Skip to main content

Ko We Kyaw

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หรือเมื่อวานนี้ นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 ในประเทศไทย นำโดยสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า (Assistance Association for Political Prisoners-Burma - AAPP) และสมัชชาเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (the Forum for Democracy in Burma - FDB) จัด “Free Burma’s Political Prisoners Now!” (ปล่อยนักโทษการเมืองในพม่าเดี๋ยวนี้!”) (www.fbppn.net) โดยมีการจัดแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กรุงเทพมหานคร และที่ศูนย์นานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อล่ารายชื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งขิ่น โอมาร์ (Khin Ohmar) ผู้นำนักกิจกรรมพม่าจาก FDB เผยว่า หลังจากเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์ในเดือนสิงหาคมปี 2550 มีนักโทษการเมืองในพม่าเพิ่มเป็น 2,100 คนจากก่อนหน้านี้ราว 1,100 คน โดยการรณรงค์ตั้งเป้าการล่าชื่อไว้ที่ 888,888 คน มีการล่าชื่อทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ อังกฤษ และอีกหลายประเทศ

ที่นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 เลือกเอาวันดังกล่าวเปิดตัวการณรงค์ เนื่องจากออง ซาน ซูจี และผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ถือเอาวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) เพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของ โพน หม่อ (Phone Maw) และ ซอ หน่าย (Soe Naing) นักกิจกรรมที่เสียชีวิตเนื่องจากการปะทะกับตำรวจในปี 1988

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาและ จุดเปลี่ยนสู่เหตุการณ์ 8888

ปี 1988 สำหรับพม่า ถือเป็นปีแห่งความไม่พอใจ โดยก่อนหน้านี้มีความไม่พอใจรัฐบาลทหารที่นำโดยนายพลเนวินที่มาจากการรัฐประหารในปี 1962 (พ.ศ.2505) ที่มีการดำเนินโครงการสังคมนิยมวิถีพม่า (Burmese Way to Socialism) ทำให้พม่าโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก และสภาพเศรษฐกิจของพม่าย่ำแย่ มีการสั่งยกเลิกธนบัตรหลายครั้งโดยไม่มีการชดเชยให้ประชาชน ครั้งที่มีผลกระทบมากที่สุดคือการยกเลิกใบละ 25 จ๊าต 35 จ๊าต และ 75 จ๊าต เมื่อวันที่ 5 กันยายน ปี 1987 (พ.ศ.2530) โดยไม่มีการชดเชยใดๆ ซึ่งทำให้เงินตราของประเทศถึงร้อยละ 75 ที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศไร้ค่าทันที

โดยในพม่าเหลือเพียงธนบัตรราคา 45 จ๊าต และ 90 จ๊าต ที่นายพลเนวินยังให้ใช้ได้เพราะมูลค่าหารด้วย 9 ลงตัว ซึ่งเลข 9 ถือเป็นเลขนำโชค

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ปี 1988 (พ.ศ.2531) ซึ่งอยู่ในช่วงสอบปลายภาคของนักศึกษา กลุ่มนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งย่างกุ้ง (Rangoon Institute of Technology - RIT) เข้าไปนั่งในร้าน ซานดา วิน (Sanda Win) ร้านน้ำชาที่ชื่อร้านบังเอิญไปพ้องกับชื่อบุตรสาวของนายพลเนวิน นักศึกษากลุ่มนี้ต้องการให้ร้านเปิดเทปคาสเซทเพลงของ ชายตีเส่ง’ (Sai Htee Saing, 1950-2008) นักร้องเชื้อสายไทใหญ่ชื่อดังในพม่าที่ร้องเพลงได้ทั้งภาษาพม่าและไทใหญ่ แต่ชาวบ้านกลุ่มอื่นที่นั่งอยู่ในร้านไม่ยอมให้เปิดเพลงของชายตีเส่ง จึงเกิดวิวาทกัน

เส่ง หาน (Sein Han) นักศึกษา RIT ยุค 1988 ที่ประสบในเหตุการณ์เช่นกันบอกว่า ในความเป็นจริง มีการปะทะระหว่างนักศึกษาและชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากเราชินกับเหตุการณ์แบบนี้แล้ว

