Skip to main content

Ko We Kyaw

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หรือเมื่อวานนี้ นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 ในประเทศไทย นำโดยสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า (Assistance Association for Political Prisoners-Burma - AAPP) และสมัชชาเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (the Forum for Democracy in Burma - FDB) จัด “Free Burma’s Political Prisoners Now!” (ปล่อยนักโทษการเมืองในพม่าเดี๋ยวนี้!”) (www.fbppn.net) โดยมีการจัดแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กรุงเทพมหานคร และที่ศูนย์นานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อล่ารายชื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งขิ่น โอมาร์ (Khin Ohmar) ผู้นำนักกิจกรรมพม่าจาก FDB เผยว่า หลังจากเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์ในเดือนสิงหาคมปี 2550 มีนักโทษการเมืองในพม่าเพิ่มเป็น 2,100 คนจากก่อนหน้านี้ราว 1,100 คน โดยการรณรงค์ตั้งเป้าการล่าชื่อไว้ที่ 888,888 คน มีการล่าชื่อทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ อังกฤษ และอีกหลายประเทศ

ที่นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 เลือกเอาวันดังกล่าวเปิดตัวการณรงค์ เนื่องจากออง ซาน ซูจี และผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ถือเอาวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) เพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของ โพน หม่อ (Phone Maw) และ ซอ หน่าย (Soe Naing) นักกิจกรรมที่เสียชีวิตเนื่องจากการปะทะกับตำรวจในปี 1988

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาและ จุดเปลี่ยนสู่เหตุการณ์ 8888

ปี 1988 สำหรับพม่า ถือเป็นปีแห่งความไม่พอใจ โดยก่อนหน้านี้มีความไม่พอใจรัฐบาลทหารที่นำโดยนายพลเนวินที่มาจากการรัฐประหารในปี 1962 (พ.ศ.2505) ที่มีการดำเนินโครงการสังคมนิยมวิถีพม่า (Burmese Way to Socialism) ทำให้พม่าโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก และสภาพเศรษฐกิจของพม่าย่ำแย่ มีการสั่งยกเลิกธนบัตรหลายครั้งโดยไม่มีการชดเชยให้ประชาชน ครั้งที่มีผลกระทบมากที่สุดคือการยกเลิกใบละ 25 จ๊าต 35 จ๊าต และ 75 จ๊าต เมื่อวันที่ 5 กันยายน ปี 1987 (พ.ศ.2530) โดยไม่มีการชดเชยใดๆ ซึ่งทำให้เงินตราของประเทศถึงร้อยละ 75 ที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศไร้ค่าทันที

โดยในพม่าเหลือเพียงธนบัตรราคา 45 จ๊าต และ 90 จ๊าต ที่นายพลเนวินยังให้ใช้ได้เพราะมูลค่าหารด้วย 9 ลงตัว ซึ่งเลข 9 ถือเป็นเลขนำโชค

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ปี 1988 (พ.ศ.2531) ซึ่งอยู่ในช่วงสอบปลายภาคของนักศึกษา กลุ่มนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งย่างกุ้ง (Rangoon Institute of Technology - RIT) เข้าไปนั่งในร้าน ซานดา วิน (Sanda Win) ร้านน้ำชาที่ชื่อร้านบังเอิญไปพ้องกับชื่อบุตรสาวของนายพลเนวิน นักศึกษากลุ่มนี้ต้องการให้ร้านเปิดเทปคาสเซทเพลงของ ชายตีเส่ง’ (Sai Htee Saing, 1950-2008) นักร้องเชื้อสายไทใหญ่ชื่อดังในพม่าที่ร้องเพลงได้ทั้งภาษาพม่าและไทใหญ่ แต่ชาวบ้านกลุ่มอื่นที่นั่งอยู่ในร้านไม่ยอมให้เปิดเพลงของชายตีเส่ง จึงเกิดวิวาทกัน

เส่ง หาน (Sein Han) นักศึกษา RIT ยุค 1988 ที่ประสบในเหตุการณ์เช่นกันบอกว่า ในความเป็นจริง มีการปะทะระหว่างนักศึกษาและชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากเราชินกับเหตุการณ์แบบนี้แล้ว

การวิวาทดังกล่าวทำให้นักศึกษา RIT บาดเจ็บ และตำรวจจับเด็กชาวบ้านคนหนึ่งในข้อหาทำร้ายร่างการนักศึกษา แต่ต่อมาก็ปล่อยตัวไป ทำให้นักศึกษา RIT ไม่พอใจ โดย มิน ซอ (Min Zaw) นักศึกษา RIT ในสมัยนั้น เล่าว่าในวันที่ 13 มีนาคม มีการยกพวกไปขว้างปาก้อนหินใส่ร้านน้ำชา และปะทะกับชาวบ้านที่มีท่อนไม้และมีด

