Skip to main content
 

cm 

พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ

ใครที่ไม่ได้มาเชียงใหม่หลายปี หากมาเยือนปีนี้ คงผิดหูผิดตาเลยทีเดียว

ไม่ใช่แค่งานพืชสวนโลก ไม่ใช่แค่ ช่วง ช่วง' หรือ หลิน ฮุ่ย' ไม่ใช่แค่ร้าน ไอเบอรี่' ของโน้ต อุดม ที่ทำให้หน้าตา' เมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไป

หากแต่ยังมีเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ทางลอด' ผุดขึ้นทุกมุมเมือง ซึ่งเบื้องหลังของมัน ยังมีเรื่องราวอันยาวนานของการพัฒนา เมือง' อีกด้วย!

หลายปีมานี้ ยวดยานใน จ.เชียงใหม่ ต้องประสบกับความทุลักทุเลในการข้ามสี่แยก เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างทางลอดแยก ผุดขึ้นบนถนนสายหลักของเมืองเชียงใหม่ เช่น การก่อสร้างทางลอด 7 แห่ง บนถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี หรือถนนวงแหวนรอบกลาง ซึ่งเพิ่งแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2548 และทางลอดแยก บริเวณสี่แยกสันกำแพงสายเก่า (สี่แยกปอยหลวง) สี่แยกศาลเด็ก และสี่แยกข่วงสิงห์ บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างอย่างยาวนานหลายรัฐบาลนับตั้งแต่ปี 2546 และเพิ่งแล้วเสร็จ เปิดให้คนเชียงใหม่ใช้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

โดยทางลอดบริเวณสี่แยกสันกำแพงสายเก่า หรือสี่แยกปอยหลวง สร้างโดยบริษัทเชียงใหม่คอนสตรัคชั่น วงเงินก่อสร้าง 379 ล้านบาท ซึ่งเริ่มสัญญาเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2548 และสร้างเสร็จก่อนสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 25 มิถุนายน 2550

ส่วนทางลอดบริเวณสี่แยกศาลเด็ก และสี่แยกข่วงสิงห์ ก่อสร้างโดย หจก.จิระเทพ โดยสี่แยกศาลเด็กประมูลได้ 268.8 ล้านบาท จากราคากลาง 347.6 ล้านบาท และสี่แยกข่วงสิงห์ ประมูลได้ในวงเงิน 243 ล้านบาท จากราคากลาง 310 ล้านบาท

ซึ่งสัญญาก่อสร้างทางลอดทั้งสองเริ่มวันที่ 26 กันยายน 2546 กำหนดสิ้นสุดวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 แต่ หจก.จิระเทพ ต้องหยุดพักการก่อสร้างเป็นช่วงๆ ช่วงละหลายเดือนตั้งแต่กลางปี 2548 ให้เหตุผลว่า ต้นทุนค่าวัสดุเพิ่มขึ้นมากจากวันยื่นประมูล และขาดเงินทุน หมุนเวียนเนื่องจากสถาบันการเงินที่สนับสนุนคือธนาคารกรุงไทย ไม่ปล่อยกู้เพิ่ม

กรมทางหลวงให้ต่อสัญญาใหม่ถึง 2 ครั้ง และให้ก่อสร้างได้จนถึง 10 เมษายน 2550 แต่ผู้รับเหมาก็ทิ้งงาน เก็บอุปกรณ์ก่อสร้างไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ทำให้ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะสะพานที่ 2 ขอนแก่น และศูนย์ก่อสร้างและบูรณะสะพานที่ 1 พิจิตร เข้ามาดำเนินการแทน

โดยนายทรงศักดิ์ แพเจริญ อธิบดีกรมทางหลวง เคยระบุว่าผู้รับเหมาต้องเสียค่าปรับ 50 ล้านบาท ขณะนี้ชำระค่าปรับแล้ว 8 ล้านบาท และกรมทางหลวงจะฟ้องร้องผู้รับเหมารายนี้เพื่อเรียกคืนเงินค่าส่วนต่างที่กรมทางหลวงต้องใช้เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จ ค่าเสียหายที่เกิดจากการทิ้งงานด้วย และตัดออกจากบัญชีผู้รับเหมางานภาครัฐ

