Skip to main content

ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้

ทีมข่าวการเมือง

 

สังคมความจำสั้น เป็นคำกล่าวหาเดิมๆ ที่ถูกพิสูจน์ซ้ำซ้ำอีกครั้งสำหรับสังคมไทย ด้วยการปะทะกำลังอาวุธระหว่างทหารไทยและกัมพูชา เป็นเหตุให้มีทหารและพลเรือนบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย

"ทีมข่าวการเมือง" ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้

บทสัมภาษณ์ชิ้นแรกที่ประชาไทนำเสนอเกี่ยวกับชาวบ้านภูมิซรอล คือปากคำของคนในพื้นที่ซึ่งปะทะกับผู้ร่วมชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเดินทางเข้าไปประท้วงกัมพูชาถึงชายแดนพร้อมกล่าวหาชาวบ้านที่ชายแดนว่า “ไม่รักชาติ” (อ่านย้อนหลัง)

บทสัมภาษณ์ชิ้นที่สอง เป็นปากคำจากชาวบ้านภูมิซรอล บอกเล่าถึงวิถีชีวิตที่พลิกผันหลังไทย-กัมพูชาปิดด่านชายแดน (อ่านย้อนหลังที่นี่)

นี่คือเสียงของมนุษย์ ที่กำลังเผชิญชะตากรรมอีกครั้ง จากการปะทะกันระลอกล่าสุดระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ขณะที่ในกรุงเทพฯ เสียงเพรียกหาศึกสงครามดังเร้าอยู่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล


1. รายงาน : พิพาทเขาพระวิหาร
"เขาทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพฯ แต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน"

โดยภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง, เผยแพร่ครั้งแรกใน ประชาไท, 10 ต.ค. 2551 http://www.prachatai.com/journal/2008/10/18580
 

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไปชุมนุมใกล้กับชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.ศรีษะเกษ เมื่อ 17 ก.ค. 2551 ก่อนที่จะมีการฝ่าด่านเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเข้ามาปะทะชาวบ้านภูมิซรอล ชาวบ้านในหมู่บ้านชายแดนไทย-กัมพูชา จ.ศรีษะเกษ โดยผู้ชุมนุมพันธมิตร หวังจะเข้าไปประท้วงในเขตชายแดน

 

"..เขาทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพแต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน ถ้าเขายิงมาพวกผมก็รับเต็มๆ"

"เราต่อต้านเขาด้วยความรักชาติเหมือนกัน ถ้าเราไม่รักชาติเราปล่อยภูมิซรอลทิ้งไปแล้ว เพราะรักถึงอยู่ตอนที่เขมรแดงมาไล่ยิง ความสัมพันธ์ของสองประเทศก็กังวลว่าจะกลับสู่สมัยอดีต สมัยก่อนสามโมงต้องกินข้าว เข้าหลุมนอนแล้วเงียบ บนบ้านบนถนนไม่มีใครเดิน แต่เราไม่เคยคิดย้ายออก พ่อแม่เราทำมาหากินที่นี่มา แต่พวกเจ้าหน้าที่เขาหนีไปอยู่กันที่บ้านน้ำเย็น อำเภอกันทรลักษณ์ แต่ชาวบ้านสู้ ไม่หนี จะเป็นอย่างไรก็เป็น ถ้าหนีคือทิ้งให้หมู่บ้านร้างไม่มีที่ทำมาหากิน แต่ตอนนี้เราสงบดีแล้ว ทำมาหากินดีแล้ว เขามาทำให้พวกเราเดือดร้อน..."