การวิวาทดังกล่าวทำให้นักศึกษา RIT บาดเจ็บ และตำรวจจับเด็กชาวบ้านคนหนึ่งในข้อหาทำร้ายร่างการนักศึกษา แต่ต่อมาก็ปล่อยตัวไป ทำให้นักศึกษา RIT ไม่พอใจ โดย มิน ซอ (Min Zaw) นักศึกษา RIT ในสมัยนั้น เล่าว่าในวันที่ 13 มีนาคม มีการยกพวกไปขว้างปาก้อนหินใส่ร้านน้ำชา และปะทะกับชาวบ้านที่มีท่อนไม้และมีด

มินซอ เล่าว่า ในวันที่ 13 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เขาเองก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ยังพยายามจุดไฟเผาสหกรณ์ และสถาบันผู้ช่วยพยาบาลแห่งพม่า (Burmese Paramedical Institute - BPI) แต่ไม่สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีการขว้างก้อนหินใส่รถดับเพลิงที่เข้ามาในสถาบัน RIT จนกระจกหน้ารถแตก ต้องล่าถอยออกไป

ต่อมามีรถดับเพลิงเข้ามาใน RIT อีก 5 คัน และฉีดน้ำดับเพลิงเพื่อสลายกลุ่มนักศึกษา แต่นักศึกษาเห็นเป็นเรื่องสนุกที่มีการฉีดน้ำ บางคนก็ขว้างก้อนหินเข้าใส่รถดับเพลิง ฝ่ายเจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหินกลับบ้าง

จากนั้นทหารและตำรวจพร้อมปืนและแก๊สน้ำตาก็ยิงเข้ามาในมหาวิทยาลัย

เหตุการณ์นั้นเองที่ทำให้นักศึกษาคนหนึ่งชื่อ โพน หม่อ’ (Phone maw) ถูกยิงที่ท้องเสียชีวิต ส่วน ซอ หน่าย (Soe Naing) ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอก และเสียชีวิตในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคมปีนั้น นอกจากนี้ก็มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่อีกหลายราย

จากเหตุวิวาทระหว่างนักศึกษากับวัยรุ่นชาวบ้าน แต่การระงับเหตุ แบบเว่อร์ๆของรัฐบาลทหารพม่า จนมีนักศึกษาเสียชีวิต ได้ทำให้ฝ่ายนิยมประชาธิปไตยในพม่าเดินขบวนขึ้นในสถาบัน RIT และลุกลามไปยังสถาบันอื่นๆ จากจุดนี้เองทำให้นักศึกษาพม่าซึ่งไม่เคยเดินขบวนประท้วงใหญ่เลยนับตั้งแต่ปี 1962 เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นนักกิจกรรม

ความไม่พอใจที่เริ่มต้นจากเหตุทะเลาะวิวาทในร้านน้ำชา ขยายตัวไปสู่เรื่องการปกครองของรัฐบาลทหาร การขาดช่องทางในการระบายความคับข้องหมองใจ ความโมโหการกระทำของตำรวจ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่ล้มเหลว และการทุจริตของรัฐบาล

โดยกลางเดือนมีนาคมเกิดการประท้วงขึ้นหลายครั้ง เป็นเรื่องของการร่วมขบวนการของประชาชนกับนักศึกษาในการเรียกร้องให้รัฐบาลชดใช้เงินที่รัฐบาลประกาศยกเลิกอย่างพลการ การสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในเหตุการณ์เดือนมีนาคม การยกเลิกระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว

แต่ก็ไม่มีคำตอบจากรัฐบาลนอกจากการปราบปราม มีการสลายการชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์แก้แค้นจากฝ่ายนักศึกษา เช่น ในเดือนมิถุนายนปี 1988 มีการประกาศไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้ามาในเขตพื้นที่ตน และเกิดการรุมประชาทัณฑ์จนเจ้าหน้าที่เสียชีวิตไปหลายคน จนรัฐบาลต้องประกาศปิดมหาวิทยาลัยย่างกุ้งและสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งย่างกุ้ง เพื่อให้เหตุการณ์ยุติลง

และในที่สุดสถานการณ์การเมืองในพม่าก็ดำเนินไปสู่การปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในวันที่ 8 เดือนสิงหาคมปี 1988 หรือที่รู้จักกันในนามเหตุการณ์ ‘8888’

