Skip to main content

 

เมื่อฉันเริ่มจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ ฉันรู้ว่า แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่นๆ เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริงยินดี

แต่ทว่าเสื้อนั้นมีเพียงตัวเดียว เสื้อตัวอื่นสำหรับจะเปลี่ยนไม่มี มีเพียงตัวเดียวเท่านั้น เสื้อตัวนั้นจะเก่าหรือ จะสกปรกหรือ ฉันไม่รู้ไม่เข้าใจ รู้เพียงว่ามีเสื้อแล้ว ฉันก็ดีใจ ฉันรู้ว่ามันเปียกหรือไม่เปียกเท่านั้นเอง

พอรู้ว่าเสื้อเปียกแล้ว เราพูดกันในหมู่เด็กๆว่า

"จะทำเสื้อให้แห้งอย่างไรดี อยู่อย่างนี้หนาวจังเลย"

ถึงตอนนี้เราบอกกันให้ไปช่วยหาเศษไม้เศษขยะมาก่อไฟที่ใต้ถุนบ้าน แล้วเราก็ตากเสื้อเหนือไฟกองนั้น พวกเราเจ้าของเสื้อแต่ละคนนั่งผิงอยู่รอบๆกองไฟ เปลือยกายล่อนจ้อนกันทุกคนอย่างพวกลิง ค่าง ชะนี หากเสื้อของใครจะแห้งก่อนสักคน เราจะไปเที่ยวเล่นคนเดียวไม่ได้ เราต้องคอยจนกว่าเสื้อของทุกคนจะแห้งหมด เราจึงหาเพื่อนด้วยเศษไม้ เศษขยะนี่เอง


เมื่อเสื้อแห้งหมดทุกคนแล้ว เราสวมมันอย่างร่าเริงแจ่มใสอีกครั้งหนึ่ง เราพากันออกไปเล่นต่ออีก

สำหรับพวกเราเด็กๆกะเหรี่ยงนั้น กลิ่นที่หอมที่สุด เป็นกลิ่นอะไรรู้ไหม

มันคืนกลิ่นหอมควันไฟจากเสื้อเรานั่นเอง

 

พอโตจนสวมทั้งเสื้อและกางเกงแล้ว ฉันจำได้ว่า หากฉันเห็นใครสวมเสื้อผ้าใหม่ ใส่กางเกงดีๆ ฉันจะรู้สึกอายเขามาก ฉันมองดูตัวเองแล้วก็ร้องไห้ออกมานิดๆ แต่พอมองไปที่พวกเพื่อนๆแล้วที่เขาเหมือนกับฉันก็มีอยู่เหมือนกัน ฉันจึงรู้สึกสบายใจขึ้นมาบ้าง


ความอดอยากแร้นแค้นเกิดขึ้นกับครอบครัวของฉันอีก เงินหรือ? เงินก็ไม่มี ข้าวหรือ? ข้าวก็หมดไปนานแล้ว ฉันจะไปเป็นลูกจ้างคนอื่น ก็ยังทำงานไม่เป็น คงไม่มีใครจ้างฉัน แต่มีอยู่ทางหนึ่ง ถ้าอยากกินข้าว ฉันจะไปช่วยตักน้ำให้เพื่อนบ้าน เขาก็จะให้ข้าวมากินก้อนหนึ่ง เพื่อนของฉัน บางคนพ่อแม่เขามีวัวควาย เขาก็มาชวนฉันไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ฉันไปกับเขา เมื่อกลับมาถึงบ้าน เขาก็ให้ฉันกินข้าวด้วย ฉันทำอย่างนี้เอง


บางครั้งถ้าฉันมีข้าว ฉันก็ชวนเพื่อนมากินข้าวกับฉัน มานอนกับฉัน เราผลัดเปลี่ยนกันไปนอนบ้านคนนี้บ้าง คนโน้นบ้าง บางทีเราก็ชวนกันไปเที่ยวตกปลา ดักนก ดักไก่ป่าเอามากินกัน


ยามขาดแคลนข้าว เราไปเสาะหาข้าวเปลือกต่างหมู่บ้าน ฉันมักจะตามหลังพ่อไป ตอนนั้นฉันเริ่มเป็นหนุ่มแล้ว พวกคนเฒ่าคนแก่พูดกับฉันว่า

"พวกเด็กๆโตขึ้นเร็วมาก เด็กสมัยนี้โตเร็ว อีกไม่นานก็จะโตขึ้นแทนที่พวกข้า"


