Skip to main content

ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง....

 

 

นโปเลียน โบนาปาร์ต

นโปเลียน โบนาปาร์ต (20 เม.ย. 1808 - 9 ม.ค. 1873)

ช่วงเวลาที่ลี้ภัยในอังกฤษ 1808 -1846

เหตุที่ลี้ภัย ราชวงศ์โบนาปาร์ตถูกโค่น

นโปเลียน โบนาปาร์ต ใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัยการเมืองอยู่ในอังกฤษ ตราบกระทั่งปี 1848 จึงเดินทางกลับมาตุภูมิและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิดีคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ชีวิตของหลุยส์ โบนาปาร์ต ต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่เกิดเนื่องจากการเมืองในรุ่นพ่อ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 เมื่อราชวงศ์ถูกโค่นลงจากราชบัลลังก์ ทั้งสมาชิกของราชวงศ์ได้ลี้ภัยไปยังประเทศสหราชอาณาจักรจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 ที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ถูกโค่นราชบัลลังก์ มีการสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และหลุยส์ นโปเลียนตัดสินใจลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐและได้รับชัยชนะ

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากหลุยส์ นโปเลียนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเพียง 4 ปีให้หลังได้พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดวาระประธานาธิบดี ทำรัฐประหาร ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำเผด็จการ รื้อฟื้นระบอบกษัตริย์และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในที่สุด

คาร์ล มาร์กซ์

คาร์ล มาร์กซ์ (5 พ.ค. 1818 - 14 มี.ค. 1883)

ช่วงเวลาที่ลี้ภัย 1849 - 1883

เหตุที่ลี้ภัย ถูกคุกคามจากทางการ

มาร์กซ์ นักทฤษฎีสังคมการเมืองผู้ประกาศว่า ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาล้วนแต่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น' และเป็นผู้สร้างรากฐานของแนวคิดมาร์กซิสม์และสังคมนิยม

เขาต้องลี้ภัยเนื่องจากความคิดทฤษฎีของเขาเอง นำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยของตัวเขา ประเทศแรกที่เขาลี้ภัยไปคือ ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม ตามลำดับ แล้วกลับมาเยอรมันในปี 1849 เมื่อกลับมาสู่มาตุภูมิเขาได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ "New Rhenish Newspaper" ในปีเดียวกันนั้นเขาถูกดำเนินคดีถึง 2 ครั้งเนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานปลุกปั่นให้ก่อกบฏ แม้ว่าผลการพิจารณาคดีทั้งสองครั้งนั้น เขาจะไม่มีความผิดก็ตาม อย่างไรก็ดีหนังสือพิมพ์ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นก็ถูกปิด และเขาต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ก็ต้องเผชิญกับการคุกคาม กระทั่งตัดสินใจหลบหนีเข้าอังกฤษ

มาร์กซ์ลี้ภัยไปอังกฤษในเดือน พฤษภาคม ปี 1849 และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1883 ในระหว่างนั้นมาร์กซ์ยังคงผลิตงานความคิดอย่างต่อเนื่อง

ซุนยัดเซ็น

ซุนยัดเซ็น (12 พฤศจิกายน 1866 - 12 มีนาคม 1925)

ช่วงเวลา 1896 - 1897

สาเหตุที่ลี้ภัย ถูกทางการของราชวงศ์ชิงไล่ล่าด้วยค่าหัว 1000 หยวน เนื่องจากเป็นผู้นำก่อการปฏิวัติที่กวางโจว

ซุน ยัดเซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง และประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน เป็นแกนนำคนสำคัญในการโค่นล้มราชวงศ์ชิง ก่อนการปฏิวัติใหญ่โค่นราชวงศ์ชิงในจีนจะเริ่มขึ้นนั้น ซุนยัดเซ็นในฐานะแกนนำซึ่งถูกทางการหมายหัวหลังจากประสบความล้มเหลวในการปฏิวัติที่กวางโจว ทางการตั้งค่าหัวของเขาไว้ที่ 1000 หยวน

ด้วยพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดีที่ได้รับการศึกษาจากฮาวายและฮ่องกงซุนยัดเซ็นลี้ภัยอยู่ในแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น โดยอาศัยช่วงเวลาที่ลี้ภัยไปตามประเทศต่างๆ ระดมผู้สนับสนุนแนวทางการปฏิวัติไปพร้อมๆ กัน

