Skip to main content

 

ทีมข่าวการเมือง

 

องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากลหรือ TI ที่มีสำนักงานที่เบอร์ลินเผยแพร่รายงานดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น (CPI) ประจำปี 2552 นิวซีแลนด์-เดนมาร์ก-สิงคโปร์-สวีเดน โปร่งใสสุด ไทยได้อันดับ 84 ขณะที่ผลสำรวจย้อนหลังพบว่าไทยเคยได้คะแนนดีที่สุดในปี 2548 ขณะที่ในรอบ 5 ปีมานี้คะแนนต่ำสุดช่วงรัฐบาลรัฐประหารในปี 2550

\\/--break--\>

1.เผยผลสำรวจ

ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นปี 2552

 

เมื่อ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (Transparency International) หรือ TI ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี เผยแพร่รายงาน "ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น" (Corruption Perceptions Index - CPI) ประจำปี 2552 ใน 180 ประเทศทั่วโลก โดยให้คะแนนจาก 0-10 โดย 0 หมายถึงการมีปัญหาคอรัปชั่นสูงที่สุด และ 10 หมายถึงมีปัญหาคอรัปชั่นน้อยที่สุด โดยองค์กรนี้สำรวจดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอรัปชั่นของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2538 ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 นี้ ได้จัดอันดับจากประเทศต่างๆ จำนวน 180 ประเทศ โดยจัดอันดับจากผลสำรวจของสำนักโพลล์ต่างๆ จำนวน 10 แห่ง ที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2551 และ 2552

 

ผลการจัดอันดับโดยทั่วไปจะแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจใน ระดับสูงมักจะมีอันดับที่ดีกว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่น้อยกว่า แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อประเทศกำลังพัฒนาด้วย กล่าวคือ ต้องไม่ให้สินบนเพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศที่กำลังพัฒนา หรือต้องไม่สนับสนุนศูนย์กลางการดำเนินธุรกรรมทางการเงินที่อาจเป็นแหล่งฟอก เงินของผู้กระทำความผิด (Safe haven) เช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน

 

นอกจากนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ต้องไม่เพิกเฉยโดยปล่อยให้มีกฎหมายภายในประเทศ ของตนที่ถือว่าข้อมูลทางการเงินเป็นความลับทางธุรกิจ เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นและความตั้งใจที่จะคืน ทรัพย์สินที่ผู้กระทำผิดได้โกงมาจากประเทศของตนแล้วนำไปฝากไว้ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ความพยายามของประเทศที่พัฒนาแล้ว (ซึ่งมีอันดับและคะแนนภาพลักษณ์คอรัปชั่นที่ดี) จะช่วยทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของประเทศที่กำลังพัฒนา (ซึ่งมีคะแนนคอรัปชั่นในระดับต่ำ) ลดความรุนแรงลงและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในประเทศ

 

 

ไทยได้ 3.4 คะแนน อันดับที่ 84 ของโลก

โดยผลการจัดอันดับประจำปี พ.ศ. 2552 พบว่า ประเทศไทยได้ 3.4 คะแนน จัดเป็นอันดับที่ 84 เท่ากับประเทศเอลซาวาดอร์ กัวเตมาลา อินเดีย และปานามา

 

ขณะที่นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก สิงคโปร์และสวีเดน เป็นกลุ่มประเทศที่ครองตำแหน่งสามอันดับแรก (9.4, 9.3 และ 9.2 คะแนน)

 

ส่วนประเทศที่ได้อันดับสุดท้าย ได้แก่ ประเทศอิรัก (1.5 คะแนน) ซูดาน (1.5 คะแนน) พม่า (1.4 คะแนน) อัฟกานิสถาน (1.3 คะแนน) และโซมาเลีย (1.1 คะแนน) ซึ่งประเทศที่มีคะแนนน้อยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม หรือมีความขัดแย้งภายในประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งเป็นสภาพการเมืองการปกครองที่มีความเปราะบาง

 

 

