Skip to main content
 

วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods System

G20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."

นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา คริสตินา เฟอร์นันเดซ กล่าวว่า วิกฤตการณ์เงินของโลกต้องการมาตรการที่เข้มแข็งทั้งในด้านตลาดการเงินและมาตรการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุน และระบบแบรตตัน วูดส์ แบบใหม่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น

วันที่ 13 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ กล่าวว่า ผู้นำของโลกจำเป็นต้องพบปะกันเพื่อลงความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจใหม่ "เราต้องมีระบบแบรตตัน วูดส์ ใหม่ สร้างสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศขึ้นใหม่ในปีข้างหน้า เช่นกันกับคำกล่าวจากปากของนายจูลิโอ เตรมอนตี รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งสนับสนุนให้การประชุมผู้นำ G7 เป็นวาระผลักดัน "New Bretton Woods." พ่วงไปกับการวิพากษ์ว่าสหรัฐต้องรับผิดชอบต่อวิกฤตการเงินของโลกในปี 2008

ระบบ Bretton Woods (ตั้งชื่อตามชื่อเมืองเมืองแบรตตัน วูดส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้นำของโลกขณะนั้นได้หารือร่วมกันและเห็นชอบต่อระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราด้วยอัตราคงที่) ที่ผู้นำทั้งหลายกล่าวถึงนั้น เป็นระบบกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ซึ่งมีเงินดอลล่าร์เป็นฐาน อิงกับทองคำคือ 35 ดอลล่าร์ ต่อทองคำ 1 ออนซ์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1946 ถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970 ทว่าระบบดังกล่าวก็แก้ปัญหาภาวะไม่มั่นคงของเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เท่านั้น เพราะหลังจากนั้น เมื่อเกิดภาวะธนบัตรดอลล่าร์ล้นตลาด สหรัฐต้องประกาศเลิกอิงการแลกเปลี่ยนเงินตรากับทองคำในปี 1971 นำมาสู่ระบบค่าเงินลอยตัว ซึ่งตลาดเงินตราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างเสรีในปัจจุบัน

การประชุมสุดยอดผู้นำโลกครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่รวบรวมบรรดาผู้นำจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งผู้นำในกลุ่มประเทศ G7 กลุ่ม G 20 และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญ อาทิ จีน บราซิล ซาอุดิอาระเบีย และอินเดีย นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การสหประชาชาติ (UN) และกลุ่มการประชุมเสถียรภาพทางการเงิน (FSF)

กลุ่มประเทศ G20 นั้น เป็นการประชุมของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว 7 ประเทศ (G7) และประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองโลกอีก 12 ประเทศ รวมกับประธานสหภาพยุโรป 1 ตำแหน่ง

ประเทศสมาชิกทั้งหมดมีประชากรราว 2 ใน 3 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)  รวมกันแล้วประมาณ 80เปอร์เซ็นต์ของโลก

ทั้งนี้ ประเทศที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 20 สุดยอดผู้นำโลกได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิ อาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอมริกา และสหภาพยุโรป

วิเคราะห์จากนักวิเคราะห์

แม้ว่าจะถูกจับตามองถึงมาตรการเพื่อรับมือกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจของสหรัฐและสหภาพยุโรปซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงประเมินว่า ที่ประชุมสุดยอดผู้นำโลกจะยังคงไม่มีมาตรการอะไรใหม่ๆ ออกมา ขณะที่บรรยากาศในตลาดหุ้นนั้นก็ผูกความคาดหวังไว้กับผลการประชุมครั้งนี้

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ขณะนี้ ธนาคารโลก (World Bank) ได้เตรียมทำเอกสารวิเคราะห์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกสำหรับการประชุม G20 โดยที่ในเอกสารดังกล่าวนี้ ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ของโลกในปี 2552 เหลือเพียง 1% โดยปรับลดประมาณการ GDP ของประเทศกำลังพัฒนาเหลือ 4.5% ประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) หดตัวลง 0.2% จากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ขยายตัวเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ในเอกสารฉบับดังกล่าว ธนาคารโลกได้เรียกร้องให้ผู้นำโลกมองข้างเสถียรภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและให้ความสำคัญสภาพคล่องทางการเงิน สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

