Skip to main content

ผู้เขียน
ทีมข่าวการเมือง

 

ประเด็นจากข่าวแดงจับแดง เป็นการตั้งคำถามที่หนักหน่วงในเชิงหลักการอีกครั้งสำหรับการเคลื่อนไหวที่นิยามตัวเองว่าเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา

หลักการที่ถูกกระทุ้งถามในครั้งนี้ล้วนเป็นเรื่องของนิติรัฐที่เป็นใจกลางของการปกครองระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น

 

หนึ่ง มาตรา 112 กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมาตรการปกป้องสถาบันกษัตริย์บรรดามีในประเทศไทยนั้น แกนนำเห็นว่าเป็นปัญหาหรือไม่ ควรถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือปรับปรุงแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือไม่ ซึ่งนี่เป็นคำถามที่กนนำไม่เคยตอบจริง อันนำมาสู่คำกลาวหาว่า “สู้ไปกราบไป” จนกระทั่งในช่วงหลังๆ มานี้ การแสดงออกทางการเมืองของคนเสื้อแดงแยกได้ชัดว่า มีแดงกระแสหลัก ซึ่งขาดความขัดเจนในประเด็นนี้ กับแดงราดิคัล ที่พูดเรื่องนี้อย่างชัดเจนในที่สาธารณะ

ความไม่ชัดเจนในหลักการเบื้องต้นนำมาสู่การขับเคลื่อนที่สับสนลักลั่น แสดงออกมาหลายกรรมหลายวาระ เช่น เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 54 หลังจากที่ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เข้าพบนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการ ประธาน นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ รองประธาน นปช. นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษก นปช. เพื่อหารือเรื่องการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 12 มี.ค. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยภายหลังการหารือประมาณ 30 นาที ได้มีการแถลงข่าวโดยแกนนำ โดยนายวรวุฒิแถลงว่า สิ่งที่ตำรวจห่วงใยและฝากให้แกนนำช่วยดูแล ก็คือข้อความต่างๆ ที่อาจเข้าข่ายหมิ่น จึงขอให้พี่น้องเสื้อแดงช่วยสอดล่องดูแล เมื่อพบข้อความดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อจับกุมได้ทันที

และนำมาสู่อาการแอคทีฟในการตรวจตรากันเองของแกนนำเสื้อแดงและการ์ด นปช. จนกระทั่งเกิดเหตุขึ้น

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตและวิจารณ์เหตุการณ์ดังกล่าวผ่านเฟซบุคของเขาด้วยว่า "ผมว่า การทีการ์ด "บ้าจี้" ขนาดนี้ ซึงครั้งอื่นๆ ก่อนหน้านี้ไม่เคยมี ต้องเป็นการ "ชี้นำ" มาจากระดับผู้รับผิดชอบ อย่างน้อยระดับผู้รับผิดชอบด้านการ์ด วันนี้ ก่อนเกิดเหตุการณ์ เวทีก็ประกาศซ้ำ คล้ายๆ กับคำสัมภาษณ์ของวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ ที่ผมโพสต์ไปเื่มื่อวาน คือ ประกาศดังๆ จากเวทีเลย เรื่อง เจออะไรที "หมิ่นเหม่" ให้จับส่งตำรวจ"

"ในบรรยากาศการเมืองแบบนี้ ที่ผู้นำ นปช.เองบางคน ก็โดนกล่าวหาว่า "หมิ่น" โดนเล่นงานจากรัฐ ... แค่นี้ยังไม่พอ? นปช. ต้อง "ช่วย" ทำหน้าที่ในการเล่นงานคนอื่นเรื่อง "หมิ่น" ... ด้วยหรือครับ?"

แน่นอน หลายคนอาจแสดงความเห็นว่า บางทีการ์ดก็ไม่ฉลาด และการ์ดก็มีที่มาหลากหลายร้อยพ่อพันแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่อ้างได้แต่นั่นก็นำมาสู่คำถามถึงกระบวนการจัดการของแกนนำเสื้อแดงเช่นกัน ว่าจะใช้วิธีการที่ไม่รัดกุมเช่นนี้และไว้วางใจให้คนร้อยพ่อพันแม่มาดูแลความเรียบร้อยในการชุมนุมโดยไม่มีการวางระบบและข้อตกลงที่ชัดเจนรัดกุมในการปฏิบัติหน้าที่แต่ละครั้งได้หรือ ยิ่งหากแกนนำหรือคนเสื้อแดงกลัวว่าจะมีคนอื่นมา “แอบแฝงบ่อนทำลาย” ก็ยิ่งควรต้องชัดเจนในหลักการให้มากบยิ่งขึ้นด้วยว่า “แบบไหน” ที่เรียกว่าเป็นการแอบแฝงบ่อนทำลาย มิเช่นนั้น คนเสื้อแดงทุกคนก็อาจถูกการ์ดแดงจับได้ทุกครั้งที่ชุมนุม เพราะการตีความตามทัศนส่วนตัว แกนนำเองย่อมต้องระมัดระวังในประเด็นนี้ และน่าจะรู้ดีกว่าใครว่า “คนเสื้อแดงทำอะไรก็ผิด” อย่างที่แกนนำพูดตัดพ้อสื่อและสังคมอยู่เนืองๆ