 

000

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาสู่วันสิทธิมนุษยชนพม่า

 

1989 Phone Maw Day in RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 


งานรำลึกถึงโพน หม่อ ปีแรกเมื่อ 13 มีนาคม 1989 ที่ RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8 

มิน โก นาย (Min Ko Naing)
ที่มา
: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 

มีเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาในภายหลังว่า เหตุที่ตำรวจรีบปล่อยวัยรุ่นในเหตุวิวาทร้านน้ำชาเมื่อ 12 มีนาคม เพราะเป็นลูกของเจ้าหน้าที่ในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Program Party – BSPP) พรรครัฐบาล ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ถูกกฎหมายในพม่า แต่เรื่องนี้ไม่ได้รับการยืนยัน แต่เรื่องเล่าลักษณะนี้ก็ช่วยทำให้เหตุวิวาทระหว่างชาวบ้านกับนักศึกษาและเหตุการณ์ต่อเนื่องในวันนั้นดู ฟังขึ้น ว่าเรื่องความไม่พอใจรัฐบาลทหาร ดูดีกว่าเรื่องเล่าในทำนองที่ว่านักศึกษาไปทะเลาะวิวาทกับชาวบ้าน

โดยหลังเหตุการณ์ปะทะในวันที่ 13 มีนาคม 1988 และเหตุการณ์ ‘8888’ อีก 1 ปี ถัดมา ในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1989 ก็มีการจัดงานรำลึกถึง โพน หม่อและผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 13 มีนาคม ที่สถาบัน RIT นั่นเอง มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ทั้ง มิน โก นาย (Min Ko Naing) ผู้นำนักศึกษา (ปัจจุบันถูกรัฐบาลพม่าจับกุม) รวมทั้ง ออง ซาน ซูจี ซึ่งขณะนั้นกำลังเริ่มมีบทบาททางการเมืองในพม่า หลังร่วมปราศรัยในเดือนสิงหาคมปี 1988 และตั้งพรรคสันนิบาติชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เมื่อ 24 กันยายน ปี 1988 ก็เข้าร่วมงานนี้ด้วย

และต่อมาทั้งอองซาน ซูจี รวมทั้งผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ประกาศให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) มีการรำลึกถึงโพนหม่อและเหตุการณ์วันที่ 13 มีนาคม ตั้งแต่ปี 1989 มาจนถึงทุกวันนี้ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’

เส่งหาน ผู้ที่กล่าวว่านักศึกษาเองก็ไม่ได้ใสใจเรื่องการปะทะกับชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม 1988 มากนัก กลับบอกว่า ทหารพม่าพยายามปกปิดประวัติศาสตร์ แต่ความรับผิดชอบของพวกเรา (ฝ่ายประชาธิปไตย) คือเปิดเผยประวัติศาสตร์ เราควรจัดงานรำลึก วันสิทธิมนุษยชนพม่า ทุกๆ ปี เราควรเคารพต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นักศึกษารุ่นใหม่ในพม่าต้องรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1988”

 

000

ล่าสุดในปีนี้ ผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ถือฤกษ์วันสิทธิมนุษยชนพม่า 13 มีนาคม เปิดตัวการรณรงค์เพื่อล่าชื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองในพม่า

คงเป็นที่ยอมรับในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 13 มีนาคม 1988 เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’ ในเดือนสิงหาคม เพราะความไม่พอใจรัฐบาลทหารพม่าที่สะสมมาก่อนหน้านั้นถูกจุดให้เกิดประกายไฟหลังจากวันที่ 13 มีนาคม 1988 นั่นเอง

เพียงแต่การกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม เป็น วันสำคัญระดับ วันสิทธิมนุษยชนพม่า คงเป็นที่ถกเถียงและถูกตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ ว่าเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักศึกษากับชาวบ้านที่ร้านน้ำชาในวันที่ 12 มีนาคม เพราะเรื่องไม่ยอมเปิดเพลงที่ชื่นชอบ ตามมาด้วยการแก้แค้นเอาคืน และการปราบปรามของรัฐบาลพม่าในวันต่อมาเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร

และกรณี 13 มีนาคมนี้สะท้อน ความเป็นตัวแทน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้อยแปดพันประการที่เกิดขึ้นและยังคงดำเนินต่อไปในพม่าและแผ่นดินอันเป็นรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อย่างไร