มินซอ เล่าว่า ในวันที่ 13 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เขาเองก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ยังพยายามจุดไฟเผาสหกรณ์ และสถาบันผู้ช่วยพยาบาลแห่งพม่า (Burmese Paramedical Institute - BPI) แต่ไม่สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีการขว้างก้อนหินใส่รถดับเพลิงที่เข้ามาในสถาบัน RIT จนกระจกหน้ารถแตก ต้องล่าถอยออกไป

ต่อมามีรถดับเพลิงเข้ามาใน RIT อีก 5 คัน และฉีดน้ำดับเพลิงเพื่อสลายกลุ่มนักศึกษา แต่นักศึกษาเห็นเป็นเรื่องสนุกที่มีการฉีดน้ำ บางคนก็ขว้างก้อนหินเข้าใส่รถดับเพลิง ฝ่ายเจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหินกลับบ้าง

จากนั้นทหารและตำรวจพร้อมปืนและแก๊สน้ำตาก็ยิงเข้ามาในมหาวิทยาลัย

เหตุการณ์นั้นเองที่ทำให้นักศึกษาคนหนึ่งชื่อ โพน หม่อ’ (Phone maw) ถูกยิงที่ท้องเสียชีวิต ส่วน ซอ หน่าย (Soe Naing) ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอก และเสียชีวิตในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคมปีนั้น นอกจากนี้ก็มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่อีกหลายราย

จากเหตุวิวาทระหว่างนักศึกษากับวัยรุ่นชาวบ้าน แต่การระงับเหตุ แบบเว่อร์ๆของรัฐบาลทหารพม่า จนมีนักศึกษาเสียชีวิต ได้ทำให้ฝ่ายนิยมประชาธิปไตยในพม่าเดินขบวนขึ้นในสถาบัน RIT และลุกลามไปยังสถาบันอื่นๆ จากจุดนี้เองทำให้นักศึกษาพม่าซึ่งไม่เคยเดินขบวนประท้วงใหญ่เลยนับตั้งแต่ปี 1962 เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นนักกิจกรรม

ความไม่พอใจที่เริ่มต้นจากเหตุทะเลาะวิวาทในร้านน้ำชา ขยายตัวไปสู่เรื่องการปกครองของรัฐบาลทหาร การขาดช่องทางในการระบายความคับข้องหมองใจ ความโมโหการกระทำของตำรวจ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่ล้มเหลว และการทุจริตของรัฐบาล

โดยกลางเดือนมีนาคมเกิดการประท้วงขึ้นหลายครั้ง เป็นเรื่องของการร่วมขบวนการของประชาชนกับนักศึกษาในการเรียกร้องให้รัฐบาลชดใช้เงินที่รัฐบาลประกาศยกเลิกอย่างพลการ การสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในเหตุการณ์เดือนมีนาคม การยกเลิกระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว

แต่ก็ไม่มีคำตอบจากรัฐบาลนอกจากการปราบปราม มีการสลายการชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์แก้แค้นจากฝ่ายนักศึกษา เช่น ในเดือนมิถุนายนปี 1988 มีการประกาศไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้ามาในเขตพื้นที่ตน และเกิดการรุมประชาทัณฑ์จนเจ้าหน้าที่เสียชีวิตไปหลายคน จนรัฐบาลต้องประกาศปิดมหาวิทยาลัยย่างกุ้งและสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งย่างกุ้ง เพื่อให้เหตุการณ์ยุติลง

และในที่สุดสถานการณ์การเมืองในพม่าก็ดำเนินไปสู่การปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในวันที่ 8 เดือนสิงหาคมปี 1988 หรือที่รู้จักกันในนามเหตุการณ์ ‘8888’

 

000

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาสู่วันสิทธิมนุษยชนพม่า

 

1989 Phone Maw Day in RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 


งานรำลึกถึงโพน หม่อ ปีแรกเมื่อ 13 มีนาคม 1989 ที่ RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8 

มิน โก นาย (Min Ko Naing)
ที่มา
: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 

มีเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาในภายหลังว่า เหตุที่ตำรวจรีบปล่อยวัยรุ่นในเหตุวิวาทร้านน้ำชาเมื่อ 12 มีนาคม เพราะเป็นลูกของเจ้าหน้าที่ในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Program Party – BSPP) พรรครัฐบาล ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ถูกกฎหมายในพม่า แต่เรื่องนี้ไม่ได้รับการยืนยัน แต่เรื่องเล่าลักษณะนี้ก็ช่วยทำให้เหตุวิวาทระหว่างชาวบ้านกับนักศึกษาและเหตุการณ์ต่อเนื่องในวันนั้นดู ฟังขึ้น ว่าเรื่องความไม่พอใจรัฐบาลทหาร ดูดีกว่าเรื่องเล่าในทำนองที่ว่านักศึกษาไปทะเลาะวิวาทกับชาวบ้าน