สิงคโปร์คอรัปชั่นน้อยสุดในเอเชีย อยู่ไทยกลางตาราง

เมื่อพิจารณาเฉพาะการจัดอันดับของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีการจัดอันดับทั้งหมด 40 ประเทศ พบว่า ประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 10 อันแรกได้แก่ อันดับ 1 สิงคโปร์ 9.2 คะแนน (อันดับ 3 ของโลก) อันดับ 2 ฮ่องกง 8.2 คะแนน (อันดับ 12 ของโลก) อันดับ 3 ญี่ปุ่น 7.7 คะแนน (อันดับ 17 ของโลก) อันดับ 4 กาตาร์ 7.0 คะแนน (อันดับ 22 ของโลก) อันดับ 5 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) 6.5 คะแนน (อันดับ 30 ของโลก)

 

อันดับ 6 ไต้หวัน 5.6 คะแนน (อันดับ 37 ของโลก) อันดับ 7 มี 3 ประเทศ คือบรูไนดารุสซาลาม โอมาน และเกาหลีใต้ ได้ 5.5 คะแนนเท่ากัน (อันดับ 39 ของโลก) อันดับ 10 คือมาเก๊า 5.3 คะแนน (อันดับ 43 ของโลก)

 

ส่วนไทยซึ่งได้ 3.4 คะแนน (อันดับ 84 ของโลก) อยู่ในอันดับที่ 19 เมื่อเทียบกับชาติในเอเชีย โดยมีประเทศรั้งท้ายคือ พม่าได้ 1.4 คะแนน (อันดับที่ 178 ของโลก) และอัฟกานิสถาน 1.3 คะแนน (อันดับที่ 179 ของโลก) สำหรับดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของประเทศไทยเมื่อเทียบกับเอเชีย ดูได้ที่ตารางที่ 1 ข้างท้าย

 

 

ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นไทยจากปี 2538 ถึงปัจจุบัน

ส่วนดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของไทยในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังจากปี 2552 จนถึงปี 2538 พบว่าในปี 2538 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการจัดอันดับ ไทยได้ 2.79 คะแนน อยู่อันดับที่ 34 จากการจัดอันดับ 41 ประเทศในโลก ในปี 2539 ไทยได้ 3.33 คะแนน อยู่อันดับ 37 จากการจัดอันดับ 54 ประเทศ ในปี 2540 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ไทยได้ 3.06 คะแนน อยู่อันดับที่ 39 จากการจัดอันดับ 52 ประเทศ ในปี 2541 ไทยได้ 3.00 คะแนน อยู่อันดับที่ 61 จากการจัดอันดับ 85 ประเทศ

 

ในปี 2542 – 2545 ไทยได้ 3.20 คะแนนเท่ากันทุกปี โดยปี 2542 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 68 จากการจัดอับดับ 98 ประเทศ ในปี 2543 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 60 จากการจัดอันดับ 90 ประเทศ ในปี 2544 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 61 จากการจัดอันดับ 91 ประเทศ และปี 2545 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 64 จากการจัดอันดับ 102 ประเทศ

 

ในปี 2546 – 2548 ไทยได้คะแนนดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นดีขึ้นเล็กน้อย โดยปี 2546 ไทยได้ 3.30 คะแนน อยู่อันดับที่ 70 จากการจัดอันดับ 133 ประเทศ ปี 2547 ไทยได้ 3.60 คะแนน อยู่อันดับที่ 64 จากการจัดอันดับ 146 ประเทศ และในปี 2548 ไทยได้คะแนนมากที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดอันดับ โดยไทยได้ 3.80 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 59 จากการจัดอันดับ 159 ประเทศ

 

ในปี 2549 จนถึงปัจจุบันซึ่งการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ไทยได้คะแนนลดลงจากเมื่อเทียบกับปี 2548 โดยไปอยู่ในจุดที่คะแนนต่ำสุดในปี 2550 โดยในปี 2549 ไทยได้ 3.60 คะแนน อยู่อันดับที่ 63 จากการจัดอันดับ 163 ประเทศ ในปี 2550 ไทยได้คะแนน 3.30 คะแนน อยู่อันดับที่ 84 จากการจัดอันดับ 179 ประเทศ ในปี 2551 ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.50 คะแนน อยู่อันดับที่ 80 จากการจัดอันดับ 180 ประเทศ และในปี 2552 ไทยได้คะแนนลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2551 โดยได้ 3.40 คะแนน อยู่อันดับที่ 84 จากการจัดอันดับ 180 ประเทศ สำหรับดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นไทยตั้งแต่ปี 2538 – ปัจจุบัน ดูได้ที่ตารางที่ 2 ข้างท้าย

