Skip to main content
 

เมาท์เทนวิว เป็นโรงแรมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในซาปาที่มีคนไทยนิยมไปพักมากที่สุด
อย่างน้อย รีเซฟชั่นโรงแรมอย่างมิงก็เม้าท์ให้ฟังเอาไว้อย่างนั้น

เราพบเมาท์เทนวิวในเว็บไซต์แนะนำที่พักจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของเขาในเวียดนามเอาไว้อย่างน่าสนใจ "เมาท์เทนวิว สวยและสะอาด ข้างหลังเป็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนและตรงกับจุดที่พระอาทิตย์ตกพอดี ด้านซ้ายจะเห็นกลุ่มบ้านเรือนกลางใจเมืองซาปา ขวาจะเป็นถนนสีเทายาวเหยียดและกลุ่มนาขั้นบันได ทุกเช้า (หากคุณตื่นเช้า) จะมองเห็นละอองหมอกระเรี่ย"

เท่านั้นแหละครับ เมื่อผมกะยาดาไปถึงซาปา เราดิ่งไปเมาท์เทนวิวโดยไม่รอรีเควสซ้ำสอง

เมาท์เทนวิว มีบริการนำเที่ยวหลายรูปแบบ เราเลือกใช้บริการไกด์ทัวร์หมู่บ้านแบบฮาร์ด โร้ด เดินทะลุมันทีเดียว 4 หมู่บ้าน ในเวลา 1 วัน แล้วนั่งรถกลับ จากหมู่บ้านแคท แคท - เลาไช - ยาแหล่งโฮ - และขึ้นรถกลับที่หมู่บ้านถ่าวาน มีอาหารกลางวันเป็นแซนวิช 1 มื้อ สนนราคานี้อยู่ที่ 15 เหรียญ/คน โดยมีไม ไกด์ชาวม้งดำเป็นคนนำทาง

ไม เป็นม้งดำที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก เธออายุเพียง 19 ปี จากหมู่บ้านเลาไชและไม่ได้เรียนหนังสือ เธอฝึกพูดภาษาอังกฤษจากการอาชีพไกด์ อาศัยว่ากล้าพูด เท่านี้ก็เป็นไกด์ได้แล้ว

ไม มารอเราแต่เช้า หลังจากทักทายกันเป็นที่เรียบร้อย เธอเดินนำเราลงเนินข้างเมาท์เทนวิว ครอบครัวของเธอมีด้วยกัน 11 คน เธอมีความฝันว่า เธออยากไปอยู่ออสเตรเลีย ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า สวยเรียบง่ายและน่าอยู่กว่าประเทศของเธอมาก

ซาปาเป็นเมืองที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อน เราทั้ง 3 คนเดินผ่านนาขั้นบันไดริมทางเดินมาหลายผืน ชาวนาเวียดหลายคนเริ่มต้นการทำนาด้วยการขุดดินเป็นขั้น ล้นเนิน ส่วนใหญ่ยังใช้แรงควายไถนา ภาพเด็กชายขี่ควายบนเนินน่าประทับใจมาก ผ่านไปสักระยะ จะมีชาวนาเวียดกระเตงลูกทำนา เป็นภาพที่หาดูได้ยาก

"คนที่นี่ไม่ค่อยชอบถูกถ่ายรูป" ไม พยายามอธิบายให้เราระมัดระวังเรื่องการถ่ายรูป
"ทำไม" ยาดาสนใจขณะที่โฟกัสหญิงชาวซาปาคนหนึ่ง
"เค้าเชื่อว่า เค้าจะไม่สบาย" ไมว่า
"แล้วถ่ายภาพไมได้หรือเปล่า" ผมถาม หันมามองใบหน้าไมอย่างจริงจัง
"ได้สิ ฉันไม่เป็นไร" เธอยิ้มหลังคำตอบ
...

