Skip to main content

http://www.prachatai.com/05web/th/home/module/blogazine-cover-20080524.jpg

วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะหนีไปพ้น คนยากคนจนทั่วโลก ในหลายประเทศวิกฤตการณ์นี้นำไปสู่การจลาจล เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ เช่นในเฮติ อียิปต์และโซมาเลีย วิกฤติอาหารยังลามถึงภูมิภาคอเมริกากลาง จนประธานาธิบดีนิคารากัวเรียกประชุมฉุกเฉิน ยอมรับภาวะขาดแคลนอาหารเข้าขั้นวิกฤติ จนเกรงว่าจะบานปลายเป็นเหตุวุ่นวายในสังคม

ขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ออกมาให้ข้อมูลชวนหวั่นไหว ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า วิกฤตอาหารแพงนี้จะเพิ่มระดับความยากจนทั่วโลกอาจพุ่งสูงขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยราคาอาหารและน้ำมันแพงในช่วง 2 ปีที่แล้ว ทำให้ประชาชนประมาณ 100 ล้านคนตกอยู่ในฐานะยากจน มีชีวิตอยู่ด้วยความรันทดหนักเข้าไปอีก เพราะมีรายได้ต่ำกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 50 บาทต่อวัน

ปรากฏการณ์ที่สำคัญคือ ธัญพืช (ข้าว,ข้าวสาลี และข้าวโพด) ของโลกมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเริ่มขึ้นในปี 2550 และเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นมา ราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้น 31% ข้าวเพิ่มขึ้น 74% ถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 87% และข้าวสาลีเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 130%

ตอนนี้ราคาอาหารเฉลี่ยแล้วเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าครึ่ง ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรกรรมโลก (เอฟเอโอ)ระบุว่า ราคาอาหารตอนนี้พุ่งขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 26 ทำให้ต้นทุนต่างๆ ขยับขึ้นร้อยละ 40          

สาเหตุของวิกฤตการณ์พืชผล อาหารแพงเป็นประวัติการณ์ดังกล่าวมีหลายปัจจัย และแยกไม่ออกกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน ซึ่งเป็นเหตุทำให้หลายประเทศโหมปลูกพืชพลังงานทดแทน เบียดบังพื้นที่เพาะปลูกอาหาร บราซิลและสหรัฐดูเหมือนจะเป็นประเทศหลักที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงในกรณีนี้ เพราะเป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่สุดของโลก ถึงขั้นที่ "ยีน ซีเกลอร์ " ผู้จัดทำรายงานพิเศษของสหประชาชาติเรื่องสิทธิในการเข้าถึงอาหาร เรียกการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างมโหฬารนี้ว่าเป็น "การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ"

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูล่า ดา ซิลวาของบราซิล ได้ออกมาตอบโต้เรื่องนี้โดยบอกว่าชาติอุตสาหกรรมที่ให้เงินอุดหนุนต่อผลผลิตทางการเกษตรของชาติตนเอง จนทำให้ได้เปรียบประเทศกำลังพัฒนาต่างหากเป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของโลกลดน้อยลง

มุมมองนักเศรษฐศาสตร์
ด้านนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ของไทย ‘นิพนธ์  พัวพงศกร’ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาที่คณะเศรษฐศาสตร์ เรื่อง “สถานการณ์ข้าวยากหมากแพง: โอกาส หรือวิกฤตสำหรับสังคมเศรษฐกิจไทย”  เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยแยกสาเหตุวิกฤตการณ์ครั้งนี้เป็นระยะยาวและระยะสั้น

สาเหตุระยะยาว  ด้านอุปสงค์ ได้แก่ 1.ประชากรโลกเพิ่มขึ้นสูง อัตราการเพิ่มของประชากรหลังทศวรรษ 1970 เพิ่มขึ้น 1.2% เทียบกับ 2% ในอดีต แต่ประชากรส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาเป็นหลัก

2.การเติบโตของรายได้จะทำให้ความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาลดลง คนมีอำนาจซื้อมากขึ้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ระบุว่ายิ่งคนรวยขึ้นก็จะบริโภคคาร์โบไฮเดรตลดลงแต่จะบริโภคเนื้อสัตว์ ดังนั้น อุปสงค์ธัญพืชที่ใช้เลี้ยงสัตว์ก็จะเพิ่มขึ้นมาก เพราะเนื้อวัว 1 กก.ต้องใช้ 7 กก. เนื้อหมู 1 กก.ใช้ข้าวโพด 6.5 กก. ไก่ 1 กก.ใช้ข้าวโพด 2.6 กก.

