Skip to main content

หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย

 

แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน นอกจากนี้กระบวนการทำแผนยังมีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม เช่น การรับฟังความคิดเห็นครั้งใหญ่ๆ มีอยู่ไม่กี่ครั้ง และเป็นการอธิบายโดยวิทยากรมากกว่าจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ  

 

อย่างไรก็ตาม แม้แผนจะชัดเจน แต่พื้นที่ที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งยังมีข้อถกเถียงชวนกังวลนั้น ยังไม่ได้ชี้ชัดว่าจะไปลงตรงไหน จนมาปีนี้ความชัดเจนค่อยๆ ปรากฏขึ้นว่ามีแนวโน้มจะเป็นพื้นที่เดิมที่เคยถูกวางไว้และพื้นที่ใกล้เคียง

 

 

000

 

 

หลังจากแผนพีดีพีอนุมัติ พื้นที่ที่จะตั้งโครงการโรงไฟฟ้าทั้งถ่านหิน และนิวเคลียร์ ยังเป็นเรื่องคลุมเครือ อาจเพราะรัฐเองก็กำลังประเมินแรงต้านในพื้นที่ว่ายังมีหนาแน่น กระทั่ง ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์' อดีต รมว.พลังงานที่ดันพีดีพีฉบับล่าสุดสำเร็จก็ยังออกมาบ่นว่าว่ารัฐบาลขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปได้ช้า ขณะที่เวลาที่วางไว้ในแผนพีดีพีก็งวดเข้าทุกที ( "ปิยสวัสดิ์สับลดค่ากลั่น 10 ปีต้องผุดนิวเคลียร์" นสพ.ข่าวหุ้น 9 มิ.ย.51)

 

ตามแผนแล้วโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกกะวัตต์แรกต้องป้อนไฟสู่ระบบในปี 2563 และอีก 2,000 เมกกะวัตต์ที่เหลือจะตามมาในปีถัดมา นับเป็นเวลาที่รวดเร็วมากในการคิดและดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจเพราะไทยพยายามเร่งฝีเท้าให้ทันเวียดนาม ซึ่งถูกเล็งว่าเป็นคู่แข่งตัวฉกาจ เพราะเวียดนามก็เริ่มผลักดันโครงการนิวเคลียร์แล้ว แต่ขอเวลาศึกษาก่อน 15 ปี ขณะเดียวกันเวียดนามก็สำรวจพบแหล่งแร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่ในประเทศเองด้วย

 

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้มีคณะทำงานขึ้นมา 5 ชุดเพื่อเตรียความพร้อมทั้งด้านบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการประชาสัมพันธ์กับประชาชน นอกจากนี้ กฟผ.ยังเตรียมส่งหนังสือเชิญ 5 บริษัทต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น สหรัฐ ฝรั่งเศส เข้าคัดเลือกเป็นที่ปรึกษาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยคาดว่าผลการศึกษาจะเสร็จภายใน 2 ปี

 

อย่างไรก็ตาม  นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ศึกษานโยบายพลังงานไทยมายาวนานให้ความเห็นว่า คณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้ทุ่มงบประมาณไปกว่า 100 ล้านบาท แบ่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) สร้างความเข้าใจในเรื่องนี้แก่ประชาชน แต่ปัญหาคือ การดำเนินงานดังกล่าวยังไม่รอบด้าน มุ่งเน้นแต่การให้ความรู้ด้านนิวเคลียร์เท่านั้น ทั้งๆที่ประเทศไทยยังมีพลังงานทางเลือกชนิดอื่นๆ ( "ติงงบประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 100 ล้าน" เว็บไซต์ไทยรัฐ 2 ก.ค.51)

 

