Skip to main content

Ko We Kyaw

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หรือเมื่อวานนี้ นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 ในประเทศไทย นำโดยสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า (Assistance Association for Political Prisoners-Burma - AAPP) และสมัชชาเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (the Forum for Democracy in Burma - FDB) จัด “Free Burma’s Political Prisoners Now!” (ปล่อยนักโทษการเมืองในพม่าเดี๋ยวนี้!”) (www.fbppn.net) โดยมีการจัดแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กรุงเทพมหานคร และที่ศูนย์นานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อล่ารายชื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งขิ่น โอมาร์ (Khin Ohmar) ผู้นำนักกิจกรรมพม่าจาก FDB เผยว่า หลังจากเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์ในเดือนสิงหาคมปี 2550 มีนักโทษการเมืองในพม่าเพิ่มเป็น 2,100 คนจากก่อนหน้านี้ราว 1,100 คน โดยการรณรงค์ตั้งเป้าการล่าชื่อไว้ที่ 888,888 คน มีการล่าชื่อทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ อังกฤษ และอีกหลายประเทศ

ที่นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 เลือกเอาวันดังกล่าวเปิดตัวการณรงค์ เนื่องจากออง ซาน ซูจี และผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ถือเอาวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) เพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของ โพน หม่อ (Phone Maw) และ ซอ หน่าย (Soe Naing) นักกิจกรรมที่เสียชีวิตเนื่องจากการปะทะกับตำรวจในปี 1988

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาและ จุดเปลี่ยนสู่เหตุการณ์ 8888

ปี 1988 สำหรับพม่า ถือเป็นปีแห่งความไม่พอใจ โดยก่อนหน้านี้มีความไม่พอใจรัฐบาลทหารที่นำโดยนายพลเนวินที่มาจากการรัฐประหารในปี 1962 (พ.ศ.2505) ที่มีการดำเนินโครงการสังคมนิยมวิถีพม่า (Burmese Way to Socialism) ทำให้พม่าโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก และสภาพเศรษฐกิจของพม่าย่ำแย่ มีการสั่งยกเลิกธนบัตรหลายครั้งโดยไม่มีการชดเชยให้ประชาชน ครั้งที่มีผลกระทบมากที่สุดคือการยกเลิกใบละ 25 จ๊าต 35 จ๊าต และ 75 จ๊าต เมื่อวันที่ 5 กันยายน ปี 1987 (พ.ศ.2530) โดยไม่มีการชดเชยใดๆ ซึ่งทำให้เงินตราของประเทศถึงร้อยละ 75 ที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศไร้ค่าทันที

โดยในพม่าเหลือเพียงธนบัตรราคา 45 จ๊าต และ 90 จ๊าต ที่นายพลเนวินยังให้ใช้ได้เพราะมูลค่าหารด้วย 9 ลงตัว ซึ่งเลข 9 ถือเป็นเลขนำโชค

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ปี 1988 (พ.ศ.2531) ซึ่งอยู่ในช่วงสอบปลายภาคของนักศึกษา กลุ่มนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งย่างกุ้ง (Rangoon Institute of Technology - RIT) เข้าไปนั่งในร้าน ซานดา วิน (Sanda Win) ร้านน้ำชาที่ชื่อร้านบังเอิญไปพ้องกับชื่อบุตรสาวของนายพลเนวิน นักศึกษากลุ่มนี้ต้องการให้ร้านเปิดเทปคาสเซทเพลงของ ชายตีเส่ง’ (Sai Htee Saing, 1950-2008) นักร้องเชื้อสายไทใหญ่ชื่อดังในพม่าที่ร้องเพลงได้ทั้งภาษาพม่าและไทใหญ่ แต่ชาวบ้านกลุ่มอื่นที่นั่งอยู่ในร้านไม่ยอมให้เปิดเพลงของชายตีเส่ง จึงเกิดวิวาทกัน

