Skip to main content
 

ทีมข่าวการเมือง

"สิ่งที่เขาเขียนนั้นเป็นเพียงการกล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์ลับๆ ของพระราชวงศ์ในลำดับที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์โดยไม่แม้แต่จะเอ่ยนามว่าเป็นพระราชวงศ์พระองค์ใด ข้อความที่เขียนนั้นยาวเพียง 2 ประโยค จากหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่แค่ 50 เล่ม แต่เขาอยู่ในคุกไทยมาแล้ว 4 เดือนเต็มๆ โดยคำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 4 ครั้ง"

ย่อหน้าข้างบนเป็นการให้ข้อมูลจากองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ซึ่งแสดงความวิตกกังวลในระดับที่หนักขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในประเทศไทย โดยจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ที่ส่งไปยังเครือข่ายนักกิจกรรมด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นทั่วโลก ระบุว่าองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนขอย้ำคำเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชาวออสเตรเลียผู้นี้

แฮรี่ นิโคไลดส์ คือใคร

แฮรี่ นิโคไลดส์ วัย 41 ปีเป็นชาวเมลเบอร์น ออสเตรเลีย มีเชื้อสายกรีก จบการศึกษาจาก La Trobe University ในปี1988 ถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2551 ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เขาเดินทางมายังประเทศไทยเมื่อปี 2003 นอกเหนือจากเขียนหนังสือแล้วเขาเป็นบล็อกเกอร์ด้วย เคยสอนภาษาอังกฤษระยะสั้นๆ ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

"ระหว่างนั้น ผมยังเคยช่วยแปลซับไตเติ้ลสารคดีเฉลิมพระเกียรติที่ทางมหาวิทยาลัยผลิตเป็นภาษาอังกฤษ แต่วันนี้ผมถูกจับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" เขารำพึงผ่านกำแพงใสๆ ที่ทำหน้าที่กั้นผู้ต้องขังกับผู้เข้าเยี่ยม

คุกและการปรับตัว

สำนักข่าวกรีกออนไลน์รายงานว่า ในวันแรกที่โดนจับ แฮรี่ระบุว่าเขากลัวมาก เขาถูกขังรวมกับนักโทษคนอื่นๆ อีกเกือบ 80 คนในห้องขังเล็กๆ นอนกับพื้น มีคนที่มีรอยสัก จ้องมองเขาอย่างเย็นชา และเขาอยากฆ่าตัวตาย

ในตอนแรกเขามีเพียงผ้าห่มผืนเดียวสำหรับรองนอน แต่โดยการประสานงานของเจ้าหน้าที่สถานทูตออสเตรเลีย ขณะนี้เขามีเสื่อรองนอนแล้ว ได้ย้ายห้องขังไปอยู่อย่างแออัดน้อยลง มีเพื่อนร่วมห้องขังประมาณ 50 คน และเขาได้รู้ว่า แดนขังของเขาส่วนใหญ่เป็นนักโทษคดียาเสพติด

เดือนพฤศจิกายน 2551 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่เรานั่งรออยู่ด้วยความระทึกว่า เขา' จะออกมาพบเราหรือไม่ เพราะเราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน สิ้นเสียงประกาศให้เข้าพบผู้ต้องหารอบที่ 3 เราได้ยินชื่อแฮรี่ นิโคไลดส์ เราจึงเดินเข้าไปยังห้องเยี่ยมนักโทษห้องที่ 2 แนะนำตัวและเขาไม่คิดว่าเราเป็นผู้สื่อข่าว

"ผมเคยสอนหนังสือสองแห่ง ที่ราชภัฏภูเก็ตกับที่แม่ฟ้าหลวง แต่ผมไม่เคยเห็นเด็กที่สนใจการเมือง หรือกรณีของผมมาเยี่ยมผมมาก่อนเลย" เราแนะนำตัว และยืนยันว่าเรียนจบแล้ว เขาหัวเราะและกระเซ้าว่าไม่น่าเชื่อ "อย่างคุณนี่อายุไม่น่าจะเกิน 19 เลย" เขาหัวเราะพร้อมชี้ไปที่คนหนึ่งในพวกเรา

