Skip to main content

 

(แปลและเรียบเรียงจากบทความ The Ideas of Karl Marx ของ Alan Woods นักรัฐศาสตร์ชาวสหราชอาณาจักร ผู้สมาทานแนวความคิดแบบ ทร็อทสกี้ สามารถเข้าถึงบทความต้นฉบับผ่าน http://www.marxist.com/karl-marx-130-years.htm )

                                                                                      

                                                                                       ปิยวัฒน์ จิตรเย็น สมาชิกกลุ่มสหายสังคมนิยม แปล/เรียบเรียง

 

                            ความคิดของมาร์กซ์ไม่เคยมีความสำคัญเท่ากับที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบัน ความสำคัญของมันสะท้อนผ่านความกระหายใครรู่ของผู้คนเกี่ยวกับคำอธิบายและทฤษฏีมาร์กซิสต์ ในบทความนี้ Alan Woods ได้อธิบายถึงแนวความคิดหลักๆในงานของมาร์กซ์ และความสำคัญของมันต่อวิกฤติการณ์ในปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่

                            เป็นเวลากว่า 130 ปีมาแล้วที่มาร์กซ์ได้จากโลกใบนี้ไป คำถามสำคัญก็คือว่าทำไมเรายังคงต้องระลึกถึงบุคคลที่ตายไปแล้วเป็นเวลากว่าร้อยปี ทั้งนี้เวลาที่เราพูดถึงความสำคัญของมาร์กซ์ เราไม่ได้กำลังพูดถึงสุสานหรือว่าหลุมฝังศพของมาร์กซ์ แต่ว่าเราพูดถึงความคิดของมาร์กซ์ ความคิดที่ยืนหยัดผ่านบททดสอบของกาลเวลา และดูเหมือนจะปรากฏว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง ซึ่งแม้แต่ปฏิปักษ์ของความคิดแบบมาร์กซิสต์หลายคนเองก็ยังจำต้องยอมรับ ถึงแม้จะไม่เต็มใจมากนักก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ได้แสดงให้เห็นว่าใครคือผู้ที่ล้าสมัยและไม่มีประโยชณ์อีกต่อไปแล้ว แต่ที่แน่นอนก็คือผู้นั้นไม่ใช่มาร์กซ์

                            เป็นเวลาหลายทศวรรษด้วยกันที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายพยายามอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยที่จะพิสูจน์ว่าการคาดการณ์ของมาร์กซ์ในเรื่องของ การล่มสลายทางเศรษฐกิจ นั้นเป็นเรื่องล้าสมัย ความคิดเหล่านั้นควรจะเป็นคำอธิบายของเมื่อศตวรรษที่ 19 และใครก็ตามที่พยายามปกป้องความคิดเหล่านั้นก็จะถูกตราหน้าว่าเป็นพวกซ้ายอกหักและพวกสิ้นหวังที่เชื่อในความคิดของมาร์กซ์อย่างงมงาย (hopeless dogmatists) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นกลับบอกว่า ความคิดของพวกองครักษ์พิทักษ์ทุนนิยมต่างหากที่ควรจะถูกโยนทิ้งลงถังขยะแห่งประวัติศาสตร์ ในขณะที่มาร์กซ์ได้พิสูจน์ตัวเองอย่างหมดจด

                            ไม่นานมานี้ Gordon Brown กล่าวยืนยันอย่างมั่นใจว่าสภาวการณ์ในปัจจุบันคือ “ จุดจบของยุคแห่งความรุ่งโรจน์และตกต่ำ” (the end of boom and bust) แต่หลังจากการอุบัติขึ้นของวิกฤติในปี 2008 เขาก็จำเป็นที่จะต้องกลืนคำพูดของเขากลับลงคอไป วิกฤติของค่าเงินยูโรนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเหล่ากระฎุมพีไม่มีข้อเสนอและไม่มีความสามารถอะไรเลยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน กรีซ สเปน และอิตาลี ซึ่งในอีกมุมหนึ่งนั้นก็ส่งสัญญาณไม่ปลอดภัยถึงอนาคตของค่าเงินซึ่งเป็นค่าเงินแลกเปลี่ยนกลางของสหภาพยุโรปและแม้แต่ตัวสหภาพยุโรปเอง และนี่อาจจะเป็นสิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายทางเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่งก็ได้ ซึ่งในครั้งนี้ไม่แน่ว่า อาจจะหนักหนาและเลวร้ายมากกว่าวิกฤติที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2008                

 

                            ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์กระฎุมพีหลายคนจะถูกบังคับให้ยอมจำนนและยอมรับโดยสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ว่า ทุนนิยมนั้นมีเมล็ดพันธ์แห่งหายยะอาศัยอยู่ภายในตัวของมันเอง และทุนนิยมคือระบอบที่มีลักษณะของสภาวะอนาธิปัตย์และไร้แบบแผนซึ่งแสดงออกผ่านวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่มีงานทำ และส่งผลต่อไปถึงความไม่มั่นคงทางสังคมและการเมือง

