Skip to main content

 ทีมข่าวการเมือง

 

 

 

"พฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้กฎหมู่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง คือ เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี อันเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ยิ่งนัก ดังที่พวก Ultra Royalist ในฝรั่งเศสสมัยหนึ่งทำให้พระราชวงศ์บูร์บองล่มสลายมาแล้ว"

 สุพจน์ ด่านตระกูล
สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย)
มีนาคม
2549

 

1.

"ลุงสุพจน์" หรือ สุพจน์ ด่านตระกูล นักคิด นักเขียนวัย 86 ปี เสียชีวิตอย่างสงบ หลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อคืนวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยกล่าวถึง สุพจน์ ด่านตระกูล ผ่านคำนำหนังสือ ปรีดีคิด ปรีดีเขียนฯ ซึ่งเป็นหนังสือที่สุพจน์ ด่านตระกูล เขียนขึ้นและพิมพ์ใน พ.ศ. 2546 เพื่อฉลอง 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ โดยชาญวิทย์ เขียนถึงสุพจน์ ด่านตระกูลว่า

 

สุพจน์ ด่านตระกูล เป็นหนึ่งในบรรดานัก "ขุดแต่ง" (excavated) และนัก "ฟื้นฟูและบูรณะ" (restored and renovated) "ปรีดี พนมยงค์" น่าแปลกที่สุพจน์นั้นหาได้เป็นญาติมิตรสนิท หาได้เคยทำงานร่วม หรือแม้แต่จะเป็นลูกศิษย์ (มธก.) ของ ฯพณฯ ปรีดี แต่อย่างใดไม่ สุพจน์ "เรียนไม่จบระดับมัธยม" และจากคำบอกเล่าของสุพจน์เอง (5 เมษายน 2552) ก็บอกว่า

"ผมเกิดในครอบครัวของพ่อค้าย่อยในชนบท เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2466 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ณ บ้านปลายคลองหมู่ที่ 6 ตำบลเชียรเขา อำเภอปากพนัง (ต่อมาได้แยกเป็นอำเภอเชียรใหญ่และปัจจุบันได้แยกเป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ) จังหวัดนครศรีธรรมราช"

สุพจน์เล่าต่อไปว่า

"เริ่มการศึกษา เบื้องต้นจากโรงเรียนประชาบาลใกล้บ้าน แล้วไปต่อชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัด และชั้นมัธยมปลายที่กรุงเทพมหานคร แต่ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ การศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียนก็ต้องยุติลงในปี พ.ศ. 2483 ขณะกำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมปีที่ 6"

กล่าวได้ว่าหลังจากนั้นแล้วสุพจน์ก็เล่าเรียนจาก "มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต" ดังที่ได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า "ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียนจึงเพียงอ่านออก เขียนได้ และคิดเป็น และก็ได้อาศัยความรู้อ่านออกเขียนได้ และคิดเป็นที่ได้มาจากการศึกษาภายใต้ระบบโรงเรียน ศึกษาเรียนรู้โลกต่อมาทั้งโอกาสโลก สังขารโลก และสัตตโลก เพื่ออธิบายโลกและเปลี่ยนแปลงโลก"

"ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคพวกได้ชักนำเข้าทำงานกับกองทัพญี่ปุ่นในฐานะเสมียนโกดัง ประจำอยู่ที่ท่าเรือเขาฝาซี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง อันเป็นท่าเรือที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นใหม่บนฝั่งแม่น้ำละอุ่น กม. 93 เพื่อบริการขนส่งยุทธสัมภาระและกำลังพลทางทะเล จากประเทศไทยสู่พม่าอีกเส้นทางหนึ่ง และในโอกาสนั้นได้เข้าร่วมกับพวกต่อต้านญี่ปุ่น (เสรีไทย) ทำหน้าที่รายงานความเคลื่อนไหวของกำลังพลและยุทธปัจจัยของฝ่ายญี่ปุ่นที่ ผ่านเข้าออกทางท่าเขาฝาซี"

ดูเหมือนสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่แหละที่ทำให้สุพจน์ ด่านตระกูล เข้าไปสัมผัสกับปรีดี พนมยงค์โดยไม่รู้ตัว และก็เรียนรู้อะไรต่อมิอะไรจากประสบการณ์ของความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ของโลกในกลางศตวรรษที่แล้ว และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ "ภายหลังสงครามได้เข้าทำงานหนังสือพิมพ์ เริ่มจากเจ้าหน้าที่ตรวจปรู๊ฟ (พิสูจน์อักษร) ผู้สื่อข่าวโรงพัก (ข่าวอาชญากรรม) ผู้สื่อข่าวกระทรวง (ข่าวการเมืองและข่าวราชการ) และจากหน้าที่ผู้สื่อข่าวการเมือง จึงทำให้เกิดความสำนึกทางการเมืองและนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางการเมือง

จนกระทั่งถูกจับกุมในคดี 10 พฤศจิกายน 2495 (หรือที่รู้จักกันในนามของกบฏสันติภาพ) ในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 20 ปี แต่ลดเหลือ 13 ปี 4 เดือน แต่ติดคุกอยู่ประมาณ 5 ปีก็ได้รับนิรโทษกรรมในคราวฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ออกจากคุณมาประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์อยู่ประมาณ 1 ปี ก็ถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งในปี 2501 ในยุคเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักรและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี ในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ และยกฟ้องข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์"

มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (ในคุก) นั้น ทำให้สุพจน์กล่าวอย่างมั่นใจว่า "โดยที่มีความสำนึกทางการเมืองและสนใจการเมือง จึงได้ขวนขวายศึกษาหาความรู้เรื่องการเมืองจากท่านผู้รู้ ที่มีความคิดทางการเมือง ฝ่ายก้าวหน้า รวมทั้งแสวงหาหนังสือฝ่ายก้าวหน้ามาอ่าน และสนใจศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยภายหลัง 24 มิถุนายน 2475 อย่างรับผิดชอบ"

สุพจน์กล่าวเสริมอีกว่า

"รวมทั้งเจริญรอยตามบาทพระพุทธองค์ ศึกษาค้นคว้าเรื่องของโลกทั้งสามอย่างมนสิการ จึงได้สรุปความเข้าใจออกมาเป็นข้อเขียนจำนวนหนึ่ง มีต้นฉบับอยู่ประมาณ 70 เรื่อง ส่วนเขียนแถลงการณ์และสาส์นในโอกาสต่างๆ นั้นอีกจำนวนหนึ่ง"

ซึ่งรวมแล้วอาจจะมากกว่าผลงานของดุษฎีบัณฑิตหรือศาสตราจารย์ (ของรัฐ) ด้วยซ้ำไป

ในบรรดาผลงานนิพนธ์เหล่านั้น ก็มีสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น magnum opus คือ ชีวิตและงานของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก 2514 (และตีพิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 2543) รวมอยู่ด้วย

จากการค้นคว้างานชิ้น นี้ก็กลายเป็นฐานทางวิชาการอย่างสำคัญที่ทำให้สุพจน์ ด่านตระกูล สามารถ "ขุดแต่ง ฟื้นฟู และบูรณะ" ปรีดี พนมยงค์ ได้อย่างเข้มข้น รวมทั้งชุดย่อยๆ เล็กๆ ที่ออกมาเป็นครั้งคราว ราคาถูก ในช่วงทศวรรษ 2510 ก็ทำให้ประชามหาชนพอจะได้เปิดหู เปิดตาขึ้นบ้างต่อ "สัจจะและความเป็นจริง" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "หน้าประวัติศาสตร์อันดำมืดและบิดเบี้ยว" นั้นของ "ชนชาติไทย"...

 

2.

ภายหลังข่าวการจากไปของ "ลุงสุพจน์" ไม่ทันข้ามคืน ในกระดานข่าว "ฟ้าเดียวกัน" ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะกล่าวแสดงความอาลัยต่อลุงสุพจน์แล้ว ปิยบุตรยังรวบรวมผลงานของลุงสุพจน์เท่าที่มีผู้เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต "เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ทราบความคิดและ "สัจจะ" ในประวัติศาสตร์ ที่ลุงสุพจน์พยายามเสนอมาตลอดชีวิต" ปิยบุตรกล่าวว่า

 

