Skip to main content

อย่างที่รู้ๆ และแทบไม่อยากจะย้ำให้เจ็บช้ำหัวใจกันว่าเศรษฐกิจประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (จากอเมริกา) ที่ส่งกระทบข้ามฟ้ามามาไกลถึงบ้านเรา ทำให้ผู้นำประเทศต้องออกโรงคิดหานโยบายมาแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

 

บวกด้วยความที่นายกคนหนุ่มอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นว่าคนจนเศรษฐกิจไม่ดี นายกต้องช่วยเหลือ และไม่มีอะไรดีไปกว่าการเพิ่มกำลังซื้อให้กับคน ที่เป็นการช่วยธุรกิจโดยไม่ต้องไปบิดเบือนกลไกตลาด แบบว่าเป็นการช่วยเศรษฐกิจชาติให้มีเงินหมุนเวียน

 

ดังนั้น โครงการใหม่ถอดด้าม “เช็คช่วยชาติ” จึงริเริ่มและดำเนินการอย่างรวดเร็ว เช็คจำนวน 9.6 ล้านใบ ที่คิดเป็นงบประมาณทั้งหมดกว่า 19 พันล้านบาท จากเงินช่วยเหลือ 2,000 บาทต่อคน (ในรูปเช็ค) จึงถูกกระจายให้แก่สมาชิกกองทุนประกันสังคมที่มีทั้งลูกจ้างโรงงาน ข้าราชการ และครู ที่เงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท 9.6 ล้านคน

 

00000

 

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ของรัฐบาลทำให้ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผู้คนกลุ่มต่างๆ คึกคักออกมาให้ความคิดเห็นทั้งหนุนค้าน โดยฝ่ายคัดค้านบางกลุ่มเห็นว่าแจกเงิน 2,000 บาท ไม่พอยาไส้ น้อยไปสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ และไม่มีประโยชน์มากนักกับจุดมุ่งหมายที่รัฐตั้งเอาไว้ ไปจนถึงความคิดที่ว่าให้เอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า

 

ส่วนกลุ่มลูกจ้างนอกระบบก็ออกมาบอกว่ารัฐอุดหนุนลูกจ้างในระบบประกันสังคม ไม่ดูแลแรงงานนอกระบบที่บางคนมีรายได้ต่ำ และไม่มีหลักประกันในชีวิตเลย

 

ในฐานะคนจนผู้มีรายได้น้อยแต่ทำงานในระบบ รู้สึกงงงวยอยู่ไม่น้อยที่รู้ว่าจะได้เงิน (ในรูปเช็ค) จากรัฐบาลแบบส่งตรงถึงมือ เพราะเกิดมายังไม่เคยพบเคยเจอ อย่างมากที่เห็นก็โครงการประชานิยมอย่างกองทุนหมู่บ้านที่ต้องเขียนโครงการขอเงินมาบริหารจัดการ หรือเข้าโรงพยาบาลจ่ายแค่ 30 บาท เพราะรัฐบาลเอาเงินไปหนุนให้โรงพยาบาล แค่นั้นก็หรูหราอู้ฟู่กันพอดูอยู่แล้ว

 

ก็คงต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนวิกฤติ (เศรษฐกิจ) ให้เป็นโอกาส ที่รัฐบาลจะได้คะแนนนิยม ส่วนเราได้เงินใช้ (แค่เดือนเดียว) แต่ปัญหาที่หนุบหนับในหัวอยู่ตอนนี้ คือเงิน 2,000 บาทจะใช้อย่างไรให้ช่วยชาติได้ ให้สมกับเป็นโครงการ “เช็คช่วยชาติ” ดี

00000

 

... จะเอาเงินไปกินเหล้า ให้เงินเข้ารัฐก็ถูกหาว่าจนไม่เจียม หรือจะหาเลขเด็ดเอาไปซื้อหวยสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่เดือนที่แล้วเพิ่งถูกกินไปหลายพันเลยยังขยาดอยู่ จะเอาไปเลี้ยงฉลองร้านหรูก็ดูจะเกินงบ หรือเอาไปท่องเที่ยวค่าใช้จ่ายคงบานตะไทไปเกิน 2,000

 

... จะเอาไปลงกองทุนสังคมสงเคราะห์ก็ไม่ค่อยจะรู้จัก ไม่ไว้ใจ ไม่รู้เขาทำงานเพื่อสังคมหรืออมเงินเข้ากระเป๋าตัวเองกันไปเท่าไหร่

 

... หรือ จะให้ไปแลกเช็คกับบัตรกำนัล คูปองส่วนลด หรือแลกซื้อสินค้า สำหรับโปรโมชั่นของห้างร้านต่างๆ ก็ยังไม่คิดที่จะซื้ออะไรเป็นพิเศษ เพราะที่มีอยู่ก็ยังพอใช้สอบ แถมกลัวว่าถ้าเข้าห้างใหญ่ที่มีส่วนลดเยอะๆ ก็กลัวเงินช่วยเศรษฐกิจไทยจะไหลไปอยู่ในกระเป๋าต่างชาติเสียหมด

 

... ว่าจะเอาเงินไปออมสะสมไว้ ก็จะไม่ช่วยชาติ ไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลออกมาตรการนี้มาด้วยความคาดหวังช่วยเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยและกระตุ้นการบริโภคของประชาชน แถมอุตสาห์ออกเงินมาเป็นเช็คให้เอาไปใช้ ไม่อย่างนั้นคงให้ผ่านธนาคารมาแล้ว

เท่าที่จำได้ ท่านผู้รู้ในจอตู้หลายท่านบอกเอาไว้ว่า การที่วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่ได้กระทบกับเศรษฐกิจบ้านเรามากนัก เพราะคนไทยเรายึดถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ในหลายปีมานี้เราได้ยึดหลักพอเพียง ประหยัด และรู้จักอดออม เพื่อให้เศรษฐกิจไทยดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์

แต่วันนี้รัฐบาลให้เงินประชาชนมาจับจ่าย บอกเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยชาติ แล้วความพอเพียงที่เคยช่วยเศรษฐกิจไทยให้อยู่รอด วันนี้รัฐบาลเอาไปวางทิ้งไว้ที่ไหนกัน

00000

หลายคนอาจบอกว่าถ้าค้านมากนัก ไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องเอา หนึ่งคือ เราไม่ได้ค้านหากนี่เป็นนโยบายเพื่อประโยชน์ของประชาชนจริงๆ และรัฐบาลคิดมาดีมากพอแล้ว...

 

และนี่มันเงินนะครับพี่น้อง... แถมไม่ว่าจะเป็นเงินที่เอามาจากประกันสังคม เงินภาษี หรือเงินกู้ต่างชาติ มันก็เป็นเงินของเราและเป็นเงินที่เราทุกคนต้องร่วมรับภาระใช้หนี้ (ที่รัฐบาลกู้) ไม่รู้รัฐบาลชุดนี้จะอยู่กี่ปีแต่หนี้ที่ก่อจะอยู่กับเราไปชั่วหลานหากรัฐบาลบริหารไม่ได้ หาเงินไม่เป็น ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแล้วก็ชิ่งหนีไป คนไทยมิแย่กันหมดเหรอ

 

เงิน 2,000 วันนี้มันมาจ่อรออยู่ตรงหน้าแล้ว รัฐบาลอนุมัติงบและมีคนได้รับเงินชุดแรกไปแล้ว คนที่ต่อแถวรออยู่ข้างหลังไม่ว่าจะชอบหน้านายกหรือไม่ จะเห็นด้วยหรือเปล่าเขาก็ต้องมีสิทธิที่จะได้รับ และเป็นเรื่องที่ต้องไปจัดการกับเงินจำนวนนี้กันต่อ

 

แม้ในส่วนหนึ่งจะรู้สึกเห็นใจกลุ่มแรงงานนอกระบบ ลูกจ้างชั่วคราว เกษตรกร คนหาเช้ากินค่ำ ฯลฯ กลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมและไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐตามนโยบายดังกล่าว แต่ก็เป็นหน้าที่ของรัฐอีกเช่นกันที่ต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมให้ทั่วถึงตามฐานะหน้าที่ที่เป็นรัฐบาล

00000

ไหนๆ ก็ไหนๆ สำหรับคนที่ได้รับเงินและยังไม่ถูกกลุ่มเจ้าหนี้ทั้งในและนอกระบบส่งแก๊งทวงหนี้ไปตามประกบเอาเงิน หรือยังไม่ได้ใช้เงินไปกับคูปองส่วนลดในห้างใหญ่ อยากให้ช่วยคิดกันต่อกันอีกสักนิด ว่าจะเอา 2,000 นี้ ไปใช้ทำอะไรช่วยชาติ ให้ “พอ” ตรงใจและตรงเป้ากัับนโยบายรัฐบาลได้บ้าง หรือจะให้กระจายรายได้สู่คนส่วนต่างๆ ในสังคม อย่างไรกันดี

 

ช่วยกันหาวิธีใช้เงินอย่างพอเพียง แทนรัฐบาล ดูกันหน่อยสิ...

 

 

 

 

 

ใครบ้างได้ เงิน 2,000 บาท (แจกเป็นเช็ค)

 

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ใช้งบกลางแจกจ่ายให้พนักงานราชการ ลูกจ้างราชการ ข้าราชการ (จำนวน 1.3 ล้านคน) และ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่มีฐานรายได้ไม่เกิน 14,999บาท จะได้รับความช่วยเหลือครั้งเดียว คนละ 2,000 บาท เพื่อบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างและวิกฤตเศรษฐกิจ

 

1. ประชาชนในระบบประกันสังคมจำนวน 8,138,815 คน

 

* ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องมีสถานะเป็นผู้ประกันตนอยู่ ณ วันที่ 13 มกราคม 2552 และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน

 

* ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 (หน้าจอ Online แสดงผลวันที่เข้างาน ไม่เกินวันที่ 1 มกราคม 2552 ) และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน ณ วันที่ 13 มกราคม 255 การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป

 

* ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็น ผปต.และจ่ายเงินสมทบแล้ว (ตรวจสอบฐานข้อมูล ผปต.ณ วันที่ 13 มกราคม 2552 ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไปส่วนเงินสมทบ จะคิดคำนวณเงินสมทบตั้งแต่เดือนที่เป็นผู้ประกันตนจนถึงวันสิ้น

 

* ผู้ประกันตนตามมาตรา 38(2) คือลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองสิทธิ์ลูกจ้างต่ออีก 6 เดือน มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั่น ตาย และ สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บุคคลตามมาตรา 38 ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 มีสิทธิได้รับ เช็คช่วยชาติด้วยเช่นกัน

 

หมายเหตุ

- ในกรณีที่ประชาชนแจ้งว่าได้ออกจากงานก่อนวันที่ 13 มกราคมและยังอยู่ระหว่างได้รับการคุ้มครอง 6 เดือนตามมาตรา 38 ได้ไปลงทะเบียนและทางเจ้าหน้าที่ไม่รับลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้ ให้แจ้งประชาชนว่าให้ไปติดต่อประกันสังคมโดยตรงเพื่อขอลงทะเบียนใหม่อีก ครั้ง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อาจจะยังไม่ได้รับการประสานข้อมูลจากทางกระทรวงแรงงาน (ข้อมูลจากเลขาธิการ สปส.ผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552

 

2. บุคคลากรภาครัฐ จำนวน 1,324,973 คนประกอบด้วย

 * ข้าราชการพลเรือน

 * ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 * ข้าราชการตำรวจ

 * ลูกจ้างประจำ

 * ลูกจ้างชั่วคราว

 * ข้าราชการทหาร รวมทั้งทหารเกณฑ์ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)

 * ข้าราชการบำนาญ

 * เจ้าหน้าที่ของรัฐคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ อาสาสมัครทหารพราน สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน

 * พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)

 * บุคลากรของหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (องค์กรมหาชน) (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)

 * บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)

 * บุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)

 

3. กลุ่มครู บุคลากรด้านการศึกษา และบุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน 132,604 คน (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52) ได้แก่

 * ครูโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในระบบกองทุนสงเคราะห์ที่มีสิทธิรับเงิน

 * ครูที่อยู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์ที่ต้องตรวจสอบสาเหตุที่อบู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์

 * กลุ่มบุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน เช่น พนักงานขับรถยนต์ นักการภารโรง พี่เลี้ยงเด็ก ที่ต้องตรวจสอบว่าบางส่วนอาจจะควรอยู่ในระบบประกันสังคม แต่โรงเรียนไม่จัดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม

 

4. กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติมให้บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิรับเงิน กำหนดให้หน่วยงานที่บุคคล ดังกล่าวอยู่ในสังกัดดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินด้วย

 

ข้อมูลจาก: http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B7671494/B7671494.html

 

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…