เส่ง หาน (Sein Han) นักศึกษา RIT ยุค 1988 ที่ประสบในเหตุการณ์เช่นกันบอกว่า ในความเป็นจริง มีการปะทะระหว่างนักศึกษาและชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากเราชินกับเหตุการณ์แบบนี้แล้ว

การวิวาทดังกล่าวทำให้นักศึกษา RIT บาดเจ็บ และตำรวจจับเด็กชาวบ้านคนหนึ่งในข้อหาทำร้ายร่างการนักศึกษา แต่ต่อมาก็ปล่อยตัวไป ทำให้นักศึกษา RIT ไม่พอใจ โดย มิน ซอ (Min Zaw) นักศึกษา RIT ในสมัยนั้น เล่าว่าในวันที่ 13 มีนาคม มีการยกพวกไปขว้างปาก้อนหินใส่ร้านน้ำชา และปะทะกับชาวบ้านที่มีท่อนไม้และมีด

มินซอ เล่าว่า ในวันที่ 13 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เขาเองก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ยังพยายามจุดไฟเผาสหกรณ์ และสถาบันผู้ช่วยพยาบาลแห่งพม่า (Burmese Paramedical Institute - BPI) แต่ไม่สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีการขว้างก้อนหินใส่รถดับเพลิงที่เข้ามาในสถาบัน RIT จนกระจกหน้ารถแตก ต้องล่าถอยออกไป

ต่อมามีรถดับเพลิงเข้ามาใน RIT อีก 5 คัน และฉีดน้ำดับเพลิงเพื่อสลายกลุ่มนักศึกษา แต่นักศึกษาเห็นเป็นเรื่องสนุกที่มีการฉีดน้ำ บางคนก็ขว้างก้อนหินเข้าใส่รถดับเพลิง ฝ่ายเจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหินกลับบ้าง

จากนั้นทหารและตำรวจพร้อมปืนและแก๊สน้ำตาก็ยิงเข้ามาในมหาวิทยาลัย

เหตุการณ์นั้นเองที่ทำให้นักศึกษาคนหนึ่งชื่อ โพน หม่อ’ (Phone maw) ถูกยิงที่ท้องเสียชีวิต ส่วน ซอ หน่าย (Soe Naing) ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอก และเสียชีวิตในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคมปีนั้น นอกจากนี้ก็มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่อีกหลายราย

จากเหตุวิวาทระหว่างนักศึกษากับวัยรุ่นชาวบ้าน แต่การระงับเหตุ แบบเว่อร์ๆของรัฐบาลทหารพม่า จนมีนักศึกษาเสียชีวิต ได้ทำให้ฝ่ายนิยมประชาธิปไตยในพม่าเดินขบวนขึ้นในสถาบัน RIT และลุกลามไปยังสถาบันอื่นๆ จากจุดนี้เองทำให้นักศึกษาพม่าซึ่งไม่เคยเดินขบวนประท้วงใหญ่เลยนับตั้งแต่ปี 1962 เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นนักกิจกรรม

ความไม่พอใจที่เริ่มต้นจากเหตุทะเลาะวิวาทในร้านน้ำชา ขยายตัวไปสู่เรื่องการปกครองของรัฐบาลทหาร การขาดช่องทางในการระบายความคับข้องหมองใจ ความโมโหการกระทำของตำรวจ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่ล้มเหลว และการทุจริตของรัฐบาล

โดยกลางเดือนมีนาคมเกิดการประท้วงขึ้นหลายครั้ง เป็นเรื่องของการร่วมขบวนการของประชาชนกับนักศึกษาในการเรียกร้องให้รัฐบาลชดใช้เงินที่รัฐบาลประกาศยกเลิกอย่างพลการ การสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในเหตุการณ์เดือนมีนาคม การยกเลิกระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว

แต่ก็ไม่มีคำตอบจากรัฐบาลนอกจากการปราบปราม มีการสลายการชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์แก้แค้นจากฝ่ายนักศึกษา เช่น ในเดือนมิถุนายนปี 1988 มีการประกาศไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้ามาในเขตพื้นที่ตน และเกิดการรุมประชาทัณฑ์จนเจ้าหน้าที่เสียชีวิตไปหลายคน จนรัฐบาลต้องประกาศปิดมหาวิทยาลัยย่างกุ้งและสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งย่างกุ้ง เพื่อให้เหตุการณ์ยุติลง

และในที่สุดสถานการณ์การเมืองในพม่าก็ดำเนินไปสู่การปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในวันที่ 8 เดือนสิงหาคมปี 1988 หรือที่รู้จักกันในนามเหตุการณ์ ‘8888’

 

000

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาสู่วันสิทธิมนุษยชนพม่า

 

1989 Phone Maw Day in RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 


งานรำลึกถึงโพน หม่อ ปีแรกเมื่อ 13 มีนาคม 1989 ที่ RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8 

มิน โก นาย (Min Ko Naing)
ที่มา
: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 

มีเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาในภายหลังว่า เหตุที่ตำรวจรีบปล่อยวัยรุ่นในเหตุวิวาทร้านน้ำชาเมื่อ 12 มีนาคม เพราะเป็นลูกของเจ้าหน้าที่ในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Program Party – BSPP) พรรครัฐบาล ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ถูกกฎหมายในพม่า แต่เรื่องนี้ไม่ได้รับการยืนยัน แต่เรื่องเล่าลักษณะนี้ก็ช่วยทำให้เหตุวิวาทระหว่างชาวบ้านกับนักศึกษาและเหตุการณ์ต่อเนื่องในวันนั้นดู ฟังขึ้น ว่าเรื่องความไม่พอใจรัฐบาลทหาร ดูดีกว่าเรื่องเล่าในทำนองที่ว่านักศึกษาไปทะเลาะวิวาทกับชาวบ้าน

โดยหลังเหตุการณ์ปะทะในวันที่ 13 มีนาคม 1988 และเหตุการณ์ ‘8888’ อีก 1 ปี ถัดมา ในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1989 ก็มีการจัดงานรำลึกถึง โพน หม่อและผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 13 มีนาคม ที่สถาบัน RIT นั่นเอง มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ทั้ง มิน โก นาย (Min Ko Naing) ผู้นำนักศึกษา (ปัจจุบันถูกรัฐบาลพม่าจับกุม) รวมทั้ง ออง ซาน ซูจี ซึ่งขณะนั้นกำลังเริ่มมีบทบาททางการเมืองในพม่า หลังร่วมปราศรัยในเดือนสิงหาคมปี 1988 และตั้งพรรคสันนิบาติชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เมื่อ 24 กันยายน ปี 1988 ก็เข้าร่วมงานนี้ด้วย

และต่อมาทั้งอองซาน ซูจี รวมทั้งผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ประกาศให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) มีการรำลึกถึงโพนหม่อและเหตุการณ์วันที่ 13 มีนาคม ตั้งแต่ปี 1989 มาจนถึงทุกวันนี้ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’

เส่งหาน ผู้ที่กล่าวว่านักศึกษาเองก็ไม่ได้ใสใจเรื่องการปะทะกับชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม 1988 มากนัก กลับบอกว่า ทหารพม่าพยายามปกปิดประวัติศาสตร์ แต่ความรับผิดชอบของพวกเรา (ฝ่ายประชาธิปไตย) คือเปิดเผยประวัติศาสตร์ เราควรจัดงานรำลึก วันสิทธิมนุษยชนพม่า ทุกๆ ปี เราควรเคารพต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นักศึกษารุ่นใหม่ในพม่าต้องรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1988”

 

000

ล่าสุดในปีนี้ ผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ถือฤกษ์วันสิทธิมนุษยชนพม่า 13 มีนาคม เปิดตัวการรณรงค์เพื่อล่าชื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองในพม่า