ที่ผ่านมามีกลุ่มนักวิชาการและเอ็นจีโอเสนอแนวทางการปฏิบัติด้านพลังงานทางเลือกของประเทศไทยให้แก่กระทรวงพลังงาน แต่ดูเหมือนไม่ได้รับการตอบรับใดๆ จึงยังไม่มีบทสนทนาในเรื่องนี้เท่าไรนัก และน่าสนใจว่า เดชรัตน์และคณะก็กำลังจะพิมพ์หนังสือเรื่อง 10 สิ่งที่นิวเคลียร์พูดและไม่พูด เผยแพร่ในเดือนสิงหาคมนี้ เรียกได้ว่าแข่งกันทำความเข้าใจกับประชาชนเลยทีเดียว

 

 

000

 

 

ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ นายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย "ผศ.ดร.ปรีชา การสุทธิ์" ในฐานะประธานคณะกรรมการชุดศึกษาความปลอดภัยและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า คาดว่าพื้นที่เดิมที่เคยเตรียมไว้จะถูกนำมาทบทวนอีกครั้ง โดยเฉพาะทะเลชายฝั่งตะวันตก หรือ "เวสเทิร์นซีบอร์ด" ที่เคยมีการศึกษาไว้แล้วไล่ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เนื่องจากมีความลึกของทะเลและมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานรองรับเอาไว้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือในเขตภาคใต้ฝั่งตะวันตกดังกล่าวมี "แนวรอยเลื่อนระนอง" พาดผ่าน ตั้งแต่ประจวบฯ ชุมพร ระนอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาพฤติกรรมของ "รอยเลื่อนระนอง" หลังเหตุการณ์ "สึนามิ" เมื่อ 3 ปีก่อนว่ามีการขยับหรือไม่ ซึ่งการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ ( "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์  (จับกระแสพลังงาน)" เว็บไซต์แนวหน้า 30 พฤษภาคม 2551)

 

ภาคใต้ตอนบนเป็นทำเลทองสำหรับโครงการโรงไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมหนักมาเนิ่นนาน และพร้อมๆ กันก็มีประวัติการต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านในพื้นที่มาอย่างยาวนานด้วย โดยเฉพาะที่ประจวบคีรีขันธ์

 

ทับสะแก'อีกอำเภอหนึ่งในจังหวัดประจวบฯ ก็เคยถูกเล็งไว้จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินชุดเดียวกับโรงไฟฟ้าบ่อนอก-บ้านกรูด (แห่งละ 700 เมกกะวัตต์) ซึ่งสุดท้ายทั้งบ่อนอก ทั้งบ้านกรูดถูกคัดค้านจนต้องพับโครงการไป ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าทับสะแกซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า คือ 2,000 เมกกะวัตต์ก็มีปัญหาการคอรัปชั่นของพนักงาน กฟผ. ในการซื้อที่ดิน 4,019 ไร่ โดยมีการทุจริตเป็นมูลค่า 800 ล้านบาท หรือ 40% ของมูลค่าทั้งหมดของโครงการ จนต้องหยุดชะงักไป แต่วันนี้โครงการโรงไฟฟ้าที่ทับสะแกกลับมาใหม่ และแว่วว่าอาจจะใหญ่กว่าเดิม

 

 

000

 

         

ปลายปี  2549  กฟผ.ได้ฟื้นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกขึ้นมาใหม่ พร้อมมีแผนจะขยายกำลังการผลิตจาก 2,000 เมกะวัตต์ เป็น 4,000 เมกะวัตต์ (5 โรง) คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในเอเชีย

         

นายสถาน ช่อระหงส์ ชาวบ้านทับสะแกให้ข้อมูลว่า ถึงแม้ชาวบ้านจะเกาะติด ตามเรื่องที่กระทรวงพลังงานจนทางกระทรวงยืนยันว่าไม่มีนโยบายสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทับสะแก แต่ในทางปฏิบัติ กฟผ.ก็ยังคงเข้ามาทำการผลักดันโครงการในรูปแบบต่างๆ และสร้างความแตกแยกกับคนในชุมชน จนบางชุมชนถึงกับต้องไล่ฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ของ กฟผ.ออกจากหมู่บ้านไป