สภาพบ้านเรือนในเขตภูเขาของซาปาส่วนใหญ่เป็นบ้านดิน หลังคาทำด้วยแผ่นไม้ครอบลงมาถึงตัวบ้านเพื่อป้องกันความหนาว ขุดลึกลงไปอยู่ในพื้นบนเนินดินเตี้ยๆ บางแห่งจะเป็นหินก้อนใหญ่นำมาก่อเป็นตัวบ้าน รอบบ้านจะทำแปลงเกษตรผักสวนครัว ที่เห็นมากที่สุดเห็นจะเป็นผักกวางตุ้งและกะหล่ำปลีหัว เลี้ยงเป็ดไก่ ปล่อยให้อิสระเต็มที่เอาไว้ในนาปริ่มน้ำ

ช่วงเดินเมษายนจะเป็นช่วงเดือนของการเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว เตรียมหว่านดำเพาะเป็นกล้าข้าวเพื่อเตรียมไปปลูกในแปลงใหญ่อีกที ลาดเนินเขาแต่ละแห่งสูงต่ำ บางแห่งสูงมากแต่ก็ถูกแปรสภาพเป็นพื้นนาเกลี้ยง ลึกเข้าไปในภูเขา หลายจุดมีบริษัทรับเหมาทั้งจากเกาหลีและญี่ปุ่นมาขุดหน้าดินป้อนโรงงานอุตสาหกรรม

มนุษย์นี่เจ๋งที่สุดในการทำลายล้าง เปล่า ผมแค่ประชดกับตัวเอง
"ดีนะ ไมได้อยู่กับธรรมชาติที่มีคนหลายคนต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้ชมความงาม" ยาดาเอ่ยระหว่างทางพักริมลำธารที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อน
"..." ไมนิ่งคิดเพื่อหาคำตอบ
"ไม่เชิง ชาวบ้านไม่ได้อะไรหรอก" เธอให้คำตอบ
ชาวบ้านไม่ได้อะไรหรอก นอกจากเป็นเพียงลูกจ้าง คนที่ได้ คือใคร
เจ้าของโรงแรม นักลงทุนด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ
ผมขี้เกียจหาคำตอบ
...

เที่ยงวัน ณ ร้านแห่งหนึ่งที่ถูกจำลองเป็นเสมือนโรงเตี๊ยมในหมู่บ้านเลาไช อย่างที่เห็นในหนังจีน ไมพาเราเดินเข้าไปเพื่อกินแซนวิชไข่และแฮม ที่เตรียมมา เราพบเห็นกลุ่มนักท่องเที่ยวอีกหลายกลุ่มที่ใช้เส้นทางเดียวกันกับเรามาอยู่ในโรงเตี๊ยมแห่งนั้นอีกหลายคน

คนขายไอติมชนเผ่าขับมอเตอร์ไบก์มาจอดหน้าร้าน รอลูกค้า ยั่วน้ำลายด้วยไอติมสีขาว ส่งไอเย็นสดใส เด็กชาวม้งดำ 2 คน เลียไอติมในมือด้วยความแช่มชื่น

อากาศร้อนอ้าวแต่ก็เย็นเยียบอย่างบอกไม่ถูก ตามความเห็นของผม ซาปา มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างพิลึกพิลั่นไม่ใช่น้อย เดี๋ยวก็มีแดดจ้า เดี๋ยวก็มีหมอกลงหนา สลับกันไป คาดเดาว่าคงเป็นลักษณะของเมืองที่อยู่ในหุบเขาที่มีความแปรปรวนตามแรงกดในสภาพอากาศ

เด็กชาวม้งดำคนหนึ่งแอบมองเราทางหน้าต่าง เธอรอจังหวะเวลา ทันทีที่นักท่องเที่ยวลุกจากโต๊ะ เธอจะเอื้อมมือไปหยิบขวดน้ำพลาสติก หากมีน้ำเหลืออยู่ในขวดเธอจะดื่มให้หมดก่อนที่จะเก็บขวดเปล่าเอาไว้ในถุง

เราต้องเดินทางต่อไปแล้ว
...

