Skip to main content

 

 

ฟิลิปปินส์ ใช้รูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ (Republic) ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยมีทำเนียบ "มาลากันยัง" เป็นสถานที่พำนักและปฏิบัติราชการของประธานาธิบดี ซึ่งหากใครได้มีโอกาสไปเยือนสถานที่แห่งนี้ ก็อาจจะต้องตกตะลึงกับความหรูหราอลังการของพิพิธภัณฑ์ภายในทำเนียบ โดยเฉพาะห้องอื้อฉาว ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่เก็บรองเท้าของนางอิเมลด้า อดีตสตรีหมายเลข 1 ของประธานาธิบดีมาร์กอส ที่มีจำนวนมากถึง 30,000 คู่

ทำเนียบมาลากันยัง กลางกรุงมะนิลา

สำหรับชีวประวัติของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์นั้น มีอยู่ไม่น้อย ที่อาจจะคุ้นหูคนไทยหลายๆ ท่าน เช่น รามอน แมกไซไซ อดีตนายทหารผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามกองโจร หากแต่ก็เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่คอยอุทิศตนให้กับงานบริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่มาของรางวัลแมกไซไซ ซึ่งเป็นรางวัลที่ส่งเสริมความสำเร็จของบุคคลและนิติบุคคลในเอเชีย หรือ เฟอร์ดินาน มาร์กอส จอมเผด็จการอำนาจนิยม ผู้ทรงอิทธิพลทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหารรัฐกิจและความมั่นคงของประเทศ หากแต่ก็อื้อฉาวอล่างฉ่างเกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชั่นและการสร้างอาณาจักรธุรกิจการเมืองให้อยู่แต่เฉพาะในกลุ่มพวกพ้องวงศ์วานตน

ภาพประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ทั้ง 15 ท่าน

ในอีกทางหนึ่ง ฟิลิปปินส์ยังมีอดีตประธานาธิบดีเป็นผู้หญิงถึง 2 คน คือ 1. นางคอรอซาน อาควิโน ผู้นำพลังปฏิวัติประชาชนเพื่อเข้าชิงโค่นอำนาจมาร์กอสเมื่อปี ค.ศ.1986 จนประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย พร้อมส่งออกแนวคิดการต่อสู้ภาคประชาชนให้กับกลุ่มนักศึกษาพม่า ซึ่งพยายามต่อต้านระบอบเผด็จการทหารเนวินเมื่อปี ค.ศ.1988 (หากแต่ต้องประสบความล้มเหลว) และ 2. นางกลอเรีย มาคาปาเคา อาโรโย่ สตรีร่างเล็ก หากแต่ก็สันทัดทั้งทางด้านการค้าและการต่างประเทศ อดีตอาจารย์ผู้ทรงภูมิทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอันโตนิโอ เด มะนิลา

นอกจากนั้น ฟิลิปปินส์ยังมีประธานาธิบดีชายที่มักจะตกเป็นข่าวเกี่ยวกับความเจ้าชู้โปรยเสน่ห์ เช่น โจเซฟ เอสตราดาร์ อดีตดาราภาพยนตร์ชื่อดัง ผู้ซึ่งใช้ชื่อเสียงจากวงการบันเทิงก้าวขึ้นมาเถลิงตำแหน่งเป็นถึงผู้นำสูงสุดของประเทศ หรือ นอยนอย อาควิโน ทายาทอดีตประธานาธิบดีอาควิโน และ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ (ลำดับที่ 15 ของประเทศ) ผู้นำผู้ทรงเสน่ห์ที่มีข่าวว่าเคยชำเลืองมองและส่งสายตากรุ้มกริ่มมายังผู้นำหญิงของไทยอย่างยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

หยิบมาฝากแบบเบาๆ สำหรับเรื่องราวของประเทศที่ว่ากันว่ามีประชากรที่มีรูปร่างหน้าตา และ อุปนิสัยใจคอบางอย่างคล้ายคลึงคนไทย เช่น ชอบช็อปปิ้ง ดูละครรอบดึก และคุยสนุกสนานแบบอารมณ์ดี


ดุลยภาค ปรีชารัชช


 

บล็อกของ ดุลยภาค

ดุลยภาค
โจทย์สำคัญของสถาบันกองทัพที่สิงสถิตอยู่ในสังคมอันเต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลาย ว่าสุดท้ายแล้ว กระบวนการปฏิรูปการเมืองของประเทศ กับ การปฏิรูปภาคทหารของกองทัพ จะดำเนินควบคู่ไปกับการปฏิรูปทางสังคมที่ตั้งอยู่บนฐานความยุติธรรมและสันติวิธี ได้มากน้อยเพียงไร