Skip to main content

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

เพื่อนนักโบราณคดีส่งภาพความเสียหายที่ ‘ปราสาทหินพนมรุ้ง’ จังหวัดบุรีรัมย์มาให้ดูอย่างเศร้าๆ สะพานนาคราชชั้นที่ 1, 2 และ 3 เศียรนาคถูกตีใบหน้าตรงส่วนปากกึ่งจมูก เสียหายไป 13 เศียร โคนนทิ พาหนะแห่งองค์ศิวะถูกตีทำลายบริเวณใบหน้า ส่วน ‘แท่งศิวลึงค์’ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลในไศวะนิกาย สัญลักษณ์แห่งองค์ศิวะถูกเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิมบนฐานโยนีแล้วเอาลงไปวางไว้ในร่องน้ำมนต์

ข้างนอกปราสาทแม้แต่ทวารบาลผู้รักษาประตูประจำทิศใต้ก็ไม่อาจรักษาดูแลตัวเองได้ แขนและมือถูกทำลายมือข้างหนึ่งถูกวางไว้ที่สะพานนาคราชชั้นที่ 1 มืออีกข้างถูกเอาไปวางที่สะพานนาคราชชั้นที่ 2 ด้านทิศเหนือ สิงห์ทวารบาลด้านทิศตะวันตกของปราสาทใบหน้าถูกทำลายทั้ง 2 ตัว รวมจำนวนตำแหน่งของโบราณสถานที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 18 แห่ง

ที่วงกลมกลีบบัวบนพื้นพบเครื่องบูชาเป็นพวงมาลัย บุหรี่ แก้วน้ำ เงินเหรียญ 10 บาท มีข้อสันนิษฐานกันว่าเบื้องลึกแล้วคงเป็นการทำพิธีกรรมบางอย่างเพื่อสลาย ‘อำนาจ’ โดยมีเป้ามุ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลายฝ่ายผูกโยงกันไปเป็น ‘คุณไสยทางการเมือง’ ที่จงใจทำให้สัญลักษณ์ของการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลง ‘ศิวลึงค์’ อันเป็นศูนย์กลางโลกและการกำเนิดไป ‘ลดทอนพลัง’ บางอย่างของคนบางคน.. โดยเฉพาะ ‘คนเล่นของเขมร’ แถวๆ บุรีรัมย์..คนที่คุณก็รู้ว่าใคร

คุณไสยการเมืองนี้ก็คล้ายกับกรณี ‘ทุบพระพรหมเอราวัณ’ กับ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ที่ถูกนำมาผูกโยงกันก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549  แม้แต่คนในวงการโหรที่ชอบโหนอย่าง วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ หรือที่รู้จักกันในนามโหร คมช.ก็รีบสะท้อนออกมาว่า จะเกิดวิกฤตไม่ว่าภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์นองเลือด ให้ทำบุญรักษาศีลกันไว้เยอะๆ ให้หันหน้าเข้าหากัน เลยไม่วายกล่าวถึง ‘น้าจิ๋วหวานเจี๊ยบ’ ให้มาช่วยประคอง ‘ลุงหมัก’ ด้วย

ก็ว่ากันไป..การเมืองกับไสยศาสตร์

อีกมุมมองหนึ่งก็น่าสนใจไม่น้อยเพราะการทุบทำลายโบราณวัตถุในโบราณสถานครั้งนี้อาจมีเงื่อนงำความขัดแย้งจากภายในกรมศิลปากรท้องถิ่นเอง บล็อกเกอร์ชื่อ  ‘ศุภศรุต’ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าของที่ถูกทุบทำลายเป็นเฉพาะรูปที่เป็นซีเมนต์หล่อจำลองใหม่อายุไม่กี่ปี เครื่องบูชาๆ ขอขมาก็เป็นของง่ายๆ เพียงแค่บุหรี่ หรือดอกไม้ธูปเทียน เท่านั้น บางทีการทุบทำลายเพียงของจำลองอาจเป็นการตั้งใจเลือกของ “กลุ่มคน” ผู้เสียผลประโยชน์ อาจเป็นทั้งลูกจ้าง ข้าราชการ แม่ค้า พระ ที่อยู่รายล้อมรอบซากปราสาทโบราณมาก่อนแต่ถูกกีดกันออกไปจากเดิม  

ก็ไม่แน่..ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร

แต่ที่แน่ๆ การทุบทำลายครั้งนี้ เป็นการทุบทำลายความรู้สึกของคนท้องถิ่น เพราะไม่ว่าปราสาทพนมรุ้งจะสร้างด้วยแรงศรัทธาแบบฮินดู ที่ดูห่างไกลกับศรัทธาในสังคมพุทธและผีแบบสังคมไทยในปัจจุบันก็ตาม แต่แท้จริงแล้วปราสาทพนมรุ้งยังคงมีพลังทางวิญญาณที่ส่งผ่านกาลเวลามาถึงผู้คนรุ่นปัจจุบันอย่างไม่เสื่อมคลาย หินทรายไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ ที่นี่ยังคงซึมซับศรัทธาทุกแบบไว้อยู่เสมอ

แต่ไม่ว่าคำตอบของการทุบทำลายจะไปตามแนวประเด็นใดก็ตาม มันก็ล้วนสะท้อนวิธีคิดของสังคมที่มีต่อ ‘มรดกทางวัฒนธรรม’ อยู่ไม่น้อย ‘คุณค่า’ ของโบราณวัตถุ/ สถานควรจะถูกหวงแหนไว้แบบใดกันแน่

ครั้งหนึ่งที่ปราสาทพนมรุ้งแห่งนี้นี้ เคยเป็นจุดกำเนิดของเรียกร้อง ‘ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์’ กันแทบเป็นแทบตาย เพราะมันถูกขโมยจากที่นี่ไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ชิคาโก สหรัฐอเมริกา เราเคยคิดกันไปถึงว่าภูมิหลังแห่งชาติถูกขโมยไปเสียด้วยซ้ำในครานั้น แต่เมื่อ ‘ทับหลัง’ กลับมา เพียงเวลาผ่านไป 20 ปีนี้ สังคมไทยคงลืมทับหลังที่สลักภาพองค์นารายณ์อนันตศายินที่มีดอกปัทมะผุดพรายจากนาภะ พรหมสถิตย์อยู่เหนือดอกบัวเสด็จสู่การสร้างโลกชิ้นนี้ไปแล้ว และบางคนอาจนึกไปเลยว่า ‘เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ด้วยหรือ’

หรือบางทีที่เราลืมเป็นเพราะหินทรายที่ถูกขโมยครั้งนั้นหรืออิฐเก่าๆ ก้อนหนึ่งที่ถูกทำลายครั้งนี้อาจไม่มีค่ามากมายเพียงเพราะอิฐเก่าๆ ก้อนนั้นไม่ใช่อิฐเก่าๆ ของ ‘สุโขทัย’ ของ ‘อยุธยา’ ที่ทำให้ ‘รัตนโกสินทร์’ มีความหมาย มันแค่เป็นเพียงอิฐเก่าๆ ของพวก ‘ขอม’ ที่มาสร้างไว้ในเขตประเทศไทยเท่านั้นเอง

ปราสาทหินพนมรุ้งอันวิจิตรสำหรับสังคมไทยอาจเป็นเพียงฉากถ่ายรูปฉากหนึ่งที่สวยงามของจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านมาครั้งหนึ่งแล้วก็ผ่านไป แต่...จะสามารถมองลงไปให้ลึกกว่านั้นได้หรือไม่ เพราะหินทรายแต่ละก้อนที่ก่อเป็นปราสาทมันยังมีเรื่องเล่าอีกมากมายซ่อนอยู่ตั้งแต่เรื่องของผู้คน แรงงาน นักบวช ศาสนา พิธีกรรม ปากท้อง เศรษฐกิจไปจนถึงเรื่องราวของเจ้านายผู้ปกครอง

ลองฟังดูดีๆ สิ... อิฐ หิน ดินและทรายในโบราณสถานมันพูดได้จริงๆ

ปราสาทพนมรุ้งบอกเราคร่าวๆ ถึงร่องรอยความเชื่อมต่อสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่ทำให้เราลืมเลือนเส้นเขตแดนประเทศได้อย่างน่าสนใจ เช่น จารึกที่พบหลักหนึ่งบอกเราให้ทราบว่าผู้สร้างปราสาท ‘นเรนทราทิตย์’ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระ ที่ปกครองดินแดนแถบนี้ เป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด อันงามตระการ อย่างน้อยครั้งหนึ่งคนที่นี่กับคนในกัมพูชาก็คงเป็นเครือญาติกัน และถ้าไม่มองแบบเหยียดคนอื่นกันเกินไป บางทีความเป็นเครือญาติกันนับพันปีมันก็อาจซ่อนอยู่ในเซลล์เม็ดเล็กๆ เม็ดไหนเม็ดหนึ่งของเรา

พนมรุ้งแม้เป็นเรื่องราวอันไพศาลของศาสนาหรือเจ้าผู้ปกครอง แต่กระนั้นเองพนมรุ้งและปราสาทหินใหญ่โตในวัฒนธรรมแบบขอมก็บอกและช่วยตอกย้ำให้เห็นว่า ‘ทาส’ หรือ ‘แรงงาน’ ผู้สร้างปราสาทอันใหญ่โตพิศวงนี้ถูกกดขี่เช่นไร และทำไม ‘ชนชั้นปกครอง’ แบบขอมอ่อนแอลงเรื่อยๆ และหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างรวดเร็ว

บางทีในความงามก็ซ่อนไว้ด้วยความจริงของประวัติศาสตร์อีกลักษณ์หนึ่ง และอาจเป็นบทเรียนสำคัญให้ใครบางคนได้เช่นกัน

และอาจมีเรื่องราวอีกมากมายอาจซ่อนอยู่ในหินทรายหรือในอิฐที่ถูกทุบ ไม่ว่ามันจะเป็นของใหม่หรือเก่าก็ตาม เพราะทั้งหมดมันย่อมมีนัยแห่งการผสมผสานกลมกลืนอย่างซับซ้อนและสะท้อนออกมาเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรม ไม่วันนี้ก็ในอนาคตข้างหน้า มันจึงควรจะยังอยู่ให้เราค้นหาและส่งผ่านไปต่อให้คนในวันข้างหน้าได้สนุกกับเรื่องราวที่มันเล่าผ่านบ้าง เรามีแง่คิดกับมัน เรามีบทเรียนกับมัน จะผิดบ้างหรือถูกบ้าง... ว่ากันไป

แต่ในตอนนี้หากเรายังไม่หาคำตอบของ 20 ปีก่อนที่ว่า “เราทวงคืนทับหลังฯ มาทำไม” ไม่ได้ การทุบทำลายใดๆ มันก็คงเกิดขึ้นได้อีก เพราะเรื่องเหล่านี้เราอาจไม่ได้สนใจอะไรมันกว่ากระแสตามหน้าสื่อที่ปลุกให้รู้จักและรู้สึกว่ามันสำคัญมันเป็นพักๆ มรดกทางวัฒนธรรมคงสูญสลายจากไปอย่างน่าเสียดายในสภาพแบบนี้ และคงน่าสมน้ำหน้าในวันข้างหน้าที่เราจะตอบอะไรที่เป็นเรื่องราวของเราเองไม่ได้เลย

สำหรับเพื่อนนักโบราณคดีของผม เวลานี้ก็ปล่อยให้มันเศร้าต่อไปก่อนเถอะ... เพราะกรมศิลปากรคงไม่สามารถจ้างยามหรือนักโบราณคดีไปนั่งเฝ้าอิฐทุกก้อนได้จริงๆ แน่นอน

20080524 hitandrun (1)

20080524 hitandrun (2)

20080524 hitandrun (3)

20080524 hitandrun (4)

20080524 hitandrun (5)

20080524 hitandrun (6)

20080524 hitandrun (7)

20080524 hitandrun นารายณ์บรรทมสิทธุ์
นารายณ์บรรทมสิทธุ์

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
Hit & Run
  โจว ชิงหมาเกิด     ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)    
Hit & Run
เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน” หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์…
Hit & Run
ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ…
Hit & Run
สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน
Hit & Run
ก่อนที่คนเสื้อแดงจะได้รับการยอมรับนับถืออย่างทุกวันนี้ เราผ่านอะไรมามากมาย และมาวันนี้เราอาจจะลืมอะไรไปมากมายเช่นกัน ทุกวันนี้การสอดแทรกประเด็นประชาธิปไตยเพื่อผูกโยงกับมวลชนคนรักทักษิณเป็นเรื่องหลักๆ ที่เราพูดถึงกัน โดยจุดสำคัญที่ฝ่ายที่เรียกว่าตนเองเป็น“ฝ่ายที่เป็นปัญญาชน-ฝ่ายที่ต้านลัทธิเสรีนิยม” สามารถมายืนข้างคนรักทักษิณได้อย่างไม่เคอะเขิน ก็คือการที่คุณทักษิณได้รับการเลือกตั้งมาตามวิถีประชาธิปไตยแล้วถูกโค่นอำนาจโดยการรัฐประหาร
Hit & Run
“กม.มั่นคงคุมเขตดุสิต แดงเย้ยตื่นตูม พท.ชี้ยั่วยุคนมาชุมนุม นายกฯ อ้างมีข่าวมือที่สาม”
Hit & Run
ขอ 'อภัย' ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ(ไม่) เกี่ยวข้องกับการ 'อภัย' ใน 'โทษ' ของคนตนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!
Hit & Run
ดูเหมือนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะจะให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์-รณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษโดยที่ผ่านมามีการเปิดตัวเว็บไซต์หลายโครงการอาทิโครงการต้นกล้าอาชีพhttp://www.tonkla-archeep.com/ เว็บไซต์ช่วยชาติที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรััฐบาล http://www.chuaichart.com/ เว็บโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนhttp://www.chumchon.go.th/ โครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกอ.รมน. หรือ MOSO http://mosothai.com และล่าสุดhttp://ilovethailand.org เว็บที่ชวนคนมาแสดงความรักประเทศไทยผ่านบล็อกคลิปวิดีโอรูปถ่ายและข้อความสั้น
Hit & Run
คุณ ลิเดีย กูวารา อาจไม่ได้มีความงามตามแบบฉบับสาวทั่วไป แต่ จากองค์ประกอบการจัดวาง การตกแต่ง อุปกรณ์เสริมคือแครอทเป็นเหมือนแถบคาดกระสุน รวมถึงการโพสท์ท่าของเธอ ทำให้ดูมีเสน่ห์ด้วยพลังของความเป็นชาย (masculine) ...แม้แครอทจะดูเล็ก ๆ เหี่ยว ๆ ไปหน่อยก็ตาม
Hit & Run
ในปีนี้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐคว้ารางวัล “ภาพข่าวยอดเยี่ยม” ไปครอง หลังจากนั้นมาไม่กี่วันก็แทบจะต้องเพิ่มตำแหน่งมิสป๊อบปูล่าไปให้ด้วย เพราะมันไม่ใช่ได้รางวัลแล้วก็แล้วกันไปแบบทุกปี หากแต่ถูกพูดถึงอย่างมากมาย โดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ มีทั้งคำชื่นชมและผรุสวาทให้ระงม ฐานที่เกี่ยวพันกับการเมืองลูกกวาดหลากสีของเราเต็มๆ ในฐานะที่ไม่ใช่คณะกรรมการ (และไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ด้วย) ขอประกาศสนับสนุนคณะกรรมการที่ให้รางวัลแก่ภาพนี้ โดยจะขอยกเหตุผลเพิ่มเติมจากท่านคณะกรรมการตัวจริงที่อาจพูดสั้นไป เพราะท่านคงไม่อยากต่อล้อต่อเถียงกับพวกไม่รู้จักจบจักสิ้น ไม่รู้จักแพ้ชนะ ทั้งยังไม่มีองค์ความรู้ด้านสื่อสารมวลชน…
Hit & Run
ภาพจาก: http://imaim.wordpress.com แรงกระเพื่อมของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ต่อเรื่อง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ต้องมานั่งนับวันว่า เมื่อไหร่จะถึงวันที่กฎหมายฉบับนี้นี้จะเขาที่ประชุม ครม.เพื่อลุ้นเอาแค่กฎหมายฉบับนั้นจะผ่านครม.เข้าสู่สภาฯ ได้หรือไม่ แล้วค่อยไปว่ากันต่อด้วยเรื่องหน้าตาว่าจะออกมาสวย หล่อ เพียงใด ตามที่ รมว.คลัง ท่านบอกผ่านสื่อมวลชนไว้ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีกำหนด 2 สัปดาห์ นี่ก็คงอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหมายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ล่าสุด รมว.คลังกล่าวผ่านสื่อว่า กระทรวงการคลังยังเดินหน้าแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.…