Skip to main content

 



เคยมีสื่อมาสัมภาษณ์ผมเรื่อง 6 ตุลา ในฐานะที่เป็นคนรุ่นหลัง ผมคิดว่าในช่วงเวลาที่ดูเหมือนว่าความรู้สึกมันจะล้นเกินไปเสียแล้ว ผมเลยทดลองเสนอความเห็นแย้งไปสั้นๆ ประมาณว่า ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นโดยรัฐ หากนับในช่วงปีประมาณ 2510-2530 มันไม่ได้มีเพียงแค่เหตุการณ์ 6 ตุลา เท่านั้น

คิดว่าสั้นๆ แล้วแต่ก็ยังสั้นไม่พอ สุดท้ายถูกตัดอีกจนเหลือสั้นจุ๊ดปุ๊ด จนคิดว่ามันไม่ได้เสนอเป้าหมายที่ผมต้องการ อาจเป็นปัญหาที่ผมเสนอไม่ชัดเจนด้วย

แต่ก็เป็นการกระตุ้นให้ผมได้คิดกับมันมากขึ้น เลยลองเรียบเรียงใหม่ดู

กว่าสิบปีที่ผ่านมา ผมเห็นภาพนึงในหน้าสื่อ นสพ.ของเถ้าแก่เปลว สีเงิน ที่ติดตา ก็คือภาพถ่ายของ เสรี เตมียเวช ผู้ได้ขนานนามว่าวีรบุรุษนาแกที่มีศีรษะของมนุษย์วางรายเรียงประกอบฉาก

เข้าใจว่าศีรษะที่เห็นเป็นของชาวบ้าน และอาจเป็นผู้ที่มีจุดยืนทางการเมืองตรงข้ามกับรัฐไทยในยุคนั้น

ต่อมาผมได้มีโอกาสอยู่ในพื้นที่ๆ มีอดีตเป็นสมรภูมิสู้รบที่เรียกว่าเทือกเขาภูพาน ผมได้ฟังเรื่องเล่า ความทรงจำจากชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อีกจำนวนหนึ่ง

นอกจากเผาบ้าน ไล่ที่อพยพที่มีอยู่ทั่วไปในเขตชนบท ในพื้นที่ ต.พังแดง อ.นาแก นครพนม (ซึ่งเปลี่ยนมาขึ้นกับ อ.ดงหลวง มุกดาหาร ในเวลาต่อมา) ชาวบรูที่ถูกมองว่าหัวแข็งหรือถูกกล่าวหาว่ามีความสัมพันธ์กับ พคท. ได้ถูก จนท.คุมตัวขึ้น ฮ. และพวกเขาก็ไม่ได้มีโอกาสกลับมาหาครอบครัวอีกเลย

เข้าใจว่าเป็นที่มาของคำว่า "ถีบลงเขา (เผาลงถัง)"

นอกจากนั้นเรื่องเล่าเรื่องการข่มขืนหรือการจับเอาลูกเมียของชาวบ้านมาเป็นเมียของตัวเองผมกได้ยินมาจากพื้นที่นี้

ฝั่งตะวันตกของภูพานทางด้าน อ.เขาวง-นาคู กาฬสินธุ์ ความรุนแรงต่อชาวบ้านก็ไม่ได้แตกต่างกัน บริเวณรั้วของค่ายพวกหมวกแดง (ชื่อเรียกตามชาวบ้าน) มักมีศีรษะของมนุษยซึ่งบางครั้งก็เป็นเพื่อนญาติของพวกเขามาประดับสร้างความยำเกรงเสมอๆ

ได้ยินมาอีกว่า บางครั้งชาวบ้านจะถูกคุมตัวเข้าไปในค่าย พวกเขาถูกบังคับให้มองลงไปในปี๊บที่ตั้งน้ำต้มเดือดอยู่บนเตาไฟ ในนั้นมีศีรษะญาติหรือเพื่อนของพวกเขาถูกต้มอยู่

ที่บ้านซ้ง อ.เขาวง ก็มีเรื่องเล่าถึงการสังหารหมู่เด็กหนุ่มถึง 6 คน ในขณะที่พวกเขาทั้ง 7 คน ออกไปไร่นาโดย อส. มีเพียงเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่หลุดรอดนำเหตุการณ์มาเล่าให้คนในหมู่บ้านได้รู้ความจริงได้
......

