Skip to main content

บริเวณนั้นทั้งบริเวณเป็นเกาะ สายน้ำไหลเรียบเรื่อยเซาะแก่งหินและรากไม้ใหญ่ริมตลิ่งเป็นเงาเว้าๆแหว่งๆ คือ การออกแบบอย่างลงตัวของธรรมชาติ สายฝนพรำตั้งแต่เริ่มเที่ยง อุโบสถหลังขนาดกะทัดรัดจึงกลายเป็นที่หลบฝนของชาวบ้าน หลายคนอุ้มลูกนั่งยองๆ อยู่ใต้ชายคา เด็กๆ กับเพื่อนบางคนหลบเข้าใต้ถุนอุโบสถขีดเขียนพื้นดินทรายเล่นฆ่าเวลา


ชนกะเหรี่ยงโปจากหลายหมู่บ้านมาร่วมทำบุญปีใหม่ที่อุโบสถกลางน้ำ หมู่บ้านคลิตี้ล่าง หมู่บ้านของมนุษย์ตะกั่ว ..


ปีใหม่แบบไทยๆ แต่ละปี อุโบสถกลางน้ำจะกลายเป็นที่ชุมนุมของคนในหมู่บ้าน ด้วยแรงเชื่อถือศรัทธา ชนกะเหรี่ยงโปจะเดินแห่ร้องรำทำเพลงกันมาเพื่อสรงน้ำพระสงฆ์ เมื่อถึงเวลา ผู้ชายตัวโตๆ จะช่วยกันอุ้มพยุงพระสงฆ์ลงจากบันไดอุโบสถ ชาวบ้านคนอื่นๆ ไม่เว้นหญิงชาย คุกเข่าก้มตัวลงในท่าหมอบคลานสี่ขาเป็นแถวๆ เกร็งหลังให้พระเหยียบ เดินวนรอบอุโบสถ พระรูปอื่นๆ จะเดินทยอยตามๆ กันมาบนหลัง ไม่เว้น แม้กระทั่งเณรที่เพิ่งจะบวชใหม่ ก่อนที่จะมานั่งบนเก้าอี้ที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมเอาไว้ให้ก่อนจะต่อแถวสรงน้ำพระด้วยน้ำอบร่ำแป้งหอม ใครบางคนบอกว่า ทำอย่างนี้แล้วได้บุญแรง ..


ในอดีต บรรพบุรุษของคนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างย้ายที่ตั้งหมู่บ้านไปตามที่ต่างๆ หลายครั้ง จนในที่สุด ไปปักหลักตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่เรียกว่า กองหละและพุโผว่ ซึ่งห่างจากจุดที่ตั้งในปัจจุบันไปทางตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร ต่อมา จึงได้ย้ายเข้าไปรวมกับหมู่บ้านคลิตี้บน ก่อนจะแยกตัวออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่ตั้งปัจจุบัน


นับเวลาต่อเนื่องนานวัน บ้านคลิตี้ล่างมีอายุมากกว่า 100 ปี นับจากปี 2440 สมัยก่อนลักษณะบ้านเรือนจะปลูกด้วยโครงไม้ไผ่เป็นหลัก หลังคามุงด้วยใบหวายหรือหญ้าคา มีเตาไฟกลางบ้านเพื่อประกอบอาหารให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่คนในครอบครัว


ปัจจุบัน บ้านแต่ละหลังแข็งแรงขึ้นด้วยไม้แผ่นใหญ่และหลังคาสังกะสี ..


