Skip to main content

บริเวณนั้นทั้งบริเวณเป็นเกาะ สายน้ำไหลเรียบเรื่อยเซาะแก่งหินและรากไม้ใหญ่ริมตลิ่งเป็นเงาเว้าๆแหว่งๆ คือ การออกแบบอย่างลงตัวของธรรมชาติ สายฝนพรำตั้งแต่เริ่มเที่ยง อุโบสถหลังขนาดกะทัดรัดจึงกลายเป็นที่หลบฝนของชาวบ้าน หลายคนอุ้มลูกนั่งยองๆ อยู่ใต้ชายคา เด็กๆ กับเพื่อนบางคนหลบเข้าใต้ถุนอุโบสถขีดเขียนพื้นดินทรายเล่นฆ่าเวลา


ชนกะเหรี่ยงโปจากหลายหมู่บ้านมาร่วมทำบุญปีใหม่ที่อุโบสถกลางน้ำ หมู่บ้านคลิตี้ล่าง หมู่บ้านของมนุษย์ตะกั่ว ..


ปีใหม่แบบไทยๆ แต่ละปี อุโบสถกลางน้ำจะกลายเป็นที่ชุมนุมของคนในหมู่บ้าน ด้วยแรงเชื่อถือศรัทธา ชนกะเหรี่ยงโปจะเดินแห่ร้องรำทำเพลงกันมาเพื่อสรงน้ำพระสงฆ์ เมื่อถึงเวลา ผู้ชายตัวโตๆ จะช่วยกันอุ้มพยุงพระสงฆ์ลงจากบันไดอุโบสถ ชาวบ้านคนอื่นๆ ไม่เว้นหญิงชาย คุกเข่าก้มตัวลงในท่าหมอบคลานสี่ขาเป็นแถวๆ เกร็งหลังให้พระเหยียบ เดินวนรอบอุโบสถ พระรูปอื่นๆ จะเดินทยอยตามๆ กันมาบนหลัง ไม่เว้น แม้กระทั่งเณรที่เพิ่งจะบวชใหม่ ก่อนที่จะมานั่งบนเก้าอี้ที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมเอาไว้ให้ก่อนจะต่อแถวสรงน้ำพระด้วยน้ำอบร่ำแป้งหอม ใครบางคนบอกว่า ทำอย่างนี้แล้วได้บุญแรง ..


ในอดีต บรรพบุรุษของคนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างย้ายที่ตั้งหมู่บ้านไปตามที่ต่างๆ หลายครั้ง จนในที่สุด ไปปักหลักตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่เรียกว่า กองหละและพุโผว่ ซึ่งห่างจากจุดที่ตั้งในปัจจุบันไปทางตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร ต่อมา จึงได้ย้ายเข้าไปรวมกับหมู่บ้านคลิตี้บน ก่อนจะแยกตัวออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่ตั้งปัจจุบัน


นับเวลาต่อเนื่องนานวัน บ้านคลิตี้ล่างมีอายุมากกว่า 100 ปี นับจากปี 2440 สมัยก่อนลักษณะบ้านเรือนจะปลูกด้วยโครงไม้ไผ่เป็นหลัก หลังคามุงด้วยใบหวายหรือหญ้าคา มีเตาไฟกลางบ้านเพื่อประกอบอาหารให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่คนในครอบครัว


ปัจจุบัน บ้านแต่ละหลังแข็งแรงขึ้นด้วยไม้แผ่นใหญ่และหลังคาสังกะสี ..


น้ำอบประพรมลงบนจีวรสีฝาดพร้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญ ชาวบ้านแต่ละคนส่งเสียง “สาธุ” ดังไปทั่วบริเวณอุโบสถกลางน้ำ แป้งสีขาวประพรมอยู่บนใบหน้าของชนกะเหรี่ยงชายหญิงที่เข้าร่วมพิธี บ้างก็รดน้ำกันเอง บ้างก็ร้องรำทำเพลงครื้นเครงไปตามวิถีปฏิบัติ


คลิตี้ เป็นคำเรียกในภาษาไทยที่เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า คี่ถี่ ซึ่งมีความหมายว่า เสือโทน ชาวบ้านในแถบนี้เชื่อว่ามีเสือโทนตัวหนึ่งอาศัยและหากินอยู่ในอาณาบริเวณนี้ กินพื้นที่ตั้งแต่ทุ่งใหญ่นเรศวร ลำคลองงู แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย คนเฒ่าคนแก่ที่เคยพบเห็นเล่าว่า เคยเจอรอยเท้าเสือ “ใหญ่เท่ากับเท้าช้าง”