ด้านอุปทาน ได้แก่ 1.รัฐบาลกับองค์กรระหว่างประเทศลดการลงทุนในภาคการเกษตรหลังจากปฏิวัติเขียว เพราะหลังจากปฏิวัติเขียวราคาอาหารลดลงมาตลอด บรรษัทข้ามชาติเน้นการวิจัยจีเอ็มโอที่ลดการใช้ยาฆ่าแมลงแล้วให้เกษตรกรมาซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกฤดูกาลแทนการเพิ่มผลผลิตโดยตรง

2.สต๊อกธัญพืชทั่วโลกลดลง ในอดีตรัฐบาลพัฒนาแล้วหลายประเทศจะช่วยเหลือเกษตรกรโดยซื้อเมล็ดพันธุ์มาไว้ในสต๊อกแล้วแจกจ่าย แต่หลังจากราคาเมล็ดพันธุ์สูงขึ้นมากในระยะหลังจึงอุดหนุนเป็นตัวเงินโดยตรง ขณะที่ ปัญหาเรื่องมลพิษก็ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรมีข้อจำกัดขึ้นมาก

ส่วนสาเหตุระยะกลางและระยะสั้น ได้แก่ ปัญหาดินฟ้าอากาศในปีสองปีที่ผ่านมาทำให้พืชผลน้อยลง โดยเฉพาะสินค้าข้าว รัฐบาลในประเทศผู้ส่งออกต่างตกใจแล้วงัดมาตรการจำกัดการส่งออกมาใช้ ขณะที่ผู้นำเข้าก็แตกตื่นรีบสั่งซื้อข้าวกักตุนไว้จำนวนมาก นี่เป็นปัจจัยสำคัญของการดันราคาขึ้น ประกอบปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวกับการเก็งกำไร ค่าเงิน กระพือให้ราคาส่งออกพุ่งสูงผิดปกติ ซึ่งนิพนธ์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ราคาฟองสบู่” กรณีข้าวเป็นกรณีพิเศษเพราะตลาดข้าว “บาง” มาก เพราะตลาดข้าวมีลักษณะเหมือนตลาดหุ้น ผลผลิตข้าวสารผลิตได้หลายร้อยล้านตัน แต่ซื้อขายกันในตลาดโลกเพียง 6% กว่าเท่านั้น ดังนั้น แม้การกระเพื่อมเพียงนิดหน่อย เช่น ผลผลิตลดลงเล็กน้อย ราคาก็จะพุ่งรวดเร็วและลดลงเร็วเช่นกัน

อีกด้านหนึ่งคือราคาพลังงานสูงขึ้น รัฐบาลทั่วโลกมีนโยบายว่าด้วยชีวพลังงาน และมีเป้าหมายอย่างมโหฬารในการผลิตพืชพลังงาน สหรัฐอเมริการะบุว่าภายในปี 2012 จะผลิตเอทานอลอีก 7.5 พันล้านแกลลอน หรือ 30 ล้านตัน บราซิลจะผลิต 36 พันล้านลิตร ต้องใช้พื้นที่มหาศาล กรณีของสหรัฐ นโยบายชีวพลังงานของสหรัฐนั้นใช้ข้าวโพด 20% ของผลผลิตทั้งหมดมาผลิตเอทานอล ซึ่งไปแย่งพื้นที่ปลูกธัญพืช ฝ้าย ฯ ทำให้พืชตัวอื่นๆ ราคาสูง