"คุณดูเหมือนจะปรับตัวได้แล้วนะ" เราถาม

"ใช่ ผมเริ่มปรับตัวได้แล้ว รีแลกซ์ขึ้น" เขาตอบพร้อมอธิบายว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อถูกจับใหม่ๆ เขาเครียดและเป็นห่วงครอบครัวมาก สิ่งที่ไม่เข้าใจเลยก็คือ หากมีการสอบสวนว่าเขากระทำผิดจริง เหตุใดเจ้าหน้าที่จึงไม่เข้าจับกุมในระหว่างที่เขายังอยู่ในเมืองไทย และเดินทางไป-มา ระหว่างไทยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายครั้ง

"ผมทราบภายหลังว่ามีการออกหมายจับผมตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 แต่ระหว่างนั้น จนถึงวันที่ผมถูกจับเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ระหว่างนั้น 5 เดือน ผมเดินทางเข้าออกประเทศไทยหลายครั้ง แต่ไม่มีปัญหาใดๆ ที่ตม.แต่กลับมาจับกุมผมขณะที่ผมกำลังจะเดินทางกลับบ้าน"

มากกว่า 2 บรรทัด ว่าด้วยข่าวลือ จำนวนพิมพ์ 50 เล่ม ขายไปแล้ว 10 เล่ม

รายงานข่าวอ้างจำนวนพิมพ์ที่ต่างกัน บางแห่งระบุว่า เขาพิมพ์หนังสือฉบับที่มีปัญหานี่ จำนวน 70 เล่ม บางแหล่งระบุว่า 50 เล่ม สถานีโทรทัศน์วิทยุออสเตรเลีย หรือ ABC รายงานเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2551 ว่า หนังสือของแฮรี่ เล่มดังกล่าวพิมพ์เมื่อปี 2005 เพียง 50 เล่ม และขายไปได้ 10 เล่ม

ด้วยจำนวนการเข้าถึงเพียงน้อยนิดนี้เอง เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเข้าถึงข้อมูลที่เขาเขียนได้เพราะแฮรี่เองเป็นคนส่งให้ดู "ผมส่งหนังสือให้สำนักพระราชวังพิจารณา ว่าข้อความเช่นนี้หมิ่นเหม่หรือไม่ และไม่ได้รับการตอบกลับ" แฮรี่กล่าว

อย่างไรก็ตาม เขาถูกออกหมายจับเมื่อเดือนมีนาคม 2551 แฮรี่ระบุว่า ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม เขาเดินทางเข้าออกระหว่างไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 ครั้ง ระหว่างนั้นไม่มีการดำเนินการใดๆ และเขาไม่รู้ว่ามีการออกหมายจับดังกล่าว จนกระทั่งเมื่อเขาจะเดินทางกลับไปยังออสเตรเลีย บ้านเกิด ในวันที่ 31 สิงหาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปรอจับกุมเขาที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ในหนังสือ verisimilitude ที่ตีพิมพ์ไม่เกิน 50 เล่มนี้ กล่าวถึง ข่าวลือ' เรื่อง โรแมนติก' ของเชื้อพระวงศ์ โดยไม่ได้ระบุชื่อ มีเนื้อความประมาณ 1 ย่อหน้า

คดีนี้ไม่เป็นข่าว (ดัง)

คดีของแฮรี่ ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากกรณีของ โจนาธัน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซี ซึ่งกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งในเว็บไซต์ข่าวของไทย เมื่อถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการที่นายจักรภพ เพ็ญแข ไปเป็นผู้บรรยายที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อแฮรี่ถูกจับในวันที่ 31 สิงหาคม ไม่มีข่าวปรากฏ คดีนี้ไม่ถูกนำไปใช้ในทางการเมืองซึ่งสาดโคลนเข้าใส่ฝ่ายตรงข้ามกันอย่างไม่บันยะบันยัง เขาถูกกักขังอย่างเงียบๆ โดยมีสถานทูตออสเตรเลียเป็นผู้ประสานงานและจัดหาทนายให้

และต่างกันกับกรณีของ Oliver Jufer, วัย 57 ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ผู้อาศัยอยู่ในเมืองไทยกว่า 10 ปี ถูกตัดสินและเนรเทศออกจากประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากที่เขาพ่นสีสเปรย์ใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ขณะมึนเมา เหตุเกิดที่ จ.เชียงใหม่ ในคืนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 กรณีของแฮรี่เงียบ โดนเฉพาะในความรับรู้ของคนไทย

ขณะเดียวกันสื่อในออสเตรเลียเองก็เริ่มระแคะระคายและติดตามเรื่องนี้ ทั้งตั้งคำถามต่อรัฐบาลของตนเองว่ามีส่วนทำให้เรื่องดังกล่าว เงียบด้วยเหตุผลเรื่องความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศหรือไม่

รายงานชิ้นแรกของสื่อออสเตรเลีย นำเสนอโดยสำนักข่าว เอบีซีนิวส์ทางเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2551 หรือ3 วันหลังจากที่เขาถูกจับกุม เอบีซี ระบุว่าเขาถูกจับกุมในวันที่ 31 สิงหาคม ถูกปฏิเสธการประกันตัวและถูกส่งกลับไปยังเรือนจำกลางกรุงเทพฯ พร้อมให้ข้อมูลไว้ท้ายข่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่รุนแรงที่สุดในโลก

รายงานข่าวในสื่อของออสเตรเลียระบุว่า ทางครอบครัวของเขาได้ยื่นหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางสถานทูตออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 หลังจากที่คำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 2 ครั้ง โดยทางการไทยให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันการหลบหนี และก่อเหตุซ้ำอีก

 

ความเงียบ และแรงกระเพื่อมของข่าวสาร

หลังผ่านความเงียบของของข่าวสาร เอบีซี ได้นำเสนอคดีของแฮรี่ เป็นสารคดีทางโทรทัศน์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยสัมภาษณ์แหล่งข่าวหลายราย พี่ชายและทนายความของแฮรี่ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลียขอให้พวกเขาอยู่เงียบๆ ไม่เปิดเผยข้อมูลของคดี ทว่ากระทรวงการต่างประเทศเองก็ล้มเหลวในการให้ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวแฮรี่ สิ่งที่ครอบครัวของแฮรี่เรียกร้องต่อรัฐบาลออสเตรเลียคือ การให้ข้อมูลว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่สถานทูตจะระบุว่าได้พบกับแฮรี่แล้วไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง และกระทรวงการต่างประเทศได้ยื่นเรื่องต่อรัฐบาลไทยแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง แต่คำถามก็คือ "ทางการออสเตรเลียได้ยื่นเรื่องอะไรต่อรัฐบาลไทย และเจราจาเรื่องนี้กับใครในรัฐบาลไทย" ฟอร์ด นิโคไลดส์ พี่ชายของเขาตั้งคำถาม

ที่ทำให้ประเด็นก้าวไปไกลกว่านั้นก็คือมาร์ก ดีน ทนายความชาวออสเตรเลียกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออสเตรเลียซึ่งควรให้ความสำคัญกับแฮรี่ก่อนประเด็นเรื่องความละเอียดอ่อนในความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและไทย ขณะที่ แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ นักมานุษยวิยาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวว่า แฮรี่ เป็นพลเมืองออสเตรเลียซึ่งชาวออสเตรเลียจะต้องมีความกังวลต่อสิทธิมนุษยชนของเพื่อนร่วมชาติขณะที่เขาอยู่ในต่างแดน

 

จาก 50 เล่ม สู่โลกออนไลน์ และสถานีโทรทัศน์ในออสเตรเลีย

ประเด็นการกักขังแฮรี่ นิโคไลดส์ เริ่มขยายวงแห่งการรับรู้ไปยังมวลชนชาวออสเตรเลีย ผ่านสื่อกระแสหลักในประเทศอย่างเอบีซี ขณะที่ก่อนหน้านั้น ข่าวคราวของเขาเผยแพร่อยู่ในวงของบล็อกเกอร์ และสื่อทางเลือก และได้รับรายงานจากสื่อกระแสหลักของประเทศอื่น เช่นรอยเตอร์ และไทมส์