คงเป็นคำถามสำหรับทั้งนักกิจกรรมพม่าและบรรดาผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายต่อไป ว่าการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เราต้องการข้อเท็จจริง หรือตำนาน หรือต้องการแค่แรงบันดาลใจ โดยละทิ้งข้อเท็จจริงบางด้านไป

 

อ้างอิง

ส่วนที่เป็นบันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ 13 มีนาคม 1988 โปรดดู Interviews With RIT Students in 1988
http://www.scribd.com/doc/13185999/Interviews-With-RIT-Students-in-1988

8888 Uprising, From Wikipedia, the free encyclopedia
http://en.wikipedia.org/wiki/8888_Uprising

1989 Phone Maw Day in RIT, By BINAmojo,
http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8&feature=related

 20 ปี 8888: ลุกขึ้นสู้ มุ่งสู่แสงตะวัน วานวันแห่งความมืดมิด และอุดมคติที่เลือนหาย โดย อดิศร เกิดมงคล และบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์, ประชาไท, 8/8/2551 http://www.prachatai.com/05web/th/home/13128

เงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดการลุกฮือในพม่า, ทรงฤทธิ์ โพนเงิน, OKnation, 6/9/2007 http://www.oknation.net/blog/mekong/2007/09/06/entry-1

Political Prisoners Doubled in Two Years, Say Activists, By WAI MOE, Irrawaddy, 13/3/2009
http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=15302

 

