ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม
ชื่อหนังสือ : วิญญาณที่ถูกเนรเทศ
ผู้เขียน : วิมล ไทรนิ่มนวล
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2552
วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ไม่ใช่เรื่อง “เหนือจริง”
เมื่ออ่านจบแล้ว ฉันพบว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นวรรณกรรมที่สมควรเหลือเกินที่จะลบชื่อนักเขียน “วิมล ไทรนิ่มนวล” นักเขียนซีไรต์ออกไปและสมควรอย่างยิ่งที่จะยุติการตีตราว่าเป็นนวนิยายเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ปีนี้ ด้วยสาเหตุที่ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นนวนิยายที่บอกเล่าถึงจิตวิญญาณของมนุษยชาติที่ดำรงอยู่ในโลกภาพที่ความจริงถูกคลี่ขยายออกจนถึงพร้อมอย่างสัมบูรณ์
ไม่ว่าปีนี้น้ำยาซีไรต์จะเข้มข้นไปทั้งหม้อ หรือเป็นแค่น้ำยาที่ชวนกินแต่น้ำพริกแกงลอยหน้า ขณะข้างในใสโจ๋งเจ๋งก็ตาม ฉันก็ได้ลงความเห็นว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เล่มนี้ ไม่ควรถูกเนรเทศไปจากหัวใจของผู้อ่านเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากนวนิยายเรื่องนี้ได้ข้ามพ้นหม้อซีไรต์ไปแล้ว
ฉันแน่ใจขนาดนั้นทีเดียว ทั้งที่เพิ่งได้อ่านเล่มนี้เพียงเล่มเดียว จาก ทั้งหมด 7 เล่มที่เข้ารอบมา ใครจะมองเป็นความเร่อร่า ความลำเอียง ที่ไม่สมเหตุสมผลของฉัน ก็เชิญเลย น้อมรับเสมอในความข้อเสียประดามีของฉันนี้
ใครยังไม่รู้ว่า 7 เล่มดังกล่าวนั้น มีนวนิยายเรื่องใดบ้าง เชิญทราบได้
1.วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล
2.เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี
3.ทะเลน้ำนม ของ ชัชวาลย์ โคตรสงคราม
4.ประเทศใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง
5.โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์
6.โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี
7.ลับแลแก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
เนื่องจาก วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ได้จำแนกโลกเอกภาพอันสัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง ออกเป็นโลก 2 ใบด้วยกัน คือ โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย ซึ่งโลก 2 ใบนี้เองที่ถูกนำเสนอผ่านกระบวนความคิดให้บังเกิดเป็น “เรื่องราว” ของความทับซ้อนกันอย่างสัมบูรณ์ในที่สุด
ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
กล่าวคือผู้เขียนทำราวกับว่า ด้วยมุมมองอย่างจำแนกแจกแจงเช่นเดียวกับโลกในวิสัยอย่างวิทยาศาสตร์นั่นเอง ที่เป็นตัวแบ่งแยกโลกอันสัมบูรณ์ออกจากกัน เพื่อที่ผู้เขียนจะเชื่อมโยงมันเข้าอีกครั้งด้วยกระบวนการสร้างเรื่องราวให้เกิดปรากฎการณ์อินเตอร์เซคชั่น หรือการทับซ้อน (ซ้ำกัน) ทีละน้อย ๆ กระทั่งโลกทั้ง 2 ใบค่อย ๆ ขับเคลื่อนจนเป็นความสัมพันธ์อย่างยูเนี่ยน (เหมือนกันทั้งหมด) สุดท้ายก็ทับซ้อนกันสนิทโดยสัมบูรณ์ ความสัมพันธ์เหล่านี้เล่าผ่านเรื่องราวอันเป็นโศกนาฏกรรมที่เหนือกว่าโศกนาฏกรรมใดใดแห่งมนุษยชาติ โดยใช้ความเป็นอัตชีวประวัติของชายหนุ่มนาม วิหค
หากจะแสดงรูปแบบการเคลื่อนไหวผ่านแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยกำหนดให้โลก 2 ใบนั้น คือ
โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย จะเห็นกระบวนการเคลื่อนเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1 แต่เดิมโลก 2 ใบ ได้ซ้อนทับกันอย่างสัมบูรณ์
เก่า ใหม่
2 แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงด้วยวิสัยทางวิทยาศาสตร์
เก่า ใหม่
3 ค่อย ๆ เคลื่อนมาทับซ้อนกัน จุดที่ทับซ้อนกันหรืออินเตอร์เซคชั่น นี่เองที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นเรื่อง “เหนือจริง” ซึ่งปรากฏอยู่ในหลายตอนของเรื่อง เช่น ตอนที่ปู่ทวดถูกโจรปล้นแพซุง แล้วโดนฟันหัวขาดกระเด็น แต่ปู่ทวดยังสามารถฆ่าโจรได้ ก่อนจะกระโดดลงน้ำตามย่าทวดกับปู่แล้วพาว่ายทวนน้ำไปถึงวัดได้อย่างปลอดภัย ก่อนจะตายไปตามสภาพร่างกาย
เก่า ใหม่
4 เคลื่อนมากระทั่งถึงจุดไคลแมกซ์ของเรื่องที่วิหคเพิ่งรู้ตัวว่าตนนั้นได้ตายไปแล้ว
จึงเกิดการรวมกันทั้งสองโลก
เก่า ใหม่
5 กลับคืนสู่ภาพความสัมบูรณ์อีกครั้ง
เก่า ใหม่
นี่คือภาพอย่างคร่าว ที่แสดงให้เห็นลำดับเหตุการณ์ซึ่งเคลื่อนไปเป็นวัฏฏะจักร ผ่านรูปแบบการเขียนอย่างนวนิยายที่ให้รายละเอียดเป็นภาพชีวิตแห่งความเจ็บปวดทรมาน ความว้าเหว่ ความแปลกแยก และเป็นบรรดาความรู้สึกร้ายลึกทั้งหลาย ที่ได้พร่าชีวิตไปจากชีวิตซึ่งยังคงหายใจอยู่ เป็นความตายทั้งที่ยังมีชีวิต วิหค ชายหนุ่มที่ตายทั้งเป็น และยังมีชีวิตหลังจากความตายได้ปลดปล่อย “เขา” ออกจากร่าง
โลกหลังความตายของวิหคกับโลกที่เขาได้ปฏิสนธิเป็นชีวิตก่อนตายนั้น ถูกเล่าผ่านบทตอน ซึ่งแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น บทที่ 1 เริ่มขึ้นตรงที่ วิญญาณยังไม่รู้ตัวว่าตายของวิหคเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ต่อจากนั้นก็เป็นบทที่ 1 – 1 เด็กชายวิหคต้องจากบ้านเกิดไปสู่ทุรกรรมอันไม่รู้จักหน้า ณ กรุงเทพ พร้อมกับประโยคของปู่ ที่ได้ยึดโยงทั้งตัววิหคเองและจิตวิญญาณของเขาให้เป็นดั่ง
“นกประจำถิ่น” ที่แม้จำต้องจากจรไปไกล มันก็จะกลับมายังรวงรังของมัน
“ถ้ามันไม่ไกลเกินไป มันก็จะกลับมา” หรือ “ถ้ามันตาย มันก็จะกลับมา” “เพราะมันเป็นนกประจำถิ่น”
การแบ่งบทตอนเช่นนี้ดำเนินไปกระทั่งจบเรื่อง แต่ละบทตอนก็สอดประสานเข้ากับกระบวนความคิดอย่างโลกุตรภูมิ คือ พื้นฐานแห่งจิตที่จะข้ามพ้นโลก อันเป็นแกนหลักของเรื่องทั้งหมด ซึ่งก็คือโลกแห่งความสัมบูรณ์นั่นเอง
ทุกโลกทัศน์เป็นผู้สร้างสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
เมื่อเห็นโลกทั้งสองใบชัดเจนแล้ว เราจะเห็น “โลก” ในอีกทัศนะหนึ่ง ซึ่งมักจะแฝงเร้น หรือเป็นหลักใหญ่ใจความของวรรณกรรมไทยทั่วไป นั่นคือ โลกสมัยใหม่ กับโลกยุคเก่า สำหรับ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ทัศนะโลกใหม่กับโลกเก่าดังกล่าวก็ได้แฝงอยู่อย่างล้ำลึกเช่นเดียวกัน ต่างแต่โลกสมัยใหม่ไม่ได้เป็นอาชญากรผู้ทำลายล้างคตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์ของโลกยุคเก่า ดังเช่นที่เราเคยรับรู้ผ่านวรรณกรรมเรื่องอื่น เหตุเพราะผู้เขียนมีความชัดเจนในน้ำเสียงเหลือเกินที่จะกล่าวว่า โลกยุคเก่าเองต่างหากเล่าที่เป็