เส้นทางที่เหลืออีกระยะครึ่งทางเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างไร่ของชาวเวียดในซาปา จากยาแหล่งโฮถึงถ่าวาน รถจะรอรับเราอยู่ที่นั่น ไมทำหน้าที่ของเธออย่างเต็มที่

ช่วงหนึ่งเธอเอ่ยถามเราด้วยความเขินอายว่า
"เมืองไทยมีผู้ชายตุ้งติ้งหรือเปล่า" เธอพยายามใช้ศัพท์ว่าเลดี้บอย
"มีสิ เมืองไทย เรียกว่า กะเทย" ยาดาพยายามคิดคำอธิบายที่ไม่ได้ออกไปในลักษณะดูหมิ่นและให้เข้าใจว่า เมืองไทยค่อนข้างจะยอมรับกับการมีอยู่ของคนเหล่านี้
"เลดี้ บอย ที่เมืองไทยผ่าตัดแปลงเพศได้ ประกวดมิส อคาซา โลก ได้รับรางวัลชนะเลิศ เอ่อ บางคนสวยกว่าผู้หญิงจริงๆ เสียอีก" ยาดาเสริมท้าย
"โอ จริงเหรอ" ไมทำตาโต รอยยิ้มของเธอเจืออารมณ์เขินเล็กๆ
"... เวียดนามมีเลดี้ บอย หรือเปล่า"
"มี แต่เค้าไม่กล้าเปิดเผยตัวเองหรอก" ในกังวานนั้น ไม หมายความว่า จะถูกทางการจับ
...

หมู่บ้านเล็กหมู่บ้านน้อยที่เราเดินทางผ่าน สิ่งที่นักท่องเที่ยวจะเจอเป็นสิ่งแรก คือ ร้านสินค้าที่ระลึก มีตั้งแต่เข็มกลัด ผ้าปักลาย หมวก(สามเหลี่ยม) กระเป๋า

และการเข้ามากลุ้มรุมขายสินค้าของชาวบ้าน
"ทู บาย ฟอม มี๊" เด็กๆ จะออกเสียงยาวๆ และเดินตามกันเป็นพรวน ยื่นกระเป๋าและเส้นไหมถักให้เราดู หญิงชาวอเมริกันต่อรองราคาด้วยเสียงห้าว ถัดไปเป็นชายหนุ่มชาวญี่ปุ่น ที่เดินผละออกมาจากกลุ่มโบกมือ "โน แต๊งๆๆๆ" ก่อนจะเดินหนีและมีเด็กๆ เดินตามเป็นพรวน

ส่วนผมกะยาดา เราใช้ความนิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว
เอ่อ แต่บางทีก็ใช้สภาพโทรมของนักท่องเที่ยวอย่างสยบก็ได้ผลชะงัด
ถ่าวาน เป็นหมู่บ้านใหญ่ พี่สาวของไมเปิดร้านขายสินค้าที่ระลึกอยู่ที่นี่ เราแวะเข้าไปดูตามคำเชิญ แต่ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจหรือแปลกไปมากกว่าไนท์ บาซา ที่เชียงใหม่ เราจึงไม่ซื้อ ไม ไม่ว่าอะไร ไม่เหมือนกับแม่ค้าคนอื่นๆ ที่เมื่อลูกค้าซื้อจะคะยั้นคะยอหรือเข้าโหมดบึ้งตึงขึ้นมาทันที

ระหว่างรอรถตู้มารับกลับโรงแรม ...
ยาดายื่นเงินจำนวนหนึ่งให้ไม ถือเป็นเงินพิเศษ ระหว่างความผูกพันที่ก่อตัวขึ้น
อย่างไม่รู้ว่าควรจะตอบแทนเธอ อย่างไรดี

ไม โบกมือเป็นคำตอบ
"ทุกอย่างมันโอเค สำหรับฉัน"
ผมไม่รู้จะแปลคำตอบของเธอออกมาเป็นภาษาไทยอย่างไรดี สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ภาษาที่ออกมาจากหัวใจของเธอ ไม ไกด์แห่งซาปา คนนี้ เด็กผู้หญิงที่มีความฝันอยากเห็นโลกกว้าง เธอยอมรับว่า เธอไม่อยากอยู่ที่นี่ เธอไม่อยากแต่งงานเร็วเหมือนกับเด็กผู้หญิงในหมู่บ้านของเธอ

เธออยากเดินทาง!!
แต่วันนี้ ไม ยังไม่เคยออกจากหมู่บ้านของตัวเอง แม้แต่ฮานอย!!

