Skip to main content

บริเวณนั้นทั้งบริเวณเป็นเกาะ สายน้ำไหลเรียบเรื่อยเซาะแก่งหินและรากไม้ใหญ่ริมตลิ่งเป็นเงาเว้าๆแหว่งๆ คือ การออกแบบอย่างลงตัวของธรรมชาติ สายฝนพรำตั้งแต่เริ่มเที่ยง อุโบสถหลังขนาดกะทัดรัดจึงกลายเป็นที่หลบฝนของชาวบ้าน หลายคนอุ้มลูกนั่งยองๆ อยู่ใต้ชายคา เด็กๆ กับเพื่อนบางคนหลบเข้าใต้ถุนอุโบสถขีดเขียนพื้นดินทรายเล่นฆ่าเวลา


ชนกะเหรี่ยงโปจากหลายหมู่บ้านมาร่วมทำบุญปีใหม่ที่อุโบสถกลางน้ำ หมู่บ้านคลิตี้ล่าง หมู่บ้านของมนุษย์ตะกั่ว ..


ปีใหม่แบบไทยๆ แต่ละปี อุโบสถกลางน้ำจะกลายเป็นที่ชุมนุมของคนในหมู่บ้าน ด้วยแรงเชื่อถือศรัทธา ชนกะเหรี่ยงโปจะเดินแห่ร้องรำทำเพลงกันมาเพื่อสรงน้ำพระสงฆ์ เมื่อถึงเวลา ผู้ชายตัวโตๆ จะช่วยกันอุ้มพยุงพระสงฆ์ลงจากบันไดอุโบสถ ชาวบ้านคนอื่นๆ ไม่เว้นหญิงชาย คุกเข่าก้มตัวลงในท่าหมอบคลานสี่ขาเป็นแถวๆ เกร็งหลังให้พระเหยียบ เดินวนรอบอุโบสถ พระรูปอื่นๆ จะเดินทยอยตามๆ กันมาบนหลัง ไม่เว้น แม้กระทั่งเณรที่เพิ่งจะบวชใหม่ ก่อนที่จะมานั่งบนเก้าอี้ที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมเอาไว้ให้ก่อนจะต่อแถวสรงน้ำพระด้วยน้ำอบร่ำแป้งหอม ใครบางคนบอกว่า ทำอย่างนี้แล้วได้บุญแรง ..


ในอดีต บรรพบุรุษของคนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างย้ายที่ตั้งหมู่บ้านไปตามที่ต่างๆ หลายครั้ง จนในที่สุด ไปปักหลักตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่เรียกว่า กองหละและพุโผว่ ซึ่งห่างจากจุดที่ตั้งในปัจจุบันไปทางตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร ต่อมา จึงได้ย้ายเข้าไปรวมกับหมู่บ้านคลิตี้บน ก่อนจะแยกตัวออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่ตั้งปัจจุบัน


นับเวลาต่อเนื่องนานวัน บ้านคลิตี้ล่างมีอายุมากกว่า 100 ปี นับจากปี 2440 สมัยก่อนลักษณะบ้านเรือนจะปลูกด้วยโครงไม้ไผ่เป็นหลัก หลังคามุงด้วยใบหวายหรือหญ้าคา มีเตาไฟกลางบ้านเพื่อประกอบอาหารให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่คนในครอบครัว


ปัจจุบัน บ้านแต่ละหลังแข็งแรงขึ้นด้วยไม้แผ่นใหญ่และหลังคาสังกะสี ..


น้ำอบประพรมลงบนจีวรสีฝาดพร้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญ ชาวบ้านแต่ละคนส่งเสียง “สาธุ” ดังไปทั่วบริเวณอุโบสถกลางน้ำ แป้งสีขาวประพรมอยู่บนใบหน้าของชนกะเหรี่ยงชายหญิงที่เข้าร่วมพิธี บ้างก็รดน้ำกันเอง บ้างก็ร้องรำทำเพลงครื้นเครงไปตามวิถีปฏิบัติ


คลิตี้ เป็นคำเรียกในภาษาไทยที่เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า คี่ถี่ ซึ่งมีความหมายว่า เสือโทน ชาวบ้านในแถบนี้เชื่อว่ามีเสือโทนตัวหนึ่งอาศัยและหากินอยู่ในอาณาบริเวณนี้ กินพื้นที่ตั้งแต่ทุ่งใหญ่นเรศวร ลำคลองงู แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย คนเฒ่าคนแก่ที่เคยพบเห็นเล่าว่า เคยเจอรอยเท้าเสือ “ใหญ่เท่ากับเท้าช้าง”


นอกจากนี้ ชาวบ้านยังเชื่อว่า เสือโทน ยังคอยปกปักรักษาให้หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข หากใครประพฤติไม่ดี เสือโทนจะโกรธและก่อให้เกิดเภทภัยต่างๆ นานา เสือโทนจึงเป็นเครื่องมือในการกำกับพฤติกรรม ตั้งแต่ความคิดถึงการกระทำ .. เช่น ถือความสัตย์ พูดความจริง ไม่พูดหยาบโลน ครอบคลุมไปถึงเรื่องการกินการอยู่ เล่ากันว่า เวลารับประทานอาหาร ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะนั่งพับเพียบเรียบร้อยเพื่อสวดมนต์ระลึกถึงคุณค่าของอาหารที่ธรรมชาติได้ประทานมาให้


ปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องเสือโทนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการมาถึงของความศิวิโลซ์จากโลกภายนอกและสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ชื่อเดียวกับชื่อหมู่บ้าน ..

ย้อนหลังนับเวลาไปราวสิบปีที่แล้ว ช่วงปี 2540-2541 กรณีสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ถูกเผยแพร่โดย เอ็นจีโอ นักวิชาการและสื่อมวลชน จนเป็นที่รับรู้ของสาธารณะชนวงกว้าง เมื่อบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปล่อยน้ำปนเปื้อนตะกั่วจากโรงแต่งแร่ลงสู่ลำห้วยคลิตี้


ค้นพบในเวลาต่อมาว่า การปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยและตะกอนท้องน้ำบริเวณใต้โรงแต่งแร่สูงตลอดลำห้วย เป็นระยะทางยาวกว่า 19 กิโลเมตร เฉพาะบริเวณอันเป็นจุดที่ตั้งของหมู่บ้าน ตรวจสอบพบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานที่มนุษย์และสัตว์จะรับได้


เกิดโรคภัยไข้เจ็บอันหาสาเหตุไม่ได้ ปลาในลำห้วยลอยตาย สัตว์เลี้ยง เช่น วัวควายเสียชีวิตและคนในหมู่บ้านมีอาการแขนขาชา มือเท้าและตัวบวมอย่างผิดปกติและมีอาการประสาทอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อไปหาหมอ หมอจะไม่วินิจฉัยโรคแต่จ่ายยาแก้ปวดบวมมาให้ทาและพาราเซตามอลมาให้รับประทาน

ปัจจุบัน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า ปริมาณสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้สูงเกินกว่ามาตรฐานแต่ไม่ยอมรับว่าอาการป่วยของชาวบ้านมีสาเหตุมาจากการรับพิษสารตะกั่วในลำน้ำหรือชาวบ้านสามารถใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภคหรือลงเล่นน้ำได้แต่อย่าพยายามทำให้ตะกอนข้างล่างฟุ้งขึ้นมาเหนือผิวน้ำ


นับว่าเป็นวิธีการง่ายๆ ที่หน่วยงานรัฐอย่างกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขให้ความช่วยเหลือ


ชนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างเคยหาของป่าและทำไร่ข้าวเพียงพอกินเท่านั้น มีการทำเกษตรเป็นแบบไร่หมุนเวียน ภูมิปัญญาเก่าแก่ที่รักษาระบบในธรรมชาติไม่ให้บอบช้ำ ด้วยการปลูกข้าวไร่และพืชผัก 1-2 ปี แล้วปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัว เปลี่ยนไปใช้พื้นที่ไร่ซากเก่าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่ทำไร่มาแล้วเมื่อ 5-10 ปี ก่อน


พืชหลักได้แก่ ไร่ข้าว เมื่อถึงฤดูทำไร่ข้าว ทุกครัวเรือนจะหยอดเมล็ดข้าวพร้อมเมล็ดผัก ตั้งแต่ พริก แตงไทย แตงเปรี้ยว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชีหอม ผักชีลาว ผักขี้โอ้ง ข้าวโพด โดยไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ผักจะขึ้นพร้อมกับข้าวในพื้นที่ไร่และเก็บกินได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม


ต่อมา เมื่อถูกจำกัดพื้นที่ทำกินโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ครอบครัวหนึ่งจึงเหลือพื้นที่ทำกินเพียง 3-5 แปลงนอกจากนี้ ยังเลี้ยงสัตว์ แต่หลังจากเหมืองแร่ปล่อยสารตะกั่ว ทำให้เป็ด วัว ควายล้มตาย ชาวบ้านจึงขายทิ้ง


ลำห้วยคลิตี้เป็นสายน้ำสายหลักของคนพื้นถิ่นนี้ โดยเฉพาะหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ต่างใช้อุปโภคบริโภค ถึงแม้ปัจจุบัน ศาลชั้นต้นจะสั่งชดเชยค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน 8 คน ในวงเงิน 4 ล้านบาท จากการร่วมกันฟ้องร้องเป็นจำนวนเงินมากกว่า 10 ล้าน บาท ในเดือนสิงหาคมของปีที่ผ่านมา (.. 2550)


แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับลำห้วยและวิถีชีวิตเป็นสิ่งที่ชดเชยกันอย่างไรก็คงไม่คุ้มค่า


แม้ว่าวันนี้ ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะดูเหมือนคนปกติทั่วไปแต่อาการเจ็บป่วยผิดปกติยังคงปรากฏให้เห็นและยังลุกลามไปถึงลูกหลานของคนที่นั่น


วันนี้ น้ำในลำห้วยคลิตี้ยังคงใสเย็น บริเวณน้ำตก เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ ทั้งในถิ่นและต่างหมู่บ้านที่มาร่วมงานปีใหม่ไทย ต่างลงเล่นน้ำดำผุดดำว่าย ป่าสีเขียวทึบปล่อยสายแดดยามบ่ายลอดลงมาตามกิ่งใบสะท้อนบนผิวน้ำมองเห็นเป็นประกายวาววับสวยงาม หากซ่อนเร้นความมักง่ายของคนบางกลุ่มที่ไม่คำนึงถึงระบบชีวิตในธรรมชาติ ชุมชน คน เพื่อนร่วมโลกอื่นๆ ที่ต้องอยู่ร่วมกัน


.....


ปัจจุบัน ศาลพิพากษา กรมควบคุมมลพิษล่าช้าแต่ไม่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ โดยให้ระบบธรรมชาติค่อยๆ ฟื้นตัวเองและห้ามชาวบ้านทำตะกอนในลำห้วยฟุ้งขึ้นมาบนผิวน้ำ


สายน้ำคลิตี้ สวยอยู่กลางป่าสีเขียว แต่พิษตะกั่วยังตกค้าง


ความเชื่อและแรงศรัทธา


 

 

งานบุญปีใหม่ไทย จะอุ้มพยุงพระเดินบนหลังชาวบ้านผู้ศรัทธา ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง






โจวทิไผ่และโจวหล่อพ่อ ผู้ได้รับผลกระทบจากพิษสารตะกั่ว






นับนิ้วดูสิครับ






ชาวบ้านคลิตี้ร่วมงานบุญและดูและรักษาป่า



บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ปลูกป่า สร้างร่มเงาโคลนสีแดงเหนียวหนึบค่อยๆ ซึมผ่านถุงมือไหมพรมสีขาว ท่อนไม้แหลมเหลาปลาย ถูกกระทุ้งลงดินแข็ง แล้วคว้านเป็นหลุมกว้างขนาดพอจะใส่กล้าไม้ฉีกถุงเพาะกล้าเบาๆ สองมือค่อยๆ โอบประคองดินดำห่อหุ้มต้นอ่อนลงในหลุมที่ถูกคว้านและตีกลบเบาๆ ให้ดินแน่นนำถุงเพาะกล้าครอบบนแนวไม้ที่ปักเอาไว้ ใบเล็กๆ สีเขียวบนลำต้นบอบบางตั้งฉากเป็นแนวดิ่งเป็นอันเสร็จขั้นตอนสำหรับการปลูกกล้า พร้อมกับหัวใจของแต่ละคนที่หวังว่ากล้าเล็กๆ จะเติบโตเป็นป่า ให้ร่มเงาแก่ผืนดินและโลก...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
“นาย ... !! เขียนงานให้เรายัง” ผมถามดาด้าตัวละครเก่าของผม “อีกนิดนึงพี่” “เฮ้ย เอาวันนี้นะ” (จันทร์) ม่ายงั้น ‘เจ้’ ทวง “เอ๋า พี่ไม่ได้กำหนดเวลานี่” “เออ รีบเลย” เวลาผ่านไป ไม่นานเลย ..... “ดาด้า นายแน่มาก” “ไร” “อ่านแล้วขนลุกเลยว่ะ” “ไปห้องน้ำเลยไป” !!! @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
“พี่ ไปแค้มป์แม่หละกันไม๊” ดาด้าตัวละครเก่าของผมเอ่ยถาม ระหว่างที่เรานั่งรถไปจังหวัดกระบี่ “ตาก อะนะ” ผมทำตาลุก มันเป็นสถานที่หนึ่งที่ฝันว่าจะไปถ่ายรูป “วันไหน” “เนี่ย กลับจากนี่แหละ” มหาดไทยอนุญาตให้ออฟฟิศของดาด้า เข้าไปถ่ายทำเรื่องกลุ่มมุสลิมในแค้มป์ ผมนั่งนับนิ้ว เอ มันตรงกับวันอะไรหว่า !! “เออ นายเขียนแคนโต้แล้วถ่ายรูปมาลงคอลัมน์เรานะ” เสียดายครับ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แคกตัสบางชนิดมีหนามหนุ่ม ฟู และดอกบนหัว สวยงามแต่ดูน่ากลัว ผีเสื้อเป็นราชินีแห่งแมลงที่น่าเก็บภาพเสมอ ผู้ย่อยสลาย เห็ดราบางชนิด มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์เป็นอย่างยิ่ง เอ่อ ผมจำไม่ได้ว่าเป็นดอกอะไร ครับ!! แมลงปอ ราชันย์แห่งแมลงที่น่าเก็บภาพเหมือนกัน ต่างตัวต่างลีลา ใบไม้ธรรมดา จะดูน่าสนใจเมื่อมีแสงเงาตกกระทบ โฟกัสที่ดอกไม้ เขาว่า "ผีเสื้อขยับปีก โลกถึงกับสั่นสะเทือน" สวัสดีครับ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณนั้นทั้งบริเวณเป็นเกาะ สายน้ำไหลเรียบเรื่อยเซาะแก่งหินและรากไม้ใหญ่ริมตลิ่งเป็นเงาเว้าๆแหว่งๆ คือ การออกแบบอย่างลงตัวของธรรมชาติ สายฝนพรำตั้งแต่เริ่มเที่ยง อุโบสถหลังขนาดกะทัดรัดจึงกลายเป็นที่หลบฝนของชาวบ้าน หลายคนอุ้มลูกนั่งยองๆ อยู่ใต้ชายคา เด็กๆ กับเพื่อนบางคนหลบเข้าใต้ถุนอุโบสถขีดเขียนพื้นดินทรายเล่นฆ่าเวลา ชนกะเหรี่ยงโปจากหลายหมู่บ้านมาร่วมทำบุญปีใหม่ที่อุโบสถกลางน้ำ หมู่บ้านคลิตี้ล่าง หมู่บ้านของมนุษย์ตะกั่ว .. ปีใหม่แบบไทยๆ แต่ละปี อุโบสถกลางน้ำจะกลายเป็นที่ชุมนุมของคนในหมู่บ้าน ด้วยแรงเชื่อถือศรัทธา ชนกะเหรี่ยงโปจะเดินแห่ร้องรำทำเพลงกันมาเพื่อสรงน้ำพระสงฆ์ เมื่อถึงเวลา…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่แน่ใจหรอกว่าเคยไปแม่ฮ่องสอนมากี่ครั้งกันแน่ รู้แต่เพียงว่า เพราะความที่มันไกลเสียจนมีคนร่ำลือถึงได้พยายามดั้นด้นไปให้ถึง ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง (ก็ยังอ๊วกเหมือนเดิม อิ อิ) ... “หากผมมีโอกาสได้แต่งงานนะ ผมจะแต่งที่แม่ฮ่องสอน” “เออ คุณไม่ต้องส่งการ์ดเชิญมาให้ผมนะ ไกลชิบ” “เฮ้ย มันมีเครื่องฯ .. บินถึง ..” “เออ ผม เมาเครื่อง” ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ราวห้าโมงเย็น “จุดเทียนหรือเปล่าคับทั่น” ผมโทรหาเพื่อนคนหนึ่งอย่างกระวนกระวาย “จุดดิคับ เริ่มหกโมงฯ แล้วมาตอนนี้ทำไม” มันว่าเข้าให้นั่น เป็นอันว่า คงต้องรออีกสักพัก กว่ากลุ่มของพวกเขาจะเดินทางมาถึง ผมเริ่มเดินสำรวจรอบๆ บริเวณศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแห่งชาติแห่งแรกของเมืองไทย จริงๆ มันมีศูนย์ศิลปะอื่นๆ อยู่บ้างในต่างจังหวัดแต่มันคงดูไม่หรูหราใหญ่โตอลังการเท่าศูนย์นี้ ความใหญ่โตของมันทำให้ผมงกๆ เงิ่นๆ เดินเข้าไปในศูนย์เพื่อฆ่าเวลา เจ้าหน้าที่เกร่เข้ามาหาพร้อมกับรอยยิ้ม “ให้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงตรวจกระเป๋า นิดนึงนะครับ” เขาบอกกับผมอย่างสุภาพ ซิปกระเป๋ากล้องถูกเปิด พร้อมกับรอยยิ้มเล็กๆ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดเปรี้ยงผ่าลงตรงหัวพอดี ขณะที่ช่างภาพนับ 10 คน ดุ่ยๆ เข้าไปในอาคารเรียนแห่งนั้น โถงอาคารเอนกประสงค์โล่งๆ เหมาะจะเป็นสนามบาสฯ มากกว่าห้องเรียนถูกจัดแบ่งเป็น 2 ตอน ด้วยตู้ไม้ผุๆ ทางด้านหน้าเป็นชั้นเด็กโตและทางด้านหลังเป็นชั้นเด็กเล็กที่ไม่ควรจะเกิน 10 ขวบ โรงเรียนวัดสุทธารามหรือโรงเรียนวัดกำพร้า เป็นหนึ่งในหลายๆ โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาครที่รับเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติมาเรียนหนังสือ วิชาที่สอน เน้นพูด อ่านและเขียนภาษาไทย ,เมื่อเค้าต้องอยู่ร่วมกับเราอย่างไม่อาจจะปฏิเสธ กล่าวกันทีเล่นทีจริงว่า หากหญิงสาวชาวพม่าไม่ทาแป้งทานาคาและชายหนุ่มชาวพม่านุ่งกางเกงยีนส์ไปเคาน์ ดาวน์ ที่ เซ็นทรัล…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
“ปากน้ำระนองเลยพี่” เลิศ หนุ่มน้อยหุ่นทรงกระบอกแนะนำ “เหรอ ไกลมะ” ผมถาม “ไม่เท่าไร รับรองสวย พี่” ปากน้ำระนอง ห่างจากตัวเมืองราวขับรถ 10 นาที บนถนนเลียบเนินจะมองเห็นตัวเมืองระนองกลางขุนเขาโอบล้อมอย่างชัดเจนระนองเป็นเมืองชายแดนพม่าฝั่งทะเลอันดามัน ร้อนและชื้น จนได้ชื่อว่า เมืองฝน 8 แดด 4 (อันที่จริง เมืองชายฝั่งทะเลภาคใต้ก็ฝน 8 แดด 4 กันแทบทั้งนั้น) ฝนตกชุก ทั้งหนักและพรำๆ ในช่วงที่ผมอยู่ที่นั่น ระนองติดกับประเทศพม่าบริเวณเมืองทวายโดยมีเกาะสองกั้นเป็นพรมแดนธรรมชาติและชายฝั่งที่ทอดยาวจรด จ.พังงา เดินทางไม่ยากเพราะมีบริษัททัวร์บริษัทเดียวที่ให้บริการ 2 รอบ คือ เช้าและบ่าย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ความน่าสนใจของท้องฟ้าก่อนพายุจะมาหรือสตอม เซอจ ที่ คุณดินยา ได้เขียนเป็นข้อมูลเอาไว้ เร้าให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะบันทึกภาพ ท้องฟ้าก่อนพายุจะมา ภาพเหล่านี้ถ่ายระหว่างวันที่ 25-30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ขณะที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องคลื่นพายุซัดฝั่ง บริเวณอ่าวไทยเมืองแม่กลอง ... ... จู่ๆ ท้องฟ้าที่เคยสดใสกลับมืดครึ้ม กลุ่มเมฆก่อตัวอย่างฉับพลันกลืนแสงอาทิตย์ มองดูแล้วพูดไม่ถูกว่ามีความรู้สึกอย่างไร สีสันของเมฆเขียวครามแต้มอากาศสีเทา ฝนตั้งเค้าในที่ไกลๆ ท้องฟ้า ...ท่าจะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
จบแล้วครับ .. เล่นง่ายแบบนี้เชียวเร๊อะ!! Ha Ha ... มีคำกล่าวง่ายๆ ว่า ทุกครั้งในการเดินทาง จงยิ้ม พึ่งพาสมองและสองเท้าแล้วค้นหา ...คุณจะพบว่า โรงแรมราคาดีแต่สะอาด รอคุณอยู่สุดซอย ...เสมอ เราบินออกจากฮานอยด้วยสายการบินโลว์คอส แอร์ เครื่องบินดีเลย์นิดหน่อย อย่างไม่ดัดจริต ผมคิดถึงส้มตำหอยดอง ปูปลาร้า ปากซอย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฮานอยเป็นหัวเมืองใหญ่ทางภาคเหนือของเวียดนาม สถานที่ที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีไม่เป็นรองเมืองอื่นๆ (ยกเว้นตอนนี้เวียดนามเจอภาวะเงินเฟ้อ) กับความรุ่งเรืองแห่งอดีตอดีตแห่งภูมิภาคหนึ่งของจีนที่ได้ชื่อว่า อันนัมประกอบไปด้วย การจราจรอันคับคั่ง(จริงๆ ก็คับคั่งทุกเมืองใหญ่แหละ)ย่านโอลด์ ทาวน์ ทะเลสาบคืนดาบ บาร์เกย์และดนตรีแนวแทรนส์เราเจอฟั้งกี้ มั้งกี้ ณ หัวมุมถนนย่านใจกลางเมือง หลังจากที่เดินตามหามาตั้งแต่หัวค่ำ ในอาคารพาณิชย์ 1 คูหา ไกด์คนเก่งจากเกาะกั๊ตบาแนะนำให้เรามาย่านนี้ เหตุผลหนึ่งเพราะเป็นย่านบาร์เกย์ที่คนในเพศที่ 3 สามารถจะแสดงออกมาได้อย่างเต็มที่…