ผม ในฐานะผู้สนใจประวัติศาสตร์มือสมัครเล่น ไม่มีอะไรจะอุทิศให้กับลุงสุพจน์ ด่านตระกูล (ผู้ไม่มีปริญญาบัตร เพียงจบการศึกษาในระดับที่ "อ่านออก เขียนได้ และคิดเป็น" แต่กลับเขียนงานได้ดีกว่าผู้แบกปริญญาติดตัวเต็มไปหมด) นอกจากรวบรวมงานของลุงสุพจน์ ที่ปรากฏในโลกไซเบอร์ เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ทราบความคิดและ "สัจจะ" ในประวัติศาสตร์ ที่ลุงสุพจน์พยายามเสนอมาตลอดชีวิต

อนึ่ง ด้วยสถานการณ์ที่ผมอยู่ต่างประเทศ คงทำได้เพียงรวบรวมงานของลุงสุพจน์ในอินเตอร์เน็ตเท่านั้น เชื่อว่าอีกไม่กี่วัน สนพ.มิตรสหาย ลูกศิษย์ทางตัวอักษรของลุงสุพจน์ คงได้รวบรวมงานของลุงสุพจน์ (ซึ่งมีจำนวนมาก มากกว่า ศาสตราจารย์ ดร. หลายๆคน) ให้แพร่หลายต่อไป

ขอขอบคุณเว็บไซต์ที่รวบรวมงานของลุงสุพจน์ ด่านตระกูล โดยเฉพาะ เว็บไซต์ของบุคคลที่ใช้ชื่อ "แด่บรรพชนผู้อภิวัตน์ 2475"

ต่อไปนี้คือผลงานของสุพจน์ในโลกไซเบอร์ที่ปิยบุตรเป็นผู้รวบรวมที่ตั้งลิ้งของงานเขียนเหล่านั้น

แด่ สุพจน์ ด่านตระกูล (2466 - 2552)

ผู้อุทิศตนให้กับ "สัจจะ" ในประวัติศาสตร์ และความคิด "วิทยาศาสตร์สังคม"

1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เล่าเรื่องของ สุพจน์ ด่านตระกูล ใน คำนำหนังสือ "80 ปี สุพจน์ ด่านตระกูล" http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/02/blog-post_9892.html

2. ปาฐกถาของสุพจน์ ด่านตระกูล เนื่องใน 75 ปีอภิวัตน์ 2475
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_5305.html

3. ปรีดี พนมยงค์กับสถาบันกษัตริย์ และกรณีสวรรคตhttp://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8

4. ตุลาแดงรำลึก เรียบเรียงจากหนังสือ ประวัติรัฐธรรมนูญ ของสุพจน์ ด่านตระกูล
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_8476.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_8748.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_9268.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_11.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_8212.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_2586.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_4857.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_6905.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_1348.html

 

5.สัจจะที่ถูกบิดเบือน เรียบเรียงจากหนังสือ ประวัติรัฐธรรมนูญ ของสุพจน์ ด่านตระกูล
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_08.html

6. วันชาติที่หายไป เรียบเรียงจากหนังสือ ประวัติรัฐธรรมนูญ ของสุพจน์ ด่านตระกูลhttp://socialitywisdom.blogspot.com/2007/10/blog-post_6632.html

7. การต่อสู้ทางชนชั้น เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูลhttp://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_317.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_8602.html

8. ต้องช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูล
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_7607.html

9. ก้าวหน้า เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูล
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_06.html

10. ก้าวกระโดด เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูลhttp://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_299.html

11. ขูดรีด เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูลhttp://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_4360.html

12. ข้าราชการ เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูลhttp://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_3384.html

13. ความคิดทางชนชั้น เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูลhttp://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_6013.html http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_5408.html

14. ชีวทรรศน์ เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูล

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_07.html

 

15. สังคมศักดินา เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูล

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_11.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_2515.html

 

16. ปฏิวัติ เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูล

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_10.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_490.html

 

17. ประวัติศาสตร์ เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูล

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_5435.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/09/blog-post_09.html

 

18.กฎุมพี เรียบเรียงจากปทานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน ของสุพจน์ ด่านตระกูล

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_29.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_709.html

 