โดยทางลอดบริเวณสี่แยกข่วงสิงห์ก็แล้วเสร็จจนได้ในเดือนพฤศจิกายน และล่าสุดทางลอดบริเวณสี่แยกศาลเด็กก็แล้วเสร็จให้รถวิ่งลอด เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา

 

000 

อันที่จริงเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ทางลอด' อาจไม่มีทางเกิดขึ้นเลยในเมืองเชียงใหม่

หากในปี 2543 ไม่มีการถกเถียงกันว่า เห็นด้วย' หรือ ไม่เห็นด้วย' กับโครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามจุดตัดและทางแยกสี่แยก ถ.มหิดล ใกล้สนามบินเชียงใหม่ อันเป็นถนนวงแหวนรอบเมืองสายสำคัญ

ในครั้งนั้น กรมทางหลวงทำการศึกษาพบว่า เส้นทางสาย 108 หางดง - เชียงใหม่ มีปริมาณการจราจรสูงถึง 45,232 คัน/วัน ขณะที่ถนนมหิดลซึ่งตัดผ่านกันมีปริมาณราว 25,597 คัน/วัน กรมทางหลวงจึงออกโครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามจุดตัดและทางแยกดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเพื่อแก้ปัญหาการจราจรแออัด คับคั่งและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุบริเวณทางแยกของทางหลวงหมายเลข 108 ตัดกับถนนมหิดล รวมทั้งทางเชื่อมเข้าสู่สนามบินเชียงใหม่

โดยเริ่มเซ็นสัญญาโครงการเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2543 ด้วยงบประมาณ 236 ล้านบาท และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2543 ตามกำหนดจะต้องแล้วเสร็จวันที่ 8 ธ.ค. 2544

แต่อย่างที่กล่าวเอาไว้โครงการนี้มีทั้งเสียง เห็นด้วย' และ ไม่เห็นด้วย'

ฝ่ายเห็นด้วยกับการก่อสร้างทางข้ามแยกแบบ ยกระดับ' ให้เหตุผลว่าเพื่อให้เมืองเชียงใหม่ขยายตัว แก้ปัญหาจราจรติดขัด เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า

ฝ่ายค้าน ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ถึงกับค้านการก่อสร้าง พวกเขาเสนอเหตุผล ของการไม่สร้างทางยกระดับ 11 ข้อ เช่น จะบดบังทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ ไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรได้จริง ฯลฯ ทั้งยังเสนอให้มีการปรับแผนก่อสร้างใหม่ จาก โครงการทางยกระดับ มาเป็น โครงการทางลดระดับ หรือเป็นโครงการอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมด ตามโครงการเดิมก่อนที่จะประสบปัญหาเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจกระทั่งทำให้งบประมาณถูกตัดทอน

แต่ที่สุดแล้ว ทิศทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ในครั้งนั้น ก็เป็นไปตามฝ่ายเห็นด้วยกับการสร้างทางยกระดับ ด้วยถือคติที่ว่าอะไรที่คว้ามาไว้เชียงใหม่ได้ ขอให้คว้าไว้ก่อน ผิด ถูก ผลกระทบว่ากันทีหลัง [1]

อย่างไรก็ดี แม้ว่าทางยกระดับหน้าสนามบินเชียงใหม่ และอีก 2 แห่งในถนนมหิดล คือทางยกระดับสี่แยกหนองหอย ตัดกับ ถ.เชียงใหม่-ลำพูน และ ทางยกระดับข้ามทางรถไฟ จะเกิดขึ้นจนได้ และเมื่อเวลาผ่านไปไม่นานก็พบว่าทางยกระดับข้ามสี่แยกสนามบิน ไม่ได้ช่วยบรรเทาการจราจรมากอย่างที่คิด แถมยังทำให้เสียทัศนียภาพของเมืองไปอีก

 