นายอุบลเดช พานพบ
ชาวบ้านภูมิซรอล อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

เสียงปืนปุดๆปึงๆที่ดังขึ้นเมื่อราวตอนต้นเดือนตุลาคมเป็นการเริ่มต้น สัญญาณ บางอย่างที่ดูท่าไม่ค่อยดีนักต่อความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา กลิ่นอายความรุนแรงลอยระอุอวลออกมาเป็นระยะในหลายเดือนมานี้ แม้ว่ายังไม่มีพลเรือนหรือทหารของทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตจากเสียงปืนอาวุธ สงครามที่ดังขึ้น แต่อย่างน้อยบาดแผลของประวัติศาสตร์ได้ถูกเปิดเถือเนื้อเถือหนังออกมาให้ ทั้งสองฝ่ายให้ได้หลั่งเลือดสีแดงไหลรินออกมาอีกครั้ง

ขณะนี้แนวพรมแดนด้านตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงเหนือราว 800 กิโลเมตรที่ติดกับกัมพูชาจะมีกองทหารของสองประเทศตรึงกำลังกันไว้อย่างเคร่ง ขรึม ความพยายามเจรจาที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่ายังคงขัดแย้งกับความเป็นจริง ที่ประจักษ์ออกมาว่ายังไม่มีทีท่าคลี่คลายลงไปกว่าเดิมนัก แต่ความวิตกกังวลกำลังสะสมขึ้นตามความยืดเยื้อของกาลเวลา ยิ่งสำหรับคนพื้นเพแถวๆจังหวัดศรีสะเกษหรืออาศัยตามพรมแดนที่มีปราสาทหิน ต่างๆ ความขัดแย้งถึงขนาดที่ใช้กองทหารประจันหน้ากันยิ่งมีเค้าลางชวนให้นึกถึง ความตึงเครียดในการใช้ชีวิตสมัยที่ประเทศกัมพูชายังคงมีความวุ่นวายภายใน โดยเฉพาะในช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจ

 

นายอุบลเดช พานพบ เป็นคนพื้นเพที่บ้านภูมิซรอล อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่มาตั้งแต่เกิดจนปัจจุบันอายุปาเข้าไป 38 ปี แล้ว ซึ่งปัจจุบันทำมาหากินด้วยการเปิดร้านขายอาหารบริเวณเขาพระวิหาร แต่ก็เคยผ่านยุควุ่นวายมาก่อน เขาบอกว่าไม่อยากให้สถานการณ์ที่ต้องคอยหลบลูกปืนเกิดขึ้นอีก สมัยนั้นตอนกลางคืนถ้ามองไปบนฟ้าก็ต้องเห็นแสงไฟกระสุนสีแดงแหวกอากาศเป็น สายไป

"พวกผมมีประสบการณ์หลบลูกปืนมาแล้วตั้งแต่สมัยเขมรแดงแต่เด็กรุ่นหลังๆ ไม่ชิน ผมไม่กลัว แต่ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก" อุบลเดชบอกอีกว่า ถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นและมีการยิงเข้ามา พวกเขา...ชาวบ้านในพื้นที่คือคนได้รับผลกระทบเต็มๆ

หากย้อนกลับไปทบทวนเหตุการณ์ กว่าสถานการณ์จะก้าวหน้ามาจนสุขงอมขนาดนี้ ตัวแปรสำคัญหนีคงไม่พ้นปัญหาการเมืองในส่วนกลาง

หลังจากกลุ่มคนในนาม "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ลุกฮือขึ้นในกรุงเทพฯเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งระลอกใหม่ด้วย เหตุผลหนึ่งว่ามีรากเหง้าเถาถั่วมาจาก "พรรคไทยรักไทย" และในคราวนี้ประเด็น "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ถูกหยิบยกมาใช้เป็นอุดมการณ์ในการเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันและแข็งกร้าวขึ้น ถึงที่สุด

ในเมืองหลวงนอกจากจะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงขึ้นหลายครั้ง มันยังได้ขยายตัวลุกลามไปสู่พื้นที่ต่างๆแทบทั่วประเทศ ชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือกรณีเขาพระวิหารถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อพิพาท ระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาอีกครั้งในรอบ 46 ปี

