คอมมิวนิสต์

บันทึกว่าด้วยขบวนการชาวนาไห่เฟิง - ตอนที่ 3 [ตอนสุดท้าย] (แปล)

"...ผู้กล่าวปาฐกถาอันประกอบด้วยเผิงพ่าย ฮวงเฟิ่งหลินและหยางฉีซานได้แสดงให้เห็นว่าก่อนที่การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นจริงย่อมไม่อาจมีปีใหม่ที่สุขสันต์ เพราะวันตรุษจีนคือช่วงเวลาที่เหล่าผู้กดขี่จะใช้เป็นโอกาสเรียกร้องให้เราชดใช้หนี้ ดังนั้นที่พวกเราได้มารวมกันในวันนี้หาใช่เพราะความสุขไม่ แ

บันทึกว่าด้วยขบวนการชาวนาไห่เฟิง - ตอนที่ 2 (แปล)

"...ข้าพเจ้าสังเกตว่าในวันหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเดินเข้าไปในเมือง คนที่อยู่ในร้านค้าต่างก็มองข้าพเจ้าด้วยสายตาแปลกๆ ต่อมาไม่นานพวกญาติๆ ของข้าพเจ้าก็เริ่มเอาอาหารมาให้ ไถ่ถามอาการว่าที่ข้าพเจ้า "ป่วย" นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ข้าพเจ้าค่อยมาคิดได้ทีหลังว่าทำไมผู้คนจึงปฏิบัติกับข้าพเจ้าเช่นนี้ ครั้งหนึ่งคนรับใช้ในบ้านบอกแก่ข้าพเจ้าว่า "ต่อไปนี้นายท่านควรอยู่แต่ในบ้านแล้วพักผ่อนเสียจะดีกว่า" ข้าพเจ้าถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เขาก็ตอบกลับมาว่า "ผู้คนข้างนอกนั่นต่างก็พูดกันน่ะสิว่านายท่านน่ะบ้าไปแล้ว นายท่านควรจะพักผ่อนแล้วก็ดูแลตัวเองจะดีกว่า" คำตอบของเขาเกือบทำให้ข้าพเจ้าต้องตายเพราะหัวร่อ..."

บันทึกว่าด้วยขบวนการชาวนาไห่เฟิง - ตอนที่ 1 (แปล)

"...ด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งจากบันทึกของเผิงพ่าย (ค.ศ. 1896-1929) เกี่ยวกับความพยายามบุกเบิกจัดตั้งสหภาพชาวนาขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1921-1923 เผิงพ่ายเริ่มมีความสนใจในลัทธิสังคมนิยมของชาวนาขณะที่เขาศึกษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่นช่วงปี ค.ศ. 1918-1921 ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นและเริ่มนำความคิดสู่การปฏิบัติ บันทึกนี้ครอบคลุมเรื่องราวความสำเร็จในช่วงต้น ก่อนที่เผิงผ่ายจะต้องหลบหนีจากตำบลไห่เฟิงเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นตัดสินใจกำจัดสหภาพชาวนา..."
 

The Dark Knight Trilogy : ทุกอย่างเริ่มต้นจากระบบ

          ก่อนอื่นขอแสดงความเสียใจแก่เหตุโศกนาฏกรรมในโรงหนังในรัฐโคโลลาโด้ นี่เป็นอีกครั้งที่สังคมอเมริกาได้รับรู้ว่า ภัยที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่การก่อการร้ายแต่เป็นระบบการซื้อขายปืนที่ง่ายดายอย่างยิ่งราวกับขนมของประเทศตัวเอง ซึ่งในความเห็นของผมแล้ว ควรจะมีการทบทวนกฎหมายนี้ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นเสียที หลายคนถามผมว่ามันเกิดจากอิทธิพลของหนังหรือเปล่า ผมส่ายหน้าว่า หนังไม่มีทางทำให้คนลุกขึ้นยิงใครแบบนั้นแน่นอน 

ซึ่งต้องอยู่ที่การสืบสวนของทางเจ้าหน้าที่ว่าจะออกมาอย่างไร
 

บทวิจารณ์ "พุทธศาสนากับคอมมิวนิสต์" (สุพจน์ ด่านตระกูล)

"คอมมิวนิสต์ทำลายชาติ" ในที่นี้จึงหมายถึงการทำลายชนชั้นและอาณาเขตระหว่างประเทศ   ส่วน "ชาติ" ที่พุทธศาสนาทำลายคือชาติภพ   "ชา-ติ = การเกิดขึ้นของกิเลสตัณหา"   พุทธศาสนาสอนให้ทำลายชาติ เพราะ "เมื่อชาติไม่มีความตายก็ย่อมไม่มี" หรือสภาพนิพพานนั่นเอง

ได้เวลากลับไปอ่าน มาร์กซ์!!!

27 December, 2008 - 21:07 -- iskra

 

"แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง"

 

ทิพรดา ตากดำรงศ์กุล

ท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า สำหรับภาคประชาชนซึ่งต้องการสร้างเงื่อนการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนทั่วไป....ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทางออกดูจะไม่ชัดเจน...คงถึงเวลาที่เราต้องกลับไปอ่านมาร์กซ์...ว่าอะไรคือสาระของการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม

 

1. ชีวิตของกรรมาชีพ

การพัฒนาของระบบทุนนิยม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรมากมาย เครื่องจักรถูกพัฒนากว้างขวางออกไป แต่ทำไมกลับไม่ช่วยชีวิตคนงาน หรือการทำงานให้ดีขึ้นเลย แทนที่กรรมกรสมัยใหม่จะเพื่องฟูตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม กรรมกรกลับมีชีวิตที่แย่ลง เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร  ดูแลเครื่องจักรเหมอนเป็นทาสเครื่องจักร ถึงแม้เครื่องจักร จะทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้มากขึ้น แต่น่าแปลกที่รายได้ที่แท้จริงของกรรมกรกลับเท่าเดิมหรือต่ำลง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ) เช่นเดียวกับปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการสามารถผลิตของได้มากมายมหาศาล แต่รายได้ของผู้ใช้แรงงานยังคงถูกตั้งเพื่อ การมีชีสวิตรอดวันต่อวันเท่านั้น  การเรียกร้องเพื่อสวัสดิการ ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ควรจะเป็นยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา ความเป็นอยู่ของแรงงานก็ยังคงต่ำอยู่ดี

2. การต่อสู้ทางชนชั้น

การต่อสู้ ขัดแย้งในสังคมมีได้หลากหลายแต่ที่ปรากฎเด่นชัด และทรงพลังคือความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพ กับชนชั้นนายทุน ในสังคมเราดูเหมือนว่า การจะเป็นนายทุนสามารถทำได้ง่ายดาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การที่จะดำรงฐานะการเป็นนายทุนอยู่ได้ นับว่าน้อยมาก  และนายทุนก็มีแต่จะขยายฐานะตัวเอง คนรวยก็มีแนวดน้มที่จะรวยขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ชนชั้นอื่นๆที่เคยอมีอยู่ในสังคม เหล่าชนชั้นกลาง เจ้ากิจการรายย่อยต่างๆ ก็มีแนวดน้มจะล้มละลายและกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ในระบบนี้หาได้มีความมั่นคงถาวร ผู้ที่เคยมั่งคั่ง อาจกลับมายากจน ดังนั้นนายทุนจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อรับรองความมั่งคั่งของตน  ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีแต่จะขยายตัวมาขึ้น ชนชั้นนี้จึงน่าสนใจ มีบทบาทและพลังอย่างมาก ความขัดแย้งก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

 

3. ใครหาเลี้ยงใคร?

แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง นายทุนเมื่อประสบปัญหาเศรษฐกิจ  สิ่งที่ทำให้นายทุนอยู่รอดได้มิใช่ใครอื่นนั่นคือผู้ใช้แรงงาน หากขาดแรงงานนาทุนก็อยู่ไม่ได้ เพราะเงื่อนไขการดำรงอยู่ของและควบคุมอำนาจของชนชั้นนายทุน  คือการสร้างมูลค่าส่วนเกินและการสะสมทุน ซึ่งเกิดจากแรงงานรับจ้าง มูลค่าที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพราะอย่างอื่นนอกจาก การใช้แรงงาน ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น

 

4. ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

แท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  ไม่ใช่ความจริงสูงส่งแต่อย่างใดหากแต่เป็นข้ออ้างของ กลุ่มคนที่คิดจะกินแรง คนอื่น เพื่อเข้าไปแบ่งและยึดผลงานของผู้อื่นเท่านั้น นายทุนมักจะอ้างว่า หากยกเลิกระบบกรรมสิทธืส่วนบุคคล แรงจูงใจในการผลิตจะน้อยลง คนทั้งหลายจะเกียจคร้าน  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สังคมทุนนิยมคงล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ทำงานจริงๆใช่ชนชั้นนายทุน คนที่ทำงานหนักที่สุดคือผู้ใช้แรงงาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในสังคม คนที่เกียจคร้านจริงๆ คงเป็นพวกนายทุนมากกว่า   คนที่ทำให้ระบบล่มและมีปัญหา  คือชนชั้นนายทุนเอง ไม่ใช่เพราะกรรมกรขี้เกียจ การแก้ไขคือการยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้หาใช่เรื่องเฉพาะ....ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป การแย่งชิงอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจ การว่างงาน การปลดลูกจ้าง การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆล้วนอยู่ในโครงสร้างของระบบที่เรียกว่าทุนนิยม

 

 

หมายเหตุ: บทวามชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในบทความ "แถลงการณ์ พรรคคอมมิวนิสต์ กับสังคมปัจจุบัน" ของนักเรียน ชั้น11โรงเรียนเพลินพัฒนา ตรวจทาน แก้ไขโดย ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี สมาชิกกลุ่มประกายไฟ

 

Subscribe to คอมมิวนิสต์