17_7_01
ไมกับยาดา

17_7_02
ใบหน้าเปรอะขนาดนี้มีให้เห็นตามรายทางในหมู่บ้าน

17_7_03

17_7_04

17_7_05

17_7_06

17_7_07
นาขั้นบันไดและคนทำนา

17_7_08
หลุมศพ ชาวเวียดนามนิยมฝังศพเหมือนคนจีน ฝังกันในพื้นที่นานั่นแหละครับ

17_7_09
ปักผ้าลวดลายผ้ากันสดๆ

17_7_10
ไม ไกด์นำเที่ยวชาวม้งดำ

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
นานหลายเดือนที่ผมกับยาดาวางแผนการเดินทางไปเวียดนาม ความจริงก็คือ เรามาเร่งหาข้อมูลเอาโค้งสุดท้ายก่อนจะถึงกำหนดเดินทางเพียงอาทิตย์เดียว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเข้าสู่เวียดนามมาจากหลายทาง ทั้งจากเพื่อนที่เคยไปและไม่เคยไป (แต่มีคนรู้จักหรือมีเพื่อนเคยไป) ทั้งจากหนังสือและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศรวมถึงโลนลี่ พลาเน็ต ฉบับเวียดนาม ที่ลงทุนไปหาซื้อมาตั้งแต่ 6 เดือน ก่อนวันออกเดินทาง (16 วัน ระหว่างวันที่ 3-18 เมษายน 51)ทำไมถึงเวียดนาม อย่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย คือ อยากไปว่ะ!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...เรือเล็กทะยานออกจากบ้านท่าตาฝั่ง แหวกสายน้ำเห็นเป็นแนวตามความเร็วของเครื่องยนต์ นกนางแอ่นหางลวดโผตัวอยู่เหนือผิวน้ำสีแดงขุ่น เดือนพฤษภาคม น้ำสาละวินจะเป็นสีแดงขุ่น เป็นไปตามระบบธรรมชาติของแม่น้ำสาละวินที่ถูกยกให้เป็นพื้นที่ของความหลากหลายโลกทั้งในแง่ของชีววิทยาและแง่งามทางวัฒนธรรมแม่น้ำสาละวินเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตสองฟากฝั่งน้ำมาอย่างยาวนาน ยาวนานมากพอที่จะสร้างสรรค์รูปแบบทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบทางนิเวศน์วิทยาชนเผ่าโบราณใช้สายน้ำสาละวินเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อทำมาค้าขายกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตอันรุ่งเรือง ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนโบราณ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..........‘พวกเรา’ มาถึงหมู่บ้านแม่สามแลบก่อนเที่ยงเล็กน้อยหลังจากที่ต้องผจญกับโค้งนับร้อยโค้งตลอดคืนบนเส้นทางจากกรุงเทพฯถึงตัวอำเภอแม่สะเรียงและจากตัวอำเภอแม่สะเรียงถึงหมู่บ้านแม่สามแลบ ระยะทางที่เหลือ คือ ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นสีแดงและคันดินระหว่างหน้าผาที่ถล่มเป็นโพรงลึกตลอดเส้นทางจุดหมายของการเดินทาง คือ งานพิธีบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวงของเรา’ งานบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ (6-9 พ.ค. 51) ถูกจัดขึ้น 2 จุด จุดแรก คือ หมู่บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่2 คือ หมู่บ้านแม่ดึ๊ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไปยังจุดบวชป่าทั้ง 2 จุด จะต้องโดยสารเรือ จากหมู่บ้านแม่สามแลบ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ยามสายวันอาทิตย์ วันหยุดพักผ่อน สำหรับกลุ่มซ.