นักลงทุนได้จับตามองว่า ประธานาธิบดีของสหรัฐจะกล่าวอะไรในการประชุมดังกล่าว ซึ่งนั่นหมายถึงทิศทางต่อไปของระบบการเงินและเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศผู้นำ ทั้งนี้สื่อมวลชนได้รายงานคำสัมภาษณ์นายแดน ไพรซ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช คาดว่า การประชุม G20 ที่ กรุงวอชิงตัน วันเสาร์นี้ ที่ประชุมจะเห็นชอบให้ใช้มาตรการเฉพาะในการรับมือกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน และยับยั้งการถดถอยของเศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งคาดถึงแนวโน้มว่าที่ประชุม G20 จะมีการหารือกันเพื่อเรียกร้องให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จัดอันดับเครดิตให้มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยอาศัยข้อมูลตามความเป็นจริง หลังจากที่ บริษัท สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) , มูดีส์ อินเวสเตอร์สเซอร์วิส และ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ถูกวุฒิสภาสหรัฐฯ โจมตีว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน และปิดบังสถานะที่แท้จริงของบริษัทปล่อยกู้จำนองจนเป็นเหตุให้กิดภาวะผันผวนในตลาด อีกทั้งไม่ได้ส่งสัญญาณเตือนนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของตราสารหนี้ ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS)

ด้านญี่ปุ่น ก็มีข่าวออกมาแล้วว่า  นายทาโร อาโสะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะประกาศแผนการอัดฉีดเงินทุนมูลค่า 10 ล้านล้านเยน หรือ 1.05 แสนล้านดอลลาร์ ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อใช้ในการปล่อยกู้ฉุกเฉินในกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

บทบาทของประเทศที่ไม่ถูกนับรวม

จริงๆ แล้วในการประชุมของผู้นำโลก ไม่เพียงแต่จะต้องถูกจับตามองจากประเทศที่ไม่ถูกนับรวม แต่ยังคงรวมถึง ประชากร ที่ไม่ถูกนับรวมด้วย เนื่องจากแนวทางของกลุ่มผู้นำ G20 นั้นชัดเจนว่า ดำเนินไปตามแนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจอย่างสุดโต่ง และนั่นย่อมส่งผลถึงนโยบายในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งส่งผลทั้งต่อประชาชนในประเทศกลุ่ม G20 เองและในประเทศที่เหลือ

การประกาศยืนหยัดเพื่อชาวนาชาวไร่ในซีกโลกใต้ ประจันหน้ากับธุรกิจการเกษตรแห่งซีกโลกเหนือ [1] เกิดจากการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคประชาชนในกลุ่มประเทศ G20 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548 ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวคู่ขนานไปกับการประชุมของผู้นำ เป็นอีกตัวอย่างที่ดีว่า แม้ความพยายามของผู้นำโลกในการประชุมกำหนดวาระทางเศรษฐกิจของโลก ก็อาจไม่สามารถครอบคลุมไปถึงผลกระทบจากระบบเศรษฐกิจเสรี ซึ่งเกิดกับประชากรในประเทศของตัวเองเช่นกัน

ทั้งนี้ สิ่งที่พึงสังเกตได้ประการหนึ่งคือ การนับรวมประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้เป็นไปอย่างเคร่งครัด [2] ตามการจัดอันดับของไอเอ็มเอฟหรือธนาคารโลกนัก เพราะบางประเทศที่มีจีดีพีสูงอย่างไต้หวัน กลับไม่ถูกนับรวม ซึ่งนี่อาจจะเป็นข้อสังเกตถึงบทบาทของจีนแผนดินใหญ่ที่กำลังผงาดขึ้นมามีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลกอยู่ขณะนี้ ซาอุดิ อาระเบีย อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 21-25 ถูกนับรวมอยู่ในกลุ่ม G20 ขณะที่ประเทศไทยที่มีอันดับทางเศรษฐกิจสูงกว่าแอฟริกากลับถูกข้ามไป ดังนั้นไทยในฐานะที่ยังไม่ถูกจัดเข้าพวก รวมถึงถูกกระโดดข้ามไปด้วยนั้น ก็คงต้องติดตามการประชุมดังกล่าวในฐานะประเทศที่จะต้องปรับตัวตามวาระของผู้นำโลกต่อไป

อ้างอิง:

1. ข้อเรียกร้องถึงกลุ่ม G20: ปฏิเสธกระบวนทัศน์ข้อตกลงเสรีเรื่องการเกษตร (AoA)http://www.focusweb.org/thailand/html/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=117&mode=thread&order=0&thold=0

2. List of countries by GDP (PPP), http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(PPP)

อ่านเพิ่มเติม

G20 major economies, http://en.wikipedia.org/wiki/G20_(Group_of_economies)

Bretton Woods II, http://en.wikipedia.org/wiki/Bretton_Woods_II

Bretton Woods system, http://en.wikipedia.org/wiki/Bretton_Woods_system

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา…
หัวไม้ story
“ผมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นฝีมือของพวกฉวยโอกาส หากพันธมิตรฯจะทำก็ต้องเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี เพราะสามารถสร้างความเสียหายมากกว่า ได้ผลมากกว่า และสะใจมากกว่า ไม่อย่างนั้นจะเก็บไว้อย่างดีทำไม” สุริยะใส กตะศิลา, 5 ธ.ค. 2551  ทีมข่าวการเมือง   ภาพในตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาลหลังการชุมนุมยุติที่มาของภาพ: คุณ Me.....O กระดานข่าวพันทิพ ห้องราชดำเนินhttp://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7288033/P7288033.html  
หัวไม้ story
"ถ้างวดนี้ มีการใช้ความรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง พี่น้องครับ พี่น้อง พ่อแม่พี่น้องทั่วประเทศไทย ต้องลุกฮือขึ้นมาแล้วให้เลือดนองแผ่นดิน"  ... "ผมจะบอกให้พวกสัตว์นรกรู้ ว่างวดนี้ถ้าประชาชนเขามา เขามาพร้อม ‘ของ' กันหมด" - สนธิ ลิ้มทองกุล 20 พ.ย. 2551 ทีมข่าวการเมืองประชาไท สนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการอารักขาโดย ‘นักรบศรีวิชัย’ เมื่อ 26 ส.ค. 51 ที่มาของภาพ adaptorplug (CC)  
หัวไม้ story
  วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods SystemG20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้
หัวไม้ story
โอบามากับสงครามสีผิวที่กำลังจะเปิดฉาก? ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่งจบลงไปด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของบารัก โอบามา ผู้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นคนผิวสี คนแรกที่เดินเข้าสู่ทำเนียบขาวในฐานะประธานาธิบดี โอบามา เป็นลูกผสมระหว่างแม่ซึ่งเป็นคนผิวขาว กับพ่อเชื้อสายแอฟริกัน ซึ่งไม่ได้ย่างเท้าลงบนแผ่นดินอเมริกาในฐานะทาส แต่เป็นนักศึกษา แม้จะไม่ใช่คนผิวดำ หรือลูกหลานแอฟริกันขนานแท้ ที่เติบโตขึ้นจากครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นทาส แต่บารัก โอบามา ก็ถูกจำจดในฐานะเป็นตัวแทนของคนผิวสีที่ได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี แม้จะไม่ได้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกับคนแอฟริกัน-อเมริกัน…
หัวไม้ story
แม้ว่าคนจนในประเทศไทย จะเลือกตาย ด้วยหวังให้การตายส่งเสียงได้มากกว่ายามที่พวกมีชีวิตอยู่ ทว่า ไม่ช้าไม่นาน ความทรงจำของสังคมก็เลือนรางลงไป แต่คนจนอย่างนวมทอง ไพรวัลย์ เลือกวิธีตาย และเลือกใช้การตายของเขาส่งเสียงดังและอยู่ยาวนาน อย่างน้อยก็ใน 2 ปีต่อมา เขายังไม่ถูกลืมเลือน
หัวไม้ story
ประชาไทขอนำเสนอคลิปวิดิโอ 'หลังทักษิณ' มุมมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากคนใกล้ตัวที่บ้านเกิด อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และบทวิเคราะห์การเมืองไทยหลังทักษิณ โดย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ นักวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
หัวไม้ story
  ทีมข่าวภาคใต้มายาภาพของการต่อสู้ทางการเมืองไทยในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถูกกล่าวว่าอ้างว่าเป็นสงครมมระหว่างภูมิภาค คือ ภาคใต้ กับภาคเหนือและภาคอิสาน แต่หากมองลึกลงไปในกระบวนการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคพลังประชาชน อาจพบว่าแท้จริงแล้วการพื้นที่ทางการเมืองระดับนำก็ยังคงเป็นของคนใต้อยู่เช่นเดิม
หัวไม้ story
จับตาการเดินทัพของพันธมิตรฯ จากคำปราศรัยของแกนนำชื่อ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ หลังประกาศทบทวนแนวทางสันติวิธี ระบุแกนนำทั้งหลายไม่กลัวตาย “แต่ถ้าพวกเราบางคนจะต้องตาย พี่น้องสัญญาอย่าง ต้องให้แผ่นดินนี้ ลุกขึ้นเป็นไฟให้ได้”
หัวไม้ story
  เมื่อพูดกันถึงเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แคล้วตามมาด้วย การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง นับเป็นสิ่งที่สังคมไทยถนัดในการแก้ปัญหาการเมืองโดยการเขียนอะไรบางอย่างขึ้นมาบังคับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งแม้แต่นักกฎหมายมหาชนเองก็ยังแซวผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองได้ว่า ประเทศไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญที่สุดในโลกนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 กล่าวในรายการตอบโจทย์  ทางสถานีไทย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่าที่สุดแล้ววิกฤตของการเมืองไทยวันนี้มันก็เริ่มมาจากการแก้รัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอนั่นเองย้อนเหตุการณ์ให้ฟังอีกครั้งว่า…
หัวไม้ story
  พิณผกา งามสม   ในระหว่างที่การต่อสู้ทางการเมืองไทยยังคงถกเถียงกันเรื่องโมเดลการเมืองใหม่ การเมืองใหม่กว่า รวมถึงระบบโควตาและระดับความชอบธรรมของ ‘เสียง' การเมืองเพื่อนบ้านของไทยก็กำลังเข้มข้นอยู่บนหนทางเดิมๆ ตามระบอบรัฐสภาเมื่อนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียประกาศว่าจะเขย่ารัฐบาลมาเลย์ให้ล่มเพื่อเปิดโอกาสในการจัดสรรที่นั่งในสภากันใหม่ โดยยึดเอาวันที่ 16 กันยายนเป็นวันดีเดย์ แรกทีเดียว หลายฝ่ายอาจคิดว่าเป็นเพียงการสร้างสีสันให้การรณรงค์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านอย่างที่เคยทำมาอย่าแข็งขัน เพราะต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า…
หัวไม้ story
  วิทยากร  บุญเรืองขณะที่ Frank Lampard ดาวเตะแข้งทองของทีม Chelsea พึ่งบรรลุข้อตกลงสัญญา 5 ปีที่มีมูลค่าสูงถึง 39.2 ล้านปอนด์ โดย Lampard จะได้รับค่า 151,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 3,775 ปอนด์ต่อชั่วโมง! แต่จากการสำรวจของ The Fair Pay Network และ Institute of Public Policy Research (IPPR) พบว่าพนักงานทำความสะอาด พ่อครัวแม่ครัว และแรงงานตัวเล็กๆ ทั้งหลาย ของสโมสรอย่าง Chelsea, Spurs, Arsenal, West Ham และ Fulham กลับได้รับค่าเหนื่อยจากสัญญาจ้างค่าแรงขั้นต่ำแค่ 5.52 ปอนด์ต่อชั่วโมงเท่านั้น