คงเป็นที่ยอมรับในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 13 มีนาคม 1988 เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’ ในเดือนสิงหาคม เพราะความไม่พอใจรัฐบาลทหารพม่าที่สะสมมาก่อนหน้านั้นถูกจุดให้เกิดประกายไฟหลังจากวันที่ 13 มีนาคม 1988 นั่นเอง

เพียงแต่การกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม เป็น วันสำคัญระดับ วันสิทธิมนุษยชนพม่า คงเป็นที่ถกเถียงและถูกตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ ว่าเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักศึกษากับชาวบ้านที่ร้านน้ำชาในวันที่ 12 มีนาคม เพราะเรื่องไม่ยอมเปิดเพลงที่ชื่นชอบ ตามมาด้วยการแก้แค้นเอาคืน และการปราบปรามของรัฐบาลพม่าในวันต่อมาเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร

และกรณี 13 มีนาคมนี้สะท้อน ความเป็นตัวแทน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้อยแปดพันประการที่เกิดขึ้นและยังคงดำเนินต่อไปในพม่าและแผ่นดินอันเป็นรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อย่างไร

คงเป็นคำถามสำหรับทั้งนักกิจกรรมพม่าและบรรดาผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายต่อไป ว่าการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เราต้องการข้อเท็จจริง หรือตำนาน หรือต้องการแค่แรงบันดาลใจ โดยละทิ้งข้อเท็จจริงบางด้านไป

 

อ้างอิง

ส่วนที่เป็นบันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ 13 มีนาคม 1988 โปรดดู Interviews With RIT Students in 1988
http://www.scribd.com/doc/13185999/Interviews-With-RIT-Students-in-1988

8888 Uprising, From Wikipedia, the free encyclopedia
http://en.wikipedia.org/wiki/8888_Uprising

1989 Phone Maw Day in RIT, By BINAmojo,
http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8&feature=related

 20 ปี 8888: ลุกขึ้นสู้ มุ่งสู่แสงตะวัน วานวันแห่งความมืดมิด และอุดมคติที่เลือนหาย โดย อดิศร เกิดมงคล และบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์, ประชาไท, 8/8/2551 http://www.prachatai.com/05web/th/home/13128

เงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดการลุกฮือในพม่า, ทรงฤทธิ์ โพนเงิน, OKnation, 6/9/2007 http://www.oknation.net/blog/mekong/2007/09/06/entry-1

Political Prisoners Doubled in Two Years, Say Activists, By WAI MOE, Irrawaddy, 13/3/2009
http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=15302

 