ที่ผ่านมา กรณีความหละหลวมในการบริหารจัดการการ์ดก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาก จนกระทั่งมีคำเสียดสีทำนองว่า ถ้าการ์ดผิดแกนนำ ก็อาจปัดความรับผิดได้ โดยบอกว่า นั่นไม่ใช่คนเสื้อแดง

คำเตือนด้วยความห่วงใยในเรื่องระบบการ์ดนี้ “วัชรพันธุ์ จันทรขจร” หรือ “โป๊ะ” ซึ่งเคยรับหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้ขบวนการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาในยุค 14 ตุลา และพฤษภา 35ซึ่งแกนนำเสื้อแดงให้ความเคารพและเดินสำรวจการรักษาความปลอดภัยเมื่อครั้งคนเสื้อแดงชุมนุมที่ราชประสงค์อยู่เนืองๆ ก็เคยตั้งข้อสังเกตถึงจุดอ่อนนี้

“ ก็ไปดูการรักษาความปลอดภัยที่ นปช. ตั้งขึ้นมาว่าเป็นอย่างไร เขามีระบบอยู่แล้ว อารี (ไกรนรา) เขาก็ตั้งขึ้นมา ว่าจะมีกี่ชั้นๆ แต่ปรากฏว่าอารีเขาเป็นคนเปิด ก็มีการ์ดเยอะมาก ก็มีอาการมั่ว เราก็เตือนว่า อย่างน้อยวงในต้องมีระบบระเบียบ มีการจัดการกับการ์ดที่แฝงตัวเข้ามา แล้วการที่เปิดให้ใครก็ได้เอาบัตรประชาชนเข้ามาก็เป็นการ์ดได้นั้นไม่ถูก ก็บอกเขา”

 

สอง ปัญหาเรื่อง การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีดังกล่าว

เมื่อคุณปลาโดนจับไป คำถามที่สังคมหรืออย่างน้อยที่สุดคนเสื้อแดงละเลยไปคือ กระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งประเด็นนี้ สาวตรีสุขศรี อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน ที่ได้อยู่ร่วมในกระบวนซักถามของตำรวจตั้งข้อสังเกตในหน้าวอลล์ของตนเองในเฟซบุคว่า”

“กรณีผู้ถูกการ์ดเสื้อแดงจับส่งตำรวจเพราะแจกเอกสาร..๑. แน่ล่ะว่าเรื่องนี้ต้องจัดการให้ชัดเจน ถึงการใช้อำนาจเกินไปของการ์ดเสื้อ แดง (ตรงนี้มีคนพูดถึงเยอะ) แต่ที่เราไม่เข้าใจคือ มีคนจำนวนน้อยมาก (แม้แต่ญาติผู้เสียหายเอง) ที่จะตั้งคำถามถึง ๒. การใช้อำนาจของตำรวจ กรณีควบคุมและสอบปากคำโดยไม่มี "ข้อกล่าวหา"...ทำไมคนไทยพร้อมตรวจสอบการทำงานของ ปชช. ด้วยกันเอง แต่หรี่ตาให้การใช้อำนาจโดย "รัฐ" ??” และ

“พอดีวันที่มีเหตุจับกัน มีโอกาสได้ไปอยู่ตรงนั้น...พบว่า การดำเนินการของตำรวจ (แม้เขาจะแสดงความเป็นมิตรกับผู้ถูกจับ) ไม่ว่าจะเป็น การถามปากคำโดยไม่มี "การแจ้งข้อกล่าวหาใด ๆ ทั้งสิ้น" การยืนยันว่าควร "เซ็นต์ชื่อในใบสอบปากคำนั้น" กระทั่งการ "ตามไปดูที่บ้านของผู้ถูกจับ" ล้วนไม่มีกฎหมายให้อำนาจ !!! เรายืนยันวันนั้นว่า ตำรวจไม่มีอำนาจ...แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกคน หัวเสียกับ "การ์ด นปช." จนละเลยที่จะตั้งคำถามถึงการใช้อำนาจของตำรวจ ...ทำไม ?”

 

สุดท้าย แดงจับแดงที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่ควรถูกมองว่าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิด หรือเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวและจบกัน แต่นี่คือเป็นปัญหาท่าที และหลักการของแกนนำซึ่งไปช้ากว่ามวลชนอย่างสม่ำเสมอ ประเด็นนี้ร้อนแรงมาก และคนเสื้อแดงหลายคนแสดงความผิดหวังต่อแกนนำอย่างชัดเจน บางคนประกาศไม่ไปร่วมชุมนุมด้วยแล้ว อีกส่วนหนึ่งกลับโต้ตอบว่าประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่เสื้อแดงราดิคัล ที่เข้าใจกันว่ามีสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเป็นผู้นำทางความคิด มักจะยกมาโจมตีแดงกระแสหลัก แล้วยุให้ไปตั้งกลุ่มเอาเองเพื่อจะได้เคลื่อนไหวให้ถูกใจตัวเอง ขณะที่บางคนที่พูดเรื่องนี้ไปในทำนองตั้งคำถาม ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นแค่ “เหาฉลาม” ของนักวิชาการประวัติศาสตร์คนดัง ซึ่งการโต้ตอบดังกล่าวมานี้ ไม่มีอะไรที่เรียกได้ว่าเป็นการโต้แย้งในเชิงหลักการเลย
 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…