นอกจากนี้ ชาวบ้านยังเชื่อว่า เสือโทน ยังคอยปกปักรักษาให้หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข หากใครประพฤติไม่ดี เสือโทนจะโกรธและก่อให้เกิดเภทภัยต่างๆ นานา เสือโทนจึงเป็นเครื่องมือในการกำกับพฤติกรรม ตั้งแต่ความคิดถึงการกระทำ .. เช่น ถือความสัตย์ พูดความจริง ไม่พูดหยาบโลน ครอบคลุมไปถึงเรื่องการกินการอยู่ เล่ากันว่า เวลารับประทานอาหาร ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะนั่งพับเพียบเรียบร้อยเพื่อสวดมนต์ระลึกถึงคุณค่าของอาหารที่ธรรมชาติได้ประทานมาให้


ปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องเสือโทนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการมาถึงของความศิวิโลซ์จากโลกภายนอกและสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ชื่อเดียวกับชื่อหมู่บ้าน ..

ย้อนหลังนับเวลาไปราวสิบปีที่แล้ว ช่วงปี 2540-2541 กรณีสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ถูกเผยแพร่โดย เอ็นจีโอ นักวิชาการและสื่อมวลชน จนเป็นที่รับรู้ของสาธารณะชนวงกว้าง เมื่อบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปล่อยน้ำปนเปื้อนตะกั่วจากโรงแต่งแร่ลงสู่ลำห้วยคลิตี้


ค้นพบในเวลาต่อมาว่า การปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยและตะกอนท้องน้ำบริเวณใต้โรงแต่งแร่สูงตลอดลำห้วย เป็นระยะทางยาวกว่า 19 กิโลเมตร เฉพาะบริเวณอันเป็นจุดที่ตั้งของหมู่บ้าน ตรวจสอบพบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานที่มนุษย์และสัตว์จะรับได้


เกิดโรคภัยไข้เจ็บอันหาสาเหตุไม่ได้ ปลาในลำห้วยลอยตาย สัตว์เลี้ยง เช่น วัวควายเสียชีวิตและคนในหมู่บ้านมีอาการแขนขาชา มือเท้าและตัวบวมอย่างผิดปกติและมีอาการประสาทอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อไปหาหมอ หมอจะไม่วินิจฉัยโรคแต่จ่ายยาแก้ปวดบวมมาให้ทาและพาราเซตามอลมาให้รับประทาน

ปัจจุบัน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า ปริมาณสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้สูงเกินกว่ามาตรฐานแต่ไม่ยอมรับว่าอาการป่วยของชาวบ้านมีสาเหตุมาจากการรับพิษสารตะกั่วในลำน้ำหรือชาวบ้านสามารถใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภคหรือลงเล่นน้ำได้แต่อย่าพยายามทำให้ตะกอนข้างล่างฟุ้งขึ้นมาเหนือผิวน้ำ


นับว่าเป็นวิธีการง่ายๆ ที่หน่วยงานรัฐอย่างกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขให้ความช่วยเหลือ


ชนกะเหรี่ยงคลิตี้ล่างเคยหาของป่าและทำไร่ข้าวเพียงพอกินเท่านั้น มีการทำเกษตรเป็นแบบไร่หมุนเวียน ภูมิปัญญาเก่าแก่ที่รักษาระบบในธรรมชาติไม่ให้บอบช้ำ ด้วยการปลูกข้าวไร่และพืชผัก 1-2 ปี แล้วปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัว เปลี่ยนไปใช้พื้นที่ไร่ซากเก่าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่ทำไร่มาแล้วเมื่อ 5-10 ปี ก่อน


พืชหลักได้แก่ ไร่ข้าว เมื่อถึงฤดูทำไร่ข้าว ทุกครัวเรือนจะหยอดเมล็ดข้าวพร้อมเมล็ดผัก ตั้งแต่ พริก แตงไทย แตงเปรี้ยว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชีหอม ผักชีลาว ผักขี้โอ้ง ข้าวโพด โดยไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ผักจะขึ้นพร้อมกับข้าวในพื้นที่ไร่และเก็บกินได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม


ต่อมา เมื่อถูกจำกัดพื้นที่ทำกินโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ครอบครัวหนึ่งจึงเหลือพื้นที่ทำกินเพียง 3-5 แปลงนอกจากนี้ ยังเลี้ยงสัตว์ แต่หลังจากเหมืองแร่ปล่อยสารตะกั่ว ทำให้เป็ด วัว ควายล้มตาย ชาวบ้านจึงขายทิ้ง


