Skip to main content

 

ผมชอบวรเจตน์ ! โดยอาจมีสองประเด็นหลัก ที่เป็นปัจจัยและทั้งสองประเด็นเกี่ยวเนื่องกัน


ประเด็นแรก คือท่วงทำนอง เท่าที่เห็นมาสิบกว่าปี วรเจตน์นำเสนอประเด็นยากๆ โดยทำให้เข้าใจง่ายและมีท่วงทำนองรับฟัง ไม่อวดตัว ไม่มีท่าทีหมิ่นแคลน หรือใช้แท็คติคโวหารทำลายความชอบธรรมของคู่สนทนา

ดูเหมือนว่าวรเจตน์มีความจงใจที่จะสื่อสารถึงบุคคลทั่วไป มากกว่าที่จะต้องการสื่อสารถึงคนในแวดวงปัญญาชนด้วยกัน

ทักษะการสื่อสารในลักษณะนี้เป็นประโยชน์ สามารถสื่อสารกับคนในวงกว้าง ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและแม้แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย


ภาพจาก แฟนเพจ Banrasdr Photo

 

ผมไม่รู้ว่าการถูกอันธพาลบุกเข้าไปทำร้ายถึงในมหาวิทยาลัย ได้ทำให้วรเจตน์เจ็บปวดหรือหวาดกลัวหรือไม่ แต่มันทำให้ผมสูญเสียความเชื่อมั่นที่จะสื่อสารต่อมนุษย์ุ์ที่มีความเห็นต่างทางการเมืองไประยะหนึ่ง

แต่วรเจตน์นิ่งเฉย ไม่ปริปากฟูมฟาย และทำหน้าที่ในฐานะนักวิชาการด้านกฎหมายต่อไป จนผมต้องฉุกคิดและละอายตัวเอง

 

ประเด็นที่สอง ทุกคนยอมรับวรเจตน์เป็นปัญญาชนที่ยึดมั่นในหลักการ ในสถานการณ์การบังคับให้ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของ คสชหากถกหลักเหตุผลโดยไม่มองบริบทสถานการณ์ การบอยคอตหรือการโนโหวตเป็นฝ่ายที่ยึดครองเหตุผลที่เหนือกว่าอย่างชัดแจ้ง

ปัญญาชนจำนวนหนึ่งเลือกประกาศแนวทางบอยคอต โนโหวต เพื่อรักษาสถานะ คุณค่าของตัวเองไว้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ก็ในเมื่อการต่อสู้ไม่ได้แพ้ชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด


ภาพจาก แฟนเพจ Banrasdr Photo

แต่ที่น่าสนใจก็คือ วรเจตน์ กลับเลือกโหวตโน 'ถนัดขวา กาช่องขวา' ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่าในการอธิบายในทางหลักการ และมีโอกาสมากกว่าที่จะถูกคุกคามโดยรัฐ เหตุผลของแกเป็นอย่างไรก็ลองอ่าน-ฟังกันดู

แต่ภาพการชูมือขวาของวรเจตน์ต่อหน้าผู้ฟังแน่นหอประชุมธรรมศาสตร์มันช่างดูมีพลัง

ผมคาดเดาเรื่องการกำหนดสถานะบทบาทของวรเจตน์ต่อสถานการณ์นี้ว่า วรเจตน์ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสถานะของตัวเองมากเท่ากับสถานะของของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ไม่กลัวเปลืองตัว เพื่อให้ขบวนการประชาชนมีโอกาสพลิกกลับมาตีโต้

การอ่อนน้อมยอมรับเหตุผลของฝ่ายบอยคอต-โนโหวต ความพยายามในการให้เหตุผลและการยอมรับในข้ออ่อนของข้อเสนอในฝ่ายโหวตโนจึงน่าเก็บรับเป็นบทเรียนของปัญญาชน แอ็คติวิสต์ รุ่นใหม่

แน่นอนว่าท่วงทำนองและรูปแบบการผูกตัวตนเข้ากับบริบททางการเมืองในทางที่เป็นคุณต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศแบบวรเจตน์ ไม่ควรที่จะยึดเป็นรูปแบบเดียวในกระบวนการต่อสู้ทางสังคมการเมือง หากแต่ว่าจากอดีตอันใกล้ ในแวดวงปัญญาชน เรามีคนแบบ 'วรเจตน์' น้อยเกินไป

0000

 

อ่านข่าวได้ที่: วรเจตน์ปาฐกถาประชามติ 7 ส.ค.: "รัฐธรรมนูญเป็นอย่างไรจะกำหนดชะตากรรมของรัฐๆ นั้น"

เผยแพร่ครั้งแรกใน:  Facebook Sarayut Tangprasert

 

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
  เห็นบนเฟซบุ๊กมีการพูดกันบ่อยๆว่า แกนนำ นปช.พาคนไปตาย พาคนไปติดคุก แกนนำไม่รับผิดชอบกับชีวิตของมวลชน ผมคิดว่ามันเป็นข้อกล่าวหาโจมตีผู้อื่นเพื่อเป็นการยกตนขึ้นสูง หรืออีกนัยหนึ่งคือมันเป็นข้อกล่าวหาทางศีลธรรม
gadfly
ผมคิดว่าผู้ที่ให้บทเรียนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็คือ ทหาร รัฐบาลทหาร และ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง
gadfly
เมื่อคืนผมไม่ได้ดื่มเหล้า เลยเกิดอาการตาสว่าง ต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะหลับ และกว่าจะหลับก็ปาเข้าไปเกินตีสาม .หลับแล้วก็ยังฝันต่ออีก.ฝันว่าได้กลับไปอยู่บ้าน บ้านก็ยังคงมีสภาพเหมือนเดิม แต่สภาพแวดล้อมรอบบ้านกลับเปลี่ยนไป มันกลายเป็นทุ่งหญ้า กว้าง กว้าง และกว้าง...
gadfly
เมื่อคิดถึงเรื่องโอกาสทางการศึกษา ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตาม กม.อาญา มาตรา 112ผมคิดถึงนักศึกษาสองคนคนหนึ่งเรียนอยู่ ม.เทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีสุดท้าย เขาชื่ออัครเดช ชื่อเล่นว่า เค
gadfly
อ่านข้อถกเถียงในประเด็นเรื่องฟรีสปีช เฮทสปีช ความรุนแรง เสรีภาพในการแสดงออก ฯลฯ ของบรรดาปัญญาชนมากมาย แต่ใจกลับย้อนคิดถึงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งอาจไม่เกี่ยวไม่ข้องกับเหตุการณ์ข้างต้นเลย ก็เลยลองยกมา