Skip to main content


มีการเปรียบเทียบกรณีความรุนแรงที่ภูเก็ตกับกรณีเผาศาลากลาง 4 จังหวัด ภาคอีสาน เมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 (ความจริงน่าจะหมายรวมถึงเหตุการณ์หลายๆจุดในกรุงเทพด้วย)

หลายคนบอกว่าไม่ต่างกัน (ซึ่งผมเห็นด้วย) แต่ท่าทีของ รัฐ ต่อเหตุการณ์ทั้งสองกรณีไม่เหมือนกัน ซึ่งผมคิดว่ายังไม่สามารถสรุปให้เป็นที่ชัดเจนได้ มันพึ่งผ่านไปแค่วันเดียวเท่านั้น

หลายคนเรียกร้องให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมในกรณีเผาโรงพักในระดับเดียวกันกับที่ใช้กับคนเสื้อแดงในปี 53 อาทิเช่น ลาก สไนเปอร์ อาวุธสงคราม ออกมาถล่มใส่ผู้ชุมนุม หรืองัดเอากฎหมายรุนแรงมาบังคับใช้กับผู้ชุมนุม

ในกรณีนี้ผมไม่เห็นด้วย !

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าความรุนแรงทุกกรณีมีเหตุที่มาของมัน กรณีการเผาสถานที่ราชการและเอกชนในเหตุการณ์ปี 53 ผมเชื่อว่ามีแรงผลักดันจากรูปแบบการต่อสู้โดยสันติวิธีของคนเสื้อแดงไม่เป็นผล มีการใช้ความรุนแรง อาวุธสงครามจากเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมนุม ประกอบกับมีการเผยแพร่ข้อมูลการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงแบบเกินกว่าความเป็นจริง

เหตุการณ์ที่ภูเก็ตเกิดจากการเข้าทำการจับกุมอันเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่จนเป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตสอง มันจึงเป็นที่มาของความรุนแรงที่เห็นอยู่หน้าจอ  กระจายกระแสความโกรธแค้นในท้องถิ่น ผมถือว่าเป็นพฤติกรรมความรุนแรงทางการเมืองที่มีที่มาใกล้เคียงกัน

ถ้าคุณเห็นอกเห็นใจผู้ต้องขังเสื้อแดง ปี 53 ด้วยเชื่อว่าเขามีมูลเหตุจูงใจและสิ่งที่พวกเขา(บางคน)ทำขึ้นเป็นการตอบโต้การใช้ความรุนแรงที่รัฐได้กระทำต่อพวกเขาก่อน ถ้าเราคิดว่าโทษทัณฑ์หรือการตอบโต้ปฏิบัติของรัฐที่มีต่อพวกเขา อาทิการใช้อาวุธสงครายยิงใส่ การแจ้งข้อหาดำเนินคดีร้ายแรง เป็นความรุนแรงที่มากเกินกว่าสิ่งที่พวกเขาควรได้รับ เราก็ควรปฏิบัติหรือมีท่าทีต่อกลุ่มผู้ชุมนุมชาวภูเก็ตในระนาบเดียวกัน

มากไปกว่านั้น ต่อกรณีที่เราสนับสนุนให้รัฐใช้ความรุนแรงทั้งในด้านกำลังคนและอาวุธและกฎหมายลงไปกระทำต่อพวกเขา และหากรัฐเลือกที่จะกระทำตามแม้อาจจะไม่รุนแรงนัก มันก็เท่ากับปิดข้อโต้แย้งในเรื่องของ "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง" และ "การเลือกปฏิบัติของรัฐที่มีต่อกลุ่มการเมือง" ในกรณีของผู้เสียชีวิตและผู้ถูกจับกุมดำเนินคดีในฝ่ายประชาธิปไตยลงไปด้วย

และถึงที่สุดแล้ว เราก็จะทำหน้าที่เป็นเสมือนกับรัฐในการกีดกันให้คนเห็นต่างทางการเมือง แตกต่างในด้านสภาพปัญหา วัฒนธรรม หรือต่างภูมิภาคได้กลายเป็นคนนอกกฎหมาย หรือให้ไปเป็นคนที่อยู่ในคุกเสียเอง

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
  เห็นบนเฟซบุ๊กมีการพูดกันบ่อยๆว่า แกนนำ นปช.พาคนไปตาย พาคนไปติดคุก แกนนำไม่รับผิดชอบกับชีวิตของมวลชน ผมคิดว่ามันเป็นข้อกล่าวหาโจมตีผู้อื่นเพื่อเป็นการยกตนขึ้นสูง หรืออีกนัยหนึ่งคือมันเป็นข้อกล่าวหาทางศีลธรรม
gadfly
ผมคิดว่าผู้ที่ให้บทเรียนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็คือ ทหาร รัฐบาลทหาร และ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง
gadfly
เมื่อคืนผมไม่ได้ดื่มเหล้า เลยเกิดอาการตาสว่าง ต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะหลับ และกว่าจะหลับก็ปาเข้าไปเกินตีสาม .หลับแล้วก็ยังฝันต่ออีก.ฝันว่าได้กลับไปอยู่บ้าน บ้านก็ยังคงมีสภาพเหมือนเดิม แต่สภาพแวดล้อมรอบบ้านกลับเปลี่ยนไป มันกลายเป็นทุ่งหญ้า กว้าง กว้าง และกว้าง...
gadfly
เมื่อคิดถึงเรื่องโอกาสทางการศึกษา ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตาม กม.อาญา มาตรา 112ผมคิดถึงนักศึกษาสองคนคนหนึ่งเรียนอยู่ ม.เทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีสุดท้าย เขาชื่ออัครเดช ชื่อเล่นว่า เค
gadfly
อ่านข้อถกเถียงในประเด็นเรื่องฟรีสปีช เฮทสปีช ความรุนแรง เสรีภาพในการแสดงออก ฯลฯ ของบรรดาปัญญาชนมากมาย แต่ใจกลับย้อนคิดถึงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งอาจไม่เกี่ยวไม่ข้องกับเหตุการณ์ข้างต้นเลย ก็เลยลองยกมา