19. ผู้กุมอำนาจเศรษฐกิจคือผู้กุมอำนาจที่แท้จริง จากหนังสือ ปฏิวัติประชาธิปไตย

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_28.html

 

20. การเปลี่ยนแปลงอำนาจมิอาจปราศจากอำนาจ จากหนังสือ ปฏิวัติประชาธิปไตย

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_27.html

 

21. อธิปไตยพระราชทาน จากหนังสือ "โต้ประมวล รุจนเสรี เรื่องพระราชอำนาจ"

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/07/blog-post_30.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/07/blog-post_4123.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_01.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_02.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_8511.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_06.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_89.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_9398.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/08/blog-post_4623.html

 

22. จดหมายจากสุพจน์ ด่านตระกูล โต้ระพี สาคริก

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/07/blog-post_21.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/07/blog-post_23.html

 

23. จดหมายจากปรีดี พนมยงค์ ถึงสุพจน์ ด่านตระกูล

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/02/blog-post_6415.html

 

24. รบทำไม และรบเพื่อใคร

http://socialitywisdom.blogspot.com/2008/10/blog-post.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2008/10/blog-post_29.html

http://socialitywisdom.blogspot.com/2008/10/blog-post_30.html

 

25. โต้กระแสทวนประวัติศาสตร์ ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5(1) 2550 (สารบัญ)

http://www.sameskybooks.org/journal/magfah17/

 

26. อภิปราย องคมนตรี อำนาจเหนือการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ

http://www.prachatai.com/05web/th/home/6912

 

27. สุพจน์ ด่านตระกูล รวมอภิปราย "เบื้องหลังการอภิวัตน์ 24 มิถุนายน 2475" เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2550 http://www.prachatai.com/05web/th/home/8610

 

28.ข่าวจากไทยอี นิวส์ มีพูดถึงความเห็นของสุพจน์ ด่านตระกูล เกี่ยวกับรัฐประหาร 19 กันยาhttp://thaienews.blogspot.com/2009/02/blog-post_13.html

 

29. รายงานของสารคดี มีความเห็นของสุพจน์ ด่านตระกูล เกี่ยวกับธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 27 มิ.ย. 2475 http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=737

 

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานสุพจน์ ด่านตระกูล ที่ปิยบุตร แสงกนกกุลรวบรวมไว้เท่านั้น ท่านที่สนใจงานเขียนของนายสุพจน์ ด่านตระกูล ยังสามารถหาอ่านหนังสือเหล่านี้ได้ และต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของหนังสือของสุพจน์ที่รับการตีพิมพ์แล้ว คลิกที่นี่

 

3.

ไม่เพียงเท่านั้น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังกล่าวในกระดานข่าว "ฟ้าเดียวกัน" ถึงงานของ "ลุงสุพจน์" ที่ทำให้เขารู้สึกว่า "เป็น "หนี้" อย่างหนึ่งที่ผมติดค้างคุณสุพจน์" ความส่วนหนึ่งว่า (คำขีดเส้นใต้ เน้นโดยสมศักดิ์)

 

"...สืบเนื่องจากข่าวการถึงแก่กรรมของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล จากกระทู้นี้

ในวันต่อๆ ไป ผมคงจะหาโอกาสเขียน ประเมิน ผลงานคุณสุพจน์ อีก ถ้ามีโอกาส
(งานเรื่องสวรรคตทีผมเขียน จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้งานของคุณสุพจน์)

แต่มีประเด็นหนึ่งที่ผมเสียใจ ที่ไม่ได้เขียนก่อนหน้านี้ ทั้งๆที่ คิดอยู่นานว่า จะหาโอกาสเขียนถึง

เป็น"หนี้"อย่างหนึ่ง ที่ผมติดค้าง คุณสุพจน์

เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2549 เมื่อ สนธิ ก่อกระแสพันธมิตร เพื่อโค่นทักษิณนั้น

จุด ยืนของผมแต่ต้น ซึ่ง ดังที่รู้กัน ไม่ตรงกับเสียงที่เรียกได้ว่าเป็นเอกฉันท์ ของบรรดาปัญญาชน นักวิชาการ แอ๊กติวิสต์ คือ ผมเห็นว่า ต้องไม่เข้าร่วม ไม่ แม้แต่จะ "โหน" กระแสนั้นไปด้วย อันที่จริง ผมเห็นว่าถ้าขบวนการดังกล่าวของสนธิ ล้มเหลวได้ จะดี