 

 

ตารางที่ 1: ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น (CPI) เปรียบเทียบเฉพาะ 41 ชาติในเอเชีย (ที่มา: เรียบเรียงจาก http://transparency.org/policy_research/surveys_indices/cpi/2009)

 

อันดับในเอเชีย

ประเทศ

คะแนน

อันดับโลก

1

สิงคโปร์

9.2

3

2

ฮ่องกง

8.2

12

3

ญี่ปุ่น

7.7

17

4

กาตาร์

7.0

22

5

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

6.5

30

6

ไต้หวัน

5.6

37

7

บรูไนดารุสซาลาม

5.5

39

7

โอมาน

5.5

39

7

เกาหลีใต้

5.5

39

10

มาเก๊า

5.3

43

11

บาห์เรน

5.1

46

12

ภูฏาน

5.0

49

12

จอร์แดน

5.0

49

14

มาเลเซีย

4.5

56

15

ซาอุดิอาระเบีย

4.3

63

16

คูเวต

4.1

66

17

จีน

3.6

79

18

อินเดีย

3.4

84

18

ไทย

3.4

84

20

ศรีลังกา

3.1

97

21

อินโดนีเซีย

2.8

111

22

คาซัคสถาน

2.7

120

22

มองโกเลีย

2.7

120

22

เวียดนาม

2.7

120

25

ซีเรีย

2.6

126

26

เลบานอน

2.5

130

26

มัลดีฟ

2.5

130

28

บังกลาเทศ

2.4

139

28

ปากีสถาน

2.4

139

28

ฟิลิปปินส์

2.4

139

31

เนปาล

2.3

143

32

ติมอร์ตะวันออก

2.2

146

33

เยเมน

2.1

154

34

กัมพูชา

2.0

158

34

ลาว

2.0

158

34

ทาจีกิสถาน

2.0

158

37

คีร์กิสถาน

1.9

162

38

อิหร่าน

1.8

168

38

เติร์กเมนิสถาน

1.8

168

40

อุซเบกิสถาน

1.7

174

41

อิรัก

1.5

176

42

พม่า

1.4

178

43

อัฟกานิสถาน

1.3

179

 

 

ตารางที่ 2: ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของไทย ระหว่าง พ.ศ. 2538 – 2552 (ที่มา: เรียบเรียงจาก http://transparency.org/ )

ปี พ.ศ.

คะแนน

อันดับ

จำนวนประเทศ

2538

2.79

34

41

2539

3.33

37

54

2540

3.06

39

52

2541

3.00

61

85

2542

3.20

68

98

2543

3.20

60

90

2544

3.20

61

91

2545

3.20

64

102

2546

3.30

70

133

2547

3.60

64

146

2548

3.80

59

159

2549

3.60

63

163

2550

3.30

84

179

2551

3.50

80

180

2552

3.40

84

180

 

 

2.ปฏิกิริยา

 

ป.ป.ช.

หวังพึ่ง ป.ป.ช.อย่างเดียวไม่ได้ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วย

สำหรับปฏิกิริยาหลังผลสำรวจ เมื่อวานนี้ (18 พ.ย.) เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่า ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์กรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทยเปิดเผยการจัดอันดับดัชนีวัดภาพลักษณ์คอรัปชั่น ประจำปี 2552 โดยไทยได้คะแนน 3.4 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 84 จาก 180 ประเทศ ว่า ไม่ใช่เรื่องตกใจอะไร เพราะคาดไว้อยู่แล้ว ซึ่ง ป.ป.ช.ได้พยายามแก้ปัญหาอย่างมากแล้ว แต่จะพึ่ง ป.ป.ช.อย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วย เพราะความเชื่อถือจากต่างประเทศขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นหลัก

 

อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.คงต้องปรับยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพิ่มเติม เพื่อให้ประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือในสายตาต่างประเทศให้ได้ โดยส่วนตัวเห็นว่าสาเหตุที่ประเทศไทยมีคะแนนทุจริตคอรัปชั่นแย่ลงกว่าเดิม มาจากปัญหาสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่ยังไม่นิ่ง ชาวต่างชาติจึงไม่กล้ามาลงทุน ทำให้ความเชื่อถือและความศรัทธาต่างๆอาจยังไม่เข้าที่ ดังนั้น ป.ป.ช.จึงต้องทำงานหนักขึ้น และร่วมมือกับฝ่ายต่างๆมากขึ้น โดยตั้งแต่เดือน ธ.ค.เป็นต้นไป ป.ป.ช.จะเริ่มลุยปูพรมไปไต่สวนการทุจริตในท้องถิ่นและให้ความรู้เรื่องการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินฯมากขึ้น เริ่มจาก จ.นครราชสีมา ตลอดจนจะส่งทีมเคลื่อนที่ไปตามกระทรวง ทบวง กรมต่างๆเพื่อให้ความรู้ สร้างเครือข่ายและหาแนวร่วมป้องกันการทุจริต เชื่อว่ามาตรการที่ออกมาน่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการทุจริตลงได้

 

 

รัฐบาล

มาร์คเชื่อมาตรการที่ออกมาจะแก้คอรัปชั่นได้ชัดเจนมากขึ้น

ด้านเว็บไซต์คมชัดลึก รายงานว่า เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้ (18 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทยจัดรายงานการอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น ประจำปี 2552 โดยการทุจริตของไทยอยู่ในอันดับที่ 84 จาก 180 ประเทศว่า คะแนนการคอร์รัปชั่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องสะสางอีกเยอะกว่าที่จะดีขึ้นมา ตนคิดว่ามาตรการต่างๆ กำลังจะดำเนินการให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

โดยเฉพาะต้องยอมรับว่าระยะหลังนี้เรามุ่งให้องค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบและการทำงานเชิงป้องกัน และประสานโดยฝ่ายบริหารนั้นต้องกระทำมากขึ้น ตนประสานไปยังองค์กรอิสะแล้ว และรอรูปแบบการทำงานร่วมกันที่ชัดเจนขึ้นระหว่างฝ่ายบริหาร - องค์กรอิสระ ที่ไม่ต้องรอว่าเมื่อเกิดเรื่องแล้วจะเป็นเรื่องการตรวจสอบเท่านั้น เช่น กรณีที่อนุกรรมการ ปปช. นำข้อมูลเรื่องการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4000 คันของ ขสมก.มาเสนอ ครม.นั้น มันเป็นตัวอย่างว่าจริงๆ แล้วควรจะร่วมกันทำงานโดยเริ่มต้น ตั้งแต่ชั้นการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้น ส่วนแนวทางการสร้างกลไกใหม่ในการป้องกันเรื่องนี้นั้น

 

รัฐบาลมีผู้ประสานงานนี้อยู่และกำลังไปขอความเห็นจากองค์กรอิสระต่างๆ โดยกลไกนี้จะทำให้การทำงานที่มีมาตรการเชิงป้องกันดีขึ้น ส่วนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและต้องตรวจสอบนั้น ขอยืนยันว่ารัฐบาลกระทำเต็มที่และทุกกรณีที่เกิดขึ้น เมื่อถามว่าได้รับรายงานการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขแล้วหรือไม่ นายกฯกล่าวว่าเข้าใจว่าใกล้แล้วเพราะคณะกรรมการอิสระฯขอเวลาไม่นานมากและเห็นว่าได้ข้อมูลค่อนข้างเยอะเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการต่างๆและตนยังไม่ทราบผล เมื่อถามว่ามั่นใจว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นมวยล้มหรือไม่ นายกฯกล่าวว่าคณะกรรมการฯจะเป็นผู้ให้เหตุผลในข้อสรุปนั้นๆ และรัฐบาลเปิดโอกาสให้ความร่วมมือในการทำงานและให้ข้อมูลเต็มที่