แนวทางของ "ชาตินิยม" ภาย ใต้เหตุผลการช่วงชิงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหารยัง เป็นความรู้สึกที่ไม่ลงตัวของทั้งสองฝ่าย แม้ว่าศาลโลกจะได้ตัดสินออกมาแล้ว ในวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ว่าให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ตามมาด้วยการแถลงการณ์ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2505 ไทยได้ถอนทหารพร้อมธงชาติออกมา แม้ว่าจะมีวาทะว่า "ในวันหนึ่งข้างหน้า เราจะต้องเอาปราสาทพระวิหาร กลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จงได้" แต่กาลผ่านมาหลายสิบปีก็ไม่มีการดำเนินการใดๆจากรัฐบาลไทยทุกสมัย

ในขณะที่ผลจากการตัดสินของศาลโลกยังมีความไม่ชัดเจนในการตีความจึงเกิด พื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ หรือที่เรียกว่า "พื้นที่ทับซ้อน" ขึ้นอีก 4.7 ตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม สำหรับคนตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ "ความเป็นเจ้าของดินแดน" กลับไม่ใช่ปัญหาและยังได้สร้างรูปแบบความสัมพันธ์เฉพาะขึ้นจึงสามารถอยู่ ร่วมกันได้และค้าขายชายแดนกันมายาวนานอีกหลายสิบปี

จนเมื่อประเทศกัมพูชาดำเนินการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และกลุ่มคนในนามพันธมิตรฯได้หยิบกรณีดังกล่าวมาเป็นเหตุผลสำคัญต่อการปลุก ระดมทางการเมืองโดยจี้ความรู้สึกไปที่การ "เสียดินแดน" อย่างต่อเนื่องทั้งที่เป็นดินแดนที่เสียไปแล้วเมื่อ 46 ปีก่อน ภายใต้การไม่ Active ใดๆ ของรัฐบาลไทยตั้งแต่นั้นมา แต่ประเด็นดังกล่าวเมื่อจุดติดก็ได้กลายเป็นการจุดชนวนระเบิดลูกใหญ่ที่ พร้อมจะระเบิดใส่พลเมืองบริสุทธิ์ของทั้ง 2 ประเทศ

ช่วงก่อนการประกาศการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในเดือนตุลาคม กลุ่มคนในนามพันธมิตรฯ จำนวนหนึ่งเคลื่อนขบวนไปยังเขาพระวิหารจนสร้างความหวั่นวิตกให้กับคนใน พื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ทำมาหากินกับการท่องเที่ยวปราสาทที่ไม่ได้ กังวลอะไรเลยกับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร

นายอุบลเดช กล่าวว่า ส่วนตัวเขามองเรื่องการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารว่าไม่มีผลต่อวิถีชีวิต ของพวกเขาและการขึ้นทะเบียนกลับจะสร้างรายได้จากการค้าขายที่มากขึ้น แต่เรื่องดินแดนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกัน

"อยากให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเพราะจะได้ค้าขาย แต่เมื่อแบ่งเขตกันไม่ได้และไม่มีใครอยากเสียดินแดน จึงอยากให้พัฒนาร่วมกัน อยากให้ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ตัวปราสาทเรายอมรับว่าเป็นของเขา แต่พื้นที่รอบปราสาทถ้าตกลงกันไม่ได้อยากให้พัฒนาร่วมกัน ทหารจะได้ถอนกำลัง ถ้าร่วมกันพัฒนาไม่ได้ คุยอย่างไรก็ไม่จบ"
เขากล่าว ในขณะที่ตัวเขาเองก็มองเรื่องดินแดนไม่ได้แตกต่างไปคนไทยคนอื่นๆ ที่มีความรู้สึกว่าปราสาทพระวิหารนั้นน่าจะเป็นของไทย เพียงแต่เมื่อแพ้ในการตัดสินด้วยกติกาสากล เขาเลือกที่จะยอมรับกติกา

"พระวิหารในความรู้สึกผมตรงเป้ยตาดีเองก็ไม่น่าเป็นของเขมร ทางฝรั่งเศสมันขี้เกียจขีดแผนที่ นอนเขียนที่โรงแรมแล้วขีดไป แต่เรายอมรับว่าศาลตัดสินมา คือถ้าตัดสินกันเองเราก็ลุกฮือได้ แต่นี่เป็นศาลโลก เขาให้ยกมือ เราแพ้เขา 9 ต่อ 3 ปัญหาคือคนที่กรุงเทพฯไม่รู้ว่าชาวบ้านในจุดนั้นเดือดร้อนอย่างไร"