แต่หลังจากเสียงค้านเล็กๆ ที่สี่แยกสนามบินดังขึ้น ก็ทำให้ต่อมา กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ต่างปรับแบบการก่อสร้างจุดตัดทางแยกสำคัญในเขตเมืองเชียงใหม่ ให้กลายเป็นทางลดระดับหรือทางลอดทั้งหมด อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

000

 

ในแง่หนึ่งทางลอดข้ามแยก คือผลผลิตจากการถกเถียงขอพลเมืองในเมือง เป็นความสำเร็จระดับหนึ่งของพลเมืองเชียงใหม่ อย่างน้อยก็ทำให้ทิศทางการพัฒนาเมืองพอจะอยู่ในการควบคุมของประชาชนได้บ้าง แต่นี่ก็มิใช่ชัยชนะสมบูรณ์ เมื่อข้าม ทางลอด' นี้ไปแล้ว ใช่ว่าจะถึงจุดหมาย ทิศทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่อย่าง ยั่งยืน' ยังต้องเดินทางอีกยาวไกล

แม้ว่าทางลอดข้ามแยก จะไม่บดบังทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ แม้ว่าทางลอดข้ามแยกทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น แต่ที่สุดแล้วการแก้ปัญหาจราจรของเชียงใหม่ก็ยังไม่ตรงจุด ต้องไม่ลืมว่ายิ่งขยายถนน ก็ยิ่งสร้างแรงจูงใจให้คนหันมาใช้รถยนต์มากขึ้น ยิ่งถนนกว้างขึ้น ติดไฟแดงน้อยครั้งลง รถยนต์ รถคันใหญ่ ก็ยิ่งเป็นเจ้าถนน เบียดขับให้มอเตอร์ไซต์ พาหนะคนยากนับล้านคันในเชียงใหม่ ตกอยู่ในอันตรายมากขึ้น

ซึ่งทิศทางการแก้ปัญหาจราจรด้วยการขยายถนน สร้างทางข้ามแยกนี้ ยังเป็นวิธีแก้ปัญหาการจราจรไม่ถูกจุด ไม่ผิดกับประสบการณ์ของกรุงเทพมหานครในปลายทศวรรษที่ 2520 ที่เลือกสร้าง ทางด่วน' ทั้งขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 จนเพิ่งจะมารู้ตัวเมื่อไม่นานมานี้ ว่าการแก้ปัญหาการจราจรหัวใจอยู่ที่ระบบขนส่งมวลชน แต่บัดนี้ กรุงเทพฯ มีถนนและทางด่วนเป็นระยะทางรวมกัน 4,000 กว่ากิโลเมตร ขณะที่มีรางสำหรับรถไฟฟ้า เพื่อขนส่งมวลชนทั้งใต้ดินและลอยฟ้ามีเพียง 65 กิโลเมตร [2]

ชะตากรรมของเชียงใหม่เอง ก็กำลังเดินตามกรุงเทพฯ เผลอๆ จะยิ่งหลงทางกว่าด้วยซ้ำ

เพราะทุกวันนี้ เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ติดอันดับของประเทศก็จริง แต่ล้มเหลวด้านการจัดระบบขนส่งมวลชน ปี พ.ศ.2538 ‘รถเมล์เหลือง' ที่วิ่งประจำทางในตัวเมืองเชียงใหม่ขาดทุนเลิกกิจการ ปล่อยให้ สี่ล้อแดง' ผูกขาดวิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารในเมือง ไม่มีการจัดเส้นทางการเดินรถแน่นอน ผู้โดยสารกับคนขับต้องต่อรองราคากันเอง และหากเป็นเส้นทางที่ไม่มีผู้โดยสารอื่นร่วมทางมากนัก คนขับก็มักเรียกร้องราคาเกินกว่า 15 บาท ที่ขนส่งจังหวัดกำหนด

ล่าสุด ในปี 2548 มี รถเมล์ขาว' รถปรับอากาศของเทศบาลนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนในเมืองเชียงใหม่ดีขึ้น เพราะรถเมล์ขาววิ่งในเส้นทางอ้อม วน และการปล่อยรถชั่วโมงละคัน-สองคัน หลังสองทุ่มรถเมล์หยุดเดิน ทำให้เชียงใหม่อยู่ในสภาพ มี เหมือน ไม่มีรถเมล์'!