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ชื่อบทความเดิม : เยือนสวนทูนอิน อ่านชีวิต ความคิด 75 กะรัต 'รงค์ วงษ์สวรรค์  ภู เชียงดาว : เรียบเรียง/รายงาน   หมายเหตุ : นี่เป็นมุมมองชีวิต ความคิด ว่าด้วยการเมือง ทหาร การปฏิวัติ สุขภาพ และการเขียนหนังสือ ของ ' รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538 ที่ได้ถ่ายทอดออกมา เมื่อ 20 พ.ค.2550 ณ สวนทูนอิน โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รายงานชิ้นนี้เคยตีพิมพ์ ใน ‘นิตยสารขวัญเรือน' ปักษ์แรก กรกฎาคม 2550 ผู้เขียนขออนุญาตนำมาเรียบเรียง/รายงาน ใน ‘ประชาไท' อีกครั้ง เพื่อเป็นการไว้อาลัยและรำลึกถึงการจากไปอย่างสงบของพญาอินทรีแห่งวรรณกรรม เมื่อค่ำของวันที่ 15 มี.ค.…
หัวไม้ story
“การคุมประชากรด้วยข้อมูลและแนวคิดที่โกหกอาจจะไม่นำไปสู่ประเทศไทยที่สำเร็จได้ แต่กลับเป็นการทำลายการพัฒนาและอนาคตของสังคมไทยเอง”ธงชัย วินิจจะกูล3 มี.ค. 2552
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง หลังจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลและปักหลักพักค้างชุมนุมอยู่หลายคืน โดยมีข้อเรียกร้องคือ 1.ดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2.ปลดนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3.นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ และ 4.ให้ยุบสภา การชุมนุมเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายคืนโดยสงบเรียบร้อย ผู้ชุมนุมยอมให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะรัฐมนตรีเข้าไปทำงานในทำเนียบ โดยไม่มีการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น จนแม้แต่นายอภิสิทธิ์ และรองนายกรัฐมนตรีอย่างนายสุเทพ…
หัวไม้ story
  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่ไม่เคยเป็นตัวแสดงหลักในเกมอำนาจโลกเลยนับจากยุคอาณานิคมมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ การร่วมตัวกันของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนามอาเซียนเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของชาติในภูมิภาคนี้ที่จะเสริมสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในยุคสงครามเย็น ภูมิภาคนี้ถูกแบ่งให้เป็น 2 ค่าย ตามบรรยากาศการเมืองโลก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยม ในช่วงทศวรรษที่ 90 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน บทหนทางเสรีนิยมเดียวกัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถูกปฏิบัติในฐานที่เป็นชายขอบแดนของอำนาจต่อรองเช่นเดิม…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมือง   "พฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้กฎหมู่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง คือ เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี อันเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ยิ่งนัก ดังที่พวก Ultra Royalist ในฝรั่งเศสสมัยหนึ่งทำให้พระราชวงศ์บูร์บองล่มสลายมาแล้ว" สุพจน์ ด่านตระกูลสถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย)มีนาคม 2549 1."ลุงสุพจน์" หรือ สุพจน์ ด่านตระกูล นักคิด นักเขียนวัย 86 ปี เสียชีวิตอย่างสงบ หลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อคืนวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมาชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์…
หัวไม้ story
[บันทึกคำปราศรัย 'กษิต ภิรมย์' ถึง 'ฮุน เซน' ในการชุมนุมพันธมิตรฯ เมื่อ 15 ต.ค. และ 27 ต.ค. 2551 โปรดอ่านเพื่อให้เห็น ‘วิสัยทัศน์' และ ‘ท่าที' ต่อประเทศเพื่อนบ้านของรัฐมนตรีผู้ซึ่ง ‘อภิสิทธิ์'  ลงทุน 'อุ้ม'] โดย ทีมข่าวการเมือง ประชาไท  กษิต ภิรมย์ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 22 ธันวาคม 2551 (ที่มา: Daylife.com/Reuters) เส้นไหน โควตาใครกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลายเป็นสายล่อฟ้า รัฐบาล ‘มาร์ค 1' เพราะข้อครหาว่าเป็นรัฐมนตรีโควตา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' จากบทบาทปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้งนับตั้งแต่ ‘เฟส 1 - 2549'…
หัวไม้ story
