Skip to main content

บริเวณนั้นทั้งบริเวณเป็นเกาะ สายน้ำไหลเรียบเรื่อยเซาะแก่งหินและรากไม้ใหญ่ริมตลิ่งเป็นเงาเว้าๆแหว่งๆ คือ การออกแบบอย่างลงตัวของธรรมชาติ สายฝนพรำตั้งแต่เริ่มเที่ยง อุโบสถหลังขนาดกะทัดรัดจึงกลายเป็นที่หลบฝนของชาวบ้าน หลายคนอุ้มลูกนั่งยองๆ อยู่ใต้ชายคา เด็กๆ กับเพื่อนบางคนหลบเข้าใต้ถุนอุโบสถขีดเขียนพื้นดินทรายเล่นฆ่าเวลา


ชนกะเหรี่ยงโปจากหลายหมู่บ้านมาร่วมทำบุญปีใหม่ที่อุโบสถกลางน้ำ หมู่บ้านคลิตี้ล่าง หมู่บ้านของมนุษย์ตะกั่ว ..


ปีใหม่แบบไทยๆ แต่ละปี อุโบสถกลางน้ำจะกลายเป็นที่ชุมนุมของคนในหมู่บ้าน ด้วยแรงเชื่อถือศรัทธา ชนกะเหรี่ยงโปจะเดินแห่ร้องรำทำเพลงกันมาเพื่อสรงน้ำพระสงฆ์ เมื่อถึงเวลา ผู้ชายตัวโตๆ จะช่วยกันอุ้มพยุงพระสงฆ์ลงจากบันไดอุโบสถ ชาวบ้านคนอื่นๆ ไม่เว้นหญิงชาย คุกเข่าก้มตัวลงในท่าหมอบคลานสี่ขาเป็นแถวๆ เกร็งหลังให้พระเหยียบ เดินวนรอบอุโบสถ พระรูปอื่นๆ จะเดินทยอยตามๆ กันมาบนหลัง ไม่เว้น แม้กระทั่งเณรที่เพิ่งจะบวชใหม่ ก่อนที่จะมานั่งบนเก้าอี้ที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมเอาไว้ให้ก่อนจะต่อแถวสรงน้ำพระด้วยน้ำอบร่ำแป้งหอม ใครบางคนบอกว่า ทำอย่างนี้แล้วได้บุญแรง ..


ในอดีต บรรพบุรุษของคนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างย้ายที่ตั้งหมู่บ้านไปตามที่ต่างๆ หลายครั้ง จนในที่สุด ไปปักหลักตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่เรียกว่า กองหละและพุโผว่ ซึ่งห่างจากจุดที่ตั้งในปัจจุบันไปทางตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร ต่อมา จึงได้ย้ายเข้าไปรวมกับหมู่บ้านคลิตี้บน ก่อนจะแยกตัวออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่ตั้งปัจจุบัน


นับเวลาต่อเนื่องนานวัน บ้านคลิตี้ล่างมีอายุมากกว่า 100 ปี นับจากปี 2440 สมัยก่อนลักษณะบ้านเรือนจะปลูกด้วยโครงไม้ไผ่เป็นหลัก หลังคามุงด้วยใบหวายหรือหญ้าคา มีเตาไฟกลางบ้านเพื่อประกอบอาหารให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่คนในครอบครัว


ปัจจุบัน บ้านแต่ละหลังแข็งแรงขึ้นด้วยไม้แผ่นใหญ่และหลังคาสังกะสี ..


น้ำอบประพรมลงบนจีวรสีฝาดพร้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญ ชาวบ้านแต่ละคนส่งเสียง “สาธุ” ดังไปทั่วบริเวณอุโบสถกลางน้ำ แป้งสีขาวประพรมอยู่บนใบหน้าของชนกะเหรี่ยงชายหญิงที่เข้าร่วมพิธี บ้างก็รดน้ำกันเอง บ้างก็ร้องรำทำเพลงครื้นเครงไปตามวิถีปฏิบัติ


คลิตี้ เป็นคำเรียกในภาษาไทยที่เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า คี่ถี่ ซึ่งมีความหมายว่า เสือโทน ชาวบ้านในแถบนี้เชื่อว่ามีเสือโทนตัวหนึ่งอาศัยและหากินอยู่ในอาณาบริเวณนี้ กินพื้นที่ตั้งแต่ทุ่งใหญ่นเรศวร ลำคลองงู แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย คนเฒ่าคนแก่ที่เคยพบเห็นเล่าว่า เคยเจอรอยเท้าเสือ “ใหญ่เท่ากับเท้าช้าง”


นอกจากนี้ ชาวบ้านยังเชื่อว่า เสือโทน ยังคอยปกปักรักษาให้หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข หากใครประพฤติไม่ดี เสือโทนจะโกรธและก่อให้เกิดเภทภัยต่างๆ นานา เสือโทนจึงเป็นเครื่องมือในการกำกับพฤติกรรม ตั้งแต่ความคิดถึงการกระทำ .. เช่น ถือความสัตย์ พูดความจริง ไม่พูดหยาบโลน ครอบคลุมไปถึงเรื่องการกินการอยู่ เล่ากันว่า เวลารับประทานอาหาร ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะนั่งพับเพียบเรียบร้อยเพื่อสวดมนต์ระลึกถึงคุณค่าของอาหารที่ธรรมชาติได้ประทานมาให้


ปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องเสือโทนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการมาถึงของความศิวิโลซ์จากโลกภายนอกและสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ชื่อเดียวกับชื่อหมู่บ้าน ..

ย้อนหลังนับเวลาไปราวสิบปีที่แล้ว ช่วงปี 2540-2541 กรณีสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ถูกเผยแพร่โดย เอ็นจีโอ นักวิชาการและสื่อมวลชน จนเป็นที่รับรู้ของสาธารณะชนวงกว้าง เมื่อบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปล่อยน้ำปนเปื้อนตะกั่วจากโรงแต่งแร่ลงสู่ลำห้วยคลิตี้


ค้นพบในเวลาต่อมาว่า การปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยและตะกอนท้องน้ำบริเวณใต้โรงแต่งแร่สูงตลอดลำห้วย เป็นระยะทางยาวกว่า 19 กิโลเมตร เฉพาะบริเวณอันเป็นจุดที่ตั้งของหมู่บ้าน ตรวจสอบพบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานที่มนุษย์และสัตว์จะรับได้


เกิดโรคภัยไข้เจ็บอันหาสาเหตุไม่ได้ ปลาในลำห้วยลอยตาย สัตว์เลี้ยง เช่น วัวควายเสียชีวิตและคนในหมู่บ้านมีอาการแขนขาชา มือเท้าและตัวบวมอย่างผิดปกติและมีอาการประสาทอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อไปหาหมอ หมอจะไม่วินิจฉัยโรคแต่จ่ายยาแก้ปวดบวมมาให้ทาและพาราเซตามอลมาให้รับประทาน

ปัจจุบัน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า ปริมาณสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้สูงเกินกว่ามาตรฐานแต่ไม่ยอมรับว่าอาการป่วยของชาวบ้านมีสาเหตุมาจากการรับพิษสารตะกั่วในลำน้ำหรือชาวบ้านสามารถใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภคหรือลงเล่นน้ำได้แต่อย่าพยายามทำให้ตะกอนข้างล่างฟุ้งขึ้นมาเหนือผิวน้ำ


นับว่าเป็นวิธีการง่ายๆ ที่หน่วยงานรัฐอย่างกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขให้ความช่วยเหลือ


ชนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างเคยหาของป่าและทำไร่ข้าวเพียงพอกินเท่านั้น มีการทำเกษตรเป็นแบบไร่หมุนเวียน ภูมิปัญญาเก่าแก่ที่รักษาระบบในธรรมชาติไม่ให้บอบช้ำ ด้วยการปลูกข้าวไร่และพืชผัก 1-2 ปี แล้วปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัว เปลี่ยนไปใช้พื้นที่ไร่ซากเก่าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่ทำไร่มาแล้วเมื่อ 5-10 ปี ก่อน


พืชหลักได้แก่ ไร่ข้าว เมื่อถึงฤดูทำไร่ข้าว ทุกครัวเรือนจะหยอดเมล็ดข้าวพร้อมเมล็ดผัก ตั้งแต่ พริก แตงไทย แตงเปรี้ยว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชีหอม ผักชีลาว ผักขี้โอ้ง ข้าวโพด โดยไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ผักจะขึ้นพร้อมกับข้าวในพื้นที่ไร่และเก็บกินได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม


ต่อมา เมื่อถูกจำกัดพื้นที่ทำกินโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ครอบครัวหนึ่งจึงเหลือพื้นที่ทำกินเพียง 3-5 แปลงนอกจากนี้ ยังเลี้ยงสัตว์ แต่หลังจากเหมืองแร่ปล่อยสารตะกั่ว ทำให้เป็ด วัว ควายล้มตาย ชาวบ้านจึงขายทิ้ง


ลำห้วยคลิตี้เป็นสายน้ำสายหลักของคนพื้นถิ่นนี้ โดยเฉพาะหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ต่างใช้อุปโภคบริโภค ถึงแม้ปัจจุบัน ศาลชั้นต้นจะสั่งชดเชยค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน 8 คน ในวงเงิน 4 ล้านบาท จากการร่วมกันฟ้องร้องเป็นจำนวนเงินมากกว่า 10 ล้าน บาท ในเดือนสิงหาคมของปีที่ผ่านมา (.. 2550)


แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับลำห้วยและวิถีชีวิตเป็นสิ่งที่ชดเชยกันอย่างไรก็คงไม่คุ้มค่า


แม้ว่าวันนี้ ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะดูเหมือนคนปกติทั่วไปแต่อาการเจ็บป่วยผิดปกติยังคงปรากฏให้เห็นและยังลุกลามไปถึงลูกหลานของคนที่นั่น


วันนี้ น้ำในลำห้วยคลิตี้ยังคงใสเย็น บริเวณน้ำตก เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ ทั้งในถิ่นและต่างหมู่บ้านที่มาร่วมงานปีใหม่ไทย ต่างลงเล่นน้ำดำผุดดำว่าย ป่าสีเขียวทึบปล่อยสายแดดยามบ่ายลอดลงมาตามกิ่งใบสะท้อนบนผิวน้ำมองเห็นเป็นประกายวาววับสวยงาม หากซ่อนเร้นความมักง่ายของคนบางกลุ่มที่ไม่คำนึงถึงระบบชีวิตในธรรมชาติ ชุมชน คน เพื่อนร่วมโลกอื่นๆ ที่ต้องอยู่ร่วมกัน


.....


ปัจจุบัน ศาลพิพากษา กรมควบคุมมลพิษล่าช้าแต่ไม่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ โดยให้ระบบธรรมชาติค่อยๆ ฟื้นตัวเองและห้ามชาวบ้านทำตะกอนในลำห้วยฟุ้งขึ้นมาบนผิวน้ำ


สายน้ำคลิตี้ สวยอยู่กลางป่าสีเขียว แต่พิษตะกั่วยังตกค้าง


ความเชื่อและแรงศรัทธา


 

 

งานบุญปีใหม่ไทย จะอุ้มพยุงพระเดินบนหลังชาวบ้านผู้ศรัทธา ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง






โจวทิไผ่และโจวหล่อพ่อ ผู้ได้รับผลกระทบจากพิษสารตะกั่ว






นับนิ้วดูสิครับ






ชาวบ้านคลิตี้ร่วมงานบุญและดูและรักษาป่า



บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรากลับถึงฮานอยอีกครั้งและเป็นช่วงสุดท้ายของทริปส์แบ็กแพ็กครั้งนี้โดยมีเวลา 2 คืน ก่อนจะเดินทางกลับ หมายความว่า เรามีเวลา 1 วันเต็ม สำหรับการตะลุยฮานอยการเช่ามอเตอร์ไซค์หรือมอเตอร์ไบค์ในฮานอยจัดว่าเป็นความท้าทายของนักขับและได้รับการกล่าวขวัญเอาไว้ในโลนลี่ แพลนเนต ว่า หากคุณไม่มั่นใจ ‘อย่า' ให้พึ่งพาเท้าทั้งสองข้างเพราะการจราจรที่นี่คับคั่งเกินกว่าเพราะตำรวจจราจรที่นี่เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวยามเช้า เมื่อคนเริ่มพลุกพล่าน ร้านรวงบนจักรยานของแม่ค้าเปิดทำการแต่เช้าตรู่ เรากินอาหารเช้าที่แบมบู โฮเต็ล ก่อนจะตัดสินใจ เช่ามอเตอร์ไบค์ที่โรงแรมนั่นแหละ ด้วยราคา 6 เหรียญ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 เรือแคนนู ความเฟื่องฟูของกิจการการท่องเที่ยวยามเย็น พระอาทิตย์ตกที่ริมขอบผา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราแกร่วอยู่ในร้านอาหารหน้าสถานีรถไฟเลาไค รอรถเที่ยว 2 ทุ่ม ถึงฮานอยเช้าแล้วต่อรถไปยังอ่าวฮาลอง หมู่เกาะกั๊ตบา ฝนตกกระหน่ำ นักท่องเที่ยวหลายชาติที่จะเดินทางไปฮานอยทยอยกันมาเรื่อยๆ จนแน่นขนัด ร้านใครร้านมันแล้วแต่คอนเนคชั่นของเอเจนซี่ เรานั่งจิบเบียร์ไปเกือบโหล เบียร์ที่เวียดนามมีหลายยี่ห้อ แตกต่างกันไปตามเมือง เบียร์ฮานอย เบียร์เว้ เบียร์(สด)โฮยอาน (อร่อยและราคาสุดคุ้ม ขอบอก) ฝนซาเม็ดและตกกระหน่ำ สลับกันหลายชั่วโมง ชวนให้คิดถึงหนังสงครามเวียดนาม ในแบบฉบับของฮอลลีวูด ทหารอเมริกันที่ถูกส่งมารบที่ตะวันออกไกล นอกจาก ต้องเผชิญกับนักรบกองโจรเวียดกง ไข้มาลาเรีย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา ดูจากบุคลิกแล้ว 'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราใช้สูตรซื้อทัวร์ไปตลาดบั๊กฮาในช้าวันสุดท้ายที่เราอยู่ในซาปา เป็นรถตู้ร่วมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ แล้วรอรถที่สถานีรถไฟเลาไค เพื่อเดินทางกลับฮานอย รถแล่นเรียบเรื่อยไปตามถนน ลัดเลาะภูเขาสูงชัน บางแห่งจะมีการซ่อมสร้างเสริมถนน ผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน บางแห่งเป็นหมู่บ้านชาวม้งดอกไม้ที่ไกด์คนดีบอกเราว่าให้สังเกตุเอาจากสีสันของลายเสื้อ ฝนโปรยเม็ด ตอนที่เราออกมาจากซาปาทำให้เห็นหมอกหนาขึ้นมาตามชายป่าริมเขาข้างทาง เย็นแต่สวยงามดี ตลาดบั๊กฮาจะต้องผ่านเมืองเลาไค เป็นเขตพรมแดนอีกแห่งของประเทศเวียดนาม ที่ติดต่อกับประเทศจีน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  เมาท์เทนวิว เป็นโรงแรมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในซาปาที่มีคนไทยนิยมไปพักมากที่สุดอย่างน้อย รีเซฟชั่นโรงแรมอย่างมิงก็เม้าท์ให้ฟังเอาไว้อย่างนั้นเราพบเมาท์เทนวิวในเว็บไซต์แนะนำที่พักจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของเขาในเวียดนามเอาไว้อย่างน่าสนใจ "เมาท์เทนวิว สวยและสะอาด ข้างหลังเป็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนและตรงกับจุดที่พระอาทิตย์ตกพอดี ด้านซ้ายจะเห็นกลุ่มบ้านเรือนกลางใจเมืองซาปา ขวาจะเป็นถนนสีเทายาวเหยียดและกลุ่มนาขั้นบันได ทุกเช้า (หากคุณตื่นเช้า) จะมองเห็นละอองหมอกระเรี่ย"เท่านั้นแหละครับ เมื่อผมกะยาดาไปถึงซาปา เราดิ่งไปเมาท์เทนวิวโดยไม่รอรีเควสซ้ำสอง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถไฟจะออกจากฮานอยไปซาปา สองทุ่มตรง ลงสถานีเลาไคและต่อรถตู้ อีกครึ่งวัน เรายังย่ำต็อกอยู่ในฮานอย รอเวลา จึงหอบผ้าหอบผ่อนไปจองแบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้สำหรับวันที่จะกลับมา ตามแผน เราจะอยู่ที่ซาปา 2 คืน 3 วัน แล้วกลับมาฮานอย จองทัวร์ไปอ่าวฮาลอง อีก 2 คืน 3 วัน ถึงจะกลับมาพักที่ฮานอย 2 คืน ก่อนจะกลับบ้าน