“ตลาดข้าวเวลานี้ไร้ดุลยภาพ ราคาฟองสบู่ การทำวิจัยขององค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง คาดคะเนว่าระหว่างปี 2548-2558 ราคาข้าวแท้จริงน่าจะเพิ่มขึ้น 28% ภายใต้ข้อสมมติว่ารัฐบาลประเทศต่างๆ ใช้นโยบายชีวพลังงาน ภายใต้ข้อสมมติว่า ผลผลิตต่อไร่คงที่ สรุปว่า คนส่วนใหญ่คิดว่าในระยะ 5-10 ปีราคาอาหารจะอยู่ในระดับสูง แต่ผันผวน ส่วนจะผันผวนมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับรัฐบาลประเทศต่างๆ หากมีการแทรกแซงมากอาจจะทำให้ผันผวนมากกว่าในอดีต ซึ่งน่ากลัวมากเรื่องความผันผวน เพราะกระทบกระเทือนต่อเกษตรกรโดยตรง”


จ้าละหวั่น รับมือวิกฤต
ท่ามกลางสภาพการณ์เช่นนี้ หลายประเทศ หรือหลายกลุ่มประเทศเริ่มขยับปรับนโยบายเพื่อรับมือกับอนาคตอันไม่แน่นอนแล้ว เช่น คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปหรืออียู อยู่ระหว่างทบทวนร่างนโยบายการปฏิรูปเกษตรกรรมครั้งใหญ่ในหมู่ชาติสมาชิกอียู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  
         
ล่าสุด เป็นที่น่าจับตามากสำหรับรัฐบาลแถบละตินอเมริกาซึ่งเริ่ม ‘เลี้ยวซ้าย’ มากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงประเทศคาบสมุทรแคริบเบียนรวม 17 ชาติ ได้จัดประชุมสุดยอด เรื่อง “อาหารเพื่อชีวิต” ขึ้นในกรุงมานากัวของนิการากัว เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา หาแนวทางแก้วิกฤติที่กำลังรุมเร้า

โดยที่ประชุมร่วมลงนามในข้อตกลงแบบไร้ข้อผูกมัด เพื่อส่งเสริมภาคเกษตรในภูมิภาคและให้ธนาคารเอกชนปล่อยกู้ในภาคเกษตรสูงถึง 10% ของวงเงินและสินทรัพย์ที่มีและยังวิจารณ์กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่อุดหนุนภาคเกษตร จำกัดการเผยแพร่เทคโนโลยีจนส่งผลกระทบต่อชาติยากจน

ข้อตกลงยังเรียกร้องให้ร่างแผนปฏิบัติการภายใน 30 วัน เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารท้องถิ่นในภูมิภาค จัดตั้งตลาดภายในและระหว่างประเทศ จำหน่ายสินค้าราคายุติธรรมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยข้อตกลงยังรวมเอาแนวคิดริเริ่มตั้งกองทุนอาหารจากผลกำไรการขายน้ำมัน มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ของเวเนซุเอลา และพันธมิตรฝ่ายซ้ายอย่างคิวบา โบลิเวีย และนิการากัวที่มีขึ้นเมื่อครั้งประชุม “กลุ่มการค้าอัลบา” (เอแอลบีเอ) ในกรุงการากัสเมื่อ 23 เม.ย. เข้าไปด้วย เรื่องนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นแม้บางประเทศยังมีความเห็นแย้งอยู่บ้าง
          
ขณะที่ประเทศไทยก็เริ่มยกระดับความสนใจให้วิกฤติอาหารโลกเป็นวาระแห่งชาติ  และรัฐบาลมียุทธศาสตร์จัดการพืชพลังงานและอาหาร โดยมุ่งปรับโครงสร้างการผลิตอาหารใหม่พร้อมกำหนดนโยบายพืชพลังงานให้ชัดเจนขึ้น ในส่วนของมันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะรักษาระดับพื้นที่ปลูกแต่ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต กำหนดเป้าหมายเพิ่มผลผลิตต่อไร่อย่างน้อย 10%

