Skip to main content

กัลกัตตาเป็นเมืองหลวงสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (มันยิ้มเห็นลิ้น “คิดว่านะ”)

อาคารร้านตลาดหรือ Shopping Center ยังคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมยุโรป ประเมินได้ว่า นับตั้งแต่คานธีปลดปล่อยอินเดีย “มันก็ยังอยู่อย่างนั้น ทรุดโทรมไปตามเวลาอย่างขาดการดูแล”

ยามเช้า “ชั้นตั้งนาฬิกาปลุกออกไปเดินถนนตั้งแต่ 7 โมงเช้า” บนถนนย่านตลาดสด เวลาเหมือนหยุดนิ่ง เงียบสงบ ยามเช้าที่ไหนก็สวยใสอย่างนี้เสมอ ถนนลาดหินเหมือนจัตุรัสกลางในหนังสือวรรณกรรมอังกฤษ

“ถนนลาดหินเหมือนฉากหนังหยองขวัญเรื่อง Jack the Ripper มากกว่าว่ะ”

อืม .. หน้าโรงแรม ริมถนนตรงข้ามข้างคันโยกน้ำสาธารณะ เด็กน้อยคนนึงกำลังอาบน้ำ สีฟัน “ชั้นพยายามโฟกัส” ขณะวัดแสง เด็กน้อยรีบหลบหลังคันโยก (ทั้งที่ไม่มิด) หุบยิ้ม จ้องเขม็ง เดินหนี

ใกล้ๆ กัน มีผู้หญิงในชุดส่าหรีมอมอคนหนึ่งคุ้ยกองขยะ ...

ร้านน้ำชาเป็นสภาของผู้ชายที่จะมานั่งเต๊ะจุ๊ยพูดคุยและอ่านหนังสือพิมพ์ จิบชานมสีน้ำตาลอ่อนๆ ในถ้วยดินเผา ดื่มหมดโยนถ้วยดินเผาลงพื้น กินแล้วโยนลงพื้น กินแล้วก็โยน จนมันบอกว่า เศษถ้วยดินเผาเกลื่อนถนน

อีกฟากหนุ่มรถเข็นขายน้ำมะนาวกำลังผสมน้ำสีตุ่นๆ กับมะนาวสด จนไม่รู้ว่า กินไปแล้วท้องเสียเพราะมะนาวสดหรือน้ำสีตุ่น ลานกว้างหน้า Shopping Center กลายเป็นที่นอนของคนเร่ร่อน ไร้บ้านจำนวนมาก บางคนหรูหรามีเตียงเหล็กสานนอนเบียดกันและกัน ฝ่าเท้าดำปี๋ ขาก่ายเกยกันสองสามคน บางคนคุดคู้ใต้ผ้าห่มบางๆ เกลื่อนกลาดอยู่กลางลาน

เวลาดูเหมือนหยุดนิ่ง ยามเช้าที่ไหนในโลกมักสวยงามอย่างนี้เสมอ “ภาพอย่างนี้มีให้เห็นได้ทั่วไป เหมือนภาพ abstract ที่ไม่อาจบรรยาย” มันว่า

ห่างออกไปอีกบล็อกจะเป็นย่านตลาดสดเพิ่มดีกรีความจอแจที่คุ้นเคย คนขนไก่มัดขาไก่เอาไว้กับแฮนด์รถจักรยานเข็นไปส่งที่ตลาดสด ไก่นับร้อยชีวิตถูกแบ่งเป็น 4 พวง บนแฮนด์สองข้างและท้ายที่นั่งอีกสองข้างห้อยปุเลงๆ ไปบนถนนหินเหมือนกับฉากหนังสยองขวัญ Jack the Ripper

ผู้ชายเดินทูนของบนหัว บิดก้นไปมาขยับขาไวๆ เหมือนกับนักกีฬาเดินทน เดินกันให้ควั่ก เข็มนาฬิกาแห่งวันเริ่มทำงานอีกครั้ง

เมืองแห่งอารยธรรมอันรุ่งโรจน์ ขณะที่ทัชมาฮาล คือ สถาปัตยกรรม อันน่าอัศจรรย์ใจหรือความเป็นเมืองแห่ง IT อย่างบังกาลอว์ อินเดียไม่ใช่ประเทศยากจนหรือประเทศโลกที่สาม เป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้ามประชาชนอินเดีย ยากจน

คนกว่าครึ่งของมหานครกัลกัตตา ไม่เร่ร่อนไร้บ้านก็อยู่ในชุมชนที่เรียกได้ว่า สลัม

“นั่นแหละ คือ อินเดีย”
“เพื่อน (อินเดีย) ชั้นบอกมาว่ะ ส่วนอีกคนถามว่า ท้องเสียหรือของหายหรือเปล่า” เพื่อนผมหัวเราะขื่นๆ

หรือว่า นี่มันเป็นเรื่องปกติในทุกมหานครของโลก (การค้าเสรี) ...

picture
กิจกรรมยามเช้า

picture
เวลาที่หยุดนิ่งของคุณลุงเหมือนกับฉากหลัง คือ อาคารทรงยุโรปจากยุคอาณานิคม

picture
คุณลุงบนรถลาก กำลังรอผู้โดยสาร

picture
ร้านน้ำชาก่อนจะกลายสภาพเป็นสภากาแฟสำหรับผู้ชาย

picture
ไก่!

picture
ลานข้างตลาดขายปลา สีแดงธงรูปค้อนเคียว

picture
เธอกำลังเก็บกระดาษ

picture
กิจวัตรประจำวันริมฟุตบาธ ก่อนจะออกไปทำงาน

picture
คฤหาสน์บนลานหน้า Shopping Center

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…