น้ำอบประพรมลงบนจีวรสีฝาดพร้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญ ชาวบ้านแต่ละคนส่งเสียง “สาธุ” ดังไปทั่วบริเวณอุโบสถกลางน้ำ แป้งสีขาวประพรมอยู่บนใบหน้าของชนกะเหรี่ยงชายหญิงที่เข้าร่วมพิธี บ้างก็รดน้ำกันเอง บ้างก็ร้องรำทำเพลงครื้นเครงไปตามวิถีปฏิบัติ


คลิตี้ เป็นคำเรียกในภาษาไทยที่เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า คี่ถี่ ซึ่งมีความหมายว่า เสือโทน ชาวบ้านในแถบนี้เชื่อว่ามีเสือโทนตัวหนึ่งอาศัยและหากินอยู่ในอาณาบริเวณนี้ กินพื้นที่ตั้งแต่ทุ่งใหญ่นเรศวร ลำคลองงู แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย คนเฒ่าคนแก่ที่เคยพบเห็นเล่าว่า เคยเจอรอยเท้าเสือ “ใหญ่เท่ากับเท้าช้าง”


นอกจากนี้ ชาวบ้านยังเชื่อว่า เสือโทน ยังคอยปกปักรักษาให้หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข หากใครประพฤติไม่ดี เสือโทนจะโกรธและก่อให้เกิดเภทภัยต่างๆ นานา เสือโทนจึงเป็นเครื่องมือในการกำกับพฤติกรรม ตั้งแต่ความคิดถึงการกระทำ .. เช่น ถือความสัตย์ พูดความจริง ไม่พูดหยาบโลน ครอบคลุมไปถึงเรื่องการกินการอยู่ เล่ากันว่า เวลารับประทานอาหาร ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะนั่งพับเพียบเรียบร้อยเพื่อสวดมนต์ระลึกถึงคุณค่าของอาหารที่ธรรมชาติได้ประทานมาให้


ปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องเสือโทนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการมาถึงของความศิวิโลซ์จากโลกภายนอกและสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ชื่อเดียวกับชื่อหมู่บ้าน ..

ย้อนหลังนับเวลาไปราวสิบปีที่แล้ว ช่วงปี 2540-2541 กรณีสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ถูกเผยแพร่โดย เอ็นจีโอ นักวิชาการและสื่อมวลชน จนเป็นที่รับรู้ของสาธารณะชนวงกว้าง เมื่อบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปล่อยน้ำปนเปื้อนตะกั่วจากโรงแต่งแร่ลงสู่ลำห้วยคลิตี้


ค้นพบในเวลาต่อมาว่า การปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยและตะกอนท้องน้ำบริเวณใต้โรงแต่งแร่สูงตลอดลำห้วย เป็นระยะทางยาวกว่า 19 กิโลเมตร เฉพาะบริเวณอันเป็นจุดที่ตั้งของหมู่บ้าน ตรวจสอบพบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานที่มนุษย์และสัตว์จะรับได้


เกิดโรคภัยไข้เจ็บอันหาสาเหตุไม่ได้ ปลาในลำห้วยลอยตาย สัตว์เลี้ยง เช่น วัวควายเสียชีวิตและคนในหมู่บ้านมีอาการแขนขาชา มือเท้าและตัวบวมอย่างผิดปกติและมีอาการประสาทอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อไปหาหมอ หมอจะไม่วินิจฉัยโรคแต่จ่ายยาแก้ปวดบวมมาให้ทาและพาราเซตามอลมาให้รับประทาน

ปัจจุบัน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า ปริมาณสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้สูงเกินกว่ามาตรฐานแต่ไม่ยอมรับว่าอาการป่วยของชาวบ้านมีสาเหตุมาจากการรับพิษสารตะกั่วในลำน้ำหรือชาวบ้านสามารถใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภคหรือลงเล่นน้ำได้แต่อย่าพยายามทำให้ตะกอนข้างล่างฟุ้งขึ้นมาเหนือผิวน้ำ


นับว่าเป็นวิธีการง่ายๆ ที่หน่วยงานรัฐอย่างกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขให้ความช่วยเหลือ


ชนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างเคยหาของป่าและทำไร่ข้าวเพียงพอกินเท่านั้น มีการทำเกษตรเป็นแบบไร่หมุนเวียน ภูมิปัญญาเก่าแก่ที่รักษาระบบในธรรมชาติไม่ให้บอบช้ำ ด้วยการปลูกข้าวไร่และพืชผัก 1-2 ปี แล้วปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัว เปลี่ยนไปใช้พื้นที่ไร่ซากเก่าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่ทำไร่มาแล้วเมื่อ 5-10 ปี ก่อน


พืชหลักได้แก่ ไร่ข้าว เมื่อถึงฤดูทำไร่ข้าว ทุกครัวเรือนจะหยอดเมล็ดข้าวพร้อมเมล็ดผัก ตั้งแต่ พริก แตงไทย แตงเปรี้ยว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชีหอม ผักชีลาว ผักขี้โอ้ง ข้าวโพด โดยไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ผักจะขึ้นพร้อมกับข้าวในพื้นที่ไร่และเก็บกินได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม


ต่อมา เมื่อถูกจำกัดพื้นที่ทำกินโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ครอบครัวหนึ่งจึงเหลือพื้นที่ทำกินเพียง 3-5 แปลงนอกจากนี้ ยังเลี้ยงสัตว์ แต่หลังจากเหมืองแร่ปล่อยสารตะกั่ว ทำให้เป็ด วัว ควายล้มตาย ชาวบ้านจึงขายทิ้ง


ลำห้วยคลิตี้เป็นสายน้ำสายหลักของคนพื้นถิ่นนี้ โดยเฉพาะหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ต่างใช้อุปโภคบริโภค ถึงแม้ปัจจุบัน ศาลชั้นต้นจะสั่งชดเชยค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน 8 คน ในวงเงิน 4 ล้านบาท จากการร่วมกันฟ้องร้องเป็นจำนวนเงินมากกว่า 10 ล้าน บาท ในเดือนสิงหาคมของปีที่ผ่านมา (.. 2550)


แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับลำห้วยและวิถีชีวิตเป็นสิ่งที่ชดเชยกันอย่างไรก็คงไม่คุ้มค่า


แม้ว่าวันนี้ ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะดูเหมือนคนปกติทั่วไปแต่อาการเจ็บป่วยผิดปกติยังคงปรากฏให้เห็นและยังลุกลามไปถึงลูกหลานของคนที่นั่น


วันนี้ น้ำในลำห้วยคลิตี้ยังคงใสเย็น บริเวณน้ำตก เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ ทั้งในถิ่นและต่างหมู่บ้านที่มาร่วมงานปีใหม่ไทย ต่างลงเล่นน้ำดำผุดดำว่าย ป่าสีเขียวทึบปล่อยสายแดดยามบ่ายลอดลงมาตามกิ่งใบสะท้อนบนผิวน้ำมองเห็นเป็นประกายวาววับสวยงาม หากซ่อนเร้นความมักง่ายของคนบางกลุ่มที่ไม่คำนึงถึงระบบชีวิตในธรรมชาติ ชุมชน คน เพื่อนร่วมโลกอื่นๆ ที่ต้องอยู่ร่วมกัน


.....


ปัจจุบัน ศาลพิพากษา กรมควบคุมมลพิษล่าช้าแต่ไม่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ โดยให้ระบบธรรมชาติค่อยๆ ฟื้นตัวเองและห้ามชาวบ้านทำตะกอนในลำห้วยฟุ้งขึ้นมาบนผิวน้ำ


สายน้ำคลิตี้ สวยอยู่กลางป่าสีเขียว แต่พิษตะกั่วยังตกค้าง


ความเชื่อและแรงศรัทธา


 

 

งานบุญปีใหม่ไทย จะอุ้มพยุงพระเดินบนหลังชาวบ้านผู้ศรัทธา ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง






โจวทิไผ่และโจวหล่อพ่อ ผู้ได้รับผลกระทบจากพิษสารตะกั่ว






นับนิ้วดูสิครับ






ชาวบ้านคลิตี้ร่วมงานบุญและดูและรักษาป่า



บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
นานหลายเดือนที่ผมกับยาดาวางแผนการเดินทางไปเวียดนาม ความจริงก็คือ เรามาเร่งหาข้อมูลเอาโค้งสุดท้ายก่อนจะถึงกำหนดเดินทางเพียงอาทิตย์เดียว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเข้าสู่เวียดนามมาจากหลายทาง ทั้งจากเพื่อนที่เคยไปและไม่เคยไป (แต่มีคนรู้จักหรือมีเพื่อนเคยไป) ทั้งจากหนังสือและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศรวมถึงโลนลี่ พลาเน็ต ฉบับเวียดนาม ที่ลงทุนไปหาซื้อมาตั้งแต่ 6 เดือน ก่อนวันออกเดินทาง (16 วัน ระหว่างวันที่ 3-18 เมษายน 51)ทำไมถึงเวียดนาม อย่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย คือ อยากไปว่ะ!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...เรือเล็กทะยานออกจากบ้านท่าตาฝั่ง แหวกสายน้ำเห็นเป็นแนวตามความเร็วของเครื่องยนต์ นกนางแอ่นหางลวดโผตัวอยู่เหนือผิวน้ำสีแดงขุ่น เดือนพฤษภาคม น้ำสาละวินจะเป็นสีแดงขุ่น เป็นไปตามระบบธรรมชาติของแม่น้ำสาละวินที่ถูกยกให้เป็นพื้นที่ของความหลากหลายโลกทั้งในแง่ของชีววิทยาและแง่งามทางวัฒนธรรมแม่น้ำสาละวินเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตสองฟากฝั่งน้ำมาอย่างยาวนาน ยาวนานมากพอที่จะสร้างสรรค์รูปแบบทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบทางนิเวศน์วิทยาชนเผ่าโบราณใช้สายน้ำสาละวินเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อทำมาค้าขายกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตอันรุ่งเรือง ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนโบราณ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..........‘พวกเรา’ มาถึงหมู่บ้านแม่สามแลบก่อนเที่ยงเล็กน้อยหลังจากที่ต้องผจญกับโค้งนับร้อยโค้งตลอดคืนบนเส้นทางจากกรุงเทพฯถึงตัวอำเภอแม่สะเรียงและจากตัวอำเภอแม่สะเรียงถึงหมู่บ้านแม่สามแลบ ระยะทางที่เหลือ คือ ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นสีแดงและคันดินระหว่างหน้าผาที่ถล่มเป็นโพรงลึกตลอดเส้นทางจุดหมายของการเดินทาง คือ งานพิธีบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวงของเรา’ งานบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ (6-9 พ.ค. 51) ถูกจัดขึ้น 2 จุด จุดแรก คือ หมู่บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่2 คือ หมู่บ้านแม่ดึ๊ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไปยังจุดบวชป่าทั้ง 2 จุด จะต้องโดยสารเรือ จากหมู่บ้านแม่สามแลบ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ยามสายวันอาทิตย์ วันหยุดพักผ่อน สำหรับกลุ่มซ.โซ่อาสา กลุ่มอาสาสมัครจะมาสอนเด็กๆ ริมถนนราชดำเนิน ด้านข้างโรงแรมรัตนโกสินทร์......แผ่นกระดาษสีขาวโจทย์บวกลบเลขอย่างง่ายกับโยงคำผิดภาษาไทยได้รับการแจกจ่ายให้เด็กๆ ลูกๆ แม่ค้าพ่อค้าบริเวณนั้นได้ฝึกหัด ...โดยมีอาสาสมัคร กลุ่มซ.โซ่ อาสา เป็นพี่เลี้ยงคอยฝึกสอน...เรียนเล่นและรอยยิ้มสนุกสนานกับขนมนมเนยเล็กๆ น้อยๆ ...ซ.โซ่ อาสา เป็นกลุ่มอาสาสมัครมีมาร่วมกันโดยไม่รู้จักกันมาก่อน เจอเพื่อนใหม่และทำความรู้จักกับกลุ่มครูปู่ http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/101