ซุนยัดเซ็นลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศในระหว่างปี 1895 -เหตุการณ์อันลือลั่นเรื่องการลักพาตัวเขาเกิดขึ้นขณะที่เขาลี้ภัยอยู่ในประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1896 เขาถูกลักพามากักตัวไว้ที่สถานกงสุลรัฐบาลราชวงศ์ชิงในกรุงลอนดอน

ดร.ซุน ถูกกักตัวอยู่เป็นเวลา 12 วัน และในท้ายที่สุดข่าวการลักพาตัวผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจีนที่เกิดขึ้นในกรุงลอนดอนก็ล่วงรู้ถึงหูนักหนังสือพิมพ์ กลายเป็นข่าวใหญ่ กดดันให้รัฐบาลจีนขณะนั้นต้องยอมปล่อยตัวเขาออกมา

หลังจากนั้น ซุนยัดเซ็นยังคงพำนักที่อังกฤษเป็นเวลาอีกปีกว่า โดยศึกษาทฤษฎีการเมืองไปด้วย และเดินทางกลับไปสู่ขบวนการปฏิวัติอีกครั้งในปี 1897 โดยอาศัยญี่ปุ่นเป็นที่พำนักและเป็นฐานก่อการปฏิวัติซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก่อให้เกิดการปฏิวัติและลุกฮือจากชนชั้นชาวนา และชนชั้นล่าง การประท้วงการขูดรีดภาษีในมณฑลต่างๆ และการปฏิวัติซินไฮ่โดยชนชั้นนายทุนในเดือน ต.ค. 1911 จนกระทั่งวันที่ 12 ก.พ. 1912 จักรพรรดิปูยีก็ประกาศสละราชสมบัติพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของรัฐบาลราชวงศ์ชิง ที่ดำเนินมากว่า 260 ปี ซุนยัดเซ็นเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของจีน ในวันปีใหม่ ปี 1912

ซิกมันด์ ฟรอยด์

ซิกมันด์ ฟรอยด์ 6 พ.ค. 1856 - 23 ก.ย.1939

ปีที่ลี้ภัย 1938 - 1939

สาเหตุที่ลี้ภัย ถูกคุกคามจากพรรคนาซี

ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดในสาธารณรัฐเช็ค และย้ายมาศึกษาและทำงานเป็นจิตแพทย์ที่ออสเตรีย เขาใหกำเนิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์อันโด่งดัง เขาลี้ภัยไปลอนดอนในปี 1938 เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่นาซีเข้ายึดครองประเทศออสเตรีย ฟรอยด์เสียชีวิตที่ลอนดอนด้วยโรคมะเร็งในลำคอ ในปี 1939

เวโลโซ

Caetano Veloso (7 ส.ค. 1942 - ปัจจุบัน)

ช่วงเวลา1969 - 1972

เหตุที่ลี้ภัย ถูกคุกคามจากทางการ

เวโลโซ เป็นนักดนตรี นักเขียน นักแต่งเพลง และเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย เขาเกิดและเติบโตในบราซิล บทเพลงของเขาถูกทางการบราซิลมองว่ามีเป้าหมายทางการเมือง เขาถูกจับกุม 2 ครั้งและลี้ภัยไปอังกฤษในปี 1969 ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่บราซิลอีกครั้งในปี 1972

 

ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (9 มีนาคม พ.ศ. 2458 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542)

เหตุที่ลี้ภัย ถูกไล่ล่าจากฝ่ายขวา เนื่องจากเหตุการณ์ในวันที่ 6 ต.ค. 2519

 ในวันที่ 6 ต.ค. 2519 ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การล้อมปราบนักศึกษาเกิดขึ้นในเช้าวันนั้น

ภายหลังจากที่กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้รวมตัวกันต่อต้านการเดินทางเข้าประเทศของจอมถนอม กิตติขจร เป็นเวลาหลายวันก่อนหน้า และการเคลื่อนไหวของนักศึกษาถูกหนังสือพิมพ์รายงานว่ามีการกระทำที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพขององค์รัชทายาท

ดร. ป๋วย ถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายซ้ายและอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ขณะเดียวกันก็ถูกนักศึกษาโจมตีว่าเป็นฝ่ายขวาเนื่องจากพยายามพูดจายับยั้งการเคลื่อนไหวของนักศึกษา