ขณะนี้ พ่อแม่ของแฮรี่ได้รวบรวมรายชื่อชาวออสเตรเลียเชื้อสายกรีกจากชุมชนกรีกในเมลเบิร์น ได้จำนวนหลายพันรายชื่อเพื่อยืนต่อสถานทูตไทยและรัฐบาลออสเตรเลีย เรียกร้องให้ปล่อยตัวแฮรี นิโคไลดส์ นอกจากนี้ ยังปรากฏการรณรงค์ออนไลน์ เรียกร้องให้ปล่อยตัวแฮรี่ และดำเนินการต่อคดีของเขาอย่างเป็นธรรม

เว็บไซต์ นวมณฑล หรือ New Mandala เขียนถึงกรณีนี้โดยอ้างอิงถึงกรณีอื่นๆ ที่มีการดำเนินการเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งการแบนหนังสือ เว็บไซต์ การดำเนินคดีต่อคนต่างชาติรายอื่น คือ โจนาธัน เฮด และนายโอลีเวอร์ จูเฟอร์ การดำเนินคดีกับคนไทย คือนายจักรภพ เพ็ญแข และนายโชติศักดิ์ อ่อนสูง

ในบทความ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและแฮรี่ นิโคไลดส์" (Lèse majesté and Harry Nicolaides) ระบุว่า ระบบกฎหมายไทย โทษของข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์และราชวงศ์มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี พร้อมทั้งระบุว่าในประเทศไทย แม้แต่การรายงานข่าวคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกแทรกแซงก็เป็นเรื่องยาก การรายงานเนื้อหาอย่างละเอียดกลายเป็นความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องเสียเอง และโดยการเซ็นเซอร์ตัวเอง จึงเป็นการยากที่จะได้เห็นข่าวของแฮรี่ นิโคไลดส์ในสื่อของไทย

หนังสือของแฮรี่ อาจจะตีพิมพ์เพียง 50 เล่ม แต่ขณะนี้ข้อความในหนังสือของเขาถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และบล็อกของชาวออสเตรเลีย และชาวออสเตรเลียเชื้อสายกรีก และเริ่มขยายการวิพากษ์วิจารณ์ไปสู่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย

 "ผมคิดว่าประเทศไทยพยายามส่งสัญญาณถึงสื่อ นักเขียน บล็อกเกอร์ และผู้คนในระดับนานาชาติที่นำเสนอเรื่องราวผ่านอินเตอร์เน็ตว่า ราชวงศ์ของไทยนั้น ห้ามแตะต้อง" แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ นักมานุษยวิยา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวในสารคดีที่เผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์และวิทยุออสเตรเลีย

อ้างอิง

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจับตารัฐบาลไทยเข้มปิดเว็บ ร้องปล่อยตัวนักเขียนชาวออสเตรเลียที่ถูกจับคดีหมิ่นฯ

http://www.prachatai.com/05web/th/home/15081

Aust man refused bail for insulting Thai King

http://www.abc.net.au/news/stories/2008/09/03/2354659.htm

Lèse majesté and Harry Nicolaides

http://rspas.anu.edu.au/rmap/newmandala/2008/10/02/lese-majeste-and-harry-nicolaides/

Thai king insult could land Swiss in jail

http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article1502337.ece

Australian author jailed for offending Thai royals

www.abc.net.au/7.30/content/2008/s2417963.htm

 

หมายเหตุ

แก้ไขข้อมูลของแอนดรูว์ วอล์กเกอร์ เวลา 21.03 น. ตามคำท้วงติงของคุณ 'ผู้อ่าน' โดยอ้างอิงจาก www.prachatai.com/english/news.php%3Fid%3D746+Andrew+Walker&hl=th&ct=clnk&cd=3&gl=th 

ขอขอบพระคุณที่ท้วงติงจากคุณ "คนอ่าน" และขออภัยอย่างสูงในความผิดพลาด

 

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…