Skip to main content
 

cm 

พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ

ใครที่ไม่ได้มาเชียงใหม่หลายปี หากมาเยือนปีนี้ คงผิดหูผิดตาเลยทีเดียว

ไม่ใช่แค่งานพืชสวนโลก ไม่ใช่แค่ ช่วง ช่วง' หรือ หลิน ฮุ่ย' ไม่ใช่แค่ร้าน ไอเบอรี่' ของโน้ต อุดม ที่ทำให้หน้าตา' เมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไป

หากแต่ยังมีเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ทางลอด' ผุดขึ้นทุกมุมเมือง ซึ่งเบื้องหลังของมัน ยังมีเรื่องราวอันยาวนานของการพัฒนา เมือง' อีกด้วย!

หลายปีมานี้ ยวดยานใน จ.เชียงใหม่ ต้องประสบกับความทุลักทุเลในการข้ามสี่แยก เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างทางลอดแยก ผุดขึ้นบนถนนสายหลักของเมืองเชียงใหม่ เช่น การก่อสร้างทางลอด 7 แห่ง บนถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี หรือถนนวงแหวนรอบกลาง ซึ่งเพิ่งแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2548 และทางลอดแยก บริเวณสี่แยกสันกำแพงสายเก่า (สี่แยกปอยหลวง) สี่แยกศาลเด็ก และสี่แยกข่วงสิงห์ บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างอย่างยาวนานหลายรัฐบาลนับตั้งแต่ปี 2546 และเพิ่งแล้วเสร็จ เปิดให้คนเชียงใหม่ใช้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

โดยทางลอดบริเวณสี่แยกสันกำแพงสายเก่า หรือสี่แยกปอยหลวง สร้างโดยบริษัทเชียงใหม่คอนสตรัคชั่น วงเงินก่อสร้าง 379 ล้านบาท ซึ่งเริ่มสัญญาเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2548 และสร้างเสร็จก่อนสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 25 มิถุนายน 2550

ส่วนทางลอดบริเวณสี่แยกศาลเด็ก และสี่แยกข่วงสิงห์ ก่อสร้างโดย หจก.จิระเทพ โดยสี่แยกศาลเด็กประมูลได้ 268.8 ล้านบาท จากราคากลาง 347.6 ล้านบาท และสี่แยกข่วงสิงห์ ประมูลได้ในวงเงิน 243 ล้านบาท จากราคากลาง 310 ล้านบาท

ซึ่งสัญญาก่อสร้างทางลอดทั้งสองเริ่มวันที่ 26 กันยายน 2546 กำหนดสิ้นสุดวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 แต่ หจก.จิระเทพ ต้องหยุดพักการก่อสร้างเป็นช่วงๆ ช่วงละหลายเดือนตั้งแต่กลางปี 2548 ให้เหตุผลว่า ต้นทุนค่าวัสดุเพิ่มขึ้นมากจากวันยื่นประมูล และขาดเงินทุน หมุนเวียนเนื่องจากสถาบันการเงินที่สนับสนุนคือธนาคารกรุงไทย ไม่ปล่อยกู้เพิ่ม

กรมทางหลวงให้ต่อสัญญาใหม่ถึง 2 ครั้ง และให้ก่อสร้างได้จนถึง 10 เมษายน 2550 แต่ผู้รับเหมาก็ทิ้งงาน เก็บอุปกรณ์ก่อสร้างไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ทำให้ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะสะพานที่ 2 ขอนแก่น และศูนย์ก่อสร้างและบูรณะสะพานที่ 1 พิจิตร เข้ามาดำเนินการแทน

โดยนายทรงศักดิ์ แพเจริญ อธิบดีกรมทางหลวง เคยระบุว่าผู้รับเหมาต้องเสียค่าปรับ 50 ล้านบาท ขณะนี้ชำระค่าปรับแล้ว 8 ล้านบาท และกรมทางหลวงจะฟ้องร้องผู้รับเหมารายนี้เพื่อเรียกคืนเงินค่าส่วนต่างที่กรมทางหลวงต้องใช้เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จ ค่าเสียหายที่เกิดจากการทิ้งงานด้วย และตัดออกจากบัญชีผู้รับเหมางานภาครัฐ

