดีเด่น แม้จะไม่ได้รางวัลแต่อย่างน้อย ดารานำฝ่ายชายของหนังเรื่องนี้ก็ขึ้นไปรับรางวัลอย่างสมเกียรติ พร้อมประกาศก้องว่า “คนเราทุกคนควรมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตาม” กล้องได้จับภาพผู้มาร่วมงานพร้อมกับเสียงปรบมือกระหึ่มทั่วโรงละคร

โดยส่วนตัวแล้วอิฉันยังไม่มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้ แต่ก็ไม่พลาดที่จะเข้าไปพรีวิว จากแหล่งข้อมูล พร้อมนำเรื่องย่อมาฝากเป็นไกด์นำทางเพื่ออรรถรสในการชม และรายละเอียดของหนังเรื่องนี้กันค่ะ



Milk / ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก
กำกับการแสดงโดย : Gus Van Sant
นำแสดงโดย : Sean Penn, Allison Pill, Josh Brolin, Emile Hirsch, James Franco
ประเภท : Drama, Biopic
เรท : R
ความยาว : 2.8 ชม.
วันที่เข้าฉาย : 26 กุมภาพันธ์ 2552
ค่ายภาพยนตร์ : M Pictures

เนื้อเรื่องโดยย่อ มิลค์เป็นการตั้งชื่อหนังตามชื่อของนักต่อสู้ โดยแสดงถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศซึ่งมิล์คได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอเมริกา เป็นต้นกล้าสำคัญในการต่อสู้จนนำมาสู่การยอมรับ และการกล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้นในปัจจุบัน ที่กระจายไปทั่วโลก จนนิตยสารไทม์ได้ยกย่องให้ให้เขาเป็นหนึ่งในร้อยบุคคลสำคัญของโลกแห่งศตวรรษ แต่หลังจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาระยะหนึ่ง มิล์ดได้มีเรื่องบาดหมางกับ แดน ไวท์ คู่แข่งทางการเมืองที่เกลียดเกย์ ทำให้มิล์คถูกไวท์ยิงในระยะเผาขน พร้อมกับนายกเทศมนตรีซานฟรานซิสโก ในปี 1978


มิลค์
เขาคือนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเกย์ คือเพื่อน คือคนรัก คือศูนย์รวมจิตใจ เขาเป็นนักการเมือง เป็นนักสู้ เป็นบุคคลผู้ควรค่าแก่การยกย่อง เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นวีรบุรุษ เรื่องราวของเขาพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ ความหาญกล้าของเขาเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนมากที่น่าสรรเสริญและยกย่องเป็นอย่างยิ่ง


ในปี
1977 ฮาร์วีย์ มิลค์ ได้รับเลือกให้เข้าไปนั่งในสภาที่ปรึกษาแห่งซานฟรานซิสโก เขาคือเกย์เปิดเผยคนแรกที่มีสิทธิ์มีเสียงในองค์กรทางเมืองของสหรัฐอเมริกา ชัยชนะของมิลค์ไม่ใช่เพียงเพื่อสิทธิของกลุ่มรักร่วมเพศเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการกำจัดความเหลื่อมล้ำทางการเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ ฮาร์วีย์ มิลค์ ยังเปลี่ยนความหมายของการเป็นนักสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และกลายเป็นวีรบุรุษของชาวอเมริกันทุกชนชั้นตั้งแต่ราษฎรอาวุโสไปจนถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กระทั่งเขาเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในปี 1978


