Skip to main content
 

วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods System

G20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."

นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา คริสตินา เฟอร์นันเดซ กล่าวว่า วิกฤตการณ์เงินของโลกต้องการมาตรการที่เข้มแข็งทั้งในด้านตลาดการเงินและมาตรการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุน และระบบแบรตตัน วูดส์ แบบใหม่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น

วันที่ 13 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ กล่าวว่า ผู้นำของโลกจำเป็นต้องพบปะกันเพื่อลงความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจใหม่ "เราต้องมีระบบแบรตตัน วูดส์ ใหม่ สร้างสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศขึ้นใหม่ในปีข้างหน้า เช่นกันกับคำกล่าวจากปากของนายจูลิโอ เตรมอนตี รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งสนับสนุนให้การประชุมผู้นำ G7 เป็นวาระผลักดัน "New Bretton Woods." พ่วงไปกับการวิพากษ์ว่าสหรัฐต้องรับผิดชอบต่อวิกฤตการเงินของโลกในปี 2008

ระบบ Bretton Woods (ตั้งชื่อตามชื่อเมืองเมืองแบรตตัน วูดส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้นำของโลกขณะนั้นได้หารือร่วมกันและเห็นชอบต่อระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราด้วยอัตราคงที่) ที่ผู้นำทั้งหลายกล่าวถึงนั้น เป็นระบบกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ซึ่งมีเงินดอลล่าร์เป็นฐาน อิงกับทองคำคือ 35 ดอลล่าร์ ต่อทองคำ 1 ออนซ์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1946 ถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970 ทว่าระบบดังกล่าวก็แก้ปัญหาภาวะไม่มั่นคงของเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เท่านั้น เพราะหลังจากนั้น เมื่อเกิดภาวะธนบัตรดอลล่าร์ล้นตลาด สหรัฐต้องประกาศเลิกอิงการแลกเปลี่ยนเงินตรากับทองคำในปี 1971 นำมาสู่ระบบค่าเงินลอยตัว ซึ่งตลาดเงินตราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างเสรีในปัจจุบัน

การประชุมสุดยอดผู้นำโลกครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่รวบรวมบรรดาผู้นำจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งผู้นำในกลุ่มประเทศ G7 กลุ่ม G 20 และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญ อาทิ จีน บราซิล ซาอุดิอาระเบีย และอินเดีย นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การสหประชาชาติ (UN) และกลุ่มการประชุมเสถียรภาพทางการเงิน (FSF)

กลุ่มประเทศ G20 นั้น เป็นการประชุมของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว 7 ประเทศ (G7) และประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองโลกอีก 12 ประเทศ รวมกับประธานสหภาพยุโรป 1 ตำแหน่ง

ประเทศสมาชิกทั้งหมดมีประชากรราว 2 ใน 3 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)  รวมกันแล้วประมาณ 80เปอร์เซ็นต์ของโลก

ทั้งนี้ ประเทศที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 20 สุดยอดผู้นำโลกได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิ อาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอมริกา และสหภาพยุโรป

วิเคราะห์จากนักวิเคราะห์

แม้ว่าจะถูกจับตามองถึงมาตรการเพื่อรับมือกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจของสหรัฐและสหภาพยุโรปซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงประเมินว่า ที่ประชุมสุดยอดผู้นำโลกจะยังคงไม่มีมาตรการอะไรใหม่ๆ ออกมา ขณะที่บรรยากาศในตลาดหุ้นนั้นก็ผูกความคาดหวังไว้กับผลการประชุมครั้งนี้

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ขณะนี้ ธนาคารโลก (World Bank) ได้เตรียมทำเอกสารวิเคราะห์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกสำหรับการประชุม G20 โดยที่ในเอกสารดังกล่าวนี้ ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ของโลกในปี 2552 เหลือเพียง 1% โดยปรับลดประมาณการ GDP ของประเทศกำลังพัฒนาเหลือ 4.5% ประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) หดตัวลง 0.2% จากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ขยายตัวเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ในเอกสารฉบับดังกล่าว ธนาคารโลกได้เรียกร้องให้ผู้นำโลกมองข้างเสถียรภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและให้ความสำคัญสภาพคล่องทางการเงิน สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