“การอพยพย้ายถิ่นฐาน” เป็นที่มั่นในกระบวนขับเคลื่อนนี้ ดังตอนที่วิหคกับแม่ต้องย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่กรุงเทพ ที่แม่อ้างว่ามีความหวังต่ออนาคตได้ เพราะขืนอยู่ที่นี่ต่อไป ภาพติดตาของพ่อที่ถูกยิงตายบนเรือนนั้นคงเป็นแผลใหญ่ที่ไม่อาจเยียวยาได้ตลอดกาล เช่นเดียวกับรุ่นปู่ทวดย่าทวด ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน
การฮาราคีรีตัวเองของโลกใบเก่านี้ ผู้เขียนไม่ได้มีน้ำเสียงตำหนิติเตียนหรือเยาะหยันแต่อย่างใด หากแต่มันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปเช่นนั้นตามกฎธรรมชาติเอง และถึงแม้นว่า ผู้เขียนจะมีน้ำเสียงชื่นชมบูชาโลกยุคเก่าและตำหนิติเตียนโลกอุตสาหกรรมมากมายเพียงไรก็ตาม เราไม่อาจตีความว่า นี่เป็นเรื่องอย่างแนวเพื่อชีวิตได้เลย
เพราะฉะนั้น เมื่อโลกเก่าขับเคลื่อนเข้าสู่โลกใหม่ โลกใหม่จึงเป็นส่วนผสมระหว่างคติอย่างโลกเก่าและทัศนะอย่างโลกใหม่ และเมื่อลูกผสมระหว่างสองโลกนี้ ได้เคลื่อนมาสู่โลกเก่าอีกครั้ง โลกเก่าจึงไม่ได้ถูก “มองเห็น”จากดวงตาของคนในโลกเก่าอีกต่อไปแล้ว หากแต่ถูกเห็น และรับรู้ผ่านดวงตาของคนที่เคยผ่านมาแล้วทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ อย่างวิหค วิญญาณที่ถูกเนรเทศจากเมืองหลวง
จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกที่ไร้กาลเวลา
เมื่อวิญญาณของวิหคที่ผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับโลกเก่าอันงดงามบริสุทธิ์ ได้เดินทางกลับบ้านเกิดสมใจมุ่งมาดปรารถนาแล้ว แต่เขายังรู้สึกว่า ความหวังที่จะได้พบเจอกับโลกเก่าของเขากลับพังทลายลง เพราะโรงงานอุตสาหกรรมที่ผุดขึ้นมาราวกับมันมีหน้าที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากกัน พร้อมทั้งโยนอาวุธให้ทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อตรงเข้ามล้างกันเอง และมล้างโลกไปพร้อมกัน นี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความทุกข์อันเป็นดั่งบรมทุกข์แห่งมนุษย์ ที่ทำให้เขาต้องรู้สึกราวกับถูกเนรเทศในทุกโลกไป
กระทั่ง “ที่พึ่ง” หรือเครื่องยึดเหนี่ยวเดียวของมนุษย์ ได้เผยตัวขึ้น เขาจึงพบว่า แท้แล้วมนุษย์มีศักยภาพที่จะเป็นผู้สร้าง แต่มนุษย์กลับเลือกที่จะเป็นผู้ทำลายทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง และเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นก็คือตัวเราเอง
ฉะนั้นลักษณะของปรากฏการณ์ “เหนือจริง” ที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเหนือจริง แต่อย่างใด เพราะวิมล ได้คลี่สภาพแห่งความจริงให้ไพศาลออกไปจนครอบคลุม สนิทแน่น ทำลายปราการระหว่างโลกียกับโลกุตร ให้เป็นความสัมบูรณ์
ทั้งนี้ สำหรับผู้อ่านที่อยากจะอ่านบทวิจารณ์ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ สำนวนของ อ.สกุล บุณยทัต โปรดติดตามอ่านได้จากสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้
และหากใครอ่านวิญญาณที่ถูกเนรเทศแล้วเห็นว่า นวนิยายนี้น่าจะถูกเรียกขานเสียใหม่
เป็นนิยายติดกัณฑ์เทศน์ เนื่องจากมีการบรรยาย “ธรรม” เสียเยอะแยะ ฉันจึงขอออกตัวในฐานะผู้อ่านคนหนึ่งว่า นวนิยายที่เขียนถึง “ชีวิต” อย่างครอบคลุมเช่นนี้ ไม่ว่านวนิยายแปลอมตะอย่าง พี่น้องคารามาซอฟ หรือสมัญญาแห่งดอกกุหลาบ หรือเล่มใดก็ตาม มักจะมีบทบรรยายที่เราเรียกกันว่า “ข้อมูลดิบ” อย่างแยะแยะเช่นเดียวกัน และสาเหตุที่ฝีมืออย่างวิมลต้อง “อัดข้อมูลดิบ” เหล่านี้ ก็เพื่อให้ปรุงให้