ทั้งหมดนี้เป็นกรอบกว้างๆ ที่รัฐบาลกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่รัฐบาลไม่ได้ระบุถึงในขณะที่นักวิชาการจากหลายส่วนเคยเสนอไว้คือ การเพิ่มการทำวิจัยภาคการเกษตร และผลิตฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพราะแม้เราจะส่งออกอันดับ 1 แต่กลับลงทุนกับการวิจัย การสร้างองค์ความรู้น้อยมาก อย่างปีที่แล้วมีการลงทุนวิจัยเพียง 100 กว่าล้านบาท รวมทั้งเรื่องข้อมูลการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรนั้น ดูเหมือนจะมีปัญหาด้านคุณภาพของข้อมูล จึงยังไม่ต้องพูดถึงองค์ความรู้ ข้อมูลที่จะลงสู่เกษตรกรรายย่อยให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องนโยบายรัฐ ทิศทางการตลาดเพื่อวางแผนการผลิตมากขึ้นอย่างที่มีการนำเสนอกันตลอดมา  






ข้อมูลบางส่วนจาก
เวิลด์แบงก์เตือนอาหารแพงทำคนยากจนพุ่ง, เว็บไซต์เดลินิวส์ วันที่ 21 พ.ค.51
ชี้งบโลกซื้ออาหาร กระฉูด32ล้านล้าน, เว็บไซต์ข่าวสด วันที่ 23 พ.ค.51
ละตินอเมริกา รวมกลุ่มคุยแก้วิกฤติอาหารโลก, เว็บไซต์ไทยรัฐ วันที่ 9 พ.ค.51

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา…
หัวไม้ story
“ผมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นฝีมือของพวกฉวยโอกาส หากพันธมิตรฯจะทำก็ต้องเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี เพราะสามารถสร้างความเสียหายมากกว่า ได้ผลมากกว่า และสะใจมากกว่า ไม่อย่างนั้นจะเก็บไว้อย่างดีทำไม” สุริยะใส กตะศิลา, 5 ธ.ค. 2551  ทีมข่าวการเมือง   ภาพในตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาลหลังการชุมนุมยุติที่มาของภาพ: คุณ Me.....O กระดานข่าวพันทิพ ห้องราชดำเนินhttp://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7288033/P7288033.html  
หัวไม้ story
"ถ้างวดนี้ มีการใช้ความรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง พี่น้องครับ พี่น้อง พ่อแม่พี่น้องทั่วประเทศไทย ต้องลุกฮือขึ้นมาแล้วให้เลือดนองแผ่นดิน"  ... "ผมจะบอกให้พวกสัตว์นรกรู้ ว่างวดนี้ถ้าประชาชนเขามา เขามาพร้อม ‘ของ' กันหมด" - สนธิ ลิ้มทองกุล 20 พ.ย. 2551 ทีมข่าวการเมืองประชาไท สนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการอารักขาโดย ‘นักรบศรีวิชัย’ เมื่อ 26 ส.ค. 51 ที่มาของภาพ adaptorplug (CC)  
หัวไม้ story
  วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods SystemG20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้
หัวไม้ story
โอบามากับสงครามสีผิวที่กำลังจะเปิดฉาก? ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่งจบลงไปด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของบารัก โอบามา ผู้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นคนผิวสี คนแรกที่เดินเข้าสู่ทำเนียบขาวในฐานะประธานาธิบดี โอบามา เป็นลูกผสมระหว่างแม่ซึ่งเป็นคนผิวขาว กับพ่อเชื้อสายแอฟริกัน ซึ่งไม่ได้ย่างเท้าลงบนแผ่นดินอเมริกาในฐานะทาส แต่เป็นนักศึกษา แม้จะไม่ใช่คนผิวดำ หรือลูกหลานแอฟริกันขนานแท้ ที่เติบโตขึ้นจากครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นทาส แต่บารัก โอบามา ก็ถูกจำจดในฐานะเป็นตัวแทนของคนผิวสีที่ได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี แม้จะไม่ได้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกับคนแอฟริกัน-อเมริกัน…
หัวไม้ story
แม้ว่าคนจนในประเทศไทย จะเลือกตาย ด้วยหวังให้การตายส่งเสียงได้มากกว่ายามที่พวกมีชีวิตอยู่ ทว่า ไม่ช้าไม่นาน ความทรงจำของสังคมก็เลือนรางลงไป แต่คนจนอย่างนวมทอง ไพรวัลย์ เลือกวิธีตาย และเลือกใช้การตายของเขาส่งเสียงดังและอยู่ยาวนาน อย่างน้อยก็ใน 2 ปีต่อมา เขายังไม่ถูกลืมเลือน
หัวไม้ story
ประชาไทขอนำเสนอคลิปวิดิโอ 'หลังทักษิณ' มุมมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากคนใกล้ตัวที่บ้านเกิด อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และบทวิเคราะห์การเมืองไทยหลังทักษิณ โดย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ นักวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
หัวไม้ story
  ทีมข่าวภาคใต้มายาภาพของการต่อสู้ทางการเมืองไทยในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถูกกล่าวว่าอ้างว่าเป็นสงครมมระหว่างภูมิภาค คือ ภาคใต้ กับภาคเหนือและภาคอิสาน แต่หากมองลึกลงไปในกระบวนการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคพลังประชาชน อาจพบว่าแท้จริงแล้วการพื้นที่ทางการเมืองระดับนำก็ยังคงเป็นของคนใต้อยู่เช่นเดิม
หัวไม้ story
จับตาการเดินทัพของพันธมิตรฯ จากคำปราศรัยของแกนนำชื่อ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ หลังประกาศทบทวนแนวทางสันติวิธี ระบุแกนนำทั้งหลายไม่กลัวตาย “แต่ถ้าพวกเราบางคนจะต้องตาย พี่น้องสัญญาอย่าง ต้องให้แผ่นดินนี้ ลุกขึ้นเป็นไฟให้ได้”
หัวไม้ story
  เมื่อพูดกันถึงเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แคล้วตามมาด้วย การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง นับเป็นสิ่งที่สังคมไทยถนัดในการแก้ปัญหาการเมืองโดยการเขียนอะไรบางอย่างขึ้นมาบังคับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งแม้แต่นักกฎหมายมหาชนเองก็ยังแซวผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองได้ว่า ประเทศไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญที่สุดในโลกนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 กล่าวในรายการตอบโจทย์  ทางสถานีไทย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่าที่สุดแล้ววิกฤตของการเมืองไทยวันนี้มันก็เริ่มมาจากการแก้รัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอนั่นเองย้อนเหตุการณ์ให้ฟังอีกครั้งว่า…
หัวไม้ story
  พิณผกา งามสม   ในระหว่างที่การต่อสู้ทางการเมืองไทยยังคงถกเถียงกันเรื่องโมเดลการเมืองใหม่ การเมืองใหม่กว่า รวมถึงระบบโควตาและระดับความชอบธรรมของ ‘เสียง' การเมืองเพื่อนบ้านของไทยก็กำลังเข้มข้นอยู่บนหนทางเดิมๆ ตามระบอบรัฐสภาเมื่อนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียประกาศว่าจะเขย่ารัฐบาลมาเลย์ให้ล่มเพื่อเปิดโอกาสในการจัดสรรที่นั่งในสภากันใหม่ โดยยึดเอาวันที่ 16 กันยายนเป็นวันดีเดย์ แรกทีเดียว หลายฝ่ายอาจคิดว่าเป็นเพียงการสร้างสีสันให้การรณรงค์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านอย่างที่เคยทำมาอย่าแข็งขัน เพราะต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า…
หัวไม้ story
  วิทยากร  บุญเรืองขณะที่ Frank Lampard ดาวเตะแข้งทองของทีม Chelsea พึ่งบรรลุข้อตกลงสัญญา 5 ปีที่มีมูลค่าสูงถึง 39.2 ล้านปอนด์ โดย Lampard จะได้รับค่า 151,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 3,775 ปอนด์ต่อชั่วโมง! แต่จากการสำรวจของ The Fair Pay Network และ Institute of Public Policy Research (IPPR) พบว่าพนักงานทำความสะอาด พ่อครัวแม่ครัว และแรงงานตัวเล็กๆ ทั้งหลาย ของสโมสรอย่าง Chelsea, Spurs, Arsenal, West Ham และ Fulham กลับได้รับค่าเหนื่อยจากสัญญาจ้างค่าแรงขั้นต่ำแค่ 5.52 ปอนด์ต่อชั่วโมงเท่านั้น