โซ่อาสา กลุ่มอาสาสมัครจะมาสอนเด็กๆ ริมถนนราชดำเนิน ด้านข้างโรงแรมรัตนโกสินทร์......แผ่นกระดาษสีขาวโจทย์บวกลบเลขอย่างง่ายกับโยงคำผิดภาษาไทยได้รับการแจกจ่ายให้เด็กๆ ลูกๆ แม่ค้าพ่อค้าบริเวณนั้นได้ฝึกหัด ...โดยมีอาสาสมัคร กลุ่มซ.โซ่ อาสา เป็นพี่เลี้ยงคอยฝึกสอน...เรียนเล่นและรอยยิ้มสนุกสนานกับขนมนมเนยเล็กๆ น้อยๆ ...ซ.โซ่ อาสา เป็นกลุ่มอาสาสมัครมีมาร่วมกันโดยไม่รู้จักกันมาก่อน เจอเพื่อนใหม่และทำความรู้จักกับกลุ่มครูปู่ http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/101
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1ตี 5 ครึ่งของวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 ท้องฟ้ากำลังจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว ชาวจิตอาสา (เกือบ) 20 ชีวิต นัดรวมพลกันหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บทเริ่มต้นของการเดินทางรวมใจสร้างห้องสมุดดิน (25-27 ส.ค.49) กับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง คนกวาดถนน รถเก็บขยะและแม่ค้าขายผัก นักเรียน พนักงานห้างและพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และนักการเมือง คือ ลมหายใจของกรุงเทพฯ (มหานครของเรา) กับการเริ่มต้นของชีวิตอีกครั้ง ผมไปถึงที่นัดหมาย 06.00 น. (ฮา)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่มีของฟรีในโลก ออกจะเป็นวลีที่คุ้นเคยสำหรับคนในโลกยุคนี้ ยิ่งสถานการณ์ราคาน้ำมันแตะเพดานที่ 35 บาท (คาดการณ์ว่าน่าจะเร็วๆ นี้) ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ ขสมก. เรือคลองแสนแสบ เรียกว่า ขนส่งมวลชนแทบทุกประเภท ขยับแข้งขาขอขึ้นราคาค่าตัวกันถ้วนหน้ายุคข้าวยากหมากแพง คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการให้งานการให้ในสวน สวนกระแสคำพูดข้างต้น .....ดอกไม้งามในสวนแห่งการให้ถูกจัดขึ้นบริเวณอุทยานเบญจสิริ ภายใต้นิยามที่ว่า “แล้วงานศิลปะแห่งการให้จะกลายเป็นดอกไม้ในสวน” ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์-14 มีนาคม 2551 (mormor.org) เน้นการสร้างสรรค์แนวงานผ่านวิธีคิดของบุคคลในแวดวงแห่งการให้และศิลปินอาสา มากกว่า 100…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แถบม่วงของกระหล่ำสีกลีบหยักของกล้วยไม้บางดอกดูแปลกตาดี
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เสาร์วันหนึ่งกลางสวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร ติดตลาดนัดสวนจตุจักรที่คนกรุงคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะกลางเมืองใหญ่เช่นนี้จะมีสักกี่สถานที่ที่จะมีสีเขียวให้ได้สูดลมหายใจได้เต็มปอดกิ่งใบสีเขียวแก่จัดของต้นก้ามปูใหญ่ยื่นยาวแตกกิ่งก้านสาขาร่มครึ้มอยู่กลางสวน ดอกตะแบกสีม่วงร่วงเกลื่อนพื้นตัดกับสนามหญ้าสีเขียว เด็กผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนสอนคนตาบอด อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถีส่งเสียงเจี๊ยว รอเวลาที่จะได้ เฮละโลกลุ่มกิจกรรมอิสระเล็กในชื่อกลุ่ม Pay Forward นำเด็กที่มองไม่เห็นมาทำกิจกรรม แรลลี่เพื่อเด็กพิการทางสายตา เด็กๆ จำนวน 24 คน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1.ฉันปลูกต้นไม้วางปุ๋ยเคมีหวังหยั่งรากถึงกิ่งแก้ว2.เนิ่นนานมาแล้วที่จิตสำนึกผมสลายแตกดับพร้อมความดีงาม3.คุณอาจไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิตเมื่อสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งตามหาแผ่นดินตาย4.เขาแบ่งปันสีน้ำเงินแก่ผู้ยากไร้หวังลอยสู่ก้อนเมฆ5.ความหวานในทุนนิยมโรยด้วยงาดำตาดำๆ6.ลิ้มรสอำนาจมาหลายสมัยไม่เคยรู้จักพอเพียง คืออะไร7.ผมห่มคลุมแผ่นดินด้วยเงิน บารมีด้วยความชอบธรรม8.ผมไตร่ตรองถึงความซื่อสัตย์และพบเพียงความว่างเปล่าที่ไร้อำนาจ ขอบคุณ ‘โซไรด้า’ น้องที่แสนดี 
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 1.ดอกไม้มวลชนเดินขบวนเรียกร้องแบบเรียนประชาธิปไตย2.เหตุผลของบางคนหักล้างไม่ได้เมื่อเทียบกับกลีบใบของแผ่นดินที่ร่วงหล่น3.สีชมพูแต้มดวงหน้านกขมิ้นคือ ฝันอันเลือนลางของหนุ่มสาว4.ฉันหวังเห็นแผ่นดินสูงขึ้นด้วยความรักมิใช่ด้วยทรราชย์5.เราเรียกร้องด้วยเสียงเพลงขับไล่ความมืดดำบนถนนแห่งเสรีภาพ  6.ฉันเด็ดใบไม้จากราวป่าเก็บมาฝากสังคมเมือง7.ทุกอย่างเคลื่อนไหวด้วยพลังความดีงาม8.เมื่อฉันลอยตัวให้สูงขึ้นจากทุนนิยมจึงเห็นเวิ้งฟ้าสีฟ้าห่มคลุมเม็ดดิน9.เศษดินคือ บางอย่างที่เหมือนจะไร้ค่าทั้งที่ความจริงฉันก็มาจากสิ่งนี้10.…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 ‘FREE TIBETAN’08.30 น. - 19 มีนาคม 2551อากาศหน้าสถานทูตจีน ริมถนนรัชดาร้อนสุดขีด พนักงานกทม.บนรถบรรทุกน้ำสีเขียวปล่อยน้ำออกจากสายพลาสติกกลมเทาพุ่งกระจายฟูฝอยเพื่อทำความสะอาดฟุตบาธตามปกติเวลาทำงาน ไล่เรื่อยมาจากแยกพระรามเก้า-อสมท.-ฟอร์จูน ทาวน์-แยกศักดิ์เสนา ก่อนจะหยุดกึกที่หน้าสถานฑูตจีนเพราะเห็นกลุ่มคน กลุ่มใหญ่ชูป้ายกระดาษ กางผืนธงชาติรูปร่างแปลกตา อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน“ประท้วงนี่หว่า” อย่างเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับเวลาทำงาน เขาขับรถผ่านไปไม่หันมามอง...ตำรวจนำกำลังมากั้นแผงเหล็กหน้าสถานฑูตตั้งแต่เช้าแล้ว แดดสายเริ่มทวีความร้อนสุดขีดขึ้นทุกขณะ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีสถานที่ใดบ้างในโลก ที่ทำให้เราคิดถึงได้อย่างจริงๆ จังๆ ,คิดถึงและต้องกลับไปอีกครั้ง หากไม่มีความทรงจำ ,ก็คงไม่มีอดีตและอนาคต หมู่บ้านแม่ดึ๊จึงเป็นหลายเหตุผลที่คนหลายคนควรจะทำความรู้จักหมู่บ้านแม่ดึ๊ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เพิ่งมีโรงเรียนและครูได้ไม่นานเดือน ,สำหรับคนกะเหรี่ยงที่นั่น โลกภายนอก คือ บางสิ่งที่ควรจะเรียนรู้...“นาย ,นายเคยเขียนแคนโต้เกี่ยวกับแม่ดึ๊เอาไว้ใช่หรือเปล่า” ผมออกปากกะน้องอย่างนั้น“ไมพี่ เขียนไว้นานแล้ว ตั้งแต่ไปค่ายจิตอาสากับพี่นั่นแหละ”“เอ่อ ครือ..ผมคิดว่า เอ่อ...ผมอยากได้งานนายมาประกอบภาพว่ะ”ผม ‘เอ่อ’…