เรื่องก่อนหน้านี้
ตลกพม่าประชัน ตลก.ไทยใครขำกว่า ,
Ko We Kyaw, 4/10/2008

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 นายหอกหัก (จูเนียร์)     เห็นเด็กๆ สมัยนี้ออกมารณรงค์เรื่องการเมือง แล้วมันช่างน่าอิจฉาซะกระไร!เพราะมีสื่อทั้งผู้จัดการ ASTV เนชั่น TPBS และอื่นๆ อีกมากมายคอยประคบประหงมให้เขาเป็นดาราเพียงชั่วข้ามคืนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชนขวาใหม่จัดคลั่งชาติคลั่งสถาบันอย่าง ยังแพด (Young pad) และอีกสารพัดของกลุ่มพลังนิสิต นักศึกษาชนชั้นกลาง ที่ละจากการโฉบเฉี่ยวสร้างความเท่ เก๋ไก๋ จากการฟังเพลงอินดี้ ดูหนังนอกกระแส แต่งตัวอย่างมีเทรนด์ มีสไตล์ มาช่วยกันขับเคลื่อนการเมืองใหม่ รัฐบาลประชาภิวัฒน์ ระบอบ 70: 30 ให้กับพวกพ้องพ่อแม่ญาติพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย…
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์>แบนเกมมาริโอ้ เหตุเด็กประถมกระโดดเอาศีรษะกระแทกอิฐ ไล่เตะเต่าและตะพาบ ซ้ำยังเอาแต่กินเห็ด เพราะอยากตัวสูง เลียนแบบเกมมาริโอ้ แบนอิคคิวซัง เหตุเด็กอนุบาล หวังฉลาดแบบอิคคิว เอานิ้วแตะน้ำลายถูรอบศีรษะจนเป็นขี้กลาก แบน นสพ.หัวสีรุ้ง หลังพบเด็กมัธยม อ่านข่าวข่มขืนแล้ว อยากทำตาม เพราะบรรยายอย่างละเอียด (เหตุการณ์สมมติ) ถ้าสังคมนี้ แก้ไขทุกอย่างด้วยการชี้นิ้วหาคนผิด และแบนสิ่งนั้นๆ เสีย ก็คงง่ายดีพิลึก ต่อไปสังคมก็คงใสสะอาด เต็มไปด้วยคุณธรรมสูงส่ง จริงหรือ?
Hit & Run
 มุทิตา เชื้อชั่ง   รู้ว่าหลายคนเห็นความไม่ถูกต้อง รู้สึกได้ถึงหายนะ แต่ไม่มีใครจัดการอะไรกับพวกเขาซักคน.......ถ้าไม่เพราะกลัวเครือข่ายอันกว้างขวางของพวกเขา ก็อาจเพราะไม่อยากเป็นเป้า ถูกโจมตีเสียเอง มันไม่ใช่เรื่องสนุกที่ต้องคัดง้างกับพวกนักบุญที่แสนอาฆาตมาดร้าย ป่าเถื่อน ราวกับหลุดมาจากยุคกลางแต่มันก็น่าสำรอกไม่หยอก ที่เขาทำตัวเป็นผู้จงรักภักดีกับอะไรต่อมิอะไรมากมาย มากกว่าคนอื่นๆ และเล่นงานศัตรูของเขาด้วยการตระเวรพูด พูด พูด พูด พูดทุกคืน ทุกวัน ทุกชั่วโมง ไม่หยุดหย่อนถึงความชั่วร้ายเลวทรามของศัตรู ง่ายๆ แบบสีขาว-สีดำ ใครก็ตามที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้องตามนิยามที่พวกเขาตั้งขึ้น…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง   แล้ววันสำคัญทางพุทธศาสนาก็วนเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบสองพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดปีหลังพระพุทธเจ้าเสด็จสู่นิพพาน เป็นความน่ายินดีที่รัฐไทยซึ่งประกาศตัวเป็นพุทธมามกะประกาศให้เป็นวันหยุดเพื่อแสดงความเคารพอย่างสำคัญและจะได้เปิดโอกาสให้ไปทำบุญทำทานกันตามธรรมเนียมประเพณี แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเบื่อหน่ายพ่วงตามมากับบรรยากาศแบบนี้คือไม่สามารถไปหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มกินตามวิสัยได้ เนื่องจากเมื่อปีก่อนรัฐบาลคุณธรรมผลักดันจนมีกฎหมายมาบังคับ ทั้งที่เรื่องของศาสนาและแนวทางการปฏิบัติควรเป็นเรื่องของส่วนบุคคลเสียมากกว่า…
Hit & Run
  คิม  ไชยสุขประเสริฐ   5 ก.ค. 51  เยือนโขงเจียม แดนตะวันออกสุดเขตประเทศไทย ที่ว่ากันว่าเห็นตะวันก่อนใครในสยาม (อีกครั้ง) แล้วเวลาแห่งการรอคอยของชาวบ้านปากมูนก็มาถึง เมื่อประตูบานเขื่องทั้ง 8 บานของ "เขื่อนปากมูล" ถูกยกขึ้นเพื่อปลดปล่อยฝูงปลาให้เวียนว่ายท้าทายกระแสน้ำขึ้นสู่ต้นน้ำตามวัฎจักร ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตามมติของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล หลังจากที่ "เขื่อนปากมูล" ต้องถูกปิดมากว่า 1 ปีเต็ม  ที่ผ่านมา "เขื่อนปากมูล" กับการต่อสู้ของ "ไทบ้านปากมูน" เป็นที่รับรู้มานานปี และดูเหมือนว่าวันนี้…