                            ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือมันเป็นสิ่งซึ่งไม่สมควรที่จะเกิดขึ้นด้วยประการณ์ทั้งปวง จนเมื่อไม่นานมานี้ที่นักเศรษฐศาสตร์กระฏุมพีส่วนใหญ่ออกมาบอกว่า หากเราทิ้งตลาดเอาไว้เฉยๆโดยที่ไม่เข้าไปแทรกแซงมัน ตลาดก็จะสามารถจัดการทุกปัญหาโดยตัวของมันเองได้ หรือก็คือตลาดสามารถบริหารระหว่างความต้องการและทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างสมดุล (efficient market hypothesis) ดังนั้นมันจึงไม่มีทางที่จะเกิดอะไรอย่างที่เกิดขึ้นในปี 1929 และในช่วง Great Depression ได้อีก

                            คำพยากรณ์ของมาร์กซ์เกี่ยวกับเรื่องของการผลิตที่ล้นเกินได้ถูกกำจัดออกไปจากสารระบบของคำอธิบาย ใครก็ตามที่ยังคงเชื่อมั่นในมุมมองของมาร์กที่ว่าระบบทุนนิยมนั้นมีเมล็ดพันธ์แห่งหายนะและความขัดแย้งอันไม่สามารถแก้ไขได้ (insoluble contradiction ) บรรจุเอาไว้ในตัวของมันเอง ก็จะถูกมองว่าเป็นไอ้พวกคนทึ่ม และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตไม่เพียงพอหรือที่จะแสดงให้เห็นว่าจุดจบของความคิดแบบคอมมิวนิสต์ได้มาถึงแล้ว ? ประวัติศาสตร์ไม่ได้ต้องจบลงด้วยชัยชนะของทุนนิยมในฐานะที่เป็นระบบทางสังคมเศรษฐกิจเดียวที่เป็นไปได้หรือ ?

                            แต่ภายในช่วงระยะเวลาเพียงแค่ 20 ปี ที่ผ่านมา กงล้อแห่งประวัติศาสตร์ก็ได้หมุนไปสู่อีกขั้วแบบ 180 องศา ใน ปัจจุบันนั้น บรรดาผู้ที่เคยวิพากษ์ตัวมาร์กซ์และความคิดแบบมาร์กซ์ได้กลับลำทางความคิดของพวกเขา จู่ๆ ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ของมาร์กซ์ก็ถูกนำกลับมาศึกษากันอย่างกว้างขวางและจริงจังอีกครั้งหนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆง่วนอยู่กับการพลิกหน้าหนังสือในงานเขียนของมาร์กซ์ โดยมีความหวังว่า ภายในหน้ากระดาษเหล่านั้นอาจจะพอมีคำอธิบายต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่บ้าง

หมายเหตุ อ่านบทความตอนที่ 2 ได้ ที่นี่

บล็อกของ Group of Comrades

Group of Comrades
โศกนาฏกรรมปารีส ถอดหน้ากากจักรวรรดินิยม ต่อต้านการรวมตัวนานาชาติ ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของพว
Group of Comrades
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ เขียนถึง “มดลูกก็ปัจจัยการผลิต” ของ แล ดิลกวิทยรัตน์ ที่พยายามเสนอไว้กว่า 40 ปีก่อน และการเรียกร้อง “ค่าแรงสังคม” ที่ไปไกลกว่าการต่อสู้ในชีวิตประจำวันหรือการเรียกร้องให้ผู้หญิงเข้าไปนั่งในสภามากขึ้น น่าจะเป็นสิ่งที่แรงงานหญิงในประเทศนี้ฝันถึง
Group of Comrades
ระบบหลังฟอร์ด (และ multitude) ปรากฎตัวขึ้นในอิตาลี พร้อมกับความขัดแย้งทางสังคมที่รุนแรงซึ่งถูกเรียกว่า “ขบวนการปี 1977” คือการบรรลุตัวเองประจักษ์ชัดแจ้งของข้อเขียนของ Marx เกี่ยวกับ “บางเรื่องเกี่ยวกับเครื่องจักร” multitude โดยตัวมันเองคือวิกฤตของสังคมแรงงาน สำหรับ multitude ในระบบหลังฟอร์ด ทุกๆความแตกต่างในเชิงคุณภาพระหว่างเวลาทำงาน (labour time) กับเวลาที่ไม่ได้ทำงาน (non-labour time) ล้วนแล้วแต่ถูกสลายลงไป ฯลฯ
Group of Comrades
(แปลและเรียบเรียงจากบทความ The Ideas of Karl Marx ของ Alan Woods นักรัฐศาสตร์ชาวสหราชอาณาจักร ผู้สมาทานแนวความคิดแบบ ทร็อทสกี้ สามารถเข้าถึงบทความต้นฉบับผ่าน http://www.marxist.com/karl-marx-130-years.htm )
Group of Comrades
วันเสาร์ ที่ 20 กันยายนเวลา 13.00 น. - 16.00 น.ที่ร้านหนังสือ ดอน กิโฆเต้ บางแสน