ลำห้วยคลิตี้เป็นสายน้ำสายหลักของคนพื้นถิ่นนี้ โดยเฉพาะหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ต่างใช้อุปโภคบริโภค ถึงแม้ปัจจุบัน ศาลชั้นต้นจะสั่งชดเชยค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน 8 คน ในวงเงิน 4 ล้านบาท จากการร่วมกันฟ้องร้องเป็นจำนวนเงินมากกว่า 10 ล้าน บาท ในเดือนสิงหาคมของปีที่ผ่านมา (.. 2550)


แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับลำห้วยและวิถีชีวิตเป็นสิ่งที่ชดเชยกันอย่างไรก็คงไม่คุ้มค่า


แม้ว่าวันนี้ ชนกะเหรี่ยงคลิตี้จะดูเหมือนคนปกติทั่วไปแต่อาการเจ็บป่วยผิดปกติยังคงปรากฏให้เห็นและยังลุกลามไปถึงลูกหลานของคนที่นั่น


วันนี้ น้ำในลำห้วยคลิตี้ยังคงใสเย็น บริเวณน้ำตก เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ ทั้งในถิ่นและต่างหมู่บ้านที่มาร่วมงานปีใหม่ไทย ต่างลงเล่นน้ำดำผุดดำว่าย ป่าสีเขียวทึบปล่อยสายแดดยามบ่ายลอดลงมาตามกิ่งใบสะท้อนบนผิวน้ำมองเห็นเป็นประกายวาววับสวยงาม หากซ่อนเร้นความมักง่ายของคนบางกลุ่มที่ไม่คำนึงถึงระบบชีวิตในธรรมชาติ ชุมชน คน เพื่อนร่วมโลกอื่นๆ ที่ต้องอยู่ร่วมกัน


.....


ปัจจุบัน ศาลพิพากษา กรมควบคุมมลพิษล่าช้าแต่ไม่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ โดยให้ระบบธรรมชาติค่อยๆ ฟื้นตัวเองและห้ามชาวบ้านทำตะกอนในลำห้วยฟุ้งขึ้นมาบนผิวน้ำ


สายน้ำคลิตี้ สวยอยู่กลางป่าสีเขียว แต่พิษตะกั่วยังตกค้าง


ความเชื่อและแรงศรัทธา


 

 

งานบุญปีใหม่ไทย จะอุ้มพยุงพระเดินบนหลังชาวบ้านผู้ศรัทธา ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง






โจวทิไผ่และโจวหล่อพ่อ ผู้ได้รับผลกระทบจากพิษสารตะกั่ว






นับนิ้วดูสิครับ






ชาวบ้านคลิตี้ร่วมงานบุญและดูและรักษาป่า



บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หากไม่เชื่อ ลองถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปู่ย่าตาทวด ก็ได้ว่า “ท่านเกิดมาจากน้ำมือของใคร”ร้อยทั้งร้อย ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “หมอตำแย”ยายคำ อายุ 77 ปี เป็นชาวไทใหญ่ แกเป็นหมอตำแยมาตั้งแต่รุ่นสาวหรือที่เรียกกันว่า ‘แม่เก็บ’ ในภาษาไทใหญ่ ปัจจุบัน ยายคำอาศัยอยู่ที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แข็งแรงและมีรอยยิ้มอยู่เสมอ...ยายคำเป็นหญิงชราที่ดูอารมณ์ดีที่สุดในโลก แววตาอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวแต่จัดเจนและเข้าใจชีวิต ผม
กดำและพูดจาฉะฉาน ไม่หลงๆลืมๆ เหมือนกับคนเฒ่าในวัยเดียวกันชวนให้คิดถึงคำพูดที่ว่า หนุ่มแก่อยู่ข้างในหัวใจหลังการแต่งงาน ยายคำกับสามีชื่อนายหม่องคนกะเหรี่ยง…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
         