จากนั้นเขาจึงอธิบายถึงจุดเปลี่ยนสำคัญและสัมพันธภาพในพื้นที่ที่เปลี่ยน แปลงไป อย่างสิ้นเชิง และอาจพูดได้ว่ายากเหลือเกินเสียแล้วที่ทุกอย่างะกลับมาเหมือนวันเก่าๆได้ อีก

"เขามากันประมาณ 30 คน" นายอุบลเดช เล่าถึงกลุ่มธรรมยาตราซึ่งเป็นปีกหนึ่งในเครือข่ายของพันธมิตรฯ ที่ล่วงหน้ามาก่อนพันธมิตรฯ ราวหนึ่งเดือนและเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาทำให้สถานการณ์ในพื้นที่เขม็งตัวขึ้น

"ตอนนั้นเป็นปลายเดือนกรกฎาคม มีการปิดเขาพระวิหารไม่ให้คนขึ้นแล้ว เราตกลงกันว่าไม่อยากให้ธรรมยาตราขึ้นไปบนเขาเพราะจะทะเลาะเบาะแว้งกับเขมร เขารับคำตกลงของเราแต่ไม่ทำตามและได้ปีนรั้วข้ามกำแพงไป จนกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้ทหารทั้ง 2 ฝ่ายต้องมาตรึงกำลังกัน นี่เป็นชนวน" เขาเล่าและกล่าวไปเรื่อยๆต่อไปว่า

"เมื่อความตึงเครียดมากขึ้น พันธมิตรฯก็เข้ามา พวกผมชาวบ้านไปดันไว้ไม่อยากให้ขึ้นเขาพระวิหารเพราะกลัวจะเกิดเรื่องใหญ่ โดยไม่รู้ว่าเขาจะมารุนแรง เราก็มาแบบชาวบ้านธรรมดา เป็นพ่อค้าแม่ค้าประมาณ 200 คน แต่พันธมิตรมีทั้งเครื่องเสียง เสาธง และรถบัสประมาณ 20 คัน รถเก๋งอีกรวมรถแล้วประมาณ 200 กว่าคัน

"..เขาทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพแต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน ถ้าเขายิงมาพวกผมก็รับเต็มๆ" นายอุบลเดชกล่าวและบอกถึงความรู้สึกตอนนั้นว่า ไม่คิดว่าทางพันธมิตรฯจะมาแบบรุนแรงและโกรธกับข้อหาว่า "ไม่รักชาติ" ซึ่งไม่สามารถทำอะไรไม่ได้

"เราต่อต้านเขาด้วยความรักชาติเหมือนกัน ถ้าเราไม่รักชาติเราปล่อยภูมิซรอลทิ้งไปแล้ว เพราะรักถึงอยู่ตอนที่เขมรแดงมาไล่ยิง ความสัมพันธ์ของสองประเทศก็กังวลว่าจะกลับสู่สมัยอดีต สมัยก่อนสามโมงต้องกินข้าว เข้าหลุมนอนแล้วเงียบ บนบ้านบนถนนไม่มีใครเดิน แต่เราไม่เคยคิดย้ายออก พ่อแม่เราทำมาหากินที่นี่มา แต่พวกเจ้าหน้าที่เขาหนีไปอยู่กันที่บ้านน้ำเย็น อำเภอกันทรลักษณ์ แต่ชาวบ้านสู้ ไม่หนี จะเป็นอย่างไรก็เป็น ถ้าหนีคือทิ้งให้หมู่บ้านร้างไม่มีที่ทำมาหากิน แต่ตอนนี้เราสงบดีแล้ว ทำมาหากินดีแล้ว เขามาทำให้พวกเราเดือดร้อน"