 เวลา 20.00 น. ของวันเดียวกัน ดร. ป๋วย เดินทางออกจากประเทศไทย มุ่งหน้าสู่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

กรณีของดร.ป๋วยนั้นเป็นการลี้ภัยออกนอกประเทศอย่างไม่เป็นทางการ เพราะการอยู่ต่อในประเทศไทยอาจไม่ปลอดภัย โดยสถานการณ์นี้ดำรงอยู่เป็นระยะสั้นๆ  (ประมาณหนึ่งปี) หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่ดร.ป๋วยไม่เคยขอหรือได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัยจากประเทศใด และไม่เคยหนีคดีหรือเป็นผู้ต้องหาในประเทศไทย ทั้งนี้ ดร.ป๋วยได้กลับมาเมืองไทยหลายครั้งหลังจากนั้น แต่สาเหตุที่ต้องพำนักอยู่ที่ประเทศอังกฤษจนตายเป็นเพราะอาการป่วยที่ต้องรับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากครอบครัว

 

เบนาซีร์ บุตโต

เบนาซีร์ บุตโต 21 มิ.ย. 1953 - 27 ธ.ค. 2007

ช่วงเวลาที่ลี้ภัย 1984

เหตุที่ลี้ภัย ความขัดแย้งทางการเมืองในปากีสถาน

เบนาซี บุตโต ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของปากีสถานซึ่งถูกลอบสังหารไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมปีที่แล้ว เธอต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ 2 ช่วง ทั้งนี้ในระหว่างที่อยู่ในประเทศปากีสถานก็ต้องเผชิญกับการถูกกักบริเวณและถูก ขังเดี่ยว' อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่พ่อของเธอถูกโค่นอำนาจลงโดยนายพลเซียร์ อุล ฮัก ผู้ที่ต่อมากลายเป็นเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศปากีสถานอยู่เป็นเวลาถึง 10 ปี (1978-1988)

เมื่อซุลฟิการ์ อาลี บุตโต พ่อของเบนาซีร์ ถูกทำรัฐประหารในปี 1978 เบนาซีร์ ซึ่งเป็นทายาททางการเมืองก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เริ่มจากถูกกักบริเวณ และจากนั้นก็ถูกขังเดียวในคุกกลางทะเลทราย เบนาซีร์ลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษในปี 1984 โดยให้เหตุผลต่อทางการว่าเธอต้องเข้ารับผ่าตัดรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ

ปี 1988 เบนาซีร์กลับเข้าสู่สนามการเมืองปากีสถานโดยได้คะแนนเสียงท่วมท้นจกาประชาชน ส่งผลให้เธอก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวัยเพียง 35 ปี แต่หลังจากนั้นเพียง 2 ปี เธอก็ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น ถูกสั่งถอดถอนแต่กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยสองในปี 1993 ปี 1999 เบนาซีร์ บุตโตและอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี สามี ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 5 ปีและปรับเงินจำนวน 8 ล้าน 6 แสนเหรียญสหรัฐ ด้วยข้อหารับเงินจากบริษัทสัญชาติสวิสเพื่อติดสินบนในการหลบเลี่ยงภาษี ศาลสูงกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเวลาต่อมา และตัวเธอเองยืนยันว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ถูกสร้างขึ้นโดยฝ่ายตรงข้าม

ก่อนที่บุตโต จะเดินทางกลับสู่ปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ประธานาธิบดีได้ลงนามนิรโทษกรรมบรรดานักการเมือง เพื่อเปิดทางให้กับการเจรจาจัดสรรอำนาจกับนางบุตโต

เบนาซีร์ลี้ภัยการเมืองอยู่ในดูไบตั้งแต่ปี 1998 และเดินทางกลับสู่ปากีสถานเพื่อรณรงค์หาเสียงเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2007 เพื่อลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2008 โดยหวังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3 แต่ที่สุดก็ถูกลอบสังหารในวันที่ 27 ธ.ค. 2007

กาหลิบที่ 4

มีร์ซา ตาฮีร์ อาหมัด (18ธ.ค.1928-19 เม.ย. 2003 )