ส่วนหนึ่ง ผมอาศัยการวิเคราะห์ที่มีรากมาจากการมองประวัติศาสตร์ ช่วง 2500 ซึ่งผมเป็น "หนี้" ข้อคิดส่วนหนึ่งจาก (irony อันนี้) อดีต "ซือแป๋" ของ คำนูญ สิทธิสมาน เอง คือ คุณอำนาจ ยุทธวิวัฒน์ (ผิน บัวอ่อน) ความเห็นของผิน คือ ขบวนการฝ่ายซ้าย ทำความผิดพลาด ที่สมัย 2500 ไปหนุนกระแสสฤษดิ์และประชาธิปัตย์ ร่วมโค่น พิบูล-เผ่า

ในปี 2549 ปัญญาชน ฯลฯ ดังที่รู้กัน ถ้าไม่ถึงกับกระโดดเข้าร่วมกับสนธิเต็มตัว ก็"โหน" กระแสตามไปด้วย โดยอ้างว่า "ไม่เอาทั้งพันธมิตร ไม่เอาทั้งทักษิณ" ซึ่งผมขนานนามให้ว่า "2 ไม่เอา"

ยิ่งสถานการณ์เข้มข้นขึ้น ผมยิ่งเห็นว่า ที่ถูกต้อง จะต้อง defend ทักษิณ ไม่ใช่ ร่วมกระแสโค่น ด้วยเหตุผลหลายประการ:

รัฐบาล นั้น ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ แต่เป็นรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกมา - (ช่วงนี้ เราพูดถึงประเด็นใจ อึ๊งภากรณ์ ขออนุญาต ให้ผมพาดพิง หน่อยว่า ใช้เวลาเกือบ 2 ปี กว่าใจ จะยอมรับประเด็นนี้ ดูที่เขาเขียน defend รัฐบาลสมชาย ทั้งๆ ที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์ 7 ตุลา ว่า แม้จะไม่เห็นด้วย หรือ ไม่ได้เลือก รบ.สมชาย แต่ก็เป็น รบ.ชอบธรรม ซึ่งที่จริง ก็เป็นเหตุผลที่ควรใช้กับ รบ.ตั้งแต่ทักษิณ หรือสมัคร ที่ใจเรียกร้องให้โค่นเหมือนกัน)

และการล้มทักษิณได้ ตาม"คณิตศาสตร์การเมือง" ขณะนั้น มีอยู่ทางเดียว ซึ่งพวกสนธิรู้ดี คือ ต้อง activate กำลังนอกรัฐธรรมนูญ - ทั้ง 2 ประเด็นนี้ ผมเชื่อว่า ได้รับการพิสูจน์ว่า ถูกต้องจากเหตุการณ์ที่ตามมา

ผมยอมรับว่า ในช่วงนั้น มีบางช่วงเวลา ที่ผมเศร้า เหนื่อยหน่าย และท้อมากๆ (ความจริงคิดย้อนหลังแล้วก็ยังรู้สึก นอกจากความโกรธที่มีอยู่เช่นกัน) เพราะเป็นหัวเดียวกระเทียมลีบ ทุกคน แม้แต่คนที่อ้างว่า เห็นภัย ของ "พลังนอก รธน." ล้วนแต่ "เฮโล" เอากับ กระแสสนธิหมด แม้จะอ้างว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนออย่าง ม.7 ก็ตาม แต่ก็ยังเอาด้วย ในแง่กระแสจะโค่นทักษิณตอนนั้น มิใย ที่ตอบไม่ได้ว่า จะอาศัยอะไรมาโค่นทักษิณ ถ้าไมใช่ "กำลังนอก รธน." แล้วจะเอาใครมาแทน ถ้าไมใช่ พวกที่อิงอยู่กับกำลังดังกล่าว (เช่น ปชป.) ....

ไอเดีย เรื่องว่า ต้อง defend รบ.ทักษิณ นั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ..

แต่ ในช่วงนั้น มีเหตุการณ์ เล็กๆ อันนึง ที่ทำให้ผมมีความมั่นใจว่า ที่คิดนั้น ไม่ผิด (นอกจากพื้นฐานการวิเคราะห์ของตัวเอง ทั้งจากสถานการณ์ปัจจุบัน และจากกรณีเรียนรู้จาก 2500) คือ

ในบรรดา "แถลงการณ์" ที่มีการออกมาในขณะนั้น เป็นร้อยๆฉบับ ซึ่งเรียกว่า โดยเอกฉันท์ ล้วนเรียกร้องให้โค่นทักษิณ.. มีแถลงการณ์เล็กๆ ฉบับหนึ่ง ที่ออกมา แต่ขณะนั้น คงไม่มีใครสนใจนัก (ผมเชื่อว่า คนที่กำลังอ่านที่ผมเขียนนี้ ส่วนใหญ่ น่าจะไม่เคยเห็น) เพราะคนออก ก็ไม่ใช่ถึงกับ เป็นปัญญาชนนักวิชาการชื่อดังร่วมสมัยอะไร ไม่ได้มี ศ.ดร. หรือ อ.จ. หรือมี มหาล้ัย สังกัด ..

แถลงการณ์ที่ว่า คือ แถลงการณ์ของคุณ สุพจน์ ด่านตระกูล

ใน แถลงการณ์นั้น คุณสุพจน์ ได้เรียกร้องว่า (ผมเขียนจากความจำ เสียดาย ผมไม่มีต้นฉบับเก็บไว้เหมือนกัน) "เราขอเรียกร้องให้ปกป้องรัฐบาลปัจจุบันที่เป็นรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้ง มา..." อะไรทำนองนี้

แถลงการณ์นั้น ทำให้ผมรู้สึกมั่นใจมากขึ้นอย่างมาก ว่า ข้อสรุปที่ตัวเองคิด ถูกต้อง
(ผมยังจำความรู้สึกตอนอ่านแถลงการณ์นั้นได้)


ผม สารภาพว่า ผมเอง ด้วยความที่พยายามจะ "สื่อสาร" กับ บรรดา แอ๊กติวิสต์ นักวิชาการ จึงพยายาม ที่จะไม่ใช้ภาษาในลักษณะตรงแบบคุณสุพจน์ ("รัฐบาลของประชาชน..") เพราะขณะนั้น แอ๊กติวิสต์ นักวิชาการ ล้วนแต่ "เลือดเข้าตา" เห็นทักษิณ เป็น Evil Number One ทั้งสิ้น คำว่า "ทักษิณ" กับ คำว่า "ประชาชน" เป็นอะไรบางอย่างที่ไม่อยู่คู่กันในใจพวกเขาเลย (irony ขนาดไหน ที่ท่านแอ๊กติวิสต์เหล่านี้ เมื่อมาถึงสมัย รบ.ทักษิณจำแลง เช่น สมัคร สมชาย จำเป็นต้องยอม ยืนยัน ความชอบธรรมว่า เป็นรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน!) อย่าว่าแต่คำว่า ต้อง defend ทักษิณ ผมก็ระวัง ที่จะไม่ใช้อย่างเข้มข้นมากไป

แต่ แน่นอน ดังที่รู้เช่นกัน ทั้งเสียงคุณสุพจน์ หรือเสียงของผม ก็เป็นเพียงเสียงเล็กๆ ที่ถูกกระแสใหญ่ของบรรดานักกิจกรรมและปัญญาชนทั้งหลาย กลบไปหมด .... ที่เหลือ เป็นอย่างไร ก็คงทราบกันดี

ผมคิดมาหลายครั้งว่า จะหาโอกาสเขียนเล่าเรื่องนี้ ไว้เป็น record ต่อสาธารณะ เพื่อ acknowledge "หนี้" ทางความคิดเล็กๆ ที่ผมได้จากคุณสุพจน์ ในช่วงเวลาสำคัญ


คนอื่นที่ไม่ได้แชร์ประสบการณ์หรือจุดยืนในช่วงวิกฤติร่วมกับผม อาจจะรู้สึกว่านี่ไม่สำคัญ แต่ผมเองรู้สึก

นี่เป็นการ record อะไรบางอย่างที่ personal สำหรับผม

แต่จนแล้วจนรอด ผมก็ไม่เคยได้เขียนเล่าเรื่องนี้เสียที
จนกระทั่ง มาได้ข่าว การถึงแก่กรรมของคุณสุพจน์ ในคืนนี้..."