  "เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกกลัวผมหลบหนี ผมจะหนีไปไหน ผมเป็นคนไทยนะ จะให้ผมไปไหน ผมจ่ายภาษีปีละหลายหมื่นบาท แต่วันนี้ผมรู้สึกเหมือนเป็นแค่คนที่มาอาศัยแผ่นดินอยู่ เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกว่าผมจะทำความผิดซ้ำ จะทำลายหลักฐาน ผมจะทำทำไม ในเมื่อถ้าทำแล้วมีแต่น้ำตา และมันไม่ใช่น้ำตาของผมคนเดียว แต่เป็นน้ำตาของคน 5 คน คือครอบครัวผม ลูกเมียผม ชีวิตผมตอนนี้มีแต่น้ำตา" สุวิชา ท่าค้อ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุด เอ่ยปากผ่านม่านน้ำตาที่ไหลพร่างพรูต่อหน้าแผ่นกระจกบางๆ ที่กั้นระหว่างเขาและผู้สื่อข่าวสุวิชามีการเครียดมาก ร้องไห้เกือบตลอดเวลา…
หัวไม้ story
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘นิวส์ออฟเดอะเวิลด์' ของอังกฤษ มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยมีคนแค่ ‘หลักพัน' คลิกเข้ามาอ่านข่าวประเภทสีสันบันเทิงซุบซิบดารา แต่ทันทีที่สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวบีบีซี เอพี รอยเตอร์ หรือไทม์ของอังกฤษ รายงานว่าเว็บนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มีการเผยแพร่ ‘คลิปหลุด' ของ ‘เจ้าชายแฮรี่' รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยอดผู้เข้าชมก็พุ่งแตะหลัก 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่วัน สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการถกเถียงอย่างจริงจังในชุมชนพลเมืองอินเตอร์เน็ต ว่าด้วยเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ, สิทธิส่วนบุคคล, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…
หัวไม้ story
 Photos by : Berd Whitlock , from : http://www.flickr.com/photos/rwhitlock/3167211359/     - ทีมข่าวความมั่นคง -  หลังบรรยากาศเฉลิมฉลองคริสมาสต์เพียง 2 วัน และอีกเพียงไม่กี่วันก็จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2551 มันไม่ใช่วันแห่งความสุขรื่นรมย์เหมือนที่อื่นๆ แต่กลับเป็นวันที่แสนเจ็บปวด เลือดไหลรินและน้ำตาไหลนอง ในวันนั้นอิสราเอลลงมือส่งหน่วยปฏิบัติการทางอากาศเข้าโจมตีที่ทำการรัฐบาลฮามาส รวมไปถึงบ้านเรือนของผลเรือน ปฏิบัติดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 800 ราย
หัวไม้ story
  ทีมข่าวการเมือง"สิ่งที่เขาเขียนนั้นเป็นเพียงการกล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์ลับๆ ของพระราชวงศ์ในลำดับที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์โดยไม่แม้แต่จะเอ่ยนามว่าเป็นพระราชวงศ์พระองค์ใด ข้อความที่เขียนนั้นยาวเพียง 2 ประโยค จากหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่แค่ 50 เล่ม แต่เขาอยู่ในคุกไทยมาแล้ว 4 เดือนเต็มๆ โดยคำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 4 ครั้ง"ย่อหน้าข้างบนเป็นการให้ข้อมูลจากองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ซึ่งแสดงความวิตกกังวลในระดับที่หนักขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในประเทศไทย โดยจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ที่ส่งไปยังเครือข่ายนักกิจกรรมด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นทั่วโลก…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองภายในประเทศ สื่อไทยและรัฐบาลใหม่ดูจะยังดำเนินไปตามขนบที่เป็นมายาวนานคือยังอยู่ในช่วงเวลาน้ำผึ้งพระจันทร์ แต่นอกพรมแดนรัฐไทยออกไป กลับเป็นบรรยากาศที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกรายงานออกไปดูจะไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลใหม่ของประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้สักเท่าใด น้ำผึ้งไม่หวาน พลันที่ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ สิ่งที่รอยเตอร์แนะนำเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยก็คือ....
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง   000 “ติดใจทฤษฎีแมลงสาบ กลัวว่าพรรคคู่แข่งจะว่า แต่ดูแล้วตอนนี้รัฐบาลชุดนี้ทำตัวเหมือนแมลงสาบเหมือนกัน ในแง่ชอบความสกปรก ความมืด ที่สำคัญคือขยายตัวได้เร็วมาก ปีกว่าๆ ก็แพร่พันธุ์ได้มากมาย ตนคิดว่าหลักการปฏิรูปที่แท้จริงคือทุกคนต้องเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ หากนักการเมืองคิดถึงแต่อำนาจก็ไม่มีทางปฏิรูปได้สำเร็จ เพราะการปฏิรูปต้องผ่องถ่ายอำนาจ ไม่ใช่ใช้อำนาจได้ตามใจและกลัวว่าจะมีการตรวจสอบได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์7 เมษายน 2545 000 “เราได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน…