Skip to main content

 

ทีมข่าวการเมือง

 

องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากลหรือ TI ที่มีสำนักงานที่เบอร์ลินเผยแพร่รายงานดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น (CPI) ประจำปี 2552 นิวซีแลนด์-เดนมาร์ก-สิงคโปร์-สวีเดน โปร่งใสสุด ไทยได้อันดับ 84 ขณะที่ผลสำรวจย้อนหลังพบว่าไทยเคยได้คะแนนดีที่สุดในปี 2548 ขณะที่ในรอบ 5 ปีมานี้คะแนนต่ำสุดช่วงรัฐบาลรัฐประหารในปี 2550

\\/--break--\>

1.เผยผลสำรวจ

ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นปี 2552

 

เมื่อ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (Transparency International) หรือ TI ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี เผยแพร่รายงาน "ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น" (Corruption Perceptions Index - CPI) ประจำปี 2552 ใน 180 ประเทศทั่วโลก โดยให้คะแนนจาก 0-10 โดย 0 หมายถึงการมีปัญหาคอรัปชั่นสูงที่สุด และ 10 หมายถึงมีปัญหาคอรัปชั่นน้อยที่สุด โดยองค์กรนี้สำรวจดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอรัปชั่นของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2538 ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 นี้ ได้จัดอันดับจากประเทศต่างๆ จำนวน 180 ประเทศ โดยจัดอันดับจากผลสำรวจของสำนักโพลล์ต่างๆ จำนวน 10 แห่ง ที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2551 และ 2552

 

ผลการจัดอันดับโดยทั่วไปจะแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจใน ระดับสูงมักจะมีอันดับที่ดีกว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่น้อยกว่า แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อประเทศกำลังพัฒนาด้วย กล่าวคือ ต้องไม่ให้สินบนเพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศที่กำลังพัฒนา หรือต้องไม่สนับสนุนศูนย์กลางการดำเนินธุรกรรมทางการเงินที่อาจเป็นแหล่งฟอก เงินของผู้กระทำความผิด (Safe haven) เช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน

 

นอกจากนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ต้องไม่เพิกเฉยโดยปล่อยให้มีกฎหมายภายในประเทศ ของตนที่ถือว่าข้อมูลทางการเงินเป็นความลับทางธุรกิจ เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นและความตั้งใจที่จะคืน ทรัพย์สินที่ผู้กระทำผิดได้โกงมาจากประเทศของตนแล้วนำไปฝากไว้ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ความพยายามของประเทศที่พัฒนาแล้ว (ซึ่งมีอันดับและคะแนนภาพลักษณ์คอรัปชั่นที่ดี) จะช่วยทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของประเทศที่กำลังพัฒนา (ซึ่งมีคะแนนคอรัปชั่นในระดับต่ำ) ลดความรุนแรงลงและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในประเทศ

 

 

ไทยได้ 3.4 คะแนน อันดับที่ 84 ของโลก

โดยผลการจัดอันดับประจำปี พ.ศ. 2552 พบว่า ประเทศไทยได้ 3.4 คะแนน จัดเป็นอันดับที่ 84 เท่ากับประเทศเอลซาวาดอร์ กัวเตมาลา อินเดีย และปานามา

 

ขณะที่นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก สิงคโปร์และสวีเดน เป็นกลุ่มประเทศที่ครองตำแหน่งสามอันดับแรก (9.4, 9.3 และ 9.2 คะแนน)

 

ส่วนประเทศที่ได้อันดับสุดท้าย ได้แก่ ประเทศอิรัก (1.5 คะแนน) ซูดาน (1.5 คะแนน) พม่า (1.4 คะแนน) อัฟกานิสถาน (1.3 คะแนน) และโซมาเลีย (1.1 คะแนน) ซึ่งประเทศที่มีคะแนนน้อยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม หรือมีความขัดแย้งภายในประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งเป็นสภาพการเมืองการปกครองที่มีความเปราะบาง

 

 

สิงคโปร์คอรัปชั่นน้อยสุดในเอเชีย อยู่ไทยกลางตาราง

เมื่อพิจารณาเฉพาะการจัดอันดับของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีการจัดอันดับทั้งหมด 40 ประเทศ พบว่า ประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 10 อันแรกได้แก่ อันดับ 1 สิงคโปร์ 9.2 คะแนน (อันดับ 3 ของโลก) อันดับ 2 ฮ่องกง 8.2 คะแนน (อันดับ 12 ของโลก) อันดับ 3 ญี่ปุ่น 7.7 คะแนน (อันดับ 17 ของโลก) อันดับ 4 กาตาร์ 7.0 คะแนน (อันดับ 22 ของโลก) อันดับ 5 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) 6.5 คะแนน (อันดับ 30 ของโลก)

 

อันดับ 6 ไต้หวัน 5.6 คะแนน (อันดับ 37 ของโลก) อันดับ 7 มี 3 ประเทศ คือบรูไนดารุสซาลาม โอมาน และเกาหลีใต้ ได้ 5.5 คะแนนเท่ากัน (อันดับ 39 ของโลก) อันดับ 10 คือมาเก๊า 5.3 คะแนน (อันดับ 43 ของโลก)

 

ส่วนไทยซึ่งได้ 3.4 คะแนน (อันดับ 84 ของโลก) อยู่ในอันดับที่ 19 เมื่อเทียบกับชาติในเอเชีย โดยมีประเทศรั้งท้ายคือ พม่าได้ 1.4 คะแนน (อันดับที่ 178 ของโลก) และอัฟกานิสถาน 1.3 คะแนน (อันดับที่ 179 ของโลก) สำหรับดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของประเทศไทยเมื่อเทียบกับเอเชีย ดูได้ที่ตารางที่ 1 ข้างท้าย

 

 

ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นไทยจากปี 2538 ถึงปัจจุบัน

ส่วนดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของไทยในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังจากปี 2552 จนถึงปี 2538 พบว่าในปี 2538 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการจัดอันดับ ไทยได้ 2.79 คะแนน อยู่อันดับที่ 34 จากการจัดอันดับ 41 ประเทศในโลก ในปี 2539 ไทยได้ 3.33 คะแนน อยู่อันดับ 37 จากการจัดอันดับ 54 ประเทศ ในปี 2540 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ไทยได้ 3.06 คะแนน อยู่อันดับที่ 39 จากการจัดอันดับ 52 ประเทศ ในปี 2541 ไทยได้ 3.00 คะแนน อยู่อันดับที่ 61 จากการจัดอันดับ 85 ประเทศ

 

ในปี 2542 – 2545 ไทยได้ 3.20 คะแนนเท่ากันทุกปี โดยปี 2542 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 68 จากการจัดอับดับ 98 ประเทศ ในปี 2543 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 60 จากการจัดอันดับ 90 ประเทศ ในปี 2544 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 61 จากการจัดอันดับ 91 ประเทศ และปี 2545 ไทยได้ 3.20 คะแนน อยู่อันดับที่ 64 จากการจัดอันดับ 102 ประเทศ

 

ในปี 2546 – 2548 ไทยได้คะแนนดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นดีขึ้นเล็กน้อย โดยปี 2546 ไทยได้ 3.30 คะแนน อยู่อันดับที่ 70 จากการจัดอันดับ 133 ประเทศ ปี 2547 ไทยได้ 3.60 คะแนน อยู่อันดับที่ 64 จากการจัดอันดับ 146 ประเทศ และในปี 2548 ไทยได้คะแนนมากที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดอันดับ โดยไทยได้ 3.80 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 59 จากการจัดอันดับ 159 ประเทศ

 

ในปี 2549 จนถึงปัจจุบันซึ่งการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ไทยได้คะแนนลดลงจากเมื่อเทียบกับปี 2548 โดยไปอยู่ในจุดที่คะแนนต่ำสุดในปี 2550 โดยในปี 2549 ไทยได้ 3.60 คะแนน อยู่อันดับที่ 63 จากการจัดอันดับ 163 ประเทศ ในปี 2550 ไทยได้คะแนน 3.30 คะแนน อยู่อันดับที่ 84 จากการจัดอันดับ 179 ประเทศ ในปี 2551 ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.50 คะแนน อยู่อันดับที่ 80 จากการจัดอันดับ 180 ประเทศ และในปี 2552 ไทยได้คะแนนลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2551 โดยได้ 3.40 คะแนน อยู่อันดับที่ 84 จากการจัดอันดับ 180 ประเทศ สำหรับดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นไทยตั้งแต่ปี 2538 – ปัจจุบัน ดูได้ที่ตารางที่ 2 ข้างท้าย

 

 

ตารางที่ 1: ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น (CPI) เปรียบเทียบเฉพาะ 41 ชาติในเอเชีย (ที่มา: เรียบเรียงจาก http://transparency.org/policy_research/surveys_indices/cpi/2009)

 

อันดับในเอเชีย

ประเทศ

คะแนน

อันดับโลก

1

สิงคโปร์

9.2

3

2

ฮ่องกง

8.2

12

3

ญี่ปุ่น

7.7

17

4

กาตาร์

7.0

22

5

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

6.5

30

6

ไต้หวัน

5.6

37

7

บรูไนดารุสซาลาม

5.5

39

7

โอมาน

5.5

39

7

เกาหลีใต้

5.5

39

10

มาเก๊า

5.3

43

11

บาห์เรน

5.1

46

12

ภูฏาน

5.0

49

12

จอร์แดน

5.0

49

14

มาเลเซีย

4.5

56

15

ซาอุดิอาระเบีย

4.3

63

16

คูเวต

4.1

66

17

จีน

3.6

79

18

อินเดีย

3.4

84

18

ไทย

3.4

84

20

ศรีลังกา

3.1

97

21

อินโดนีเซีย

2.8

111

22

คาซัคสถาน

2.7

120

22

มองโกเลีย

2.7

120

22

เวียดนาม

2.7

120

25

ซีเรีย

2.6

126

26

เลบานอน

2.5

130

26

มัลดีฟ

2.5

130

28

บังกลาเทศ

2.4

139

28

ปากีสถาน

2.4

139

28

ฟิลิปปินส์

2.4

139

31

เนปาล

2.3

143

32

ติมอร์ตะวันออก

2.2

146

33

เยเมน

2.1

154

34

กัมพูชา

2.0

158

34

ลาว

2.0

158

34

ทาจีกิสถาน

2.0

158

37

คีร์กิสถาน

1.9

162

38

อิหร่าน

1.8

168

38

เติร์กเมนิสถาน

1.8

168

40

อุซเบกิสถาน

1.7

174

41

อิรัก

1.5

176

42

พม่า

1.4

178

43

อัฟกานิสถาน

1.3

179

 

 

ตารางที่ 2: ดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของไทย ระหว่าง พ.ศ. 2538 – 2552 (ที่มา: เรียบเรียงจาก http://transparency.org/ )

ปี พ.ศ.

คะแนน

อันดับ

จำนวนประเทศ

2538

2.79

34

41

2539

3.33

37

54

2540

3.06

39

52

2541

3.00

61

85

2542

3.20

68

98

2543

3.20

60

90

2544

3.20

61

91

2545

3.20

64

102

2546

3.30

70

133

2547

3.60

64

146

2548

3.80

59

159

2549

3.60

63

163

2550

3.30

84

179

2551

3.50

80

180

2552

3.40

84

180

 

 

2.ปฏิกิริยา

 

ป.ป.ช.

หวังพึ่ง ป.ป.ช.อย่างเดียวไม่ได้ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วย

สำหรับปฏิกิริยาหลังผลสำรวจ เมื่อวานนี้ (18 พ.ย.) เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่า ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์กรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทยเปิดเผยการจัดอันดับดัชนีวัดภาพลักษณ์คอรัปชั่น ประจำปี 2552 โดยไทยได้คะแนน 3.4 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 84 จาก 180 ประเทศ ว่า ไม่ใช่เรื่องตกใจอะไร เพราะคาดไว้อยู่แล้ว ซึ่ง ป.ป.ช.ได้พยายามแก้ปัญหาอย่างมากแล้ว แต่จะพึ่ง ป.ป.ช.อย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วย เพราะความเชื่อถือจากต่างประเทศขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นหลัก

 

อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.คงต้องปรับยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพิ่มเติม เพื่อให้ประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือในสายตาต่างประเทศให้ได้ โดยส่วนตัวเห็นว่าสาเหตุที่ประเทศไทยมีคะแนนทุจริตคอรัปชั่นแย่ลงกว่าเดิม มาจากปัญหาสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่ยังไม่นิ่ง ชาวต่างชาติจึงไม่กล้ามาลงทุน ทำให้ความเชื่อถือและความศรัทธาต่างๆอาจยังไม่เข้าที่ ดังนั้น ป.ป.ช.จึงต้องทำงานหนักขึ้น และร่วมมือกับฝ่ายต่างๆมากขึ้น โดยตั้งแต่เดือน ธ.ค.เป็นต้นไป ป.ป.ช.จะเริ่มลุยปูพรมไปไต่สวนการทุจริตในท้องถิ่นและให้ความรู้เรื่องการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินฯมากขึ้น เริ่มจาก จ.นครราชสีมา ตลอดจนจะส่งทีมเคลื่อนที่ไปตามกระทรวง ทบวง กรมต่างๆเพื่อให้ความรู้ สร้างเครือข่ายและหาแนวร่วมป้องกันการทุจริต เชื่อว่ามาตรการที่ออกมาน่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการทุจริตลงได้

 

 

รัฐบาล

มาร์คเชื่อมาตรการที่ออกมาจะแก้คอรัปชั่นได้ชัดเจนมากขึ้น

ด้านเว็บไซต์คมชัดลึก รายงานว่า เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้ (18 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทยจัดรายงานการอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น ประจำปี 2552 โดยการทุจริตของไทยอยู่ในอันดับที่ 84 จาก 180 ประเทศว่า คะแนนการคอร์รัปชั่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องสะสางอีกเยอะกว่าที่จะดีขึ้นมา ตนคิดว่ามาตรการต่างๆ กำลังจะดำเนินการให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

โดยเฉพาะต้องยอมรับว่าระยะหลังนี้เรามุ่งให้องค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบและการทำงานเชิงป้องกัน และประสานโดยฝ่ายบริหารนั้นต้องกระทำมากขึ้น ตนประสานไปยังองค์กรอิสะแล้ว และรอรูปแบบการทำงานร่วมกันที่ชัดเจนขึ้นระหว่างฝ่ายบริหาร - องค์กรอิสระ ที่ไม่ต้องรอว่าเมื่อเกิดเรื่องแล้วจะเป็นเรื่องการตรวจสอบเท่านั้น เช่น กรณีที่อนุกรรมการ ปปช. นำข้อมูลเรื่องการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4000 คันของ ขสมก.มาเสนอ ครม.นั้น มันเป็นตัวอย่างว่าจริงๆ แล้วควรจะร่วมกันทำงานโดยเริ่มต้น ตั้งแต่ชั้นการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้น ส่วนแนวทางการสร้างกลไกใหม่ในการป้องกันเรื่องนี้นั้น

 

รัฐบาลมีผู้ประสานงานนี้อยู่และกำลังไปขอความเห็นจากองค์กรอิสระต่างๆ โดยกลไกนี้จะทำให้การทำงานที่มีมาตรการเชิงป้องกันดีขึ้น ส่วนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและต้องตรวจสอบนั้น ขอยืนยันว่ารัฐบาลกระทำเต็มที่และทุกกรณีที่เกิดขึ้น เมื่อถามว่าได้รับรายงานการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขแล้วหรือไม่ นายกฯกล่าวว่าเข้าใจว่าใกล้แล้วเพราะคณะกรรมการอิสระฯขอเวลาไม่นานมากและเห็นว่าได้ข้อมูลค่อนข้างเยอะเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการต่างๆและตนยังไม่ทราบผล เมื่อถามว่ามั่นใจว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นมวยล้มหรือไม่ นายกฯกล่าวว่าคณะกรรมการฯจะเป็นผู้ให้เหตุผลในข้อสรุปนั้นๆ และรัฐบาลเปิดโอกาสให้ความร่วมมือในการทำงานและให้ข้อมูลเต็มที่