โดยหลังเหตุการณ์ปะทะในวันที่ 13 มีนาคม 1988 และเหตุการณ์ ‘8888’ อีก 1 ปี ถัดมา ในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1989 ก็มีการจัดงานรำลึกถึง โพน หม่อและผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 13 มีนาคม ที่สถาบัน RIT นั่นเอง มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ทั้ง มิน โก นาย (Min Ko Naing) ผู้นำนักศึกษา (ปัจจุบันถูกรัฐบาลพม่าจับกุม) รวมทั้ง ออง ซาน ซูจี ซึ่งขณะนั้นกำลังเริ่มมีบทบาททางการเมืองในพม่า หลังร่วมปราศรัยในเดือนสิงหาคมปี 1988 และตั้งพรรคสันนิบาติชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เมื่อ 24 กันยายน ปี 1988 ก็เข้าร่วมงานนี้ด้วย

และต่อมาทั้งอองซาน ซูจี รวมทั้งผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ประกาศให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) มีการรำลึกถึงโพนหม่อและเหตุการณ์วันที่ 13 มีนาคม ตั้งแต่ปี 1989 มาจนถึงทุกวันนี้ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’

เส่งหาน ผู้ที่กล่าวว่านักศึกษาเองก็ไม่ได้ใสใจเรื่องการปะทะกับชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม 1988 มากนัก กลับบอกว่า ทหารพม่าพยายามปกปิดประวัติศาสตร์ แต่ความรับผิดชอบของพวกเรา (ฝ่ายประชาธิปไตย) คือเปิดเผยประวัติศาสตร์ เราควรจัดงานรำลึก วันสิทธิมนุษยชนพม่า ทุกๆ ปี เราควรเคารพต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นักศึกษารุ่นใหม่ในพม่าต้องรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1988”

 

000

ล่าสุดในปีนี้ ผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ถือฤกษ์วันสิทธิมนุษยชนพม่า 13 มีนาคม เปิดตัวการรณรงค์เพื่อล่าชื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองในพม่า

คงเป็นที่ยอมรับในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 13 มีนาคม 1988 เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’ ในเดือนสิงหาคม เพราะความไม่พอใจรัฐบาลทหารพม่าที่สะสมมาก่อนหน้านั้นถูกจุดให้เกิดประกายไฟหลังจากวันที่ 13 มีนาคม 1988 นั่นเอง

เพียงแต่การกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม เป็น วันสำคัญระดับ วันสิทธิมนุษยชนพม่า คงเป็นที่ถกเถียงและถูกตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ ว่าเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักศึกษากับชาวบ้านที่ร้านน้ำชาในวันที่ 12 มีนาคม เพราะเรื่องไม่ยอมเปิดเพลงที่ชื่นชอบ ตามมาด้วยการแก้แค้นเอาคืน และการปราบปรามของรัฐบาลพม่าในวันต่อมาเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร

และกรณี 13 มีนาคมนี้สะท้อน ความเป็นตัวแทน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้อยแปดพันประการที่เกิดขึ้นและยังคงดำเนินต่อไปในพม่าและแผ่นดินอันเป็นรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อย่างไร

คงเป็นคำถามสำหรับทั้งนักกิจกรรมพม่าและบรรดาผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายต่อไป ว่าการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เราต้องการข้อเท็จจริง หรือตำนาน หรือต้องการแค่แรงบันดาลใจ โดยละทิ้งข้อเท็จจริงบางด้านไป

 

อ้างอิง

ส่วนที่เป็นบันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ 13 มีนาคม 1988 โปรดดู Interviews With RIT Students in 1988
http://www.scribd.com/doc/13185999/Interviews-With-RIT-Students-in-1988

8888 Uprising, From Wikipedia, the free encyclopedia
http://en.wikipedia.org/wiki/8888_Uprising

1989 Phone Maw Day in RIT, By BINAmojo,
http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8&feature=related

 20 ปี 8888: ลุกขึ้นสู้ มุ่งสู่แสงตะวัน วานวันแห่งความมืดมิด และอุดมคติที่เลือนหาย โดย อดิศร เกิดมงคล และบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์, ประชาไท, 8/8/2551 http://www.prachatai.com/05web/th/home/13128

เงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดการลุกฮือในพม่า, ทรงฤทธิ์ โพนเงิน, OKnation, 6/9/2007 http://www.oknation.net/blog/mekong/2007/09/06/entry-1

Political Prisoners Doubled in Two Years, Say Activists, By WAI MOE, Irrawaddy, 13/3/2009
http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=15302

 

เรื่องก่อนหน้านี้
ตลกพม่าประชัน ตลก.ไทยใครขำกว่า ,
Ko We Kyaw, 4/10/2008

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…