โดยทางลอดบริเวณสี่แยกข่วงสิงห์ก็แล้วเสร็จจนได้ในเดือนพฤศจิกายน และล่าสุดทางลอดบริเวณสี่แยกศาลเด็กก็แล้วเสร็จให้รถวิ่งลอด เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา

 

000 

อันที่จริงเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ทางลอด' อาจไม่มีทางเกิดขึ้นเลยในเมืองเชียงใหม่

หากในปี 2543 ไม่มีการถกเถียงกันว่า เห็นด้วย' หรือ ไม่เห็นด้วย' กับโครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามจุดตัดและทางแยกสี่แยก ถ.มหิดล ใกล้สนามบินเชียงใหม่ อันเป็นถนนวงแหวนรอบเมืองสายสำคัญ

ในครั้งนั้น กรมทางหลวงทำการศึกษาพบว่า เส้นทางสาย 108 หางดง - เชียงใหม่ มีปริมาณการจราจรสูงถึง 45,232 คัน/วัน ขณะที่ถนนมหิดลซึ่งตัดผ่านกันมีปริมาณราว 25,597 คัน/วัน กรมทางหลวงจึงออกโครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามจุดตัดและทางแยกดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเพื่อแก้ปัญหาการจราจรแออัด คับคั่งและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุบริเวณทางแยกของทางหลวงหมายเลข 108 ตัดกับถนนมหิดล รวมทั้งทางเชื่อมเข้าสู่สนามบินเชียงใหม่

โดยเริ่มเซ็นสัญญาโครงการเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2543 ด้วยงบประมาณ 236 ล้านบาท และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2543 ตามกำหนดจะต้องแล้วเสร็จวันที่ 8 ธ.ค. 2544

แต่อย่างที่กล่าวเอาไว้โครงการนี้มีทั้งเสียง เห็นด้วย' และ ไม่เห็นด้วย'

ฝ่ายเห็นด้วยกับการก่อสร้างทางข้ามแยกแบบ ยกระดับ' ให้เหตุผลว่าเพื่อให้เมืองเชียงใหม่ขยายตัว แก้ปัญหาจราจรติดขัด เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า

ฝ่ายค้าน ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ถึงกับค้านการก่อสร้าง พวกเขาเสนอเหตุผล ของการไม่สร้างทางยกระดับ 11 ข้อ เช่น จะบดบังทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ ไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรได้จริง ฯลฯ ทั้งยังเสนอให้มีการปรับแผนก่อสร้างใหม่ จาก โครงการทางยกระดับ มาเป็น โครงการทางลดระดับ หรือเป็นโครงการอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมด ตามโครงการเดิมก่อนที่จะประสบปัญหาเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจกระทั่งทำให้งบประมาณถูกตัดทอน

แต่ที่สุดแล้ว ทิศทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ในครั้งนั้น ก็เป็นไปตามฝ่ายเห็นด้วยกับการสร้างทางยกระดับ ด้วยถือคติที่ว่าอะไรที่คว้ามาไว้เชียงใหม่ได้ ขอให้คว้าไว้ก่อน ผิด ถูก ผลกระทบว่ากันทีหลัง [1]

อย่างไรก็ดี แม้ว่าทางยกระดับหน้าสนามบินเชียงใหม่ และอีก 2 แห่งในถนนมหิดล คือทางยกระดับสี่แยกหนองหอย ตัดกับ ถ.เชียงใหม่-ลำพูน และ ทางยกระดับข้ามทางรถไฟ จะเกิดขึ้นจนได้ และเมื่อเวลาผ่านไปไม่นานก็พบว่าทางยกระดับข้ามสี่แยกสนามบิน ไม่ได้ช่วยบรรเทาการจราจรมากอย่างที่คิด แถมยังทำให้เสียทัศนียภาพของเมืองไปอีก

 

แต่หลังจากเสียงค้านเล็กๆ ที่สี่แยกสนามบินดังขึ้น ก็ทำให้ต่อมา กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ต่างปรับแบบการก่อสร้างจุดตัดทางแยกสำคัญในเขตเมืองเชียงใหม่ ให้กลายเป็นทางลดระดับหรือทางลอดทั้งหมด อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

000

 

ในแง่หนึ่งทางลอดข้ามแยก คือผลผลิตจากการถกเถียงขอพลเมืองในเมือง เป็นความสำเร็จระดับหนึ่งของพลเมืองเชียงใหม่ อย่างน้อยก็ทำให้ทิศทางการพัฒนาเมืองพอจะอยู่ในการควบคุมของประชาชนได้บ้าง แต่นี่ก็มิใช่ชัยชนะสมบูรณ์ เมื่อข้าม ทางลอด' นี้ไปแล้ว ใช่ว่าจะถึงจุดหมาย ทิศทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่อย่าง ยั่งยืน' ยังต้องเดินทางอีกยาวไกล

แม้ว่าทางลอดข้ามแยก จะไม่บดบังทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ แม้ว่าทางลอดข้ามแยกทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น แต่ที่สุดแล้วการแก้ปัญหาจราจรของเชียงใหม่ก็ยังไม่ตรงจุด ต้องไม่ลืมว่ายิ่งขยายถนน ก็ยิ่งสร้างแรงจูงใจให้คนหันมาใช้รถยนต์มากขึ้น ยิ่งถนนกว้างขึ้น ติดไฟแดงน้อยครั้งลง รถยนต์ รถคันใหญ่ ก็ยิ่งเป็นเจ้าถนน เบียดขับให้มอเตอร์ไซต์ พาหนะคนยากนับล้านคันในเชียงใหม่ ตกอยู่ในอันตรายมากขึ้น

ซึ่งทิศทางการแก้ปัญหาจราจรด้วยการขยายถนน สร้างทางข้ามแยกนี้ ยังเป็นวิธีแก้ปัญหาการจราจรไม่ถูกจุด ไม่ผิดกับประสบการณ์ของกรุงเทพมหานครในปลายทศวรรษที่ 2520 ที่เลือกสร้าง ทางด่วน' ทั้งขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 จนเพิ่งจะมารู้ตัวเมื่อไม่นานมานี้ ว่าการแก้ปัญหาการจราจรหัวใจอยู่ที่ระบบขนส่งมวลชน แต่บัดนี้ กรุงเทพฯ มีถนนและทางด่วนเป็นระยะทางรวมกัน 4,000 กว่ากิโลเมตร ขณะที่มีรางสำหรับรถไฟฟ้า เพื่อขนส่งมวลชนทั้งใต้ดินและลอยฟ้ามีเพียง 65 กิโลเมตร [2]

ชะตากรรมของเชียงใหม่เอง ก็กำลังเดินตามกรุงเทพฯ เผลอๆ จะยิ่งหลงทางกว่าด้วยซ้ำ

เพราะทุกวันนี้ เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ติดอันดับของประเทศก็จริง แต่ล้มเหลวด้านการจัดระบบขนส่งมวลชน ปี พ.ศ.2538 ‘รถเมล์เหลือง' ที่วิ่งประจำทางในตัวเมืองเชียงใหม่ขาดทุนเลิกกิจการ ปล่อยให้ สี่ล้อแดง' ผูกขาดวิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารในเมือง ไม่มีการจัดเส้นทางการเดินรถแน่นอน ผู้โดยสารกับคนขับต้องต่อรองราคากันเอง และหากเป็นเส้นทางที่ไม่มีผู้โดยสารอื่นร่วมทางมากนัก คนขับก็มักเรียกร้องราคาเกินกว่า 15 บาท ที่ขนส่งจังหวัดกำหนด

ล่าสุด ในปี 2548 มี รถเมล์ขาว' รถปรับอากาศของเทศบาลนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนในเมืองเชียงใหม่ดีขึ้น เพราะรถเมล์ขาววิ่งในเส้นทางอ้อม วน และการปล่อยรถชั่วโมงละคัน-สองคัน หลังสองทุ่มรถเมล์หยุดเดิน ทำให้เชียงใหม่อยู่ในสภาพ มี เหมือน ไม่มีรถเมล์'!

ทางออกสำหรับคนเชียงใหม่ ใครที่พอมีปัญญาผ่อนรถก็ผ่อนทั้งรถยนต์ รถกระบะ มือหนึ่ง มือสอง แล้วแต่ทุนทรัพย์ ทำให้เมืองนี้มีรถจักรยานยนต์จดทะเบียนกว่า 1 ล้านคัน ใครที่ไม่มีปัญญาผ่อนส่งก็ต้องทนต่อรองรถแดงเอาเอง

เท่ากับรัฐบาลสร้างถนนให้ทุกคนแล้ว แต่ที่เหลือคือ ราคา' ที่ทุกคนต้องจ่ายเอาเอง ทุกคนต้องลงไปขับขี่บนท้องถนนเอง ทุกคนต้องแบกรับความปลอดภัยในการเดินทางกันเอาเอง ทุกคนต้องแบกรับต้นทุนดูแลรักษายานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิงกันเอาเอง และทุกคนต้องดูแลชีวิตกันเอาเอง

000

มี ทางลอด' ให้คนเชียงใหม่ลอดกันแล้ว แต่ยังไม่เจอ ทางรอด' เรื่องปัญหาจราจรสักที เพราะเมืองนี้ยังแก้ปัญหาจราจรแบบเกาไม่ถูกที่คัน

เมื่อ 7 ปีก่อน อาจารย์ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ นักวิจัยสถาบันพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงาน ศูนย์ศึกษาปัญหาเมืองเชียงใหม่' (ปัจจุบันคือมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง) เคยเสนอความเห็นไว้ในเวทีสาธารณะ "ทางยกระดับในเมืองเชียงใหม่" ซึ่งจัดที่ศูนย์สตรีศึกษา เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2543 ว่า

ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาการจราจรเมืองเชียงใหม่มองแค่ความต้องการของผู้ใช้รถ แต่ไม่ได้มองว่าถนนในเมืองเชียงใหม่ไม่สามารถเพิ่มได้อีก เพราะจะทำลายสภาพความเป็นเมืองเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ที่มีอายุถึง 700 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่ไม่ได้หวังมาดูสิ่งก่อสร้างที่ทันสมัย แต่มาดูความเป็นเมืองล้านนา ทางที่ดีทางการควรจะมีการพิจารณาทบทวนการแก้ปัญหาจราจรในรูปแบบเดิม  และหันมาส่งเสริมให้มีการสร้างระบบขนส่งมวลชนที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น [3]

อาจารย์ดวงจันทร์พูดไว้ 7 ปี เอามาพูดอีกทีตอนนี้ก็ยังอินเทรนด์!

แล้วเมื่อไหร่เชียงใหม่จะมีระบบขนส่งมวลชนดีๆ บ้างล่ะ จะต้องขี่รถเครื่อง'/‘ขับรถยนต์' ลอดอุโมงค์เช้า-เย็น ไปอีกนานสักเท่าไหร่กัน ^_^

 

เล่าสู่กันฟังเพิ่มเติม

[1] โศกนาฏกรรม ผิด, ถูก, ขอคว้าไว้ก่อน' นี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับเมืองเชียงใหม่ เหมือนกับ การ คว้า' โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และโครงการพืชสวนโลก ไว้ก่อน ซึ่งเมื่อ 2 เมกะโปรเจคนี้เกิดขึ้น ก็สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไว้ให้กับคนเชียงใหม่สารพัด ส่วนผลประโยชน์ กำไร ที่จะตกแก่ปากท้องคนเชียงใหม่ ก็เป็นเพียงเศษเนื้อ หาได้มากมายอย่างที่ผู้สร้างโฆษณาเอาไว้

[2] อ่านบทความที่สะท้อนความล้มเหลวของการแก้ปัญหาการจราจรที่:

น้ำมันแพง ทางด่วน และระเบิดเวลา, โดย วันชัย ตัน http://www.onopen.com/2006/01/573 ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม 2549

[3] วุฒิต้านเส้นก๋วยเตี๋ยวเชียงใหม่, ไทยโพสต์ 10 กันยายน 2543 http://www.thaipost.net/index.asp?bk=sunday&post_date=10/Sep/2543&news_id=19248&cat_id=110100

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาในเกมช่วงชิงพื้นที่สื่อ กลยุทธ์หนึ่งก็คือ ทำยังไงก็ได้ ให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เป็นข่าว ส่วนฝ่ายตนนั้น ต่อให้เป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายแต่ถ้าได้พื้นที่ข่าวก็ถือว่าได้เปรียบใน ระดับหนึ่ง เพราะอย่างน้อยก็พอทำให้ชื่อเสียงเรียงนามเป็นที่คุ้นหูอยู่ในความจดจำ ดีกว่าเป็นบุคคลโนเนมที่ไม่มีใครรู้จักเช่นเดียวกัน ช่วงนี้ ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีพูดอะไร ให้สัมภาษณ์ว่าอะไร สื่อมักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สังเกตได้ว่าเวลาอ่านหรือฟังข่าวในเวลานี้ ผู้สื่อข่าวจะหยิบคำพูดของนายกรัฐมนตรีมาเปิดเผยแบบยาวๆพูดแบบตามตำรา ก็คือ แหล่งข่าวเป็นผู้นำในรัฐบาล พูดอะไรก็ย่อมเป็นข่าวอยู่แล้ว…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง"ไปตายให้หนอนแดกเถอะ..ไป๊"ผมกำลังหาคำพูดที่ถ่ายทอดความคิดของคนบางคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองนี้ แม้อำนาจของเขาจะยึดโยงจากการเลือกตั้งด้วยการกากบาทของเรา กระนั้นก็เถอะ..เท่าที่รู้สึกได้ เขาอาจกำลังอยากบอกกับคุณด้วยถ้อยคำแบบนี้ อาจเป็นการบอกกล่าวที่ซ่อนถ้อยความหิวกระหายมาช้านานแล้ว ตั้งแต่อำนาจถูกกระชากไปจากมือ และที่เขาบอกแบบนี้ได้ อาจเป็นเพราะเขากำลังมองคุณเป็นเพียง ‘มดปลวก' อันอ่อนแอ ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะถ้าคุณป่วยหรือไม่สบาย มันจะยิ่งสะท้อนความอ่อนแอไร้ประโยชน์เสียยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด มากไปกว่านั้น หากโชคร้าย…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ เสาร์ที่ผ่านมา มีงานประชุมชื่อ Barcamp Bangkok จัดขึ้นที่ร้าน Indus สุขุมวิท 26 งานนี้ งานนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นงานที่มีผู้จัดมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะผู้ร่วมงานหลายคนมากันแต่เช้าเพื่อช่วยจัดโต๊ะเก้าอี้ แปะป้าย บางคนทำสมุดทำมือมาแจก หลายคนเตรียมหัวข้อพร้อมสไลด์มาพูดในงาน ------------------------------------- http://www.flickr.com/photos/poakpong http://www.flickr.com/photos/plynoi ทันทีที่งานเริ่ม กระดาษแผ่นแล้วแผ่นแล้ว ถูกทยอยนำไปแปะบนกระจกของร้าน ว่ากันว่า หัวข้อที่พูดกันในงาน มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเว็บแอพพลิเคชันใหม่ๆ เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส…
Hit & Run
มุทิตา เชื้อชั่งด้วยทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ขนาบไปด้วยทะเลยาวเหยียด เหมาะเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบสารพัด ประจวบฯ จึงเป็นที่หมายตาของโครงการขนาดใหญ่ ไม่ว่าโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งไม่เห็นด้วยกับโครงการเหล่านี้ ก็นับเป็นความอาภัพของชีวิต เพราะภูมิศาสตร์แบบนี้เองที่ทำให้พวกเขาต้องต่อสู้คัดค้านกับรัฐหรือทุนขนาดใหญ่กันไม่หยุดหย่อน ไม่โครงการนั้น ก็โครงการนี้ และไม่รู้ว่าด้วยความอาภัพนี้หรือไม่ที่ทำให้ขบวนการประชาชนที่นี่ ‘แข็งแกร่ง' จะว่าที่สุดในประเทศก็คงไม่ผิดนัก ล่าสุด มีการต่อสู้คัดค้านโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยา ซึ่งเป็นโครงการขนาดมหึมา ที่จะไปลงในพื้นที่แม่รำพึง…
Hit & Run
ตติกานต์ เดชชพงศคงรู้กันหมดแล้วว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีถูกยึด และต่อจากนี้ ทีวีช่องนี้จะไม่มีรายการบันเทิง ‘ไร้แก่นสาร' อีก จะมีก็แต่รายการที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่า ประเทืองปัญญากว่ารายการทีวีแบบเดิมๆๆๆๆ ฯลฯ แล้วทีวีช่องนั้นก็ถูกเรียกเสียใหม่ว่า ‘ทีวีสาธารณะ' ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ‘รสนิยมสาธารณ์' ไม่ว่าจะเป็น ละครน้ำเน่า (ผ่านยุคของ พจมาน สว่างวงศ์, ดาวพระศุกร์ หรือ โสรยา ใน ‘จำเลยรัก' มามากกว่าหนึ่งยุค!) รวมถึงเกมโชว์ที่ ‘ได้รับแรงบันดาลใจ' มาจากต่างประเทศ และการ์ตูนญี่ปุ่นที่เอะอะก็ต่อสู้กัน (แม้แต่การ์ตูนแมวหุ่นยนต์ ‘โดราเอมอน'…
Hit & Run
  วิทยากร  บุญเรืองกลุ่ม แบ๊คซ้าย' มิถุนาฯ   23 ธันวาคม 2550...เป็นอีกวาระหนึ่งที่เราจะต้องออกไปช่วยเพื่อนรัก ‘นักการเมือง' (กลุ่มคนที่ถูกประณามมากที่สุดในสังคมไทยปัจจุบัน)สื่อต่างๆ ชอบที่จะกระแซะแซวว่า นักการเมืองมักจะมืออ่อนนอบน้อมกราบไหว้ประชาชนเสมอในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งมันก็ถูก แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน คนอีกบางจำพวกนั้น ‘ไม่มี' ช่วงเวลาพิเศษไหนเลยที่จะลงมาไหว้กราบกรานขอคะแนนจากประชาชน หนำซ้ำพวกเรากลับต้องกราบกรานไหว้เขาอยู่เป็นกิจวัตรใครล่ะน่าเกลียดกว่ากัน? สำหรับวาระสำคัญก่อนการเลือกตั้ง การรณรงค์ไม่ให้มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทำนองที่ว่า ‘…
Hit & Run
   พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจใครที่ไม่ได้มาเชียงใหม่หลายปี หากมาเยือนปีนี้ คงผิดหูผิดตาเลยทีเดียวไม่ใช่แค่งานพืชสวนโลก ไม่ใช่แค่ ‘ช่วง ช่วง' หรือ ‘หลิน ฮุ่ย' ไม่ใช่แค่ร้าน ‘ไอเบอรี่' ของโน้ต อุดม ที่ทำให้ ‘หน้าตา' เมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไปหากแต่ยังมีเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ‘ทางลอด' ผุดขึ้นทุกมุมเมือง ซึ่งเบื้องหลังของมัน ยังมีเรื่องราวอันยาวนานของการพัฒนา ‘เมือง' อีกด้วย!หลายปีมานี้ ยวดยานใน จ.เชียงใหม่ ต้องประสบกับความทุลักทุเลในการข้ามสี่แยก เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างทางลอดแยก ผุดขึ้นบนถนนสายหลักของเมืองเชียงใหม่ เช่น การก่อสร้างทางลอด 7 แห่ง บนถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี…
Hit & Run
"ต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ" 
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์หลังจากได้อ่านข้อความในหนังสือที่ คมช. ส่งถึงคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ของ กกต. ที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบว่า หนังสือ ซึ่งออกโดย คมช. (สปค.ศปศ.คมช. ลับ-ด่วนมาก ที่ คมช ๐๐๐๓.๕/๔๘๐ ลง ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐) นั้น เข้าข่ายความผิดฐาน เจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ หรือไม่ เพื่อขอให้ทบทวนบทบาทของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน เนื่องจากการออกหนังสือฉบับดังกล่าวของ คมช.เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ แล้ว ก็เกิดความรู้สึก ‘สบายใจ'…
Hit & Run
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นเรื่องปกติในสังคมการเมืองแบบไทยๆ เมื่อมีบางคนใน ‘ตองหนึ่ง' อดีตผู้บริหารไทยรักไทยเรียกร้องในสิทธิความเป็นมนุษย์ที่พึงมีต่อองค์กร ‘ไม่ใช่พ่อ' และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้เข้ามาดูแลสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยยุ่งเกี่ยวการเมืองทุกรูปแบบกรณี ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการพูดและแสดงออก แทบฉับพลันทันทีนั้น เสียงแขวะฝอยเลาะตะเข็บก็ดังควากออกมาอย่างหยามหยันมากมายตามหน้าสื่อต่างๆเมื่อตามรอยตะเข็บที่เลาะไป ใช่จะไม่มีมูล…
Hit & Run
"ความพยายามสร้างกติกาอันบิดเบี้ยวตลอดปีกว่าที่ผ่านมา ส่งผลให้ ‘ผี' ยิ่งน่ากลัวสำหรับคนที่กลัว และยิ่งน่าพิสมัยสำหรับผู้ที่ไม่กลัว และผู้ที่ไม่กลัวส่วนใหญ่นั้นแม้จะอยู่ห่างไกล ไร้อำนาจ แต่ก็สามารถแสดงพลังเงียบของตนได้อย่างมีนัยสำคัญ"  ภาพจาก dschild.exteen มุทิตา  เชื้อชั่ง ผมเป็นคนกลัวผีมากจนแทบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกลัวผี และรู้สึกว่าสังคมไทยกำลังกลัว ‘ผี' อย่างหนัก ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ จากที่เคยมีคำอธิบายมากมายว่าทำไมจึงต้องกลัว ‘ผี' หรือไล่ ‘ผี' แต่นานวันเข้า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังเท้า ความกลัว ‘ผี'…
Hit & Run
ภาพจาก http://www.kathmandu-bkk.com/คิม ไชยสุขประเสริฐช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีปัญหายุ่งยากใจกันอยู่นิดหน่อยในออฟฟิศ เรื่องการทำเสื้อทีมว่าจะเอาแบบไหน-สีอะไร ที่ยังไงก็ไม่ลงตัวสักที เพราะสีแต่ละสีตอนนี้ถูกนำเอาไปทำสัญลักษณ์ของกลุ่มต่างๆ กันไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแม่สีอย่าง สีแดง สีเหลือง หรือสีขั้นสองอย่างสีเขียว สีส้ม หรือสีม่วง