นวนิยายเล่มนี้เป็นยาครอบจักรวาลสำหรับผู้อ่าน และพร้อมกันนี้ เขาก็ได้ก้าวข้ามกรอบของนวนิยายไปด้วย
ถึงแม้นว่านวนิยายเรื่องนี้จะไม่ได้รางวัลใด ๆ เลย ฉันยังจะยืนยันสุดตัวว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ นี้ ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสำแดงถึงความเป็นมนุษย์ที่แท้ ซึ่งครั้งหนึ่งเราอาจเคยรับรู้มาแต่ครั้งบรรพกาล เพียงแต่เราลบเลือนความทรงจำชนิดนั้นไปแล้ว.
บล็อกของ หัวไม้ story
หัวไม้ story
ชื่อบทความเดิม : เยือนสวนทูนอิน อ่านชีวิต ความคิด 75 กะรัต 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ภู เชียงดาว : เรียบเรียง/รายงาน หมายเหตุ : นี่เป็นมุมมองชีวิต ความคิด ว่าด้วยการเมือง ทหาร การปฏิวัติ สุขภาพ และการเขียนหนังสือ ของ ' รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538 ที่ได้ถ่ายทอดออกมา เมื่อ 20 พ.ค.2550 ณ สวนทูนอิน โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รายงานชิ้นนี้เคยตีพิมพ์ ใน ‘นิตยสารขวัญเรือน' ปักษ์แรก กรกฎาคม 2550 ผู้เขียนขออนุญาตนำมาเรียบเรียง/รายงาน ใน ‘ประชาไท' อีกครั้ง เพื่อเป็นการไว้อาลัยและรำลึกถึงการจากไปอย่างสงบของพญาอินทรีแห่งวรรณกรรม เมื่อค่ำของวันที่ 15 มี.ค.…
หัวไม้ story
“การคุมประชากรด้วยข้อมูลและแนวคิดที่โกหกอาจจะไม่นำไปสู่ประเทศไทยที่สำเร็จได้ แต่กลับเป็นการทำลายการพัฒนาและอนาคตของสังคมไทยเอง”ธงชัย วินิจจะกูล3 มี.ค. 2552
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง หลังจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลและปักหลักพักค้างชุมนุมอยู่หลายคืน โดยมีข้อเรียกร้องคือ 1.ดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2.ปลดนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3.นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ และ 4.ให้ยุบสภา การชุมนุมเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายคืนโดยสงบเรียบร้อย ผู้ชุมนุมยอมให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะรัฐมนตรีเข้าไปทำงานในทำเนียบ โดยไม่มีการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น จนแม้แต่นายอภิสิทธิ์ และรองนายกรัฐมนตรีอย่างนายสุเทพ…
หัวไม้ story
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่ไม่เคยเป็นตัวแสดงหลักในเกมอำนาจโลกเลยนับจากยุคอาณานิคมมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ การร่วมตัวกันของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนามอาเซียนเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของชาติในภูมิภาคนี้ที่จะเสริมสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในยุคสงครามเย็น ภูมิภาคนี้ถูกแบ่งให้เป็น 2 ค่าย ตามบรรยากาศการเมืองโลก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยม ในช่วงทศวรรษที่ 90 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน บทหนทางเสรีนิยมเดียวกัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถูกปฏิบัติในฐานที่เป็นชายขอบแดนของอำนาจต่อรองเช่นเดิม…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง "พฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้กฎหมู่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง คือ เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี อันเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ยิ่งนัก ดังที่พวก Ultra Royalist ในฝรั่งเศสสมัยหนึ่งทำให้พระราชวงศ์บูร์บองล่มสลายมาแล้ว" สุพจน์ ด่านตระกูลสถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย)มีนาคม 2549 1."ลุงสุพจน์" หรือ สุพจน์ ด่านตระกูล นักคิด นักเขียนวัย 86 ปี เสียชีวิตอย่างสงบ หลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อคืนวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมาชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์…
หัวไม้ story
[บันทึกคำปราศรัย 'กษิต ภิรมย์' ถึง 'ฮุน เซน' ในการชุมนุมพันธมิตรฯ เมื่อ 15 ต.ค. และ 27 ต.ค. 2551 โปรดอ่านเพื่อให้เห็น ‘วิสัยทัศน์' และ ‘ท่าที' ต่อประเทศเพื่อนบ้านของรัฐมนตรีผู้ซึ่ง ‘อภิสิทธิ์' ลงทุน 'อุ้ม'] โดย ทีมข่าวการเมือง ประชาไท กษิต ภิรมย์ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 22 ธันวาคม 2551 (ที่มา: Daylife.com/Reuters) เส้นไหน โควตาใครกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลายเป็นสายล่อฟ้า รัฐบาล ‘มาร์ค 1' เพราะข้อครหาว่าเป็นรัฐมนตรีโควตา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' จากบทบาทปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้งนับตั้งแต่ ‘เฟส 1 - 2549'…
หัวไม้ story
"เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกกลัวผมหลบหนี ผมจะหนีไปไหน ผมเป็นคนไทยนะ จะให้ผมไปไหน ผมจ่ายภาษีปีละหลายหมื่นบาท แต่วันนี้ผมรู้สึกเหมือนเป็นแค่คนที่มาอาศัยแผ่นดินอยู่ เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกว่าผมจะทำความผิดซ้ำ จะทำลายหลักฐาน ผมจะทำทำไม ในเมื่อถ้าทำแล้วมีแต่น้ำตา และมันไม่ใช่น้ำตาของผมคนเดียว แต่เป็นน้ำตาของคน 5 คน คือครอบครัวผม ลูกเมียผม ชีวิตผมตอนนี้มีแต่น้ำตา" สุวิชา ท่าค้อ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุด เอ่ยปากผ่านม่านน้ำตาที่ไหลพร่างพรูต่อหน้าแผ่นกระจกบางๆ ที่กั้นระหว่างเขาและผู้สื่อข่าวสุวิชามีการเครียดมาก ร้องไห้เกือบตลอดเวลา…
หัวไม้ story
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘นิวส์ออฟเดอะเวิลด์' ของอังกฤษ มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยมีคนแค่ ‘หลักพัน' คลิกเข้ามาอ่านข่าวประเภทสีสันบันเทิงซุบซิบดารา แต่ทันทีที่สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวบีบีซี เอพี รอยเตอร์ หรือไทม์ของอังกฤษ รายงานว่าเว็บนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มีการเผยแพร่ ‘คลิปหลุด' ของ ‘เจ้าชายแฮรี่' รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยอดผู้เข้าชมก็พุ่งแตะหลัก 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่วัน สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการถกเถียงอย่างจริงจังในชุมชนพลเมืองอินเตอร์เน็ต ว่าด้วยเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ, สิทธิส่วนบุคคล, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…