 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการเปลี่ยนผังเมือง "สีเขียว" เป็น "สีน้ำเงิน" เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะปัจจุบันร่างผังเมืองรวมชุมชนทับสะแกที่โยธาและผังเมืองจังหวัดประจวบฯ ได้นำมาขอรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนครั้งที่ 1 ได้ระบุให้พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกของ กฟผ.เป็นสีเขียว เพราะเห็นว่าเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจเดิมของชุมชนที่เป็นเกษตร และมีทิศทางการเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัด อยู่ห่างจากชุมชนหนาแน่นเพียง 1,500 เมตร แต่  กฟผ.ยื่นขอให้เปลี่ยนสีผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีน้ำเงินแทน โดยอ้างว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินนี้เป็นส่วนราชการและเป็นพื้นที่สาธารณูปโภค เพราะ กฟผ.ตีความว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นสาธารณูปโภคของรัฐ   ซึ่งเรื่องนี้ยังคงต่อสู้กันอยู่ โดยชาวบ้านในพื้นที่ยังคงรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งเพื่อคัดค้านโครงการ

 

คาดกันว่า โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่นี้จะเดินหน้าไปคู่กับการผลักดันให้พื้นที่ประจวบฯ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์เหล็กแห่งชาติ เน้นการผลิตเหล็กครบวงจร ซึ่งก็กำลังผลักดันกันอยู่อย่างหนักหน่วงเช่นกัน

 

000

 

ด้านภาคตะวันออกและภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมหนักมาอย่างยาวนานและหนาแน่น ยังคงมีความพยายามใส่โครงการเหล่านี้เพิ่มเติมเข้าไป เช่น ที่ระยองมีการขยายโครงการปิโตรเคมีระยะ 3 ซึ่งเป็นอภิมหาโครงการด้านปิโตรเคมี รวมไปถึงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนที่ฉะเชิงเทรา สมุทรสงครามก็มีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่นกัน

 

แม้ระดับนโยบายจะผลักดันโครงการเหล่านี้ ภาคเอกชนเองก็กำลังรีบดำเนินการ ในส่วนของคนในพื้นที่ก็มีการรวมตัวกันคัดค้านอย่างเหนียวแน่นเรียกว่าระดมพลข้ามเขตข้ามจังหวัดกันแล้ว เช่น เมื่อ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา แกนนำกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าหลายแห่ง เช่น กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าจังหวัดระยอง กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าบางปะกง กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าราชบุรี กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา ได้เดินทางมารวมตัวกัน เพื่อประชุมหารือแนวทาง และผนึกกำลังกันในการเคลื่อนไหวต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในแต่ละท้องที่ที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบ หลังจากมีกระแสข่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงพลังงานเร่งรัดให้ สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เร่งพิจารณาอนุมัติ ผ่านอีไอเอ (EIA) ให้แก่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภาคเอกชน 4 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าเสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าถ่านหิน ของกลุ่มบริษัทเครือเกษตรรุ่งเรือง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าราชบุรี และโรงไฟฟ้า จ.ระยอง ทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

 

 

000

 

 

แนวโน้มการผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหลายดูเหมือนจะเต็มไปด้วยอุปสรรค

 

การเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอาจหาจุดลงตัวยากลำบาก แต่น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการต่อสู้กันในบั้นปลายที่มีแต่จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันกับทุกฝ่าย

 

การแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิม เช่น กรณีของแม่เมาะ มาบตาพุด ฯลฯ อาจเป็นเรื่องไม่ง่ายนักเพราะปัญหาสะสมหมักหมมมานาน แต่ก็น่าจะเพิ่มความมั่นใจให้ผู้คนที่กำลังจะเผชิญกับโครงการในรูปแบบเดียวกันได้

 

ยังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าโครงการมหึมาที่มีข้อถกเถียงกันเยอะแยะในทุกรายละเอียดนี้จะลงเอยอย่างไร ในพื้นที่ไหน ในภาวะที่ประชาชนหัวแข็งขึ้นเรื่อยๆ และไม่ยอมให้ "ผู้เชี่ยวชาญ" ผูกขาดอำนาจการกำหนดนโยบายแล้ว

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…