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง อาจจะฮือฮามาสักพักแล้วกับเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของนักการเมืองค่ายประชาธิปัตย์ นำโดย หล่อใหญ่ อภิสิทธิ์ ตามมาด้วยสาทิตย์ วงษ์หนองเตย  แต่ก็ยังอาจจะยังไม่เห็นประสิทธิผลมากนักสำหรับการเปิดพื้นที่ใหม่ในสื่อใหม่ในโลกออนไลน์ เพราะยังไม่มีการใช้สำหรับแคมเปญหาเสียง หรือแคมเปญกิจกรรมอะไรพิเศษ แต่แล้ว เมื่อเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ชื่อ thaksinlive เริ่มเป็นที่รับรู้ของชาวไซเบอร์เพียงไม่กี่วัน ก็กลับฮือฮาเป็นกระแสพ้นพรมแดนโลกไซเบอร์ออกมาเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนไปทุกพรมแดนความรับรู้ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม
หัวไม้ story
ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม         ชื่อหนังสือ         :           วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ผู้เขียน              :           วิมล ไทรนิ่มนวล จัดพิมพ์โดย       :   …
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง 5 แกนนำพันธมิตร ขึ้นปราศรัย ระหว่างงานรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อ 25 พ.ค. 52 ที่สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี (ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 25 พ.ค. 52)
หัวไม้ story
หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงจบลงไปในวันที่ 14 เมษายน 2552 โดยการชุมนุมครั้งนั้นเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายจุด ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้อาวุธ ทั้งจากฝ่ายตำรวจ ผู้ชุมนุม และกลุ่มไม่ทราบฝ่าย ช่วงเวลา 2-3 วันให้หลัง ประชาไทพยายามติดตามหาพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทว่าพยานบุคคลหลายคนเลือกที่จะเป็นเสียงเงียบ และหลายคนเลือกการเดินทางกลับต่างจังหวัด บรรยากาศภายใน 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ดูเหมือนเป็นบรรยากาศแห่งความเงียบและหวาดระแวงสำหรับผู้เคยเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง นั่นทำให้เราเริ่มคิดถึงคนเสื้อแดงที่ต่างจังหวัด…
หัวไม้ story
สัมภาษณ์ เสรี สาระนันท์ ส.ส. หลายสมัยจากอ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ถึงเหตุผลที่ ส.ส. ยังคงต้องอยู่กับเสื้อแดงและทักษิณ และกระบวนการจัดการเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียง และเป็นมวลชนที่เข้าร่วมการชุมนุม รวมถึงให้เขาประเมินอนาคตของทั้งตนเองและขั้วอำนาจฝ่ายสีแดง การสัมภาษณ์ครั้งนี้สะท้อนถึงพลังของ "ปีศาจ" อย่างทักษิณ ที่จะยังครอบงำจิตใจชาวบ้านและหลอกหลอนการเมืองขั้วตรงข้ามต่อไปอย่างยากจะเปลี่ยนแปลง
หัวไม้ story
เสียง ภาพ ชาวบ้านเสื้อแดง ตำบลหนองไผ่ จังหวัดอุดรธานี บอกเล่าความรู้สึกและความเห็นทางการเมือง ว่าด้วยประชาธิปไตย และทักษิณ หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ยุติลงในช่วงบ่ายของวันที่ 14 เม.ย. อนึ่ง ชาวบ้านบางส่วน ได้เข้ามาร่วมการชุมนุมคนเสื้อแดงในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่อีกบางส่วนไม่ได้เข้าร่วม แต่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่ที่บ้าน ผ่านสถานีดีสเตชั่น และวิทยุชุมชนคนรักอุดร ประชาไทบันทึกคลิปวีดีโอ เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่ผ่านมา