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1ตี 5 ครึ่งของวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 ท้องฟ้ากำลังจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว ชาวจิตอาสา (เกือบ) 20 ชีวิต นัดรวมพลกันหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บทเริ่มต้นของการเดินทางรวมใจสร้างห้องสมุดดิน (25-27 ส.ค.49) กับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง คนกวาดถนน รถเก็บขยะและแม่ค้าขายผัก นักเรียน พนักงานห้างและพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และนักการเมือง คือ ลมหายใจของกรุงเทพฯ (มหานครของเรา) กับการเริ่มต้นของชีวิตอีกครั้ง ผมไปถึงที่นัดหมาย 06.00 น. (ฮา)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่มีของฟรีในโลก ออกจะเป็นวลีที่คุ้นเคยสำหรับคนในโลกยุคนี้ ยิ่งสถานการณ์ราคาน้ำมันแตะเพดานที่ 35 บาท (คาดการณ์ว่าน่าจะเร็วๆ นี้) ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ ขสมก. เรือคลองแสนแสบ เรียกว่า ขนส่งมวลชนแทบทุกประเภท ขยับแข้งขาขอขึ้นราคาค่าตัวกันถ้วนหน้ายุคข้าวยากหมากแพง คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการให้งานการให้ในสวน สวนกระแสคำพูดข้างต้น .....ดอกไม้งามในสวนแห่งการให้ถูกจัดขึ้นบริเวณอุทยานเบญจสิริ ภายใต้นิยามที่ว่า “แล้วงานศิลปะแห่งการให้จะกลายเป็นดอกไม้ในสวน” ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์-14 มีนาคม 2551 (mormor.org) เน้นการสร้างสรรค์แนวงานผ่านวิธีคิดของบุคคลในแวดวงแห่งการให้และศิลปินอาสา มากกว่า 100…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แถบม่วงของกระหล่ำสีกลีบหยักของกล้วยไม้บางดอกดูแปลกตาดี
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เสาร์วันหนึ่งกลางสวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร ติดตลาดนัดสวนจตุจักรที่คนกรุงคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะกลางเมืองใหญ่เช่นนี้จะมีสักกี่สถานที่ที่จะมีสีเขียวให้ได้สูดลมหายใจได้เต็มปอดกิ่งใบสีเขียวแก่จัดของต้นก้ามปูใหญ่ยื่นยาวแตกกิ่งก้านสาขาร่มครึ้มอยู่กลางสวน ดอกตะแบกสีม่วงร่วงเกลื่อนพื้นตัดกับสนามหญ้าสีเขียว เด็กผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนสอนคนตาบอด อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถีส่งเสียงเจี๊ยว รอเวลาที่จะได้ เฮละโลกลุ่มกิจกรรมอิสระเล็กในชื่อกลุ่ม Pay Forward นำเด็กที่มองไม่เห็นมาทำกิจกรรม แรลลี่เพื่อเด็กพิการทางสายตา เด็กๆ จำนวน 24 คน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1.