เวลานั้น ถนนรถยนต์ยังมาไม่ถึงหมู่บ้านของเรา ฉันยังไม่เคยเห็นรถยนต์เลยสักครั้ง ฉันเดินไปขนข้าวสารจากวังลุงบ้าง จากจอมทองบ้าง บางครั้งฉันตามคนอื่นไป บางครั้งฉันไปกับพ่อและแม่ ที่นั่นเองที่ฉันได้เห็นรถยนต์


ในตอนนั้น ฉันยังไม่เคยเห็นเงินที่เป็นธนบัตรเลย เราใช้กันแต่สตางค์แดงเท่านั้น ถ้วย จาน เราก็ยังไม่มีใช้ หม้อเหล็ก หม้ออลูมีเนียมที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มี เด็กๆสมัยนี้คงไม่มีใครเชื่อฉัน แต่มันเป็นความจริงอย่างนั้น


เราใช้หม้อดิน เราทำจานทำถ้วยจากไม้ไผ่ เราใช้ช้อนที่ทำจากกิ่งไผ่ สำหรับหม้อดินนั้น พวกเราเอามาจากหมู่บ้านของคนลัวะ บางทีเราเอาไก่ไปแลก บางทีเราใช้สตางค์แดงไปซื้อ


แต่ก็มีบางคนเขาทำถ้วยและจานจากไม้ เขาจะเจาะแกนไม้ แล้วถากรอบๆให้เหมือนถ้วย สำหรับจานใส่ข้าวนั้น เขาจะตัดไม้ใหญ่มาผ่าซีก แล้วก็จะขูดเนื้อไม้ข้างในออก เวลาจะกินข้าว เราจะคดข้าวใส่ลงรอบๆในจานไม้ใหญ่นี้ ซึ่งเราเรียกว่า เซอบิเมหละ เราจะวางถ้วยแกงหรือน้ำพริกไว้ตรงกลาง คนทั้งบ้านจะนั่งเป็นวงกลมรอบเซอบิเมหละ พ่อ แม่ ลูกจะกินข้าวจากจานใบเดียวกันนี้


อาหารของคนกะเหรี่ยงเรานั้น ขอให้มีแต่พริกกับเกลือก็พอ ถ้ามีพริกมีเกลือ เรากัดกินปนกัน เราก็อยู่ได้

บางครั้งเรากัดกินพริกกับเกลือ แต่บางครั้งเราก็ได้กินเนื้อ กินนกกินหนูด้วยเหมือนกัน

บนภูเขาเดี๋ยวนี้สบายขึ้นมากแล้ว มีทางรถยนต์ไปถึงหมู่บ้าน แต่บางหมู่บ้านก็ยังไปไม่ถึง

ฉันไม่รู้หรอกว่า ความสะดวกสบายที่เราได้รับจะนำความสุขหรือความทุกข์มาให้คนภูเขา

 

*** น่าจะเป็นครั้งแรกที่คนในหมู่บ้านแม่แฮใต้ ได้ฟังถ้อยงานเขียนพ้อเลป่า

ผมคัดเลือกเอาบทที่มีความรู้สึกต่อเนื่อง ใกล้เคียงกัน อ่านรวดเดียวจบ ให้ทุกคนได้ฟังซึมซับ

(จากหนังสือ"คนปกากะญอ" เล่มแรกของ พ้อเลป่า (แปลโดย กัลยา-วีระศักดิ์ ยอดระบำ))

ในตอนใกล้เที่ยง วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2552

ณ สุสานแม่แฮใต้

 

 