เรื่องก่อนหน้านี้
ตลกพม่าประชัน ตลก.ไทยใครขำกว่า ,
Ko We Kyaw, 4/10/2008

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
แดง ใบเตย  1. บทสรุปสำหรับผู้บริหารข้อเขียนชิ้นนี้ เขียนขึ้นเพื่อโจมตีกลุ่มปัญญาชนเก๋ไก๋ทั้งหลาย ที่บังอาจวิพากษ์วิจารณ์กระแส "เคอิโงะ"    2. ดวงของเคอิโงะแหม่มโพดำ"เคอิโงะ" เสี่ยงได้ไพ่ "แหม่มโพดำ" ดวงดีมากมาย  3. บทกวีแด่เคอิโงะเ ร า ก็ ไ ม่ ท ร า บ ว่ า จู่ ๆ คุ ณ ดั ง  ขึ้ น ม า ไ ด้ เ ยี่ ย ง ไร "เ ค อิ โ ง ะ"สำ ห รั บ ผ ม เ ริ่ ม แ ร ก ก็ อ อ ก จ ะ ห มั่ น ไ ส้ คุ ณ อ ยู่ ม า ก เ ล ย ที เ ดี ย วแ ต่ สำ ห รั บ ผู้ ที่ แ ส ด ง ค ว า ม ฉ ล า ด ห ลั ง เ ห ตุ ก า ร ณ์ นี่ ยิ่ ง น่ า ห มั่ น ไ ส้ ก ว่ ามั น ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ ง ข อ ง ผ ม กั บ คุ ณ…
Hit & Run
Ko We Kyaw ไร่ปลูกสบู่ดำริมทางบนถนนระหว่างเมืองเจ้าปะต่าวกับมิตทีลา ภาคมัณฑะเลย์ ภาพถ่ายในเดือนพฤษภาคม 2551 (ที่มา: Kowekyaw/Prachataiburma)   พฤษภาคม 25511. ผมอยู่บนรถโดยสารเก่าๆ แล่นออกจากเมืองเจ้าปะต่าว (Kyaukpadaung) มุ่งสู่มิตทีลา (Meiktila) ภาคมัณฑะเลย์ ใจกลางเขตแล้งฝน (dry zone) ของสหภาพพม่า สองข้างทางซึ่งเป็นดินแดงๆ จึงเหมาะจะปลูกเฉพาะพืชทนแล้ง โดยเมืองเจ้าปะต่าวถือเป็นแหล่งปลูกตาล ส่วนเนินแห้งแล้งรอบทะเลสาบมิตทีลาก็เป็นแหล่งปลูกฝ้าย แต่สองข้างทางของถนนที่ผมกำลังเดินทางกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าด้วยโครงการปลูกพืชพลังงานชนิดใหม่ “สบู่ดำ”…
Hit & Run
  โดย เพณิญ               ในสถานการณ์แบบนี้ ‘ตัวละคร' ที่น่าจับตามองและได้รับความนิยมอย่างมาก คงหนีไม่พ้น ‘อาซาคุระ เคตะ' นายกรัฐมนตรีหนุ่มสุดหล่อแห่งประเทศญี่ปุ่น และ ‘ลีซาน' พระราชาผู้เป็นที่รักของประชาชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลี            ‘ตัวละคร' ทั้งสองปรากฏตัวอย่างมีนัยยะสำคัญและเป็นที่กล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมาก หนึ่งคือ ‘อาซาคุระ เคตะ' ตัวละครที่ไม่เคยสนใจการเมือง แต่ต้องก้าวเข้ามารับหน้าที่นายกรัฐมนตรีในภาวะการเมืองสูญญากาศของประเทศญี่ปุ่นจาก CHANGE…
Hit & Run
อย่างที่รู้ๆ และแทบไม่อยากจะย้ำให้เจ็บช้ำหัวใจกันว่าเศรษฐกิจประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (จากอเมริกา) ที่ส่งกระทบข้ามฟ้ามามาไกลถึงบ้านเรา ทำให้ผู้นำประเทศต้องออกโรงคิดหานโยบายมาแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน   บวกด้วยความที่นายกคนหนุ่มอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นว่าคนจนเศรษฐกิจไม่ดี นายกต้องช่วยเหลือ และไม่มีอะไรดีไปกว่าการเพิ่มกำลังซื้อให้กับคน ที่เป็นการช่วยธุรกิจโดยไม่ต้องไปบิดเบือนกลไกตลาด แบบว่าเป็นการช่วยเศรษฐกิจชาติให้มีเงินหมุนเวียน   ดังนั้น โครงการใหม่ถอดด้าม “เช็คช่วยชาติ” จึงริเริ่มและดำเนินการอย่างรวดเร็ว เช็คจำนวน 9.6 ล้านใบ…
Hit & Run
  กรกช เพียงใจ  ห้องพิจารณาคดี 713 ศาลอาญา รัชดาผู้พิพากษาสองคนเดินมานั่งบนบัลลังก์ เบื้องหลังบัลลังก์เป็นผนังไม้อย่างดีสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ทั้งห้องดูเคร่งขรึมน่าเกรงขาม สูงขึ้นไปบนผนังติดพระบรมฉายาลักษณ์ในกรอบสีทองเหลืองอร่ามทุกคนลุกขึ้นยืนทำความเคารพ มีญาติผู้ต้องขังสองสามคน อัยการ ทนายความ เจ้าหน้าที่ผู้คุมตัวผู้ต้องขัง รวมถึงผู้ต้องขังหญิงในชุดนักโทษอุฉกรรจ์สีน้ำตาล ขลิบปลายแขนแดง ‘ดารณี' ถูกจับกุมที่บ้านพัก ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และติดคุกมาแล้วมากกว่าครึ่งปี ระหว่างที่คดีเพิ่งเริ่มพิจารณา และนัดหมายการไต่สวนพยานครั้งแรกกันอีก 6 เดือนข้างหน้า 0000"ไอ้ที่พี่พูด…
Hit & Run
Ko We Kyaw เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หรือเมื่อวานนี้ นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 ในประเทศไทย นำโดยสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า (Assistance Association for Political Prisoners-Burma - AAPP) และสมัชชาเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (the Forum for Democracy in Burma - FDB) จัด “Free Burma’s Political Prisoners Now!” (“ปล่อยนักโทษการเมืองในพม่าเดี๋ยวนี้!”) (www.fbppn.net) โดยมีการจัดแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กรุงเทพมหานคร และที่ศูนย์นานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อล่ารายชื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งขิ่น โอมาร์ (Khin Ohmar)…
Hit & Run
  จันทร์ ในบ่อ ‘วันวาเลนไทน์' หรือ ‘วันเสียตัวแห่งชาติ'เป็นวันที่มีความเชื่อกันว่า ‘ผีกระจู๋' จะถูกปลดปล่อยออกมาเพ่นพ่านด้วยฤทธาแห่งความความกำหนัด โดยเฉพาะในวันที่ความรักเบ่งบานฉ่ำบรรดาพ่อมดหมอผีจะเกรงกลัวเป็นที่สุด เพราะเชื่อกันว่าอิทธิฤทธิ์แห่งมนต์ดำกฤษณาจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติอีกหลายเท่าตัว 
Hit & Run
  ธงดอง จันทร์อังคารพุธพฤหัสศุกร์  "ฉันเป็นคนบ้า เพราะว่าสติไม่ดีไม่ใช่คนไม่ดี ฉันมีสติไม่ดีฉันเป็นคนบ้า" ประเด็นที่ไม่พูดถึงไม่ได้แล้วในปัจจุบัน ก็คือประเด็น "คดีหมิ่นฯ" ที่กลายเป็นเรื่องกล่าวขวัญในสังคมอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้เริ่มตั้งแต่หนุ่มไม่เต็มบาทนั่งเหม่อลืมยืนเคารพเพลงสรรเสริญในโรงภาพยนตร์, ม็อบคนบ้า(การเมืองจนเข้าเส้น)ที่ปราศรัยมันเกินเหตุจนเกิดเรื่อง, ฝรั่งเพี้ยนที่ชอบขีดๆ เขียนๆ เรื่อยเปื่อย จนลามมาถึงนักวิชาการ นักการเมือง นักท่องอินเตอร์เน็ตเพี้ยนๆ ออกมาโดนซิวเป็นระยะๆ ตามหน้าข่าวแต่ประเทศนี้มันก็ช่างน่าขันเหลือเกิน โทษสำหรับคนเพี้ยนบ้าแบบนี้…
Hit & Run
  จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์  เมื่อปีที่แล้ว ตอนที่จีนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก สถานีโทรทัศน์ในจีนถูกสั่งให้ดีเลย์สัญญาณออกอากาศออกไป 10 วินาที เพื่อพวกเขาจะได้มีเวลาจัดการกับการแพร่ภาพในกรณีที่เกิดการประท้วงจากกลุ่มที่เรียกร้องให้ปลดปล่อยทิเบต หรือกลุ่มทางการเมืองอื่นๆ  มาหนนี้ ดูเหมือนสถานีโทรทัศน์ CCTV ของจีนจะไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ระหว่างถ่ายทอดสดการกล่าวสุนทรพจน์ของโอบามาในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐฯ เมื่อเวลาประมาณตี 1 ของวันที่ 20 ก.พ. (เวลาประเทศจีน) เพราะขณะแพร่ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของโอบามา พร้อมๆ กับแปลไปด้วยนั้น อยู่ๆ…
Hit & Run
มุทิตา เชื้อชั่ง วันเด็กปีนี้ แม้ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี แต่ก็อยากจะให้คำขวัญ คำอวยพรกับเด็กๆ บ้าง... มีฟามสุขมั่กๆ อย่าแสบให้มากนักนะตัวเอง...   ปีนี้มหกรรมวันเด็กค่อนข้างคึกคัก ข่าวคราวต่างๆ ถูกรายงานเยอะแยะมากมายตามประสาบ้านเมืองที่สงบสุขแล้ว...ชิลๆ สังเกตได้ง่ายๆ เพราะเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ (ยิ่งดราม่าๆ หน่อยยิ่งเจ๋ง) มักจะมีสีสันอยู่ในกระแสมากเป็นพิเศษเสมอ   คำขวัญวันเด็กที่ทั่นนายกฯ "อภิสิทธิ์" ให้ในปีนี้ เด็กจริง เด็กโข่ง ต่างก็รู้กันทั่วหน้าแล้ว นั่นคือ "ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี"   ไม่รู้ว่าเด็กยุคดิจิตอลรุ่นนี้คิดยังไง...
Hit & Run
 จันทร์ ในบ่อ ก่อนอื่นขอ "สวัสดีปีใหม่ครับ" ปีใหม่นี้คนไทยมีนายกฯใหม่ แต่ยังต้องเซ็งที่มีการเมือง(โครต)เก่า ‘ผู้จัดการ' ก็คนหน้าเก่าเลยไม่รู้ว่าจะเรียกร้อง ‘การเมืองใหม่' กันให้วุ่นวายทำไมเป็นเดือนๆอีกฝ่ายก็อุตส่าห์ลงทุน ‘โฟนอิน' มาเป็นรอบๆ ขู่จนเสื้อเหลืองเสื้อเขียวสะดุ้งไปหลายเฮือก แต่สุดท้ายหวยล็อค ได้ฮาตรงที่เขาบอกกันว่า ‘ประชาธิปัตย์' ก็มากับเสียง ‘โฟนอิน' !?? ที่สำคัญโฟนอินนี้ทำเอา ‘เสื้อแดง' มึนตึ้บเป็นแถว เช้ามาพูดได้คำเดียวว่า "มาม่า...อร่อย "เอาล่ะ..เรื่องการเมืองไว้ค่อยว่ากันต่อ แต่ตอนนี้ขอพักฉลองเทศกาลปีใหม่สากลสักสองสามวันร่วมกับคนทั้งโลก ขออวยพรแบบสากลหน่อย"…
Hit & Run
  คิม ไชยสุขประเสริฐ  ข่าวคราวในวงการกีฬา เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. ที่ผ่านมา คงเป็นที่จดจำสำหรับคนไทยที่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลหรือเป็นนักเชียร์ตัวยงสำหรับกีฬาต่างๆ ที่ลงท้ายด้วยทีมชาติไทยพ่ายทีมชาติเวียดนาม 1-2 ประตู ในฟุตบอลอาเซียน ซูซูกิ คัพ 2008  รอบชิงชนะเลิศนัดแรก ซึ่งจัดขึ้นที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยเกมนี้มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมตรี เดินทางไปเชียร์ทีมไทยถึงขอบสนาม เรียกได้ว่าเป็นการแพ้กันคาบ้าน