เขายังกล่าวอีกว่าคนชายแดนนั้นเป็นเครือญาติกันด้วย สมัยก่อนพรมแดนเปิดให้คนกัมพูชาเข้ามาได้ คนที่บ้านภูมิซรอลก็เป็นญาติและไปมาหาสู่กัน บางคนนามสกุลยังเป็นภาษาเขมร แต่ความขัดแย้งทำให้เครือญาติไปมาหาสู่กันไม่ได้ นอกจากนี้ในวันที่พันธมิตรฯยกขบวนมาปะทะ บางคนก็บาดเจ็บ อย่างคนที่เจ็บหนักที่สุดในการบุกเข้ามาของพันธมิตรฯคือผู้ใหญ่บ้าน ถูกฟาดจนล้มทั้งยืนและต้องเข้าไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนคือก่อนเกิดเหตุการณ์ชาวบ้านกินดีอยู่ดี ไม่มีข้อขัดแย้งกันและค้าขายกัน แต่ตั้งแต่กรณีธรรมยาตราเดินขึ้นเขาพระวิหาร พ่อค้าแม่ค้าเดือดร้อน เคยมีแม่ค้า 9 คน เข้าไปขายของที่ตีนเขา ทหารก็ไล่ออกมาเพราะหาว่าส่งเสบียง

"ทหารยังไงเขาก็มีเบี้ยเลี้ยงกิน แต่เราตายทั้งยืน อบต. อบจ. บอกว่าจะช่วย แต่นี่สองสามเดือนมาแล้วยังไม่ช่วยเลย เรื่องไม่รู้ไปไหน ชาวบ้านเดือดร้อนน่าจะรีบช่วย ต้องรีบบอกจะช่วยอย่างไร แต่ตอนนี้เงียบ"

เมื่อนำรายได้ที่สูญเสียไปมาประเมิน จากข้อมูลการสำรวจด้านเศรษฐกิจโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน พบว่า การท่องเที่ยวที่เขาพระวิหารสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่โดยเฉพาะหน้าท่องเที่ยวจะมีคนเข้ามามากถึงวันละ 2,000 - 3,000 คน และไทยค่อยข้างได้เปรียบทางการค้าชายแดนมากกว่ากัมพูชาโดยมีรายได้เฉลี่ยถึง วันละ 7,000 - 10,000 บาท ส่วนหน้าเทศกาลบางคนเคยได้ถึงวันละ 20,000 บาท แต่หลังปิดชายแดนรายได้ลดลงถึง 90 % หรือไม่มีรายได้จนต้องกลายเป็นทำงานรับจ้าง ติดหนี้สิน หรือแม้แต่ไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน

เมื่อให้กล่าวถึงความหวัง ชาวบ้านกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าบอกว่าอยากเห็น "เขตสันติภาพ" หรือ "เขตพัฒนาร่วมกัน" (Peace and Development Zone) โดยให้ยึดถือแผนที่ที่ชัดเจนของแต่ละประเทศเป็นของประเทศนั้นและพื้นที่ทับ ซ้อนให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์หรือพัฒนาร่วมกัน

แต่ฝันดีแบบนั้นคงเป็นเพียงฝันและคงไม่เป็นจริงได้ในเร็ววัน สำหรับสถานการณ์และข่าวร้ายล่าสุดคงรับทราบกันดีแล้วว่าขณะนี้อยู่ในช่วงที่ แหลมคมและบางเฉียบที่สุดแล้ว


ทั้งนี้ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา ได้ออกประกาศแจ้งเตือนผ่านสำนักข่าวในประเทศกัมพูชา และสำนักข่าวต่างประเทศ ให้ทหารไทยถอนทหารทุกนายออกจากพื้นที่พิพาทตามแนวชายแดนไทยทุกจุดภายใน เที่ยงวันของวันที่ 14 ตุลาคม 2551 และหากไม่ดำเนินการอะไรจะโจมตีเพื่อยึดพื้นที่พิพาทบริเวณชายแดนกลับคืน ทันที

คงสังเกตกันได้ บรรยากาศเริ่มเข้าใกล้ขอบเขตของสงครามจริงๆ ระหว่างรัฐต่อรัฐเข้าไปทุกที

