Skip to main content

จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์

นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์

สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ

วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆ

เมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน คำตอบที่ได้ทั้งสร้างความแปลกใจและไม่แปลกใจในเวลาเดียวกัน

“เป็นวันที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยอะไรซักอย่าง ที่ต้องจำ เพื่อใช้สอบเอ็นท์”
“ตอนเป็นนักศึกษาก็จำได้อยู่ แต่พอจบมาก็ลืมหมดแล้ว ถ้าไม่ได้เรียนธรรมศาสตร์ คงไม่รู้เรื่องนี้”
“รู้ไปก็ปวดหัว” หลายคนบอก “เรื่องมันผ่านไปแล้ว”

พอลองนั่งนึกดูว่าในแบบเรียนสมัยมัธยมพูดถึงเหตุการณ์นี้อย่างไร สารภาพตามตรงว่า จำไม่ค่อยได้เสียแล้ว สิ่งที่จำได้เลาๆ มีว่า มีนักศึกษาประชาชนในธรรมศาสตร์ถูกยิง ถูกฆ่า เพราะมีคนแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ...ก็แค่นั้น

เมื่อพูดถึงเหตุการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย...14 ตุลา และพฤษภา 35 ก็ดูจะโดดเด่นออกมา เพราะเป็นครั้งที่ถูกมองว่า “ชนะแล้ว” ส่วน 6 ตุลา นั้น บ้างว่า เพราะประชาชนแพ้ บ้างว่า เพราะมันเศร้าเกินไป ไม่พูดถึงดีกว่า หรือบ้างก็ว่า “ไม่เอา ไม่พูด” หรือ “มันเป็นประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ชำระ”

เมื่อไม่ค่อยมีใครพูดถึงในวงกว้างและ “ความจริง” ของเหตุการณ์ยังไม่ปรากฎ เหตุการณ์ที่คลุมเครืออย่างชัดเจนนี้ ก็น่าสนใจไปอีกแบบ ใครเป็นคนสั่งฆ่านักศึกษา ประชาชน (แม้นิรโทษกรรมไปแล้ว ก็ควรต้องหาความจริง ไม่ใช่หรือ)

เมื่อข้อมูลขาดหาย เราก็สามารถเติมเต็มได้ด้วยเอกสารบันทึกจากปากคำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ ถ้าเป็นเมื่อก่อน อาจต้องพลิกห้องสมุดหา แต่เดี๋ยวนี้ อินเทอร์เน็ตช่วยได้มากทีเดียว ข้อมูลที่จะได้ด้วยหาปะติดปะต่อเรื่องราวเอง คงน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย ข้อมูลหลายอย่างผุดขึ้น ความจริงหลายชุดถูกเปิดเผย พ้นไปจากชุดความรู้ในแบบเรียน (ที่ถูกบังคับให้เรียนและรู้เหมือนกัน) (อาจถือเป็นข้อดีก็ได้ ที่เหตุการณ์นี้คลุมเครือและไม่มีบทสรุปในแบบเรียน)

การทำและไม่ทำอะไรของใครและใครในเหตุการณ์นั้น ทำให้เข้าใจสภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากขึ้น

ความเป็นที่รักของสถาบันกษัตริย์
แสนยานุภาพของสื่อ
หรือแม้กระทั่ง พลังแห่งศรัทธาของประชาชนต่อบางสิ่งบางอย่าง - ประชาธิปไตย? 

ว่ากันว่า อดีตเป็นรากฐานของปัจจุบัน แถมยังทำนายอนาคต ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราควรศึกษาอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และสร้างอนาคตด้วยตัวเองรึเปล่า

........................

ป.ล.1 ถ้าคิดว่า 6 ตุลา ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณ ลองดูว่ามีอะไรเหล่านี้ที่อยู่รอบตัว หรือคุณเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่บ้าง

สถาบันกษัตริย์ เพลงพระราชนิพนธ์ เราสู้ นักศึกษา ประชาชน ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ การเมือง เผด็จการทหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สื่อ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แขวนคอ กษัตริย์นิยม สนามหลวง รัฐประหาร นายกฯ พระราชทาน

ป.ล.2 เว็บที่พูดถึง 6 ตุลา จากการสอบถาม “กูเกิ้ล
http://2519.net
http://th.wikipedia.org/wiki/เหตุการณ์_6_ตุลา
http://sameskybooks.org
http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95289.html
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000137269
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/article2005oct28p1.htm
http://www.puey.org/th/content/view/6/13/
http://www.seas.arts.tu.ac.th/6tula.htm
http://www.seas.arts.tu.ac.th/6tulainterview.htm

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…