Skip to main content

08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า


ผลจาก
Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...

ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...

“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด

“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ

ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า
‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...

คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ

นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า
40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...

ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง

คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว

ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี

ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน

ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน

“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
 
 
 
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

 

บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน


มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์


ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ

คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
 
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
 
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
 
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
 
 
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ละอองน้ำกระจายฟุ้ง แดดอ้าวเป็นไอระยับ จับประกายในสายน้ำเล็กๆ หัวฉีดน้ำพ่นฟูฝอยขึ้นฟ้า หมุนวน 180 องศาเด็กชายจับมือน้องสาว มองละอองน้ำ-ตาเป็นประกาย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...วันหนึ่งของเวลากลางวันในสวนสัตว์เขาดิน ..เอ่อ.. ผมยืนถ่ายมื้อเที่ยงแสนอร่อยมื้อนี้มากกว่าหนึ่งชั่วโมง ..ได้ภาพมาประมาณนี้ครับ ..(แกคงหิวมาก)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไฟป่า ยังคงเป็นปัญหาที่กลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้าต้องจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าแล้ง เช่นนี้...แดดอ้าวผ่าเปรี้ยงลงกลางหัว เหล่าอาสาสมัคร v4n ยืนฟังขั้นตอนการทำงานดับไฟป่าโดยกลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้า ไกลโพ้น เมฆฤดูร้อนลอยอยู่เหนือเทือกเขาที่ได้ชื่อว่า ภูเขาไฟเนินลูกแล้วลูกเล่าถูกแปรสภาพเป็นไร่ เหนือเนินหลายลูก ทะเลหญ้าสลับดงกล้วยป่าแซมเป็นจุดๆ รถบรรทุกน้ำถูกนำมาเตรียมเอาไว้ให้พร้อม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในวงการนักอนุรักษ์ ไม่มีใครที่ไม่รู้จักคุณลุงโชคดี ...!!! ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณะ v4n กำลังเป็นที่รู้จัก ...!!!แววตาอ่อนโยนหลังแว่นกรอบนั้นมองมาที่พวกเราอย่างสงสัย เส้นผมและหนวดเคราเส้นเล็กขาวโพลนเหมือนกับปุยฝ้ายแตกปุยทำให้คุณลุงโชคดีดูอ่อนโยนมากขึ้น ใต้ศาลาเอนกประสงค์กลางลานบ้านของสวนลุงโชค เด็กๆ รุ่นหลังอย่างพวกเรากำลังตามความคิดของคุณลุง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...บ้านข่าร้อนมากกกก...ถึงมากที่สุด!! สายลมฤดูร้อนทำกิ่งไทรกลางลานสั่นไหว แดดจ้าเหนือหัวแต่หนุ่มสาวบ้านข่าไม่หวั่นเกรง พวกเขามารวมตัวกันที่ลานหน้าตลาดใจกลางหมู่บ้าน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หอนาฬิกา หัวหิน, กลุ่มคนเสื้อสีฟ้าในนามกลุ่มพีซ ฟอร์ เบอร์ม่า นำทีมโดยองค์กรแอมเนสตี้ ไทยแลนด์ มากกว่า 10 คน ชูป้ายรณรงค์ให้ประชาคมอาเซียนหันมาดูสถานการณ์การเมืองในพม่าอย่างจริงจัง รวมทั้ง ปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา,แดดฤดูร้อน ร้อนมาก ทันทีที่กลุ่มคนเสื้อฟ้า ปั่นจักรยานมาถึง นักข่าวกลุ่มใหญ่และตำรวจเข้ากลุ้มรุม, ป้ายรณรงค์ถูกโชว์ให้เห็นกันชัดว่า พวกเขามาทำอะไรHey Asean : free all burma
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  ตะวันยามเช้า สะท้อนประกายสีส้มแดงบนผืนทะเลกว้าง ,เสาสำหรับประกอบพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเลมอแกนกลายเป็นอดีตที่ต้องทำความเข้าใจและอนุรักษ์ไว้ ก่อนที่จะหายไปกับกาลเวลา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  หมู่บ้านมอแกน อ่าวบอนใหญ่ แห่งหมู่เกาะสุรินทร์ มองเห็นบ้านเรือนเป็นทิวแถวจากผืนทะเลสีคราม ,ภาพบนถ่ายจากหน้าหมู่บ้าน บนเรือหัวโทง ,ภาพล่างถ่ายจากท้ายหมู่บ้าน บนเส้นทางเดินธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ เป็นหนึ่งในโปรแกรมมอแกนพาเที่ยว โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจติดต่อ 083-703-0925 ,andamanproject1@yahoo.com
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มึดา มักจะมีรอยยิ้มอยู่เสมอ ดวงตากลมโต ใสแหน๋ว อ่อนโยนและเข้มแข็งอย่างไร้เจตนา ผิวขาวอมส้มเรื่อคล้ายผลสตอเบอร์รี่ก่อนที่มันจะสุกกลายเป็นสีแดง นานมาแล้วที่เด็กหญิง คือ เครื่องหมายของคนไร้สัญชาติ,และคงเป็นไปทั้งชีวิตของเธออะไรที่เรียกว่า ไร้สัญชาติ ,คำตอบที่ห้วนและง่ายที่สุด คือ ความหมายของการไม่มีสิทธิในฐานะคนของรัฐ, ที่ควรจะได้รับการคุ้มครอง, อย่างไม่มีเจตนาแอบแฝง บางทีคนมีบัตรประชาชนก็ไม่ได้รับการคุ้มครองเหมือนกัน (HAAAAAA)...