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
พ่อของลูกคือลูกของพ่อ ล้วงหนังสือ “เจ้าชายน้อย” ออกจากกระเป๋าสะพาย เป็นเล่มเดียวที่ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ลูกชายเดินทางไปด้วย และไม่อาจรู้หรอกว่าจะได้เปิดอ่านในช่วงไหนเวลาไหน ลูกของพ่อคือหลานของปู่กำลังง่วนอยู่กับสมุด ดินสอ สีในกระเป๋าเช่นกัน เขาคงนึกอยากเขียนภาพ
ชนกลุ่มน้อย
เดินทางแบบกระเด็นกระดอนอยู่ในกระป๋องหนาหนักติดล้อ  และความยาวนานของระยะทาง  กว่า 5 ชั่วโมงไปให้ถึงใจกลางภูเขา  แต่ยิ่งคิดว่าเมื่อไหร่จะถึงใจกลางภูเขาตามมาตรวัดของแผนที่แผ่กางออกกว้าง  ยิ่งกลับเป็นเรื่องยากไปถึงใจกลางภูเขาที่อยู่ในใจ  ภูเขาเป็นทะมึนก่อกำแพงรายล้อม  
ชนกลุ่มน้อย
    เป็นเวลา 10 กว่าปี ที่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อใต้ชายคาเดียวกันนานๆ แต่คราวนี้ พ่ออยู่กับผมนานถึง 90 วัน พ่อในวัย 74 เพิ่งผ่านการบำบัดรักษาหัวใจอย่างชนิดลุ้นเส้นยาแดงผ่าแปดกันมา และต้องควบคุมตัวเองเรื่องการดื่ม กิน เคลื่อนไหว และเคร่งครัดกับขนาดจำนวนยารักษาอย่างชนิดห้ามขาดเกินเวลา
ชนกลุ่มน้อย
ไหนๆ ก็กอดกันแล้ว กอดต่ออีกครั้งเป็นไรไป ภูเขาลูกนั้นมีเถียงไร่ตั้งอยู่โดดเด่นและโดดเดี่ยว สองพ่อลูกชวนกันไปยังเถียงไร่ ที่นั่นคงสบายตา ดูลับหูลับตาคน ไม่มีใครไป พอเดินไปได้ไม่กี่ก้าว กลับพบกับไม้สามต้น ดูราวเป็นพี่น้องกัน ทรงพุ่มงามเหลือเกิน เหมือนก้อนเมฆย้อมสีเขียวเกิดเปลี่ยนใจอยากมาปักเป็นต้นไม้อยู่บนผืนดิน มองแล้วมองอีก ยังไม่อิ่ม “กอดดีกว่าพ่อ” เสียงนั้นบอก “พ่อกอดด้วย” นานอย่างนาน ผลัดกันกอดไม้สามต้นนั้น
ชนกลุ่มน้อย
 ขอทะลึ่งๆ เว่อร์ๆ อีกสักครั้งเถอะครับ ผมรู้สึกอย่างนี้จริงๆ ทันทีที่นึกอยากเขียน และโชว์รูปที่น่าจะอยู่ในอัลบั้มรูปส่วนตัว ว่างๆก็เอามาแบวางออกดูและรำลึกถึง มากกว่านำออกมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าสายตาสาธารณะ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า เบื่อๆ เซาๆ ซึมๆ ว่างมาก มาทำเรื่องดูดีกันมั้ยลูก   มา ม๊า มาทำซึ้งกันสักครั้งดีกว่ามั้ย"เอ้า เอาเลย กอดกันเลยลูก" พูดแค่นั้นเจ้าชายน้อยโผประจำการทันที ผมไล่ตามเก็บรูป"พ่อกอดมั้ย" เขาถามกลับมา"กอดสิ ต้องกอดแน่ๆ ว่างแล้วยัง" หมายถึงไม้ต้นนั้น หมายตาไว้เหมือนกัน และถูกรักหลงในเวลาอันรวดเร็ว"ถ่ายรูปมั้ย" เขายึดกล้องไปกดรูปวันนั้น…
ชนกลุ่มน้อย
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ผมตระเวนท่องไปตามป่าเขาในภาคเหนือ ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะเผชิญหน้าจริงๆ กับพายุลมแรงที่หอบน้ำแข็งมาด้วย จนติดตรึงอยู่ในพายุน้ำแข็ง ไม่เห็นทางข้างหน้าและไม่เห็นทางข้างหลัง ขยับไปไหนไม่ได้ ราวกับทุกอย่างตกอยู่เหนือการควบคุม นอกจากยอมรับสภาพแล้วจำนนกับความเป็นไป
ชนกลุ่มน้อย
วันที่ 8 มีนาคม 2552 ผมนั่งเคียงข้างพ้อเลป่า ก่อนเดินทางกลับ ผมบอกว่า อีกสองสามอาทิตย์จะเข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง เวลาผ่านไปสามอาทิตย์กว่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2552 พ้อเลป่าก็จากไปจริงๆ ผมไปถึงบ้านแม่แฮคี้ตอนบ่ายแก่ๆวันต่อมา บ้านไม้ริมถนนมีคนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนบ้าน ไล่เรียงอออกมานอกประตูบ้าน ผู้เฒ่ากวีแห่งแม่แฮใต้จากไปจริงๆ รูปวางถ่ายไว้บนโลงไม้ รูปสูบไปป์ที่คุ้นเคย พร้อมดอกไม้สัญลักษณ์ของความอาลัย
ชนกลุ่มน้อย
 เมื่อฉันเริ่มจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ ฉันรู้ว่า แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่นๆ เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริงยินดี
ชนกลุ่มน้อย
ชนกลุ่มน้อย
 ไม่มองซ้ายขวาหน้าหลัง  เดินเข้าไปหาแล้วโอบกอด   "ได้กลิ่นมั้ย" ผมถาม"เหมือนน้ำมัน" เขาตอบ"ใช่  ในตัวเขามีน้ำมัน" .. บทสนทนาระหว่างโอบกอด  เป็นเช่นนี้จริงๆ