ทั้งหมดทุกกรณีที่ผมได้ฟังมาไม่มีใครต้องรับผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิด แต่มันกลับเป็นเกียรติ ลาภ ยศ ให้กับผู้ที่ทำหน้าที่"ฆาตกรรมในนามของรัฐ"

แต่ก็น่าแปลกที่พวกเขาบอกเล่าด้วยท่าทีนิ่งเฉย ไม่ฟูมฟายโศกเศร้า และก็ไม่มอบหมายพันธกิจหน้าที่ให้คนรุ่นหลังต้องทวงคืนแต่อย่างไร

ข้อคำถามก็คือ อาจเป็นการดีที่สังคมไทยมีพื้นที่ความทรงจำให้กับเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่เหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ล่ะ ทำไมจึงดูเหมือนกับว่าสังคมจะไม่ได้มีพื้นที่เหลือให้กับความรุนแรงที่ร้อยเรียงกันมาอย่างต่อเนื่องแต่อย่างไร

ประวัติศาสตร์บาดแผลของประชาชนที่ถูกร้อยเรียงด้วยข้อเท็จจริงตามลำดับเวลามันน่าจะมีพลังทางปัญญามากกว่าประวัติศาสตร์ความรู้สึกหรือไม่

การใช้วาทกรรม "เราคือผู้บริสุทธิ์" ที่ถูกใช้อย่างได้ผลในเหตุการณ์ 6 ตุลา มีผลข้างเคียงลดทอนพลังการต่อสู้หรือสิ่งที่พวกเขาเผชิญของประชาชนที่ดูเหมือนว่าจะห่างไกลจากความจริงอันแสนจะบริสุทธิ์หรือไม่ และอย่างไร
...


ปล. เพลงล่องป่าบุ่น ของ #หว่อง มงคล อุทก เรียบง่ายแต่ก็เพราะดี ไม่ถูกใจหรือยาวไปอ่านไม่จบ คงต้องขออภัยด้วยเสียงเพลง

 

 

 

ที่มา: facebook.com/sarayut.tangprasert

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
  เห็นบนเฟซบุ๊กมีการพูดกันบ่อยๆว่า แกนนำ นปช.พาคนไปตาย พาคนไปติดคุก แกนนำไม่รับผิดชอบกับชีวิตของมวลชน ผมคิดว่ามันเป็นข้อกล่าวหาโจมตีผู้อื่นเพื่อเป็นการยกตนขึ้นสูง หรืออีกนัยหนึ่งคือมันเป็นข้อกล่าวหาทางศีลธรรม
gadfly
ผมคิดว่าผู้ที่ให้บทเรียนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็คือ ทหาร รัฐบาลทหาร และ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง
gadfly
เมื่อคืนผมไม่ได้ดื่มเหล้า เลยเกิดอาการตาสว่าง ต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะหลับ และกว่าจะหลับก็ปาเข้าไปเกินตีสาม .หลับแล้วก็ยังฝันต่ออีก.ฝันว่าได้กลับไปอยู่บ้าน บ้านก็ยังคงมีสภาพเหมือนเดิม แต่สภาพแวดล้อมรอบบ้านกลับเปลี่ยนไป มันกลายเป็นทุ่งหญ้า กว้าง กว้าง และกว้าง...
gadfly
เมื่อคิดถึงเรื่องโอกาสทางการศึกษา ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตาม กม.อาญา มาตรา 112ผมคิดถึงนักศึกษาสองคนคนหนึ่งเรียนอยู่ ม.เทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีสุดท้าย เขาชื่ออัครเดช ชื่อเล่นว่า เค
gadfly
อ่านข้อถกเถียงในประเด็นเรื่องฟรีสปีช เฮทสปีช ความรุนแรง เสรีภาพในการแสดงออก ฯลฯ ของบรรดาปัญญาชนมากมาย แต่ใจกลับย้อนคิดถึงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งอาจไม่เกี่ยวไม่ข้องกับเหตุการณ์ข้างต้นเลย ก็เลยลองยกมา