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง [การโหยหาอดีตของสองทหารแก่ สุรชัย-เปรม อาจไม่ต่างกันมาก ผิดกันตรงที่ ทหารแก่คนหนึ่งอาจสมใจ สังคมไทย Nostalgia ย้อนยุคขุนศึก อำมาตย์ เป็นใหญ่ได้อีกหลัง 19 ก.ย. 49 มีองคมนตรีมาเป็นนายกฯ ที่ป๋าเห็นเป็นวินสตัน เชอร์ชิล มีนายกฯ หนุ่มที่ป๋าบอก “ผมเชียร์” … เช่นนี้กระมัง สหายเก่า-ทหารแก่อีกคนจึงขอแต่งชุดทหารป่าเข้ามอบตัว ขอ Nostalgia อีกรอบ] ]   000 นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำ นปช. ขณะเข้ามอบตัวเมื่อ 27 เม.ย. 52 (ที่มาของภาพ: ASTVผู้จัดการออนไลน์)
หัวไม้ story
[ ทีมข่าวการเมือง ]   ทุกๆ เช้าของวันจันทร์-ศุกร์ ถ้าไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์ ภารกิจของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือเตรียมเดินทางมายังสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งเอเชีย (Asia Satellite Television) หรือ เอเอสทีวี ถ.พระอาทิตย์ เพื่อดำเนินรายการ “Good Morning Thailand” รายการเล่าข่าวและวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองอย่างเผ็ดร้อน ซึ่งเขาจัดเป็นประจำทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 6.00-7.00 น. แต่วันนี้ 17 เมษายน เขาไม่ได้จัดรายการ “Good Morning Thailand” เหมือนเคย เพราะถูกลอบยิงเมื่อเวลาราว 5.40 น. ก่อนที่รถของเขาจะมาถึงสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี   000   ที่มา:…
หัวไม้ story
(ทีมข่าวการเมือง)ทีมข่าวการเมือง สัมภาษณ์ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา โดยถามพวกเขาว่า “ออกมาชุมนุมทำไม?” ต่อไปนี้คือคำตอบของพวกเขา 
หัวไม้ story
ห้องพิจารณาคดี 904 หลังสิ้นเสียงคำพิพากษาให้จำคุก 10 ปี...
หัวไม้ story
[ทีมข่าวการเมือง]"พี่สนธิก็เคยคุยกับผมเป็นการส่วนตัวว่าคิดถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยซ้ำ มีโปลิตบูโร หรือคณะกรรมการนโยบายของพรรคที่อาจจะไม่ได้มามีตำแหน่งบริหาร ไม่ได้มามีตำแหน่งทางการเมือง แต่ว่าคุมยุทธศาสตร์ คุมทิศทางพรรค ซึ่งอันนี้น่าสนใจ และคงต้องดูว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร ขณะเดียวกัน เรายังมีเวลาศึกษาพรรคการเมืองจากหลายประเทศ เพื่อเปรียบเทียบกัน และต้องดูบริบทสังคมไทยด้วย แบบไหนมันเข้ากับสังคมไทย"สุริยะใส กตะศิลา, สัมภาษณ์ใน เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 876, 13 มีนาคม 2552  000 แกนนำพันธมิตรฯ บน “เวทีคอนเสิร์ตการเมืองครั้งที่ 4” ของพันธมิตรฯ ที่เกาะสมุย เมื่อ 4 มีนาคม 2552…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง การเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 13-15 มี.ค. มีหลายประเด็นจากการเยือนดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการพูดถึง หลายเรื่องถูกบิดเบือน และผลิตซ้ำ จนกลายเป็นชุดความคิดที่ถูกยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม “ประชาไท” ขอนำเสนอเรื่องที่ยังไม่มีการรายงาน เรื่องที่ยังไม่ถูกพูดถึง และเรื่องที่บิดเบือนดังกล่าว ในระหว่างการเยือนอังกฤษของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  1.เปิดต้นทางข่าว “ไม่ได้หนี แล้วมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร”   สื่อมวลชนไทยทุกฉบับพร้อมใจรายงานภารกิจของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ…