Skip to main content

Ko We Kyaw

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หรือเมื่อวานนี้ นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 ในประเทศไทย นำโดยสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า (Assistance Association for Political Prisoners-Burma - AAPP) และสมัชชาเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (the Forum for Democracy in Burma - FDB) จัด “Free Burma’s Political Prisoners Now!” (ปล่อยนักโทษการเมืองในพม่าเดี๋ยวนี้!”) (www.fbppn.net) โดยมีการจัดแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กรุงเทพมหานคร และที่ศูนย์นานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อล่ารายชื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งขิ่น โอมาร์ (Khin Ohmar) ผู้นำนักกิจกรรมพม่าจาก FDB เผยว่า หลังจากเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์ในเดือนสิงหาคมปี 2550 มีนักโทษการเมืองในพม่าเพิ่มเป็น 2,100 คนจากก่อนหน้านี้ราว 1,100 คน โดยการรณรงค์ตั้งเป้าการล่าชื่อไว้ที่ 888,888 คน มีการล่าชื่อทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ อังกฤษ และอีกหลายประเทศ

ที่นักกิจกรรมพม่ารุ่น’88 เลือกเอาวันดังกล่าวเปิดตัวการณรงค์ เนื่องจากออง ซาน ซูจี และผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ถือเอาวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) เพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของ โพน หม่อ (Phone Maw) และ ซอ หน่าย (Soe Naing) นักกิจกรรมที่เสียชีวิตเนื่องจากการปะทะกับตำรวจในปี 1988

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาและ จุดเปลี่ยนสู่เหตุการณ์ 8888

ปี 1988 สำหรับพม่า ถือเป็นปีแห่งความไม่พอใจ โดยก่อนหน้านี้มีความไม่พอใจรัฐบาลทหารที่นำโดยนายพลเนวินที่มาจากการรัฐประหารในปี 1962 (พ.ศ.2505) ที่มีการดำเนินโครงการสังคมนิยมวิถีพม่า (Burmese Way to Socialism) ทำให้พม่าโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก และสภาพเศรษฐกิจของพม่าย่ำแย่ มีการสั่งยกเลิกธนบัตรหลายครั้งโดยไม่มีการชดเชยให้ประชาชน ครั้งที่มีผลกระทบมากที่สุดคือการยกเลิกใบละ 25 จ๊าต 35 จ๊าต และ 75 จ๊าต เมื่อวันที่ 5 กันยายน ปี 1987 (พ.ศ.2530) โดยไม่มีการชดเชยใดๆ ซึ่งทำให้เงินตราของประเทศถึงร้อยละ 75 ที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศไร้ค่าทันที

โดยในพม่าเหลือเพียงธนบัตรราคา 45 จ๊าต และ 90 จ๊าต ที่นายพลเนวินยังให้ใช้ได้เพราะมูลค่าหารด้วย 9 ลงตัว ซึ่งเลข 9 ถือเป็นเลขนำโชค

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ปี 1988 (พ.ศ.2531) ซึ่งอยู่ในช่วงสอบปลายภาคของนักศึกษา กลุ่มนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งย่างกุ้ง (Rangoon Institute of Technology - RIT) เข้าไปนั่งในร้าน ซานดา วิน (Sanda Win) ร้านน้ำชาที่ชื่อร้านบังเอิญไปพ้องกับชื่อบุตรสาวของนายพลเนวิน นักศึกษากลุ่มนี้ต้องการให้ร้านเปิดเทปคาสเซทเพลงของ ชายตีเส่ง’ (Sai Htee Saing, 1950-2008) นักร้องเชื้อสายไทใหญ่ชื่อดังในพม่าที่ร้องเพลงได้ทั้งภาษาพม่าและไทใหญ่ แต่ชาวบ้านกลุ่มอื่นที่นั่งอยู่ในร้านไม่ยอมให้เปิดเพลงของชายตีเส่ง จึงเกิดวิวาทกัน

เส่ง หาน (Sein Han) นักศึกษา RIT ยุค 1988 ที่ประสบในเหตุการณ์เช่นกันบอกว่า ในความเป็นจริง มีการปะทะระหว่างนักศึกษาและชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากเราชินกับเหตุการณ์แบบนี้แล้ว

การวิวาทดังกล่าวทำให้นักศึกษา RIT บาดเจ็บ และตำรวจจับเด็กชาวบ้านคนหนึ่งในข้อหาทำร้ายร่างการนักศึกษา แต่ต่อมาก็ปล่อยตัวไป ทำให้นักศึกษา RIT ไม่พอใจ โดย มิน ซอ (Min Zaw) นักศึกษา RIT ในสมัยนั้น เล่าว่าในวันที่ 13 มีนาคม มีการยกพวกไปขว้างปาก้อนหินใส่ร้านน้ำชา และปะทะกับชาวบ้านที่มีท่อนไม้และมีด

มินซอ เล่าว่า ในวันที่ 13 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เขาเองก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ยังพยายามจุดไฟเผาสหกรณ์ และสถาบันผู้ช่วยพยาบาลแห่งพม่า (Burmese Paramedical Institute - BPI) แต่ไม่สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีการขว้างก้อนหินใส่รถดับเพลิงที่เข้ามาในสถาบัน RIT จนกระจกหน้ารถแตก ต้องล่าถอยออกไป

ต่อมามีรถดับเพลิงเข้ามาใน RIT อีก 5 คัน และฉีดน้ำดับเพลิงเพื่อสลายกลุ่มนักศึกษา แต่นักศึกษาเห็นเป็นเรื่องสนุกที่มีการฉีดน้ำ บางคนก็ขว้างก้อนหินเข้าใส่รถดับเพลิง ฝ่ายเจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหินกลับบ้าง

จากนั้นทหารและตำรวจพร้อมปืนและแก๊สน้ำตาก็ยิงเข้ามาในมหาวิทยาลัย

เหตุการณ์นั้นเองที่ทำให้นักศึกษาคนหนึ่งชื่อ โพน หม่อ’ (Phone maw) ถูกยิงที่ท้องเสียชีวิต ส่วน ซอ หน่าย (Soe Naing) ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอก และเสียชีวิตในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคมปีนั้น นอกจากนี้ก็มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่อีกหลายราย

จากเหตุวิวาทระหว่างนักศึกษากับวัยรุ่นชาวบ้าน แต่การระงับเหตุ แบบเว่อร์ๆของรัฐบาลทหารพม่า จนมีนักศึกษาเสียชีวิต ได้ทำให้ฝ่ายนิยมประชาธิปไตยในพม่าเดินขบวนขึ้นในสถาบัน RIT และลุกลามไปยังสถาบันอื่นๆ จากจุดนี้เองทำให้นักศึกษาพม่าซึ่งไม่เคยเดินขบวนประท้วงใหญ่เลยนับตั้งแต่ปี 1962 เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นนักกิจกรรม

ความไม่พอใจที่เริ่มต้นจากเหตุทะเลาะวิวาทในร้านน้ำชา ขยายตัวไปสู่เรื่องการปกครองของรัฐบาลทหาร การขาดช่องทางในการระบายความคับข้องหมองใจ ความโมโหการกระทำของตำรวจ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่ล้มเหลว และการทุจริตของรัฐบาล

โดยกลางเดือนมีนาคมเกิดการประท้วงขึ้นหลายครั้ง เป็นเรื่องของการร่วมขบวนการของประชาชนกับนักศึกษาในการเรียกร้องให้รัฐบาลชดใช้เงินที่รัฐบาลประกาศยกเลิกอย่างพลการ การสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในเหตุการณ์เดือนมีนาคม การยกเลิกระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว

แต่ก็ไม่มีคำตอบจากรัฐบาลนอกจากการปราบปราม มีการสลายการชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์แก้แค้นจากฝ่ายนักศึกษา เช่น ในเดือนมิถุนายนปี 1988 มีการประกาศไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้ามาในเขตพื้นที่ตน และเกิดการรุมประชาทัณฑ์จนเจ้าหน้าที่เสียชีวิตไปหลายคน จนรัฐบาลต้องประกาศปิดมหาวิทยาลัยย่างกุ้งและสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งย่างกุ้ง เพื่อให้เหตุการณ์ยุติลง

และในที่สุดสถานการณ์การเมืองในพม่าก็ดำเนินไปสู่การปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในวันที่ 8 เดือนสิงหาคมปี 1988 หรือที่รู้จักกันในนามเหตุการณ์ ‘8888’

 

000

 

เหตุวิวาทร้านน้ำชาสู่วันสิทธิมนุษยชนพม่า

 

1989 Phone Maw Day in RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 


งานรำลึกถึงโพน หม่อ ปีแรกเมื่อ 13 มีนาคม 1989 ที่ RIT

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8 

มิน โก นาย (Min Ko Naing)
ที่มา
: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

ที่มา: BINAmojo http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8

 

 

มีเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาในภายหลังว่า เหตุที่ตำรวจรีบปล่อยวัยรุ่นในเหตุวิวาทร้านน้ำชาเมื่อ 12 มีนาคม เพราะเป็นลูกของเจ้าหน้าที่ในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Program Party – BSPP) พรรครัฐบาล ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ถูกกฎหมายในพม่า แต่เรื่องนี้ไม่ได้รับการยืนยัน แต่เรื่องเล่าลักษณะนี้ก็ช่วยทำให้เหตุวิวาทระหว่างชาวบ้านกับนักศึกษาและเหตุการณ์ต่อเนื่องในวันนั้นดู ฟังขึ้น ว่าเรื่องความไม่พอใจรัฐบาลทหาร ดูดีกว่าเรื่องเล่าในทำนองที่ว่านักศึกษาไปทะเลาะวิวาทกับชาวบ้าน

โดยหลังเหตุการณ์ปะทะในวันที่ 13 มีนาคม 1988 และเหตุการณ์ ‘8888’ อีก 1 ปี ถัดมา ในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1989 ก็มีการจัดงานรำลึกถึง โพน หม่อและผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 13 มีนาคม ที่สถาบัน RIT นั่นเอง มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ทั้ง มิน โก นาย (Min Ko Naing) ผู้นำนักศึกษา (ปัจจุบันถูกรัฐบาลพม่าจับกุม) รวมทั้ง ออง ซาน ซูจี ซึ่งขณะนั้นกำลังเริ่มมีบทบาททางการเมืองในพม่า หลังร่วมปราศรัยในเดือนสิงหาคมปี 1988 และตั้งพรรคสันนิบาติชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เมื่อ 24 กันยายน ปี 1988 ก็เข้าร่วมงานนี้ด้วย

และต่อมาทั้งอองซาน ซูจี รวมทั้งผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ประกาศให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma’s Human Rights Day) มีการรำลึกถึงโพนหม่อและเหตุการณ์วันที่ 13 มีนาคม ตั้งแต่ปี 1989 มาจนถึงทุกวันนี้ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’

เส่งหาน ผู้ที่กล่าวว่านักศึกษาเองก็ไม่ได้ใสใจเรื่องการปะทะกับชาวบ้านในวันที่ 12 มีนาคม 1988 มากนัก กลับบอกว่า ทหารพม่าพยายามปกปิดประวัติศาสตร์ แต่ความรับผิดชอบของพวกเรา (ฝ่ายประชาธิปไตย) คือเปิดเผยประวัติศาสตร์ เราควรจัดงานรำลึก วันสิทธิมนุษยชนพม่า ทุกๆ ปี เราควรเคารพต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นักศึกษารุ่นใหม่ในพม่าต้องรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม ปี 1988”

 

000

ล่าสุดในปีนี้ ผู้นำนักศึกษารุ่น’88 ก็ถือฤกษ์วันสิทธิมนุษยชนพม่า 13 มีนาคม เปิดตัวการรณรงค์เพื่อล่าชื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองในพม่า

คงเป็นที่ยอมรับในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 13 มีนาคม 1988 เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘8888’ ในเดือนสิงหาคม เพราะความไม่พอใจรัฐบาลทหารพม่าที่สะสมมาก่อนหน้านั้นถูกจุดให้เกิดประกายไฟหลังจากวันที่ 13 มีนาคม 1988 นั่นเอง

เพียงแต่การกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม เป็น วันสำคัญระดับ วันสิทธิมนุษยชนพม่า คงเป็นที่ถกเถียงและถูกตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ ว่าเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักศึกษากับชาวบ้านที่ร้านน้ำชาในวันที่ 12 มีนาคม เพราะเรื่องไม่ยอมเปิดเพลงที่ชื่นชอบ ตามมาด้วยการแก้แค้นเอาคืน และการปราบปรามของรัฐบาลพม่าในวันต่อมาเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร

และกรณี 13 มีนาคมนี้สะท้อน ความเป็นตัวแทน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้อยแปดพันประการที่เกิดขึ้นและยังคงดำเนินต่อไปในพม่าและแผ่นดินอันเป็นรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อย่างไร

คงเป็นคำถามสำหรับทั้งนักกิจกรรมพม่าและบรรดาผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายต่อไป ว่าการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เราต้องการข้อเท็จจริง หรือตำนาน หรือต้องการแค่แรงบันดาลใจ โดยละทิ้งข้อเท็จจริงบางด้านไป

 

อ้างอิง

ส่วนที่เป็นบันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ 13 มีนาคม 1988 โปรดดู Interviews With RIT Students in 1988
http://www.scribd.com/doc/13185999/Interviews-With-RIT-Students-in-1988

8888 Uprising, From Wikipedia, the free encyclopedia
http://en.wikipedia.org/wiki/8888_Uprising

1989 Phone Maw Day in RIT, By BINAmojo,
http://www.youtube.com/watch?v=noFZnTTk1G8&feature=related

 20 ปี 8888: ลุกขึ้นสู้ มุ่งสู่แสงตะวัน วานวันแห่งความมืดมิด และอุดมคติที่เลือนหาย โดย อดิศร เกิดมงคล และบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์, ประชาไท, 8/8/2551 http://www.prachatai.com/05web/th/home/13128

เงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดการลุกฮือในพม่า, ทรงฤทธิ์ โพนเงิน, OKnation, 6/9/2007 http://www.oknation.net/blog/mekong/2007/09/06/entry-1

Political Prisoners Doubled in Two Years, Say Activists, By WAI MOE, Irrawaddy, 13/3/2009
http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=15302

 

เรื่องก่อนหน้านี้
ตลกพม่าประชัน ตลก.ไทยใครขำกว่า ,
Ko We Kyaw, 4/10/2008

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 ภาพจาก reutersคิม ไชยสุขประเสริฐวันฝนตก ฉันนั่งอ่านบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงษ์ <1> ในหนังหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับภาพของ นางการ์เม่ ชาคอน (Carme Chacon) วัย 37 ปี ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune ขณะที่นางชาคอน ผู้ซึ่งในรัฐบาลชุดก่อนเป็นรัฐมนตรีการเคหะ กำลังเดินตรวจพลสวนสนามครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ของสเปน ในกรุงมาดริด เมื่อวันที่ 14 เม.ย.... เธออยู่ในชุดกางเกงกับเสื้อคลุมท้อง และสวมรองเท้าส้นสูง...นางชาคอนได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสเปน เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บไซต์ artshole โดย Richard Sayerตติกานต์ เดชชพงศ เมื่อไม่กี่วันก่อน อาจารย์ 2 ท่านจากสถาบันอุดมศึกษาเก่าแก่ ออกแถลงการณ์เตือนให้ ‘คนทำสื่อ' และ ‘คนบริโภคสื่อ' ระมัดระวังภาวะ ‘สื่อเป็นพิษ' อันเนื่องมาจากการบริโภคข้อมูลปนเปื้อน ‘ความรุนแรง' ที่แฝงเร้นมากับข่าวและบทความอันท่วมท้นล้นหลามในยุคสารสนเทศครองเมืองไม่แน่ใจนักว่า ‘สื่อเป็นพิษ' จะก่อให้เกิดอาการอะไรที่เป็นผลร้ายแรงกับสุขภาพร่างกายหรือไม่ แต่ถ้าพูดถึงอาการ ‘อาหารเป็นพิษ' ซึ่งคนส่วนใหญ่ ‘บริโภค' เข้าไปเพราะไม่รู้เท่าทัน จะทำให้ผู้บริโภคอาเจียน ท้องเสีย หน้ามืดหมดแรง หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตเพราะพิษเข้าสู่กระแสเลือด...…
Hit & Run
  [^_^]/ระเบิด (bomb) [n.] คือวัตถุที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' จะบรรจุ ‘วัตถุระเบิด' หรือสารที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' ไว้ภายใน00025 เมษายน 2551 เวลา 6.30 น.วัดแสนฝาง ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่นายนที อนันทปัญญสุทธิ์ อายุ 45 ปี พ่อค้าขายเสื้อผ้า กำลังรถไปจอดภายในบริเวณวัดแสนฝาง เขาพบกล่องพัสดุสีขาวไม่ระบุชื่อผู้รับ วางอยู่หน้าทางขึ้นศาลาวัด  นายนทีหยิบกล่องนั้นขึ้นมารู้ว่ามีน้ำหนัก คิดว่าเป็นของมีค่าอยู่ภายในจึงได้แกะดูพร้อมกับเดินไปตามถนนเพื่อเข้ามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ตลาดวโรรสหรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า ‘กาดหลวง'แต่พอใกล้ถึงร้านเขาเปิดฝากล่องออกมาดูพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องจริงๆ…
Hit & Run
  มุทิตา เชื้อชั่ง โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ ....สุ้มเสียงเธอเป็นอย่างไร ไม่สู้จำได้ ตราตรึงไว้เพียงริมฝีปากทำนองเพลงฟังผ่านๆ ไป แต่ทำนองการเคลื่อนไหวเร้าใจกว่ามากบุคลิกแคล่วคล่องว่องไว หนุ่มๆ ขอใกล้ ป้าๆ ขอจากยาลม ยาดม ยาหม่อง เร่งเอามากอง อย่าให้หายาก  โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่....สีสันแห่งยุคสมัย ขายได้ ขายไว เลื่อนไหลเชี่ยวกรากจับเธอมาใส่ชุดไทย น่ารักสดใส เซ็กซี่ไม่เหลือซากปกติเสื้อหาย กางเกงหด คราวนี้งามงด โอ้... ไทยมั่กๆเด็กชอบ ผู้ใหญ่อมยิ้ม ดูหนังสือพิมพ์ คอนทราสต์หายอยากหยดเยิ้ม หยาดย้วย หยอดย้อย ผู้ใหญ่หวังคอยเด็กไทยรู้รากแต่ราฟฟี่ แนนซี่ กอล์ฟ ไมค์…
Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘ดรีมทีม ฮีโร่ฟันน้ำนม' (Dream Team) ปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์แสนน่ารักออกมายั่วยวนคนรักเด็กแล้ว ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายซึ่งประจวบเหมาะเป็นช่วงปิดเทอม จึงเห็นมีเด็กตัวเล็กๆ มาดูกันคับโรงไปหมด เช่นเคย ทุกครั้งก่อนภาพยนตร์จะได้ฉาย คนดูหนังจะต้องลุกขึ้นยืนเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น และอาจจะด้วยความไร้เดียงสา เด็กคนหนึ่งพูดออกมาเสียงงอแงค่อนข้างดังว่า "มาดูหนัง ทำไมต้องยืนด้วย"อาจไม่แปลกที่เด็กน้อยไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมที่โลกของผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมายาวนาน แต่นั่นยังไม่ซับซ้อนน่าสงสัย…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว)กระแสหนังสือ ‘ลับ ลวง พราง: ปฏิวัติปราสาททราย' ของ คุณวาสนา นาน่วม กำลังมาแรง และวันนี้เราลองมาคุยกันถึงเรื่องนี้หน่อย ผมได้ลองหยิบหนังสือเล่มนี้ของลูกพี่ไปอ่าน ทีแรกไม่ได้ตั้งใจอ่านม้วนเดียวจบ แต่คุณวาสนา เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง (?) น่าติดตาม และสนุกไปกับกลวิธีการเขียน --- ผมอ่านจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้า ดูสารบัญแล้วเปิดอ่าน แต่สรุปแล้วก็อ่านจบทุกบท เพราะมันคล้ายๆ หนังสือกอสซิปดาราถามว่าอ่านแล้วได้อะไรบ้าง? สิ่งที่สำคัญที่ผมได้ก็คือ รู้สึกว่ากลยุทธ์ของทหารไทย ไม่ได้หนีไปจากยุคสามก๊กเท่าไร และมันทำให้ได้รู้ว่า ชายชาติทหารก็คือปุถุชนคนธรรมดา…
Hit & Run
   จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ ตลอดสัปดาห์นี้ ดูเหมือนเรื่องร้อนๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องจะ ‘แก้-ไม่แก้' รัฐธรรมนูญ บางคนบอกว่า ไม่ควรแก้กันตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับเห็นว่า ควรจะแก้เสียตอนนี้เลย เพราะแม้ว่า รัฐธรรมนูญไทยจะถูกฉีกเป็นว่าเล่น ต้องร่างใหม่กันบ่อยๆ จนตอนนี้ปาเข้าไปฉบับที่ 18 คำนวณอายุโดยเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญก็ตกอยู่ราวๆ ฉบับละ 4 ปีนิดๆ พอๆ กับอายุบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัย สั้นกว่ากฎหมายและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับเก่า ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2473 (ที่ตอนนี้…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองตั้งใจจะพักเรื่องการเมืองที่กำลังร้อนขึ้นหลังวันที่ 28 มี.ค.นี้ เลยหลบไปแถวแม่น้ำเพื่อให้ลมเย็นๆ กับสายน้ำที่ชุ่มฉ่ำๆ ไหลมาชโลมให้ชื่นจิตชื่นใจ แต่ไปจนถึงริมฟังแม่โขง กลับมาไม่วายร้อนรุ่มใจดังเดิม ไม่ใช่เพราะดื่มไปหลายกลมจนตัวร้อน แต่ได้ไปฟังข่าวแว่วๆ มาแล้วท่าทางไม่ค่อยจะดี....วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็น ‘วันหยุดเขื่อนโลก' และตรงกับงานบุญ 100 วัน คุณมด ‘วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์' ที่ ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หลังไปร่วมงาน เลยไปอีกหน่อยเป็นอำเภอโขงเจียม ติดแม่น้ำโขง ได้ดูแม่น้ำอันกว้างใหญ่สมใจ แต่ชาวบ้านที่งานบุญคุณมดเล่าให้ฟังว่า หลังท่านสมัคร สุนทรเวช…
Hit & Run
   พวกปาหินหนักแผ่นดิน น่าจะตายไปเสียให้หมด...ขอให้จับคนร้ายได้ไวๆ แล้วเอาตัวไปประหารชีวิต...พวกวัยรุ่นปาหินสมควรตาย... {ตติกานต์ เดชชพงศ}ประโยคที่ถูกส่งผ่านทาง SMS มายังหน้าจอโทรทัศน์ซึ่งกำลังเสนอรายการประเภท ‘เล่าข่าว' เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 ส่วนใหญ่เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือ การแสดงความเกลียดชังต่อผู้ก่อเหตุ ‘ปาหิน' ไปโดนศีรษะเด็กชายอนุพงษ์ สายเพ็ชร หรือ ‘น้องมอส' อายุ 12 ปี ซึ่งนั่งรถมากับพ่อผู้เป็นคนขับรถบรรทุก และน้องมอสได้เสียชีิวิตในเวลาไม่นานหลังจากนั้นหลายคนสาปแช่งคนลงมือก่อเหตุให้ตายตกไปตามกัน ในขณะที่อีกบางส่วนก็แสดงความเห็นใจผ่านข้อความที่ส่งมา…
Hit & Run
คิม ไชยสุขประเสริฐ กับภาพเคลื่อนไหวในจอตู้สี่เหลี่ยม...คุณครูคนหนึ่งกับกิจวัตรประจำวันในการสอนหนังสือ... ดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่สะกิดใจฉันอย่างจังคือประโยคที่ว่า"จะรู้ว่าใครเก่งแค่ไหนต้องรอดูว่าใคร (สอบ) ได้ที่หนึ่ง... ได้ที่หนึ่งแล้วจะบอกว่าไม่เก่งก็คงไม่ได้"ครูซึ่งดูก็รู้ว่าเชี่ยวกรำกับวิชาชีพนี้มานานนับสิบปี พูดถึงการวัด ‘ความเก่ง’ ของเด็กนักเรียน โดยใช้ลำดับที่ของการสอบ ถูกนำไปผูกโยงกับ ‘ตัวสินค้า’ ในฐานะรถกระบะคันเก่งที่ขายได้เป็น ‘อันดับหนึ่ง' ซึ่งมีสโลแกนว่า ‘รถกระบะอันดันหนึ่งของคนไทย' ทั้งนี้ เมื่อว่าด้วยเรื่องของการตลาดแล้ว ในฐานะที่ไม่ได้ติดตามในเรื่องนี้ก็ไม่อาจทราบได้ว่า…
Hit & Run
 ถ้าจะสร้างวิวาทะอะไรที่มันๆ ให้ NGO's นักวิชาการ หรือแอคทิวิสต์แนวชุมชนโรแมนติก ที่เราเรียกพวกเขาว่า "ปัญญาชน" แลกเปลี่ยนกันมันๆ นั้น วันนี้เรามาพูดถึงความดีของ "ทักษิณ ชินวัตร" กันดีกว่า...วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว) *ผมเป็นคนจน คนแถวบ้านผมก็เป็นคนจน เราเป็นคนจนกึ่งเมืองกึ่งชนบทแบบว่าไม่มีต้นทุนเป็นผืนป่า แม่น้ำ หรือภูเขาเป็นของตัวเอง ไม่มีการสร้างโครงการขนาดใหญ่จากรัฐหรือนายทุน ปัญหาที่เราต้องเจอก็มีแค่การหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยงครอบครัวไปวันๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็หาเลี้ยงชีพด้วยวิธีออกไปขายแรงในเมือง หรือตามเทือกสวนไร่นา แปลงเล็กๆ ที่ยังเหลืออยู่…
Hit & Run
  พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ ‘เกษตรอินทรีย์'พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์…