แต่กระนั้น กลุ่มคนผู้ที่จุดชนวนระเบิดลูกใหญ่ในครั้งนี้ยังคงไม่ได้เป็นผู้ไปยืนอยู่ หน้าผาของสงครามในโลกของความจริงอยู่เช่นเดิมและยังคงสุมหัวเชื้อระเบิดต่อ ไปอย่างไม่ลดละ การเปิดโอกาสให้พื้นที่สันติภาพเข้ามามีส่วนเป็นทางออกยังคงเป็นเรื่องลม แล้งสำหรับคนกลุ่มนี้ที่ยังคงมีจินตภาพอยู่ในสงครามบางระจันวันเพ็ญ

เพียงแต่บทสรุปสุดท้าย หากลงเอยด้วยการสูญเสียในสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้นจริงและอาจจะเกิดขึ้นใน ไม่กี่วินาทีหลังจากนี้ เราจะถามหาผู้รับผิดชอบต่อความสูญเสียเหล่านั้นได้จาก "คนจุดชนวน" ได้ไหมหนอ

 

 

2. ตัวแทนชาวบ้านไทย-กัมพูชา ขอสันติภาพคืนชายแดนเขาพระวิหาร

เผยแพร่ครั้งแรกใน ประชาไท, 14 ก.ย. 2553 http://www.prachatai.com/journal/2010/09/31089

 

การ์ดพันธมิตรฯ ชุดดำปะทะกับการ์ดพันธมิตรฯ ด้วยกันเอง (ยืนหันหลัง) เมื่อ 19 ก.ย. 53 เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้าม ระหว่่างการเคลื่อนไปชุมนุมที่บ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ที่ชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหาร (ที่มา: โพสต์โดย สิงห์สนามหลวง ใน กระดานข่าวพันทิพห้องราชดำเนิน, ดูภาพเหตุการณ์ ต่อเนื่อง


“ลูกเราจะเรียนไม่จบเพราะเราไม่มีเงิน เราไม่มีโอกาสเข้าไปค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าแบบที่บรรพบุรุษทำมา เดี๋ยวนี้เราอยู่กันอย่างลำบากมาก อยากให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายคุยกันเหมือนเดิม อย่าให้กระทบกับราษฎรที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เคยอยู่ร่วมกันก็ไม่สามารถติดต่อกันได้ ถ้าเราติดต่อ ก็จะมีคนมาว่าเราเป็นคนขายชาติ เป็นกบฏ นี่คือสิ่งที่คนกรุงเทพฯ เขาพูด เรารู้สึกเสียใจที่เราอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ประนีประนอมกัน และมองหน้ากันไม่ติด"

“อยู่ๆ ก็มีคนกลุ่มที่สร้างเหตุการณ์ที่มีคาดคิดขึ้น เราเคยยื่นเรื่องร้องเรียนผู้ว่าฯ และสื่อให้มาดูแม่ค้าจุดผ่อนปรนหน่อย เราก็บอกว่าเขาจะหาแหล่งขายของให้ใหม่ แต่ก็ไม้รู้ว่าจุดไหน ทุกวันนี้ฉันอยากให้เปิดช่องทางเก่า อยากให้ชุมชนชายแดนค้าขายได้ และมีสันติกับญาติชาวกัมพูชา”

“กลุ่มที่บอกว่า คือกลุ่มผู้รักชาติ เป็นกลุ่มที่มาจากกรุงเทพฯ แต่เราคือคนที่ต้องอยู่ที่นี่”

ประนอม บัวต้น
แม่ค้าขายเสื้อผ้าบริเวณชายแดน

 

มูลนิธิศักยภาพชุมชน (People’s Empowerment Foundation) และตัวแทนประชาชนทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ก่อนเข้าพบนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อชี้แจงกรณีปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนบริเวณจุดผ่อนปรนเขา พระวิหาร

โดยเวลา 20.00 น. ของวันที่ 13 ก.ย. มูลนิธิฯ ได้จัดแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) โดยมีตัวแทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เรื่องพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร มาบอกเล่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเอง

ซาง ยูน ชาวพัมพูชาจากจังหวัดอุดรมีชัย (อุดอร์เมียนเจ็ย) เป็นพ่อของเด็กชายที่ถูกทหารไทยยิงและเผา เนื่องจากออกหาของป่าล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่พิพาท เขากล่าวผ่านล่ามเป็นภาษากัมพูชาว่า เขาไม่โกรธทหารไทยที่ทำเช่นนั้น แต่เขาอยากให้ทั้งสองประเทศนำสันติภาพกลับมาสู่ชายแดนไทยกัมพูชา

วิสิทธิ์ ดวงแก้ว ประชาชนจากบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ความผิดของประชาชนฝ่ายใดทั้งสิ้น แต่เป็นปัญหาจากการที่รัฐบาลสองฝ่ายเจรจากันไม่ได้

“ไม่ใช่ความผิดของผมหรือของคนกัมพูชา แต่มันเป็นกฎเกณฑ์ของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาไม่ให้เราสัมพันธ์กันเหมือนเมื่อ ก่อน สรุป จากการที่ประชาชนเคยมองหน้ากันกลายเป็นเอาทหารทั้ง 2 ฝ่ายมายืนใกล้กัน ผมเป็นตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ความรู้สึกอย่างนี้ไม่อยากให้เกิดกับพี่น้องชายแดน อยากให้เป็นเหมือนเมื่อก่อนนี้เป็นพี่เป็นน้อง”

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามหาทางแก้ปัญหาจากผลกระทบของการปิดด่านผ่อนปรนบริเวณเขาพระวิหาร แต่ในการประชุมครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ก็ถูกขัดขวางจนล้มเลิกไปโดยกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มผู้รักชาติ” ที่จุดประเด็นพื้นที่เขาพระวิหาร และขัดขวางการพยายามแก้ปัญหาให้กับประชาชนในบริเวณพื้นที่พิพาทที่ได้รับผล กระทบจากความขัดแย้งระดับประเทศ

“อยากให้รัฐบาลฟังเสียงจากประชาชนหลายๆ ฝ่าย อย่าไปฟังแต่กลุ่มผู้รักชาติ ขอให้มองที่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตรงนั้นด้วย” นายวิสิทธิ์กล่าว

ประนอม บัวต้น แม่ค้าขายเสื้อผ้าบริเวณชายแดน ซึ่งตั้งแต่ปิดด่านบริเวณเขาพระวิหารมาตั้งแต่ปี 2551 นั้น ส่งผลให้ครอบครัวของเธอได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากไม่สามารถเปิดร้านได้ และเสื้อผ้าที่ลงทุนไปแล้วก็เริ่มตกยุค ต้องจ่ายแจกไปให้กับบรรดาญาติๆ และคนบ้านใกล้เรือนเคียงที่สำคัญคือ ลูกสาวของเธอซึ่งเป็นนักเรียนพยาบาล ที่ จ.ขอนแก่น เกือบจะไม่จบการศึกษาเพราะไม่มีเงินเรียนต่อ

“ฉันต้องลงมารับจ้างเป็นแม่บ้านอยู่หลายเดือน ได้เดือนละ 6 พันบาท” เธอกล่าว และว่าเธอเพิ่งเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดเมื่อสองเดือนที่แล้ว เพราะลูกสาวเรียนจบแล้ว และคงจะสามารถช่วยรับภาระทางบ้านได้บ้าง ซึ่งเธอยังมีลูกคนเล็กที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมที่ศรีสะเกษ อีก 1 คน

“ลูกเราจะเรียนไม่จบเพราะเราไม่มีเงิน เราไม่มีโอกาสเข้าไปค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าแบบที่บรรพบุรุษทำมา เดี๋ยวนี้เราอยู่กันอย่างลำบากมาก อยากให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายคุยกันเหมือนเดิม อย่าให้กระทบกับราษฎรที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เคยอยู่ร่วมกันก็ไม่สามารถติดต่อกันได้ ถ้าเราติดต่อ ก็จะมีคนมาว่าเราเป็นคนขายชาติ เป็นกบฏ นี่คือสิ่งที่คนกรุงเทพฯเขาพูด เรารู้สึกเสียใจที่เราอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ประนีประนอมกัน และมองหน้ากันไม่ติด"


ชิต พานทบ เป็นแม่ค้าขายของสดที่บริเวณจุดผ่อนปรนเขาพระวิหาร สินค้าของเธอนั้นเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค จำพวกน้ำอัดลม อาหาร ข้าวสาร ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ซึ่งก่อนที่ด่านชายแดนเขาพระวิหารจะปิดลงนั้น เธอมีเงินสำหรับลงทุนหมุนเวียนประมาณสี่หมื่นบาทต่อวัน แต่เมื่อด่านปิด เธอขาดทุนทันที

“เราขายแบบหมุนเวียนทุนไปเรื่อยๆ คนฝั่งโน้นเขาก็จะสั่งมาว่าต้องการอะไรบ้าง เช่น ข้าวสาร ผงซักฟอก น้ำแข็ง น้ำอัดลม” ชิตอธิบายกับประชาไท และว่า เมื่อไม่สามารถขายของได้ เธอจึงต้องหันกลับมาเช่าที่นาเพื่อทำนา และรับจ้างทั่วไป แต่ก็ต้องพกบัตรประจำตัวประชาชนไปทำนาด้วยทุกครั้ง เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะตรวจตราอย่างเข้มงวดมาก

“อยู่ๆ ก็มีคนกลุ่มที่สร้างเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เราเคยยื่นเรื่องร้องเรียนผู้ว่าฯ และสื่อให้มาดูแม่ค้าจุดผ่อนปรนหน่อย เราก็บอกว่าเขาจะหาแหล่งขายของให้ใหม่ แต่ก็ไม้รู้ว่าจุดไหน ทุกวันนี้ฉันอยากให้เปิดช่องทางเก่า อยากให้ชุมชนชายแดนค้าขายได้ และมีสันติกับญาติชาวกัมพูชา” เธอกล่าวพร้อมย้ำว่า “กลุ่มที่บอกว่า คือกลุ่มผู้รักชาติ เป็นกลุ่มที่มาจากกรุงเทพฯ แต่เราคือคนที่ต้องอยู่ที่นี่”

จากนั้น เวลา 9.00 น. วันที่ 14 ก.ย. ‘ชลิดา ทาเจริญศักดิ์’ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน และตัวแทนประชาชนจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา เดินทางไปพบกับ นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อยื่นข้อ ซึ่งภายหลังจากได้พบปะแล้ว ผอ. มูลนิธิเครือข่ายสร้างเสริมศัพยภาพชุมชนเปิดเผยกับประชาไทว่า ตัวแทนประชาชนทั้งหมดได้ยื่นข้อร้องเรียนต่อประธานกรรมการสิทธิ โดยประเด็นสำคัญคือ ขอให้ทางรัฐบาลจัดสรรพื้นที่สำหรับการค้าขายชายแดนแห่งใหม่เพื่อชดเชย พื้นที่เก่าบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งไม่สามารถเปิดพื้นที่ได้

“ที่ผ่านมา การเจรจาเพื่อแก้ปัญหานั้นมีอุปสรรคเนื่องจากมีขบวนการประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้รับข้อมูลจากเครือข่ายประชาชนที่เคลื่อนไหวในกรุงเทพเข้ามาขัดขวาง การเจรจาจนกระทั่งต้องเลิกล้มไป ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบนั้น เนื่องจากเขาไม่สามารถทำการค้าขายและติดต่อกับคนในเขตกัมพูชาได้ และพวกเขาไม่สามารถย้ายไปค้าขายบริเวณจุดผ่อนปรนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากในแต้ละจุดผ่อนปรนก็จะมีผู้ค้ารายเดิมที่มาค้าขายอยู่เป็นประจำ พวกเขาจึงอยากให้รัฐบาลช่วยดูแลหาพื้นที่ใหม่ให้ และเราก็หวังว่าจะได้รับสัญญาณที่ดีจากทางรัฐบาล” ชลิดากล่าวในที่สุด

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…