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใครเคย เล่น (อี) มอญซ่อนผ้าบ้าง ..? หากเจอคำถามนี้แล้วคุณยกมือ แสดงว่า อายุของคุณไม่ควรจะต่ำกว่า 35 UP … ha H a a a a,ย้อนความจำกันนิด การละเล่นชนิดนี้ใช้ผู้เล่นกี่คนก็ได้แล้วแต่ถนัดและจำนวนของกลุ่มเพื่อน เลือกผู้เล่นขึ้นมาเพื่อเป็นตัววิ่ง 1 คน (อันนี้จะด้วยวิธีการใดใดก็ได้ รุ่นผมใช้โอน้อยออก) ตัววิ่งจะกุมผ้าเช็ดหน้าเอาไว้ในมือให้มิดชิด ก่อนจะเดินรอบวง เมื่อเดินพอหอบ ตัววิ่งจะอาศัยช่วงจังหวะเวลาและโอกาสเข้าทำ ด้วยการแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ซึ่งระหว่างที่ตัววิ่งเดินรอบวง ผู้เล่นภายในวงจะร้องเป็นทำนองว่า  “(อี) มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ใครนั่งไม่ระวัง ฉันจะตีก้นเธอ”…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฆูณุงจไร เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยใหม่ เชื่อว่า เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเผ่าพันธุ์ตน กล่าวกันว่า ถึงแม้ ชาวอูรักลาโว้ยจะเดินทางท่องไปในทะเลกว้าง จากอันดามันจรดช่องแคบมะละกา ไม่มีหลักแหล่งแห่งที่ที่แน่นอน แต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฆูณุงจไรได้เชื่อมเอาดวงวิญญาณแห่งความถวิลถึงกันและกันเอาไว้ ฆูณุงจไร ในความหมายนี้ คือ ยอดเขาบนเกาะแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลจากท้องทะเล ก่อนจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนดินแห้งในแถบอันดามัน หลังการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม...โดยเฉพาะบนเกาะลันตาที่เคยได้ชื่อว่า เมืองหลวงของชาวน้ำน้ำทะเลแหวกเป็นสายเมื่อ Speed Boat ขนาดบรรทุก…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชื่อกันว่า ช่วงเวลาระหว่าง 200-500 ปี ชาวไทยใหม่อูรักลาโว้ยหรือโอรังละอุตจากดินแดนฆูณุงจไร เดินทางมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะลันตา จนหลายสิบปีต่อมา เมื่อคนจากแผ่นดินใหญ่หลั่งไหลมาถึง พร้อมเปิดศักราชใหม่ของการท่องเที่ยว เกาะลันตาที่เคยสงบสันโดษกลับกลายเป็นดินแดนแห่งสีสัน...เฉดสีต่างๆ ถูกละเลงโดยนักแสวงสุขมากหน้า...ท้องฟ้าสีฟ้าเบื้องหน้าหัวเรือข้ามเกาะดูเจิดจ้า จากท่าเรือคลองจิหลาด จ.กระบี่ ข้ามไปเกาะลันตาถึงท่าศาลาด่านใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ในอัตรา 350 บาท/หัว ภายใต้ท้องฟ้าและผืนน้ำสีเขียวคราม หลายคนรวมทั้งผมและเพื่อนนับสิบ ตัดสินใจไปละเลงชีวิตช่วงปีใหม่ที่เกาะลันตา...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนมาจากไหน ?8 พ.ย. 50 คนมากกว่า เก้าพันสามร้อยสามสิบเจ็ดคน เดินขึ้นภูกระดึง ภายในวันเดียวอะไรทำให้คนมากมายมาภูกระดึง นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาล ,แรงประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ,หนังสืออสท. ,ปากต่อปากถึงมนต์ขลังที่มิอาจจะปฏิเสธ ,ความยากลำบากของการเป็นหนึ่งในผู้พิชิต ,หรืออาการเริ่มแรกของโรคเบื่อการเมืองผมไม่รู้และไม่คิดอยากจะรู้ เพียงแต่การจัดอันดับ 10 อุทยานยอดนิยมของหนังสือท่องเที่ยว Trip ปลายปี 50 ภูกระดึงเป็นอุทยานที่มีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง...ว่ากันว่า 300 ล้านปีก่อน พื้นที่บริเวณโดยรอบภูกระดึงเคยเป็นทะเลมาก่อน จน 250 ล้านปีต่อมา…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อุทยานแห่งชาติ ไม่ได้หมายถึง แหล่งนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้นการท่องเที่ยวอุทยาน คือ การสัมผัสถึงการมีอยู่ของแต่ละชีวิตในธรรมชาติ เผ่าพันธ์ร่วมโลก เพื่อทำความรู้จัก เข้าถึงและอยู่ร่วมกันโดยเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุดภูกระดึง จึงกลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ไม่ต้องการยานพาหนะและกระเช้าไฟฟ้า แม้ว่าจะพอมีร้านเช่า Mountain bike สนองอารมณ์นักแคมป์ปิงในอัตราวันละ 350 บาท ก็ตามเพราะฉะนั้น สำหรับภูกระดึง การเดินด้วยเท้าจึงเป็นเรื่องง่ายและดีที่สุด... ยามเช้า อากาศสดใส แดดหน้าหนาวตกกระทบลงบนกิ่งสน เกิดเป็นแฉกฉูดฉาด อาบไล้ ปลุกเร้าให้นักแคมป์ปิงออกมาค้นหาเรื่องราวตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ กวางตัวใหญ่…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมไม่ได้ปีนภูกระดึงในฐานะผู้พิชิต !หากเป็นเรื่องของข้างในที่เรียกร้องผัสสะดิบเถื่อนในธรรมชาติและการมองโลกในมุม 180 องศา การเดินด้วย 2 เท้าและเรียกร้องให้เหงื่อออกจากรูขุมขน,ตอกย้ำความคิดที่ว่า จริงๆ เราเป็นเพียงละอองธุลีของจักรวาลอิอิ“แหวะ เว่อร์ร์ร์ร์ร์ หวะ เพ่” รุ่นน้องคนหนึ่งลากเสียงยาว..หากใครคิดว่า การเดินขึ้นภูกระดึง ถึงหลังแปแล้วจะได้ผ่อนลมหายใจ ละลายความเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วละก็ เป็นอันว่าคุณคิดผิดถนัด เพราะจากหลังแปนักเดินทนผู้พยายามพิชิตภูกระดึงจะต้องเดินเท้าต่อไปอีกร่วม 3 กิโลเมตร ทันทีที่คุณเข้าสู่เขตศูนย์บริการวังกวาง (เมื่อก่อนพื้นที่เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของนานาสัตว์…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดูเหมือนว่า ภูกระดึงจะเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ใครๆ หลายคน คิดว่าอยากจะไปเยือนสักครั้งการเดินทาง เป็นเรื่องของการตัดใจ หากทำได้เพียงแต่คิด ทุกสิ่งคงเป็นได้เพียงแค่หมอกควันของอารมณ์ชั่วคราวที่ค่อยๆ บรรเทาเบาบางก่อนจะจางหายไปในที่สุดแต่นั่นแหละกล่าวกันว่า การอ่านเป็นการเดินทางที่ง่ายและถูกที่สุดอย่างน้อยผมก็เชื่อเช่นนั้น…จากหมอชิตเดินทางถึงผานกเค้าในเช้าวันใหม่ ท้องฟ้าเริ่มสาง ไม่ต้องเป็นกังวลหรือหวาดหวั่น เราจะได้พบเพื่อนร่วมทางมากมาย กลุ่มนักศึกษากลุ่มใหญ่ เจี๊ยวจ๊าวเต็มคันรถ บันทึกถ่ายทำวีดีโอไปตลอดการเดินทาง กระทั่งพนักงานต้อนรับคนงามต้องบอกว่า“…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
วันหยุดยาวปีใหม่ เรียกร้องให้คนส่วนใหญ่ ออกเดินทาง ,ท่องเที่ยว ละเลงความมันส์ออกมาจนหยดสุดท้ายหรือกลับไปอยู่กับครอบครัวอันอบอุ่น ..คำอวยพร ..การ์ดและกล่องของขวัญ ,ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ๆ ต่างใจจดจ่ออยากจะได้รับ .....เราต่างรอคอย ,ความหวัง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..ผมพยายาม ถ่ายภาพ Panorama ,2 เฟรม 3 เฟรม ..ก่อนอื่นตั้งโจทย์ในใจว่าจะเก็บมุมใดบ้าง ,ด้วยการมองวิวนานกว่า 5 นาที ...ภาพวิว ดูแล้วเหมือนกับภาพที่หาได้ทั่วไป ..ซ้ำๆ แต่เหมาะสำหรับฝึกฝนการถ่ายภาพ(อย่างน้อย ใครคนหนึ่ง ว่าเอาไว้อย่างนั้น)การถ่าย panor ต้องเริ่มด้วยการจัดองค์ประกอบภาพ ..ให้ได้ทุกอย่างครบตามที่คิด..คะเนเอาตามประสบการณ์ ว่าจะต้องถ่ายกี่ช็อต ..หามุมให้ลงตัวกับการเหลื่อมซ้อนของภาพ ก่อนนำมาปะติดปะต่อ ..จุดสำคัญต้องได้แสงสีที่กลมกลืนกันพอดีดังนั้น จึงต้องมีพื้นฐานของการตั้งค่าแสง อย่างสมเหตุผล ..กล่าวกันว่า การถ่ายภาพ panor ไม่มีสูตรตายตัว…