นักลงทุนได้จับตามองว่า ประธานาธิบดีของสหรัฐจะกล่าวอะไรในการประชุมดังกล่าว ซึ่งนั่นหมายถึงทิศทางต่อไปของระบบการเงินและเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศผู้นำ ทั้งนี้สื่อมวลชนได้รายงานคำสัมภาษณ์นายแดน ไพรซ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช คาดว่า การประชุม G20 ที่ กรุงวอชิงตัน วันเสาร์นี้ ที่ประชุมจะเห็นชอบให้ใช้มาตรการเฉพาะในการรับมือกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน และยับยั้งการถดถอยของเศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งคาดถึงแนวโน้มว่าที่ประชุม G20 จะมีการหารือกันเพื่อเรียกร้องให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จัดอันดับเครดิตให้มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยอาศัยข้อมูลตามความเป็นจริง หลังจากที่ บริษัท สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) , มูดีส์ อินเวสเตอร์สเซอร์วิส และ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ถูกวุฒิสภาสหรัฐฯ โจมตีว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน และปิดบังสถานะที่แท้จริงของบริษัทปล่อยกู้จำนองจนเป็นเหตุให้กิดภาวะผันผวนในตลาด อีกทั้งไม่ได้ส่งสัญญาณเตือนนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของตราสารหนี้ ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS)

ด้านญี่ปุ่น ก็มีข่าวออกมาแล้วว่า  นายทาโร อาโสะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะประกาศแผนการอัดฉีดเงินทุนมูลค่า 10 ล้านล้านเยน หรือ 1.05 แสนล้านดอลลาร์ ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อใช้ในการปล่อยกู้ฉุกเฉินในกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

บทบาทของประเทศที่ไม่ถูกนับรวม

จริงๆ แล้วในการประชุมของผู้นำโลก ไม่เพียงแต่จะต้องถูกจับตามองจากประเทศที่ไม่ถูกนับรวม แต่ยังคงรวมถึง ประชากร ที่ไม่ถูกนับรวมด้วย เนื่องจากแนวทางของกลุ่มผู้นำ G20 นั้นชัดเจนว่า ดำเนินไปตามแนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจอย่างสุดโต่ง และนั่นย่อมส่งผลถึงนโยบายในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งส่งผลทั้งต่อประชาชนในประเทศกลุ่ม G20 เองและในประเทศที่เหลือ

การประกาศยืนหยัดเพื่อชาวนาชาวไร่ในซีกโลกใต้ ประจันหน้ากับธุรกิจการเกษตรแห่งซีกโลกเหนือ [1] เกิดจากการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคประชาชนในกลุ่มประเทศ G20 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548 ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวคู่ขนานไปกับการประชุมของผู้นำ เป็นอีกตัวอย่างที่ดีว่า แม้ความพยายามของผู้นำโลกในการประชุมกำหนดวาระทางเศรษฐกิจของโลก ก็อาจไม่สามารถครอบคลุมไปถึงผลกระทบจากระบบเศรษฐกิจเสรี ซึ่งเกิดกับประชากรในประเทศของตัวเองเช่นกัน

ทั้งนี้ สิ่งที่พึงสังเกตได้ประการหนึ่งคือ การนับรวมประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้เป็นไปอย่างเคร่งครัด [2] ตามการจัดอันดับของไอเอ็มเอฟหรือธนาคารโลกนัก เพราะบางประเทศที่มีจีดีพีสูงอย่างไต้หวัน กลับไม่ถูกนับรวม ซึ่งนี่อาจจะเป็นข้อสังเกตถึงบทบาทของจีนแผนดินใหญ่ที่กำลังผงาดขึ้นมามีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลกอยู่ขณะนี้ ซาอุดิ อาระเบีย อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 21-25 ถูกนับรวมอยู่ในกลุ่ม G20 ขณะที่ประเทศไทยที่มีอันดับทางเศรษฐกิจสูงกว่าแอฟริกากลับถูกข้ามไป ดังนั้นไทยในฐานะที่ยังไม่ถูกจัดเข้าพวก รวมถึงถูกกระโดดข้ามไปด้วยนั้น ก็คงต้องติดตามการประชุมดังกล่าวในฐานะประเทศที่จะต้องปรับตัวตามวาระของผู้นำโลกต่อไป

อ้างอิง:

1. ข้อเรียกร้องถึงกลุ่ม G20: ปฏิเสธกระบวนทัศน์ข้อตกลงเสรีเรื่องการเกษตร (AoA)http://www.focusweb.org/thailand/html/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=117&mode=thread&order=0&thold=0

2. List of countries by GDP (PPP), http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(PPP)

อ่านเพิ่มเติม

G20 major economies, http://en.wikipedia.org/wiki/G20_(Group_of_economies)

Bretton Woods II, http://en.wikipedia.org/wiki/Bretton_Woods_II

Bretton Woods system, http://en.wikipedia.org/wiki/Bretton_Woods_system

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…