(ดูความเห็นทั้งหมดของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้ที่กระดานข่าวฟ้าเดียวกัน)

 

4.

และนี่คือแถลงการณ์ของสุพจน์ ด่านตระกูล ที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลกล่าวถึง ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1334 วันที่ 10 มี.ค. 2549 โดยมีผู้คัดลอกไว้ในเว็บไซต์วิชาการด็อทคอม ความดังต่อไปนี้

 

....

 

พวกข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ ได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยเลือกตั้งทั่วไป 6 กุมภาพันธ์ 2548 ให้กับผู้รับสมัครเลือกตั้งที่พรรคไทยรักไทยส่งลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่ พวกข้าพเจ้ามีถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์

จากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนั้น ยังผลให้พรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งรัฐบาล โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

ในการที่พวกข้าพเจ้าลงคะแนนเลือกพรรคไทยรักไทย ก็เพื่อให้พรรคไทยรักไทยได้มีโอกาสเข้าไปแก้ไขปัญหาของชาติซึ่งมีอยู่มากมาย และพรรคไทยรักไทยในฐานะรัฐบาลก็ได้ดำเนินการไปตามขีดความสามารถและศักยภาพ ของพรรค

แต่บัดนี้ได้มีปัญหาเฉพาะหน้าของชาติเกิดขึ้น โดยมีคนกลุ่มหนึ่งปลุกปั่น ยุยง ส่งเสริม ด้วยวิธีการต่างๆ ให้ประชาชนละเมิดรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกฎหมายแพ่ง มีเป็นอาทิ

(1) ปลุกปั่นยุยงส่งเสริมให้มีการถวายพระราชอำนาจคืนแก่สถาบันกษัตริย์ อันหมายถึงการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(2) ใช้กฎหมู่บีบบังคับขืนใจให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง

พฤติกรรม ตามข้อ 1-2 นั้น ถ้าเป็นการกระทำของปัจเจกชนโดยสุจริตใจไม่ได้นัดหมายจัดตั้ง ก็เป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่พึงจะกระทำได้ แต่พฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

จึงเป็นการใช้กฎหมู่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง

คือ เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี อันเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ยิ่งนัก ดังที่พวก Ultra Royalist ในฝรั่งเศสสมัยหนึ่งทำให้พระราชวงศ์บูร์บองล่มสลายมาแล้ว

พวกข้าพเจ้าจึงขอเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในเวลานี้อย่างเคร่งครัด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ดังนั้น การออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

เช่นเดียวกัน

ธัมโม หท รักขติ ธัมมจารี ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม

 

สุพจน์ ด่านตระกูล
สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย)

 

000

หมายเหตุ:

ชื่อบทรายงาน "สุพจน์ พลพากษ์ ทวนกรากกระแสชล" นำมาจากบทกาพย์ยานี 11 ที่คุณมังกรดำประพันธ์เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ประชาไทเว็บบอร์ด ระบุว่า "ด้วยเจตนา รจนาคำแทนธูป เพื่อคารวะดวงวิญญาณสุพจน์ ด่านตระกูล บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินท่านนี้" โดยบทประพันธ์มีดังนี้

บรรพ ๑

-------

0 สะบัด ธงทิวราย แจ้งหมาย สัจธรรม
สัญญาณ เพื่อรุกนำ อิสระ เสรีผล

0 สุพจน์ พลพากษ์ ทวนกรากกระแสชล
ความจริง เพื่อขุดค้น ให้ข้อคิด แห่งความจริง

0 ธงทิว พริ้วสะบัด เพื่อชี้ชัด ใช้อ้างอิง
ต่อนี้ ใครจะติง เมื่อผืนธง ละลิ่วลา

-------

 

บรรพ ๒

0 เมื่อมือ ซึ่งถือธง ทรุดร่างลง สยบพื้น
ที่เหลือ ก็หยัดยืน และยื่นมือ รับช่วงธง

0 ร้อยแสน พันหมื่นมือ ปักธงถืออย่างมั่นคง
แน่วแน่ แม้ชีพปลง ส่งช่วงธง มือต่อมือ

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…