ภาพยนตร์เรื่อง
Milk ถ่ายทอดช่วงชีวิต 8 ปีสุดท้ายของ ฮาร์วีย์ มิลค์ เริ่มตั้งแต่ตอนที่มิลค์ในวัย 40 ปีอาศัยอยู่ในนิวยอร์ก จนกระทั่งตัดสินใจออกตามหาจุดมุ่งหมายอื่นๆ ในชีวิต โดยย้ายมาลงหลักปักฐานกับคนรักคือ สกอตต์ สมิธ (รับบทโดย เจมส์ ฟรังโก้) ในซานฟราซิสโก และเปิดธุรกิจเล็กๆ ชื่อ Castro Camera ณ ใจกลางชุมชนของชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งต่อมากลายเป็นสถานที่พักพิงทางใจของกลุ่มรักร่วมเพศจากทั่วประเทศ ชุมชนคาสโตรอันเป็นที่รักบวกกับทัศนียภาพอันงดงามของเมืองเพิ่มพลังชีวิตให้กับมิลค์เป็นอย่างมาก จนถึงขั้นสร้างความประหลาดใจให้กับสกอตต์และตัวของเขาเองด้วยการเป็นกระบอกเสียงเรียกร้องความเปลี่ยนแปลง เขาเรียกร้องความเท่าเทียมทางสิทธิและโอกาสให้กับทุกๆ คน ความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อเมืองและผู้คนในเมืองนี้ทำให้เขาต้องสลับบทบาทไปมาเป็นเด็กบ้าง เป็นคนแก่บ้าง เป็นชายแท้บ้าง และเป็นชายรักร่วมเพศบ้าง ท่ามกลางอคติและกระแสต่อต้านกลุ่มรักร่วมเพศซึ่งเปรียบประหนึ่งบรรทัดฐานของสังคมในเวลานั้น

ด้วยแรงหนุนเต็มกำลังจากสกอตต์ บรรดาเพื่อนใหม่ และเหล่าอาสาสมัคร มิลค์จึงกระโจนเข้าสู่กระแสการเมืองอันเชี่ยวกราก รวมทั้งคอยดูแลช่วยเหลือหนุ่มนักเคลื่อนไหวไฟแรงอย่าง คลีฟ โจนส์ (เอมิล เฮิร์สช์) ไปพร้อมๆ กัน เขาใช้อารมณ์ขันมัดใจสาธารณชน และลงมือทำจริงจังมากกว่าดีแต่พูด ไม่นานนักก็กลายเป็นที่รู้จักไปทั่ว แต่กระนั้น มิลค์ก็ยังยืนกรานจะเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองส่วนท้องถิ่นให้ได้ อันเป็นเหตุให้เขาและสกอตต์ต้องแยกทางกันไป ผ่านมาถึงช่วงที่เขาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 4 จึงได้พบรักใหม่กับ แจ็ค ลิร่า (ดิเอโก ลูนา)


มิลค์ได้ชัยชนะในการลงสมัครครั้งสุดท้ายนี้เอง โดยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาประจำเขตการปกครองที่
5 เขาดูแลซานฟรานซิสโกเป็นอย่างดี พร้อมกันนั้นก็วิ่งเต้นคัดค้านข้อบังคับประจำเมืองเพื่อปกป้องผู้คนจากการถูกไล่ออกหลังจากที่เปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเองรวมไปถึงนำขบวนประท้วงการทำประชามติทั่วทั้งรัฐเพื่อไล่ครูที่เป็นเกย์รวมทั้งผู้สนับสนุนให้ออกจากโรงเรียน ซึ่งเขาตระหนักดีว่าการต่อสู้กับ Proposition 6 นี้จะเปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนสำหรับการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเกย์ในเวลาเดียวกันจุดมุ่งหมายทางการเมืองของมิลค์ก็เริ่มสวนทางกับจุดมุ่งหมายของกรรมการที่ปรึกษาหน้าใหม่อีกท่านหนึ่ง นั่นคือ แดน ไวท์ (จอช โบรลิน) จนกระทั่งโชคชะตาของทั้งสองมาบรรจบกันและจบลงที่ความเศร้า แนวคิดของมิลค์เคยเป็นและยังคงเป็นแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องความหวัง อันเปรียบได้ดั่งมรดกที่วีรบุรุษท่านนี้ส่งต่อให้คนรุ่นหลังมาจนถึงปัจจุบัน

 