Hit & Run
  เมื่อหนุ่มน้อย "สี TOA" เขียนจดหมายถึง "ศรีบูรพา" ว่าด้วยความสับสนและอคติต่ออุดมการณ์สื่อ
Hit & Run
< แสงธรรม > 20 มิถุนายน 2551ฉันได้รับการแจ้งข่าว ชาวบ้านในหมู่บ้านชายแดนไทย – พม่า ด้านที่ติดกับรัฐฉาน พบกลุ่มเด็กชายและหญิงจำนวน 5 คน วิ่งมาจากอีกฝั่งแล้วข้ามเข้ามาในเขตไทยดูเหมือนพวกเขาวิ่งหนีบางสิ่งบางอย่างชาวบ้านมาพบเด็กกลุ่มนี้เข้า พบว่าเป็นเด็กชาวว้า0 0 0
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์    แถลงการณ์ ฉบับที่ 0.17 จากประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย รักหมา รักแมว รักสิ่งแวดล้อม จนอาจลืมรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (ไปบ้าง)   เนื่องด้วยประเทศไทยอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต่างคนต่างก็ออกแถลงการณ์แสดงความเห็นต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นอุบัติการณ์ ประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย รักหมา รักแมว รักสิ่งแวดล้อม จนอาจลืมรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (ไปบ้าง) (ป.ป.ช.ผ.ร.ช.ร.ป.ช.ต.ร.ม.ร.ม.ร.ส.ว.ล.) จึงเห็นว่า ควรออกแถลงการณ์กับเขาบ้าง โดย ป.ป.ช.ผ.ร.ช.ร.ป.ช.ต.ร.ม.ร.ม.ร.ส.ว.ล. มีข้อสังเกตต่อการออกแถลงการณ์ ดังนี้
Hit & Run
< กรกช  เพียงใจ>ขณะใครเปล่งเสียงสู้เพื่อกู้ชาติขณะใครร่วมพิฆาตมาดมารร้ายขณะนั้นเขายืนอยู่อย่างเดียวดายกลางผืนทราย ฝูงยุง ทุ่งพระสุเมรุไม่มีศิลปินใดร่ายบทกวีไม่มีวงดนตรีระเริงเล่นมีเพียงเหล่าคนยากที่ชัดเจนจากหลืบเร้นเหม็นสาบวิบากกรรมหรือเขาเป็นคนทุกข์ผู้โฉดเขลาหลงมัวเมาประชานิยมจนถลำหรือเขาคือผู้ยึดถือในถ้อยคำจึงชอกช้ำ ‘ประชาธิปไตย’ ช่างเปล่ากลวงหรือเขาคือฝูงคนผู้หลงผิดผู้ยึดติดเงินตราดังค่าหลวงพวกป่าเถื่อนเกลื่อนกลาดอนาจทรวงคอยทะลวงสู้ตายกับลายพรางรู้เพียง...คนว่า…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง >ความมืดเริ่มแผ่ปกคลุมรอบๆบริเวณ หญิงเฒ่ากำเศษเหรียญจำนวนสามบาทห้าสิบสตางค์เอาไว้ในมือ สายตามองตามรถปรับอากาศติดแอร์สีส้มสาย 60 ที่เพิ่งผ่านไปอย่างเลื่อนลอย แต่ด้วยจำนวนเงินที่มีในมือคงทำได้เพียงอดทนรอเหมือนที่ริ้วรอยย่นบนหน้าผากและผิวพรรณที่แห้งกร้านแสดงออกมาทั้งชีวิต การรอคอยยังมีความหวัง เพราะอีกไม่นานรถเมล์คันสีแดงคงจะขับผ่านมาอีกรอบ เมื่อไม่นานมานี้เองเศษเงินราคาไม่ถึงห้าบาทยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังของเส้นทางกลับบ้าน� �เพียงกระพริบตากาลเวลาก็ล่วงผ่าน ถึงพุทธศักราช 2551 ภายในรอบครึ่งปีแรก ราคาน้ำมันในตลาดโลกทุนนิยมเสรีถีบตัวขึ้นสูงลิ่วจ่อทะลุ 40…
Hit & Run
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุขบางคนบอกว่าโลกใบนี้คือโรงละคร และก็มีบางคนที่เห็นว่ามันคือ ‘คุก’ และคุณว่ามันคืออะไร 0 0 0
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเพื่อนนักโบราณคดีส่งภาพความเสียหายที่ ‘ปราสาทหินพนมรุ้ง’ จังหวัดบุรีรัมย์มาให้ดูอย่างเศร้าๆ สะพานนาคราชชั้นที่ 1, 2 และ 3 เศียรนาคถูกตีใบหน้าตรงส่วนปากกึ่งจมูก เสียหายไป 13 เศียร โคนนทิ พาหนะแห่งองค์ศิวะถูกตีทำลายบริเวณใบหน้า ส่วน ‘แท่งศิวลึงค์’ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลในไศวะนิกาย สัญลักษณ์แห่งองค์ศิวะถูกเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิมบนฐานโยนีแล้วเอาลงไปวางไว้ในร่องน้ำมนต์ ข้างนอกปราสาทแม้แต่ทวารบาลผู้รักษาประตูประจำทิศใต้ก็ไม่อาจรักษาดูแลตัวเองได้ แขนและมือถูกทำลายมือข้างหนึ่งถูกวางไว้ที่สะพานนาคราชชั้นที่ 1 มืออีกข้างถูกเอาไปวางที่สะพานนาคราชชั้นที่ 2 ด้านทิศเหนือ…