มีร์ซา ตาฮีร์ อาหมัด กาหลิบที่ 4 เป็นผู้นำของมุสลิมอามาดียะห์ เกิด เติบโต และได้รับการศึกษาในกรุงละฮอร์ ปากีสถาน มีซาร์ ตาฮีร์ อาหมัด ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์อามาดียะห์ ซึ่งถ่ายทอดผ่านดาวเทียม เพื่อนำเสนอข่าวสารข้อมูลของมุสลิมอามาดียะห์ซึ่งผู้ศรัทธาในความเชื่อตามแนวทางของอามาดียะห์นั้นมีอยู่แพร่หลายแต่ก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงในหลายประเทศ โดยปัจจุบันนี้ มีเพียงประเทศอินเดียเท่านั้นที่ยอมรับอย่าเงป็นทางการว่า อามาดียะห์ คือมุสลิม ขณะที่ในประเทศอินโดนีเซียกลับถูกปฏิเสธและต่อต้านด้วยความรุนแรง

มีร์ซา ตาฮีร์ อาหมัด ลี้ภัยอยู่ในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี 1984 และสียชีวิตที่นั่นในปี 2003

นาวาซ ชารีฟ

นาวาซ ชารีฟ (25 ธ.ค. 1949 - ปัจจุบัน)

ช่วงเวลาที่ลี้ภัย 2007

เหตุที่ลี้ภัย ความขัดแย้งทางการเมืองกับกลุ่มทหาร

นาวาซ ชารีฟ เป็นนักการเมืองของพรรคมุสลิมแห่งปากีสถาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของปากีสถาน 2 สมัย สมัยแรก 1 พ.ย. 1990 - 18 เม.ย. 1993, สมัยที่สอง 17 ก.พ. 1997 - 12 ต.ค. 1999 และผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพรรคมุสลิมแห่งปากีสถานซึ่งมีนาวาซเป็นผู้นำ กับพรรคประชาธิปไตยประชาชนแห่งปากีสถานซึ่งมีสามีของนางเบนาซีเป็นผู้นำพรรคชั่วคราว ได้คะแนน 2 ใน 3 ของที่นั่งในสภา และร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาล พร้อมทั้งร่วมกันยื่นญัตติถอดถอนประธานาธิบดีเปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ออกจากตำแหน่ง และสอบสวนพิจารณาความผิด การเมืองในปากีสถานยังคงร้อนระอุอย่างไม่มีวีแววว่าจะหาข้อยุติได้ในเร็ววัน

การพ้นจากตำแหน่งของนาวาซทั้งสองสมัย เกิดขึ้นเพราะถูกถอนถอนและถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานคอร์รัปชั่น เช่นเดียวกันกับที่นางเบนาซีร์ บุตโตต้องเผชิญ

นาวาซ ชารีฟ ลี้ภัยออกนอกประเทศตั้งแต่ปี 1999 ถึงปี 2007 อังกฤษ เป็นประเทศสุดท้ายที่เขาพำนักและประกาศเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2007 ที่กรุงลอนดอนว่าจะกลับมาสู้เกมการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยโดยไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพลของผู้นำทหาร

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน)

ปีที่ลี้ภัย???

เหตุผลที่ลี้ภัย ????

เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย (ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549) เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นนักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น และปัจจุบันเป็นประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะกำลังร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่ นครนิวยอร์ก

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ด้วยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG603 ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 9.40 น. ก่อนที่จะเดินทางไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อมอบตัวในคดีทุจริตที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก และเดินทางไปสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อมอบตัวในคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซีแอสเซทในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น

อย่างไรก็ตาม ภายหลังชมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ทักษิณและภรรยาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้อ่านแถลงการณ์ข้ามประเทศเมื่อวันที่11 ส.ค. โดยใจความระบุว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย

สถานะของพ.ต.ท. ทักษิณ และภรรยาขณะนี้เป็นผู้ต้องหาที่ศาลออกหมายจับเนื่องจากหลบหนีการพิจารณาคดี สถานะของทักษิณและภรรยาขณะนี้คือ ผู้หลบหนีคดี ไม่ใช่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง

ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีและภรรยาจะขอลี้ภัยทางการเมืองสำเร็จหรือไม่นั้น ต้องติดตามกันต่อไป

 

หมายเหตุ

ประชาไทขออภัยที่นำเสนอข้อมูลผิดพลาด และได้แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แล้ว เนื่องจากได้รับการท้วงติงจาก จอน อึ๊งภากรณ์ว่า ดร.ป๋วยไม่เคยทำเรื่องขอลี้ภัยทางการเมือง (แก้ไขล่าสุดเมื่อเวลา 15.32 น.)

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…