ฮาร์วี่ มิลค์ รับบทโดยฌอน เพนน์ นักแสดงผู้ชนะรางวัลออสการ์ โดยในบทบาทของเรื่องเค้าเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิชาวรักร่วมเพศและเป็นชายที่ประกาศตัวว่าเป็นรักร่วมเพศคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นเทศมนตรีของซานฟรานซิสโก ภายใต้การกำกับโดยผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ กัส แวน แซงต์ จากบทภาพยนตร์โดย ดัสติน แลนซ์ แบล็ก ควบคุมงานสร้างโดยผู้ชนะรางวัลออสการ์ แดน จิงก์ส และ บรูซ โคเฮน หนังเรื่องนี้ถ่ายทำจากสถานที่จริงในมหานครซานฟรานซิสโก ชาน่าเคยไปเที่ยวสองครั้งที่นี่ เปรียบเสมือนเป็นเมืองหลวงของเกย์ทางแถบแปซิฟิก บริเวณแคสโทร ยิ่งกว่าอาณาจักรของเกย์ และกลุ่มรักร่วมเพศที่คุณมีอิสระเสรีมากที่สุด

หนังดีมีระดับดีกรีเข้าชิงหนึ่งในห้า และที่สำคัญ “มิลค์” เกี่ยวข้องกับกลุ่มรักร่วมเพศอย่างเราท่าน พลาดไม่ได้ ว่างเมื่อไหร่หาโอกาสดูนะคะ



อีกหนึ่งความภาคภูมิใจเหลือเกินว่า อย่างน้อยโลกของการต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่มชาวรักร่วมเพศก็เป็นเรื่องเป็นราวที่เกิดขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยคนจริง ทำจริง สู้จริง ที่ช่วยกันแม้โลกจะมองต่างมุม ผิดองศาขนาดไหน แต่ถ้าหากเราสู้ด้วยเหตุและผล ผลของการต่อสู้นั้นมีค่ามหาศาล เพื่ออนุชนชาวเกย์คนรุ่นหลังจักได้เป็นอยู่อย่างสุขสบาย และไม่อายใครแม้เราจะมีชีวิตที่เป็นอยู่อย่างนี้ แต่เราก็เลือกที่จะประกาศก้องให้โลกได้รับรู้ว่า “เราทำได้” เหมือนเพศชายจริงหญิงแท้ทำได้เช่นกัน ดังนั้นสิทธิและเสรีภาพจึงควรอยู่คู่กับเราให้ได้รับผลอย่างเท่าเทียมกัน มิลค์
...สู้ ตายฮ่ะ


special thanks to www.milkthemovie.com & www.bangkokrainbow.org

 

 

 

บล็อกของ ชาน่า

ชาน่า
  หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี…
ชาน่า
หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้
ชาน่า
  เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ
ชาน่า
"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...." มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"   หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”
ชาน่า
  การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ
ชาน่า
  เกิดเป็นคนมีชื่อเสียง (.... อือ... อันที่จริงทุกคนล้วนมีชื่อเป็นของตัวเองทั้งน้านนน) ก็ลำบากทำอะไรก็เป็นเป้าสายตาของประชาชี จะกิน ดื่ม ขยับซ้ายก็เป็นข่าว ขยับขวาก็มองต่างมุม โดนรุมทำข่าวอีก เรียกได้ว่าสูญเสียความเป็นส่วนตัวมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของธุรกิจคนขายข่าว ขายเรื่องราวแล้วยังเป็นเหมือนสินค้าตัวหนึ่งทีเดียวฮ่ะ
ชาน่า
การมองโลกในแง่ดี(เกินไป) การทำดี การให้เพื่อคนที่เรารัก เคยรัก อยากรัก สุดท้ายคนนั้นกลายเป็นคนอื่นคนไกล คนไม่รู้จัก บางครั้งมันก็ยากที่จะสาธยายได้ว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นมันเป็นไปทางทิศไหน หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ สะกดคำว่า ... สายเกินไป “โดน” กับตัวเองแล้วล่ะ
ชาน่า
  เคยคิดอยากเขียนนิยาย ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเหมือนกัน แต่ฝีมือการเขียนยังไม่เข้าขั้น และที่สำคัญเวลายังไม่เอื้ออำนวย เพราะต้องทำงานเป็นนางแบกโกอินเตอร์ ทำงานทุกวันฮ่ะ (นางแบก คือทำงานอาชีพแบกถาด บนเรือสำราญเจ้าค่ะ) สัปดาห์นี้อยากเขียนเรื่องจริงจากประสบการณ์ของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของชาน่า ที่เค้ากล้าเผยความเป็นเกย์ต่อครอบครัว ความจริงมันไม่เป็นเพียงแค่ความกล้า หากแต่เป็นสถานการณ์พาไป และอยากให้รับรู้ ยามเมื่อถึงเวลา เนื้อเรื่องและเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงจากครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนครอบครัวหนึ่ง เรียบเรียงโดยชาน่า ล้านนา ค่ะ
ชาน่า
ปีใหม่ก้าวผ่านมาตามวันเวลาของปฎิทิน ที่ถูกกำหนดไว้ วันเดือนปี (ใหม่) เป็นแค่กาลเวลาที่คนเรากำหนด นับจากวันที่ผมลืมตาดูโลก จนถึงวันนี้ วัน เวลา และปีเป็นสิ่งที่กำหนดอายุของคนเรา ใช่มันผ่านไปแล้ว ...ผ่านไปเข้าสู่วัยกลางคน ของคน ๆ หนึ่งที่ยืนหยัดอยู่บนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปใบนี้ มีหลายสิ่งที่ดีเข้ามา มีหลายคราที่รู้สึกแย่ หลากอารมณ์ที่ตัวเองสัมผัสได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ค้นพบและรับรู้อยู่เสมอคือ... ความเป็นตัวตนที่แท้จริงภายใต้จิตสำนึก  
ชาน่า
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการรณรงค์ การกระทำที่ไม่รุนแรงต่อเพศหญิง แต่น้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นด้วยกับการที่ได้ทราบข่าว การกระทำรุนแรงต่อเพศพิเศษนั่นคือเกย์ หรือกะเทย ที่เกี่ยวข้องกับผองเพื่อนชาวเรา ชาน่าได้อ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งถึงเว็บเกย์โรมีโอ (เว็บไซต์สังคมเกย์ที่ขึ้นชื่อของโลก) โดยคนที่เขียนมาเล่าเป็นเกย์ ที่ออกค่ายอาสากับหมอ เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งมีโอกาสได้ไปหลายประเทศต่าง ๆ ขอแปลจดหมายฉบับนี้เพื่อผู้อ่านค่ะ
ชาน่า
ชาน่าชอบอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้าถ้าหากมีเวลา แต่ถ้าไม่มีเวลามากนักก็เลือกบางเรื่อง ที่สนใจและเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องฮา ฮา แม้บางครั้งบอกกับตัวเองว่า “ไร้สาระน่าดู...” แต่ลึก ๆ แล้วเนื้อหาบางส่วนอาจจะให้ความบันเทิงแบบไม่ต้องคิดอะไรมากอย่างเสียไม่ได้ ลองอ่านเรื่องราวที่ชาน่าเรียบเรียงโดยได้พล๊อตเรื่องจาก เมล์ส่งต่อ แต่แต่งเติมเป็นภาษาง่าย ๆ ของชาน่านะฮะ (ดั่งเพื่อนหลายคนตั้งฉายาให้ว่า ชาน่า ปั้นน้ำเป็นตัวจนแข็ง....) ... ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม น้อง ๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่อนุญาตให้อ่านนะคะ เป็นคอลัมน์เรต ฉ. เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองด้วยค่ะ
ชาน่า
  ชีวิตความรักของเกย์น่ะหรือ... หลายคนผลักดัน ยิ่งดันยิ่งดัก ยิ่งผลักเหมือนยิ่งแบกโลก เคยมีเพื่อนของชาน่าหลายคน บอกว่า ... “ฉันเชื่อเรื่องความรักของเกย์ ...ว่าคือรักนิรันดร์” แต่ “ฉัน” กลับขอค้าน ที่ค้านในที่นี้คือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล คนที่เชื่ออย่างนั้นหนึ่งในนั้นคือ “ฉันเอง” ชาน่า