จองห้องที่แบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้กันเหนียว ฮานอย 18.00 น. ก็เหมือนกับกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วน รถติดและคนกลับบ้าน เราอยากมั่นใจว่าจะไม่ตกรถไฟ จึงติดต่อให้ทางแบมบูจัดหารถแท็กซี่ไปส่ง ที่การันตีว่า ไม่มีชาร์ต จากคำบอกเล่าของเราที่เจอกับรถแท็กซี่ ออน ทัวร์ วนรอบเมืองในเช้าวันเดียวกัน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผ่านไปครึ่งทริปส์ จากกรุงเทพฯถึงเวียดนามภาคกลาง เว้ ดานังและโฮยอาน กับการเดินทางในฐานะแบ็กแพ็คเกอร์ เรากำลังวางแผนขึ้นเหนือ ฮานอย ซาปา และหมู่เกาะกั๊ตบาในอ่าวฮาลอง ก่อนจะจบทริปส์แล้วบินกลับเมืองไทย จากสนามบินนอยไบ ในฮานอย ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราปั่นจักรยานไปเจอสตีฟที่ เดอ สลีฟปี้ เกกโก    ยามเช้าในโฮยอาน เหมือนกับยามเช้าในเว้ของเวียดนามวุ่นวายด้วยเสียงบีบแตรและการค้าจากโรงแรมถึงตลาดปลาและร้านขายรองเท้า ร้านขายรูปวาดและร้านขายหมวก รวมถึง เสื้อยืดที่มีดวงดาวสีเหลืองตรงหน้าอก มีให้ได้ซื้อหาเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวสตีฟเป็นชาวอังกฤษ จากยอร์กเชียร์ เขาออกจากบ้านเกิดมาตั้งแต่วัย 24 ปีและอยู่ในเวียดนามเข้าปีที่ 40 เปิดเกกโก บาร์พร้อมกับเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวทัวร์โฮยอานนอกจาก บ้านหลังเก่าในโอลด์ ทาวน์ และบรรยากาศล่องเรือชมแม่น้ำเขาแนะนำว่า ชนบทโฮยอานไม่อะไรให้ดูมาก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สถานีรถไฟดานังติดแอร์คอนดิชันเย็นฉ่ำแดดร้อน ดานังเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจพร้อมท่าเรือขนาดใหญ่ ยาดาเดินแหวกผู้คนออกมาทางตามชานชาลา ช่วงนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่หยุดพักผ่อน ประตูใหญ่จากชานชาลาปิด เราแทรกตัวออกมาตามบานพับของประตูเหล็กชนิดยืดได้หดได้บริเวณก่าดานังเต็มไปด้วยรถแท็กซี่และมอเตอร์ไบค์(รับจ้าง) แท็กซี่มิเตอร์ที่เวียดนามมี 2 แบบ คือ แท็กซี่ของรัฐและแท็กซี่อิสระ สังเกตุได้จากสภาพรถและบุคลิกภาพของคนขับรถ ทันทีที่เห็นนักท่องเที่ยวอย่างเราออกมา (อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มไปไหนอย่างไรดี) แท็กซี่กลุ่มใหญ่ก็กรูกันเข้ามาสอบถามและเสนอราคาอย่างไม่ปรานีปราศรัย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราจับรถไฟเช้าจากสถานีรถไฟเว้ (ก่าเว้) ไปยังเมืองดานังเพื่อโดยสารรถไปยังเมืองโฮยอานอีกต่อ อันที่จริงไม่จำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้เพราะสามารถเดินทางจากเว้ตรงไปโฮยอานได้โดยรถทัวร์ เพียงแต่ว่า ข้อมูลจากโลนลี่ พลาเน็ต บอกเอาไว้ว่าเส้นทางรถไฟสายเว้-ดานัง เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราจึงตัดสินใจลองของ!ยามเช้า คนเริ่มพลุกพล่าน ผมกับยาดาเรียกแต็กซี่(ตามสำนวนคนเวียด)ไปก่าเว้ก่าเว้ เป็นอาคารรูปทรงโคโลเนี่ยล ทาด้วยสีส้ม-เหลือง ผู้คนคึกคัก อุ้มลูกจูงหลานเดินทางไปทำธุระพบปะญาติมิตร นักท่องเที่ยวบางคนจับกลุ่มยืนสูบบุหรี่อยู่มุมหนึ่ง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทันทีที่ออกจากด่านลาวบาว รถทัวร์ปุเรงมาบนถนนหมายเลข1 นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถเพื่อเข้าไปยังมหานครเว้อีกราวๆ 160 กิโลเมตร (หลังจากที่ตื่นๆ หลับๆ มาแล้วราว 250 กม. บนทางหลวงหมายเลข9) รวมระยะทางจากมุกดาหาร-เว้ ประมาณ 410 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวบางคนพักที่ด่าน ซึ่งมีเกสต์เฮาส์เล็กๆ สบายๆ และเป็นที่ขึ้นชื่อว่า ตลาดเช้าลาวบาวช่างน่ารักน่าชังนักเรื่องของเรื่อง คือ เราควรจะถึงเว้ไม่เกิน 18.00 น. ตามเวลาในตั๋วระหว่างเส้นทางจะต้องผ่านเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองเคเซนและเมืองดองฮา ทั้ง 2 เมือง คือ จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะเมืองดองฮาหรือเรียกชื่อย่อว่า DMZ นั้น…