ฉันปลูกต้นไม้วางปุ๋ยเคมีหวังหยั่งรากถึงกิ่งแก้ว2.เนิ่นนานมาแล้วที่จิตสำนึกผมสลายแตกดับพร้อมความดีงาม3.คุณอาจไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิตเมื่อสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งตามหาแผ่นดินตาย4.เขาแบ่งปันสีน้ำเงินแก่ผู้ยากไร้หวังลอยสู่ก้อนเมฆ5.ความหวานในทุนนิยมโรยด้วยงาดำตาดำๆ6.ลิ้มรสอำนาจมาหลายสมัยไม่เคยรู้จักพอเพียง คืออะไร7.ผมห่มคลุมแผ่นดินด้วยเงิน บารมีด้วยความชอบธรรม8.ผมไตร่ตรองถึงความซื่อสัตย์และพบเพียงความว่างเปล่าที่ไร้อำนาจ ขอบคุณ ‘โซไรด้า’ น้องที่แสนดี 
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 1.ดอกไม้มวลชนเดินขบวนเรียกร้องแบบเรียนประชาธิปไตย2.เหตุผลของบางคนหักล้างไม่ได้เมื่อเทียบกับกลีบใบของแผ่นดินที่ร่วงหล่น3.สีชมพูแต้มดวงหน้านกขมิ้นคือ ฝันอันเลือนลางของหนุ่มสาว4.ฉันหวังเห็นแผ่นดินสูงขึ้นด้วยความรักมิใช่ด้วยทรราชย์5.เราเรียกร้องด้วยเสียงเพลงขับไล่ความมืดดำบนถนนแห่งเสรีภาพ  6.ฉันเด็ดใบไม้จากราวป่าเก็บมาฝากสังคมเมือง7.ทุกอย่างเคลื่อนไหวด้วยพลังความดีงาม8.เมื่อฉันลอยตัวให้สูงขึ้นจากทุนนิยมจึงเห็นเวิ้งฟ้าสีฟ้าห่มคลุมเม็ดดิน9.เศษดินคือ บางอย่างที่เหมือนจะไร้ค่าทั้งที่ความจริงฉันก็มาจากสิ่งนี้10.…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 ‘FREE TIBETAN’08.30 น. - 19 มีนาคม 2551อากาศหน้าสถานทูตจีน ริมถนนรัชดาร้อนสุดขีด พนักงานกทม.บนรถบรรทุกน้ำสีเขียวปล่อยน้ำออกจากสายพลาสติกกลมเทาพุ่งกระจายฟูฝอยเพื่อทำความสะอาดฟุตบาธตามปกติเวลาทำงาน ไล่เรื่อยมาจากแยกพระรามเก้า-อสมท.-ฟอร์จูน ทาวน์-แยกศักดิ์เสนา ก่อนจะหยุดกึกที่หน้าสถานฑูตจีนเพราะเห็นกลุ่มคน กลุ่มใหญ่ชูป้ายกระดาษ กางผืนธงชาติรูปร่างแปลกตา อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน“ประท้วงนี่หว่า” อย่างเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับเวลาทำงาน เขาขับรถผ่านไปไม่หันมามอง...ตำรวจนำกำลังมากั้นแผงเหล็กหน้าสถานฑูตตั้งแต่เช้าแล้ว แดดสายเริ่มทวีความร้อนสุดขีดขึ้นทุกขณะ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีสถานที่ใดบ้างในโลก ที่ทำให้เราคิดถึงได้อย่างจริงๆ จังๆ ,คิดถึงและต้องกลับไปอีกครั้ง หากไม่มีความทรงจำ ,ก็คงไม่มีอดีตและอนาคต หมู่บ้านแม่ดึ๊จึงเป็นหลายเหตุผลที่คนหลายคนควรจะทำความรู้จักหมู่บ้านแม่ดึ๊ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เพิ่งมีโรงเรียนและครูได้ไม่นานเดือน ,สำหรับคนกะเหรี่ยงที่นั่น โลกภายนอก คือ บางสิ่งที่ควรจะเรียนรู้...“นาย ,นายเคยเขียนแคนโต้เกี่ยวกับแม่ดึ๊เอาไว้ใช่หรือเปล่า” ผมออกปากกะน้องอย่างนั้น“ไมพี่ เขียนไว้นานแล้ว ตั้งแต่ไปค่ายจิตอาสากับพี่นั่นแหละ”“เอ่อ ครือ..ผมคิดว่า เอ่อ...ผมอยากได้งานนายมาประกอบภาพว่ะ”ผม ‘เอ่อ’…