ทางออกสำหรับคนเชียงใหม่ ใครที่พอมีปัญญาผ่อนรถก็ผ่อนทั้งรถยนต์ รถกระบะ มือหนึ่ง มือสอง แล้วแต่ทุนทรัพย์ ทำให้เมืองนี้มีรถจักรยานยนต์จดทะเบียนกว่า 1 ล้านคัน ใครที่ไม่มีปัญญาผ่อนส่งก็ต้องทนต่อรองรถแดงเอาเอง

เท่ากับรัฐบาลสร้างถนนให้ทุกคนแล้ว แต่ที่เหลือคือ ราคา' ที่ทุกคนต้องจ่ายเอาเอง ทุกคนต้องลงไปขับขี่บนท้องถนนเอง ทุกคนต้องแบกรับความปลอดภัยในการเดินทางกันเอาเอง ทุกคนต้องแบกรับต้นทุนดูแลรักษายานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิงกันเอาเอง และทุกคนต้องดูแลชีวิตกันเอาเอง

000

มี ทางลอด' ให้คนเชียงใหม่ลอดกันแล้ว แต่ยังไม่เจอ ทางรอด' เรื่องปัญหาจราจรสักที เพราะเมืองนี้ยังแก้ปัญหาจราจรแบบเกาไม่ถูกที่คัน

เมื่อ 7 ปีก่อน อาจารย์ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ นักวิจัยสถาบันพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงาน ศูนย์ศึกษาปัญหาเมืองเชียงใหม่' (ปัจจุบันคือมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง) เคยเสนอความเห็นไว้ในเวทีสาธารณะ "ทางยกระดับในเมืองเชียงใหม่" ซึ่งจัดที่ศูนย์สตรีศึกษา เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2543 ว่า

ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาการจราจรเมืองเชียงใหม่มองแค่ความต้องการของผู้ใช้รถ แต่ไม่ได้มองว่าถนนในเมืองเชียงใหม่ไม่สามารถเพิ่มได้อีก เพราะจะทำลายสภาพความเป็นเมืองเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ที่มีอายุถึง 700 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่ไม่ได้หวังมาดูสิ่งก่อสร้างที่ทันสมัย แต่มาดูความเป็นเมืองล้านนา ทางที่ดีทางการควรจะมีการพิจารณาทบทวนการแก้ปัญหาจราจรในรูปแบบเดิม  และหันมาส่งเสริมให้มีการสร้างระบบขนส่งมวลชนที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น [3]

อาจารย์ดวงจันทร์พูดไว้ 7 ปี เอามาพูดอีกทีตอนนี้ก็ยังอินเทรนด์!

แล้วเมื่อไหร่เชียงใหม่จะมีระบบขนส่งมวลชนดีๆ บ้างล่ะ จะต้องขี่รถเครื่อง'/‘ขับรถยนต์' ลอดอุโมงค์เช้า-เย็น ไปอีกนานสักเท่าไหร่กัน ^_^

 

เล่าสู่กันฟังเพิ่มเติม

[1] โศกนาฏกรรม ผิด, ถูก, ขอคว้าไว้ก่อน' นี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับเมืองเชียงใหม่ เหมือนกับ การ คว้า' โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และโครงการพืชสวนโลก ไว้ก่อน ซึ่งเมื่อ 2 เมกะโปรเจคนี้เกิดขึ้น ก็สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไว้ให้กับคนเชียงใหม่สารพัด ส่วนผลประโยชน์ กำไร ที่จะตกแก่ปากท้องคนเชียงใหม่ ก็เป็นเพียงเศษเนื้อ หาได้มากมายอย่างที่ผู้สร้างโฆษณาเอาไว้

[2] อ่านบทความที่สะท้อนความล้มเหลวของการแก้ปัญหาการจราจรที่:

น้ำมันแพง ทางด่วน และระเบิดเวลา, โดย วันชัย ตัน http://www.onopen.com/2006/01/573 ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม 2549

[3] วุฒิต้านเส้นก๋วยเตี๋ยวเชียงใหม่, ไทยโพสต์ 10 กันยายน 2543 http://www.thaipost.net/index.asp?bk=sunday&post_date=10/Sep/2543&news_id=19248&cat_id=110100

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 ภาพจาก reutersคิม ไชยสุขประเสริฐวันฝนตก ฉันนั่งอ่านบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงษ์ <1> ในหนังหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับภาพของ นางการ์เม่ ชาคอน (Carme Chacon) วัย 37 ปี ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune ขณะที่นางชาคอน ผู้ซึ่งในรัฐบาลชุดก่อนเป็นรัฐมนตรีการเคหะ กำลังเดินตรวจพลสวนสนามครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ของสเปน ในกรุงมาดริด เมื่อวันที่ 14 เม.ย.... เธออยู่ในชุดกางเกงกับเสื้อคลุมท้อง และสวมรองเท้าส้นสูง...นางชาคอนได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสเปน เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บไซต์ artshole โดย Richard Sayerตติกานต์ เดชชพงศ เมื่อไม่กี่วันก่อน อาจารย์ 2 ท่านจากสถาบันอุดมศึกษาเก่าแก่ ออกแถลงการณ์เตือนให้ ‘คนทำสื่อ' และ ‘คนบริโภคสื่อ' ระมัดระวังภาวะ ‘สื่อเป็นพิษ' อันเนื่องมาจากการบริโภคข้อมูลปนเปื้อน ‘ความรุนแรง' ที่แฝงเร้นมากับข่าวและบทความอันท่วมท้นล้นหลามในยุคสารสนเทศครองเมืองไม่แน่ใจนักว่า ‘สื่อเป็นพิษ' จะก่อให้เกิดอาการอะไรที่เป็นผลร้ายแรงกับสุขภาพร่างกายหรือไม่ แต่ถ้าพูดถึงอาการ ‘อาหารเป็นพิษ' ซึ่งคนส่วนใหญ่ ‘บริโภค' เข้าไปเพราะไม่รู้เท่าทัน จะทำให้ผู้บริโภคอาเจียน ท้องเสีย หน้ามืดหมดแรง หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตเพราะพิษเข้าสู่กระแสเลือด...…
Hit & Run
  [^_^]/ระเบิด (bomb) [n.] คือวัตถุที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' จะบรรจุ ‘วัตถุระเบิด' หรือสารที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' ไว้ภายใน00025 เมษายน 2551 เวลา 6.30 น.วัดแสนฝาง ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่นายนที อนันทปัญญสุทธิ์ อายุ 45 ปี พ่อค้าขายเสื้อผ้า กำลังรถไปจอดภายในบริเวณวัดแสนฝาง เขาพบกล่องพัสดุสีขาวไม่ระบุชื่อผู้รับ วางอยู่หน้าทางขึ้นศาลาวัด  นายนทีหยิบกล่องนั้นขึ้นมารู้ว่ามีน้ำหนัก คิดว่าเป็นของมีค่าอยู่ภายในจึงได้แกะดูพร้อมกับเดินไปตามถนนเพื่อเข้ามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ตลาดวโรรสหรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า ‘กาดหลวง'แต่พอใกล้ถึงร้านเขาเปิดฝากล่องออกมาดูพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องจริงๆ…
Hit & Run
  มุทิตา เชื้อชั่ง โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ ....สุ้มเสียงเธอเป็นอย่างไร ไม่สู้จำได้ ตราตรึงไว้เพียงริมฝีปากทำนองเพลงฟังผ่านๆ ไป แต่ทำนองการเคลื่อนไหวเร้าใจกว่ามากบุคลิกแคล่วคล่องว่องไว หนุ่มๆ ขอใกล้ ป้าๆ ขอจากยาลม ยาดม ยาหม่อง เร่งเอามากอง อย่าให้หายาก  โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่....สีสันแห่งยุคสมัย ขายได้ ขายไว เลื่อนไหลเชี่ยวกรากจับเธอมาใส่ชุดไทย น่ารักสดใส เซ็กซี่ไม่เหลือซากปกติเสื้อหาย กางเกงหด คราวนี้งามงด โอ้... ไทยมั่กๆเด็กชอบ ผู้ใหญ่อมยิ้ม ดูหนังสือพิมพ์ คอนทราสต์หายอยากหยดเยิ้ม หยาดย้วย หยอดย้อย ผู้ใหญ่หวังคอยเด็กไทยรู้รากแต่ราฟฟี่ แนนซี่ กอล์ฟ ไมค์…
Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘ดรีมทีม ฮีโร่ฟันน้ำนม' (Dream Team) ปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์แสนน่ารักออกมายั่วยวนคนรักเด็กแล้ว ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายซึ่งประจวบเหมาะเป็นช่วงปิดเทอม จึงเห็นมีเด็กตัวเล็กๆ มาดูกันคับโรงไปหมด เช่นเคย ทุกครั้งก่อนภาพยนตร์จะได้ฉาย คนดูหนังจะต้องลุกขึ้นยืนเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น และอาจจะด้วยความไร้เดียงสา เด็กคนหนึ่งพูดออกมาเสียงงอแงค่อนข้างดังว่า "มาดูหนัง ทำไมต้องยืนด้วย"อาจไม่แปลกที่เด็กน้อยไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมที่โลกของผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมายาวนาน แต่นั่นยังไม่ซับซ้อนน่าสงสัย…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว)กระแสหนังสือ ‘ลับ ลวง พราง: ปฏิวัติปราสาททราย' ของ คุณวาสนา นาน่วม กำลังมาแรง และวันนี้เราลองมาคุยกันถึงเรื่องนี้หน่อย ผมได้ลองหยิบหนังสือเล่มนี้ของลูกพี่ไปอ่าน ทีแรกไม่ได้ตั้งใจอ่านม้วนเดียวจบ แต่คุณวาสนา เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง (?) น่าติดตาม และสนุกไปกับกลวิธีการเขียน --- ผมอ่านจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้า ดูสารบัญแล้วเปิดอ่าน แต่สรุปแล้วก็อ่านจบทุกบท เพราะมันคล้ายๆ หนังสือกอสซิปดาราถามว่าอ่านแล้วได้อะไรบ้าง? สิ่งที่สำคัญที่ผมได้ก็คือ รู้สึกว่ากลยุทธ์ของทหารไทย ไม่ได้หนีไปจากยุคสามก๊กเท่าไร และมันทำให้ได้รู้ว่า ชายชาติทหารก็คือปุถุชนคนธรรมดา…
Hit & Run
   จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ ตลอดสัปดาห์นี้ ดูเหมือนเรื่องร้อนๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องจะ ‘แก้-ไม่แก้' รัฐธรรมนูญ บางคนบอกว่า ไม่ควรแก้กันตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับเห็นว่า ควรจะแก้เสียตอนนี้เลย เพราะแม้ว่า รัฐธรรมนูญไทยจะถูกฉีกเป็นว่าเล่น ต้องร่างใหม่กันบ่อยๆ จนตอนนี้ปาเข้าไปฉบับที่ 18 คำนวณอายุโดยเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญก็ตกอยู่ราวๆ ฉบับละ 4 ปีนิดๆ พอๆ กับอายุบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัย สั้นกว่ากฎหมายและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับเก่า ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2473 (ที่ตอนนี้…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองตั้งใจจะพักเรื่องการเมืองที่กำลังร้อนขึ้นหลังวันที่ 28 มี.ค.นี้ เลยหลบไปแถวแม่น้ำเพื่อให้ลมเย็นๆ กับสายน้ำที่ชุ่มฉ่ำๆ ไหลมาชโลมให้ชื่นจิตชื่นใจ แต่ไปจนถึงริมฟังแม่โขง กลับมาไม่วายร้อนรุ่มใจดังเดิม ไม่ใช่เพราะดื่มไปหลายกลมจนตัวร้อน แต่ได้ไปฟังข่าวแว่วๆ มาแล้วท่าทางไม่ค่อยจะดี....วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็น ‘วันหยุดเขื่อนโลก' และตรงกับงานบุญ 100 วัน คุณมด ‘วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์' ที่ ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หลังไปร่วมงาน เลยไปอีกหน่อยเป็นอำเภอโขงเจียม ติดแม่น้ำโขง ได้ดูแม่น้ำอันกว้างใหญ่สมใจ แต่ชาวบ้านที่งานบุญคุณมดเล่าให้ฟังว่า หลังท่านสมัคร สุนทรเวช…
Hit & Run
   พวกปาหินหนักแผ่นดิน น่าจะตายไปเสียให้หมด...ขอให้จับคนร้ายได้ไวๆ แล้วเอาตัวไปประหารชีวิต...พวกวัยรุ่นปาหินสมควรตาย... {ตติกานต์ เดชชพงศ}ประโยคที่ถูกส่งผ่านทาง SMS มายังหน้าจอโทรทัศน์ซึ่งกำลังเสนอรายการประเภท ‘เล่าข่าว' เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 ส่วนใหญ่เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือ การแสดงความเกลียดชังต่อผู้ก่อเหตุ ‘ปาหิน' ไปโดนศีรษะเด็กชายอนุพงษ์ สายเพ็ชร หรือ ‘น้องมอส' อายุ 12 ปี ซึ่งนั่งรถมากับพ่อผู้เป็นคนขับรถบรรทุก และน้องมอสได้เสียชีิวิตในเวลาไม่นานหลังจากนั้นหลายคนสาปแช่งคนลงมือก่อเหตุให้ตายตกไปตามกัน ในขณะที่อีกบางส่วนก็แสดงความเห็นใจผ่านข้อความที่ส่งมา…
Hit & Run
คิม ไชยสุขประเสริฐ กับภาพเคลื่อนไหวในจอตู้สี่เหลี่ยม...คุณครูคนหนึ่งกับกิจวัตรประจำวันในการสอนหนังสือ... ดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่สะกิดใจฉันอย่างจังคือประโยคที่ว่า"จะรู้ว่าใครเก่งแค่ไหนต้องรอดูว่าใคร (สอบ) ได้ที่หนึ่ง... ได้ที่หนึ่งแล้วจะบอกว่าไม่เก่งก็คงไม่ได้"ครูซึ่งดูก็รู้ว่าเชี่ยวกรำกับวิชาชีพนี้มานานนับสิบปี พูดถึงการวัด ‘ความเก่ง’ ของเด็กนักเรียน โดยใช้ลำดับที่ของการสอบ ถูกนำไปผูกโยงกับ ‘ตัวสินค้า’ ในฐานะรถกระบะคันเก่งที่ขายได้เป็น ‘อันดับหนึ่ง' ซึ่งมีสโลแกนว่า ‘รถกระบะอันดันหนึ่งของคนไทย' ทั้งนี้ เมื่อว่าด้วยเรื่องของการตลาดแล้ว ในฐานะที่ไม่ได้ติดตามในเรื่องนี้ก็ไม่อาจทราบได้ว่า…
Hit & Run
 ถ้าจะสร้างวิวาทะอะไรที่มันๆ ให้ NGO's นักวิชาการ หรือแอคทิวิสต์แนวชุมชนโรแมนติก ที่เราเรียกพวกเขาว่า "ปัญญาชน" แลกเปลี่ยนกันมันๆ นั้น วันนี้เรามาพูดถึงความดีของ "ทักษิณ ชินวัตร" กันดีกว่า...วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว) *ผมเป็นคนจน คนแถวบ้านผมก็เป็นคนจน เราเป็นคนจนกึ่งเมืองกึ่งชนบทแบบว่าไม่มีต้นทุนเป็นผืนป่า แม่น้ำ หรือภูเขาเป็นของตัวเอง ไม่มีการสร้างโครงการขนาดใหญ่จากรัฐหรือนายทุน ปัญหาที่เราต้องเจอก็มีแค่การหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยงครอบครัวไปวันๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็หาเลี้ยงชีพด้วยวิธีออกไปขายแรงในเมือง หรือตามเทือกสวนไร่นา แปลงเล็กๆ ที่ยังเหลืออยู่…
Hit & Run
  พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ ‘เกษตรอินทรีย์'พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์…