หัวไม้ story
Photos by : Berd Whitlock , from : http://www.flickr.com/photos/rwhitlock/3167211359/ - ทีมข่าวความมั่นคง - หลังบรรยากาศเฉลิมฉลองคริสมาสต์เพียง 2 วัน และอีกเพียงไม่กี่วันก็จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2551 มันไม่ใช่วันแห่งความสุขรื่นรมย์เหมือนที่อื่นๆ แต่กลับเป็นวันที่แสนเจ็บปวด เลือดไหลรินและน้ำตาไหลนอง ในวันนั้นอิสราเอลลงมือส่งหน่วยปฏิบัติการทางอากาศเข้าโจมตีที่ทำการรัฐบาลฮามาส รวมไปถึงบ้านเรือนของผลเรือน ปฏิบัติดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 800 ราย
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง"สิ่งที่เขาเขียนนั้นเป็นเพียงการกล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์ลับๆ ของพระราชวงศ์ในลำดับที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์โดยไม่แม้แต่จะเอ่ยนามว่าเป็นพระราชวงศ์พระองค์ใด ข้อความที่เขียนนั้นยาวเพียง 2 ประโยค จากหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่แค่ 50 เล่ม แต่เขาอยู่ในคุกไทยมาแล้ว 4 เดือนเต็มๆ โดยคำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 4 ครั้ง"ย่อหน้าข้างบนเป็นการให้ข้อมูลจากองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ซึ่งแสดงความวิตกกังวลในระดับที่หนักขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในประเทศไทย โดยจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ที่ส่งไปยังเครือข่ายนักกิจกรรมด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นทั่วโลก…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมืองภายในประเทศ สื่อไทยและรัฐบาลใหม่ดูจะยังดำเนินไปตามขนบที่เป็นมายาวนานคือยังอยู่ในช่วงเวลาน้ำผึ้งพระจันทร์ แต่นอกพรมแดนรัฐไทยออกไป กลับเป็นบรรยากาศที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกรายงานออกไปดูจะไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลใหม่ของประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้สักเท่าใด น้ำผึ้งไม่หวาน พลันที่ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ สิ่งที่รอยเตอร์แนะนำเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยก็คือ....
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง 000 “ติดใจทฤษฎีแมลงสาบ กลัวว่าพรรคคู่แข่งจะว่า แต่ดูแล้วตอนนี้รัฐบาลชุดนี้ทำตัวเหมือนแมลงสาบเหมือนกัน ในแง่ชอบความสกปรก ความมืด ที่สำคัญคือขยายตัวได้เร็วมาก ปีกว่าๆ ก็แพร่พันธุ์ได้มากมาย ตนคิดว่าหลักการปฏิรูปที่แท้จริงคือทุกคนต้องเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ หากนักการเมืองคิดถึงแต่อำนาจก็ไม่มีทางปฏิรูปได้สำเร็จ เพราะการปฏิรูปต้องผ่องถ่ายอำนาจ ไม่ใช่ใช้อำนาจได้ตามใจและกลัวว่าจะมีการตรวจสอบได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์7 เมษายน 2545 000 “เราได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน…