Skip to main content

08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า


ผลจาก
Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...

ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...

“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด

“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ

ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า
‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...

คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ

นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า
40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...

ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง

คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว

ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี

ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน

ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน

“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
 
 
 
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

 

บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน


มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์


ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ

คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
 
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
 
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
 
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
 
 
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์